โรคเด็กและอาการทั่วไป

วัยเด็กเป็นวัยที่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึงสามปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังไม่แข็งแรงดีนัก และนี่คือ โรคเด็กและอาการทั่วไป ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ จะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน เพราะอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร

ลูกชอบร้องตอนกลางคืน อาจเป็นพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจเพื่อแสดงความรู้สึกหรือความต้องการของทารก เช่น รู้สึกโกรธ เศร้า หิว คิดถึงพ่อแม่ ตกใจ ไม่สบายตัว อาการร้องไห้ตอนกลางคืนส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน พ่อแม่จึงอาจต้องสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของทารกเพื่อช่วยในการปลอบประโลม และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด สาเหตุที่ลูกชอบร้องตอนกลางคืน ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อาจชอบร้องตอนกลางคืน โดยมีสาเหตุ ดังนี้ ความหิว อาจเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้ทารกชอบร้องตอนกลางคืน เนื่องจากทารกเป็นวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 14-17 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่อาจนอนหลับได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อครั้ง ซึ่งทารกแรกเกิดยังคงมีกระเพาะเก็บอาหารที่เล็กและเป็นวัยที่ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจึงอาจหิวบ่อยกว่าเด็กช่วงวัยอื่น จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารบ่อยครั้งแม้แต่ในช่วงเวลากลางคืน ความคิดถึงพ่อแม่ ทารกที่ตื่นกลางดึกแล้วไม่เจอพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ อาจรู้สึกคิดถึงพ่อแม่จนร้องไห้กลางดึก โดยเฉพาะทารกอาจมีอาการติดเต้าแม่ ทำให้ตื่นบ่อย ๆ ได้ ความไม่สบายตัว อาจมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิในห้อง ความเปียกชื้นของผ้าอ้อม การห่อตัวที่แน่นเกินไป ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัวและร้องไห้ตอนกลางคืนได้เช่นกัน สิ่งรบกวน การมีสิ่งกระตุ้นให้ทารกตื่นตกใจกลางดึก เช่น แสงไฟ เสียงดัง อาจทำให้ทารกร้องไห้ตอนกลางคืนได้ อาการโคลิก (Colic) เป็นอาการที่ทารกร้องไห้งอแงหนักมากและบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน พบมากในทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ปวดฟันผุ เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่อาจพบได้บ่อยในเด็ก อาการที่อาจเกิดจากเนื้อฟันอักเสบและติดเชื้อ โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังจากฟันได้รับความเสียหายหรือเกิดโพรงที่เนื้อฟัน ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เนื่องจากการสะสมของน้ำตาลและแป้งจากอาหารทำให้แบคทีเรียภายในปากเจริญเติบโต ผลิตกรดทำลายฟันจนกลายเป็นฟันผุ ส่งผลให้ ลูกปวดฟันผุ อาการปวดฟันผุ เด็กแต่ละคนอาจมีอาการปวดฟันผุแตกต่างกัน แต่อาการที่อาจพบได้บ่อยอาจมีดังนี้ เด็กมีอาการปวดฟันผุอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เด็กมักมีอาการปวดฟันมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟันซี่ที่ผุ เด็กอาจรู้สึกปวดฟันมากขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น เด็กอาจรู้สึกเจ็บปวดกรามหรือบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่ที่ผุ เด็กบางคนอาจมีไข้ร่วมกับอาการเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ลูกปวดฟันผุ เพราะอะไร ฟันผุ เป็นสาเหตุของอาการปวดฟันผุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้ง ซึ่งเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้จะผลิตกรดซึ่งทำลายเคลือบฟันคือผิวฟันด้านนอกจนเนื้อฟันอาจมีสีดำหรือสีน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไปและไม่แปรงฟันให้สะอาดหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง กรดจะค่อย ๆ ทำลายเนื้อฟันไปเรื่อย ๆ จนเป็นโพรงที่ฟันและทำให้มีอาการปวดฟันผุเกิดขึ้น วิธีรักษาอาการปวดฟันผุ การรักษาอาการปวดฟันผุ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ฟันร่วมด้วยหากฟันผุรุนแรงมากและเป็นโพรงลึกลงไปถึงรากฟัน คุณหมออาจมีวิธีรักษาฟันผุเพื่อบรรเทาอาการหรือทำให้หายปวดฟันได้ ดังนี้ การกินยา เช่น ปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน การถอนฟันซี่ที่ผุ วิธีนี้จะช่วยทำให้อาการปวดฟันผุหายได้แต่อาจต้องสูญเสียฟันหากฟันซี่ที่ผุ การอุดฟัน เป็นการกำจัดเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและใช้วัสดุอุดฟันปิดช่องว่าง การระบายหนองที่ติดเชื้อออก ฟันผุที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจติดเชื้อและมีหนองมาก คุณหมออาจพิจารณาระบายหนองออกเพื่อลดการติดเชื้อ การรักษาคลองรากฟัน ซึ่งเป็นช่องว่างที่อยู่ในรากฟัน เพื่อกำจัดเอาเนื้อเยื่อโพรงฟันและคลองรากฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก จากนั้นทำความสะอาดและอุดปิดช่องว่างที่คลองรากฟัน หากอาการฟันผุมีการติดเชื้อรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวินะผ่านทางหลอดเลือดดำ วิธีป้องกันอาการปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันปัญหาฟันผุให้กับลูกได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรก ช่วงแรกเกิดถึง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่คุณพ่ออาจพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การบีบตัวของลำไส้ไม่ดีทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวช้าลงจนอาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารเส้นใยน้อย ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ การกลั้นอุจจาระ หรือการใช้ยาบางชนิด แม้อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่การรักษาและการป้องกันที่ถูกวิธีอาจช่วยลดอาการท้องผูกของลูกกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูก 2 ขวบท้องผูก สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้ลูก 2 ขวบ ท้องผูก มีดังนี้ อาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวาน รวมทั้งการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเด็ก ๆ มักจะรับประทานยาก เลือกรับประทาน รับ ประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกท้องผูก ไม่ได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ ลูก 2 ขวบส่วนใหญ่สนใจการเล่นมากกว่าเรียนรู้การเข้าห้องน้ำ เด็กบางคนอาจรู้สึกอายเมื่อต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่พาไปเข้าห้องน้ำ จึงอาจอั้นอุจจาระเป็นเวลานานทำให้อุจจาระแห้งและแข็งขึ้นจนกลายเป็นอาการท้องผูก การเปลี่ยนสถานที่และการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ในบางครั้งการพาเด็กไปพักนอกบ้าน ไปโรงเรียนครั้งแรก หรือไปเข้าห้องน้ำสาธารณะอาจทำให้เด็กรู้สึกเขินอาย และไม่คุ้นชิน จนไม่อยากเข้าห้องน้ำ หรือเด็กบางคนอาจอุจจาระไม่ออกเมื่อต้องเข้าห้องน้ำนอกบ้าน การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกได้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเสียงแหบ ที่อาจเกิดจากอาการโคลิก

ทารกเสียงแหบ อาจเกี่ยวข้องกับอาการโคลิก (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่ทารกร้องไห้ โวยวาย กรีดร้องบ่อย ๆ มักพบในเด็กอายุ 6 สัปดาห์ อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สบายตัวจนทำให้ทารกร้องไห้มากขึ้น จนอาจส่งผลให้กล่องเสียงอักเสบและทำให้ทารกเสียงแหบตามมา เสียงแหบที่เกิดขึ้นในทารกอาจหายได้เอง แต่ถ้าสังเกตพบว่าเสียงยังแหบเรื้อรังหลายวัน สัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาจต้องพาทารกเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจอาการที่เกิดขึ้นและรับการรักษา โคลิก คืออะไร โคลิก คือ อาการของทารกที่ร้องไห้งอแงมากและบ่อยครั้ง อาจพบบ่อยในเด็กทารกอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป โดยทารกจะร้องไห้ งอแง โวยวายมากขึ้นและบ่อยครั้ง การปลอบโยนหรือการกล่อมให้นอนอาจไม่ช่วยให้อาการร้องไห้งอแงดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่งผลทำให้พ่อแม่เกิดความเครียด เหนื่อยล้า และกังวลในการดูแลทารก โคลิกเกิดขึ้นได้อย่างไร ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโคลิก แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การให้ทารกกินอาหารมากเกินไป น้อยเกินไป หรือทารกไม่ได้เรอหลังกินอาหาร อาจทำให้ทารกรู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายตัว หรือหากกินน้อยเกินไปก็อาจทำให้ทารกรู้สึกหิวและร้องไห้งอแงมากขึ้นได้ ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของทารกอาจเกี่ยวข้องกับความสมดุลของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยอาหาร หากทารกกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น นมผงบางชนิด อาจทำให้ทารกท้องอืด อาหารไม่ย่อยและร้องไห้มากจนเสียงแหบได้ ระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ การให้ทารกกินอาหารที่ย่อยยากอาจทำให้ทารกท้องอืด […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ลูกเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ โดยมีอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส และอาจสูงกว่านั้น บางครั้งการที่ลูกเป็นไข้ก็อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไข้ คืออะไร ไข้ (Fever) คือ ภาวะที่เทอร์โมสตัท (Thermostat) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายรับรู้ถึงอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ คือ อุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส หรือถ้าวัดเกิน 37.7 องศาเซลเซียส และอาจจะสูงกว่านั้น เทอร์โมสตัทพบได้บริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือระดับน้ำตาลและเกลือในเลือด ไฮโปทาลามัสอาจรับรู้ได้ว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกายควรอยู่ที่เท่าไหร่ โดยไฮโปธาลามัสส่วนหน้าจะคอยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป และส่วนไฮโปธาลามัสส่วนหลังควบคุมไม่ให้อุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งอุณหภูมิร่างกายปกติอาจอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงสั่งการไปยังร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิให้เป็นไปตามที่สมองรับรู้ ส่วนใหญ่ อุณหภูมิในร่างกายของคนอาจเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละวัน ในตอนเช้าอุณหภูมิอาจลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิอาจสูงขึ้นในตอนเย็น และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลูกวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแดดเวลานาน แต่ในบางครั้ง ไฮโปทาลามัส อาจปรับให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้ติดเชื้อ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ ลูกเป็นไข้ อาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ดังนั้น การทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อลูกเป็นไข้ คือ การติดเชื้อ โดยทั่วไป […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

เด็กท้องอืด อาจเกิดจากการมีอากาศหรือก๊าซเข้าสู่ทางเดินอาหารขณะรับประทานอาหารและไปสะสมอยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่อาจย่อยอาหารก่อนถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ โดยก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน มีเธน และกำมะถัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กเรอ คลื่นไส้ และปวดท้องได้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กท้องอืด เด็กท้องอืด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เด็กไม่อยู่นิ่งขณะรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือเล่นระหว่างการรับประทานอาหาร อาจทำให้เด็กกินเร็ว ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจส่งผลให้มีอากาศในลำไส้มากขึ้น และเสี่ยงสำลักได้ ดูโทรทัศน์ หรือเล่นโทรศัพท์ระหว่างรับประทานอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเพลิดเพลิน และเพิกเฉยต่อสัญญาณความอิ่ม และรับประทานอาหารมากไปจนก่อให้เกิดก๊าซได้ การเลือกอาหารที่ไม่ถูกกับช่องท้องเด็ก เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หมากฝรั่ง เครื่องดื่มรสชาติหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากร่างกายของเด็กอาจดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย นำไปสู่การเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วงได้ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก มีก๊าซในกระเพาะอาหาร และไม่สบายท้อง แพ้แลคโตส ร่างกายของเด็กที่มีอาการแพ้แลคโตสอาจไม่สามารถผลิตแล็กเทส ที่เป็นเอนไซม์ช่วยสลายแลคโตสในผลิตภัณฑ์ที่ทำการนมได้ จึงอาจส่งผลให้เด็กท้องอืด อาการลำไส้แปรปรวน อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกตัวร้อน เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายเด็กสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส เกิดจากร่างกายปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส ภาวะนี้อาจนำไปสู่การล้มป่วยได้ เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรลดอุณหภูมิร่างกายให้ลูกเบื้องต้น และสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิด สาเหตุที่ทำให้ ลูกตัวร้อน สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวร้อน หรือมีไข้ อาจมาจากภาวะของโรค ดังต่อไปนี้ ไข้หวัดใหญ่ เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี อาจเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม โรคหอบหืด โดยอาการเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่สามารถสังเกตได้จากลูกตัวร้อน มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ทำให้เยื่อแก้วหูอักเสบ ส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการนอนหลับ หากเป็นเด็กโตอาจบอกได้เมื่อรู้สึกเจ็บปวดภายในหู แต่สำหรับเด็กเล็ก หรือทารกอาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการดึงหู หรือร้องไห้มากกว่าปกติ ไข้ผื่นกุหลาบ ไข้ผื่นกุหลาบ หรือ ส่าไข้ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้มากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ขวบ ส่งผลให้เด็กมีไข้สูงเป็นเวลาหลายวัน และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง นอกจากนี้ ยังอาจแพร่เชื้อติดต่อกันได้ผ่านการไอจาม ต่อมทอนซิลอักเสบ หน้าที่ของต่อมทอนซิลคือช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก และจมูก ก่อนที่เชื้อโรคจะนำไปสู่การติดเชื้อในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ไข้ในเด็ก เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบอกได้ว่าร่างกายของเด็กกำลังทำปฏิกิริยาต่อต้านการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส โดย วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ เช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด อีสุกอีใส หัด กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น หูอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไข้อีดำอีแดง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะการอักเสบ เช่น โรคคาวาซากิ หูอักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนช่วยตอบสนองต่อการอักเสบ การติดเชื้อ และสร้างแอนติบอดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงส่งผลให้ร่างกายเด็กมีอุณหภูมิสูง หรือเป็นไข้ได้ วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก วิธีลดไข้สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ มีดังนี้ วัดไข้สม่ำเสมอ ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดตัว โดยเฉพาะบริเวณหลังคอ ใต้วงแขน ท้อง และขาหนีบ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องเสีย สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

เด็กท้องเสีย หรือท้องร่วง คือ ภาวะที่เด็กถ่ายอุจจาระเหลว เด็กขับถ่ายบ่อยกว่าปกติ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ขาดน้ำ น้ำหนักลด หากเด็กท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาสาเหตุ และบรรเทาอาการเบื้องต้นทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายรุนแรง [embed-health-tool-bmi] เด็กท้องเสีย มีสาเหตุจากอะไร เด็กท้องเสีย อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ทำให้มีอาการท้องเสียนานประมาณ 1-3 วัน และหากอาการไม่รุนแรงมักหายไปได้เอง โรคท้องร่วงเรื้อรังจากการติดเชื้อ เกิดจากลำไส้อักเสบ ระบบการดูดซึมอาหารบกพร่อง การติดเชื้อปรสิตบางชนิด เป็นต้น เด็กที่มีภาวะนี้จะท้องเสียนานกว่า 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ โรคท้องร่วงจากย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่สมบูรณ์ แลคโตสเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากนม เด็กบางคนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หากรับประทานแลคโตสมากเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วงได้ ทั้งนี้ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม อาการท้องร่วงหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจทำให้เด็กท้องเสียได้ เนื่องจากระดับแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในลำไส้เสียสมดุล ทั้งนี้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กไอ อาการที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็กไอ เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอได้ แต่ก็ควรระวัง เพราะบางครั้งการที่เด็กไออาจส่งสัญญาณบ่งชี้บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายของเด็กได้ หากเด็กไอเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย [embed-health-tool-bmi] เด็กไอ เกิดจากอะไร เด็กไอมักเป็นสัญญาณว่าร่างกายพยายามกำจัดความระคายเคืองจากเสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากหากไม่กำจัดออกอาจสร้างความรำคาญ และอาจทำให้หายใจไม่สะดวก ซึ่งสาเหตุทั่วไปของอาการไอ เช่น โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น อาหาร ละอองเกสร ฝุ่นละออง อาจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง และยังทำให้ระคายเคือง มีน้ำมูก เสมหะ เจ็บคอ รวมถึงอาจมีผื่นขึ้นตามตัว โรคหอบหืด เกิดจากมีสิ่งกระตุ้นต่อภาวะหลอดลมไว ทำให้เด็กมีหลอดลมตีบเล็กลง อาการอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ส่วนมากมักไอแบบมีเสียงหวีด ซึ่งอาการมักจะแย่ลงในเวลากลางคืน หรือมักไอขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหว เช่น ออกกำลังกาย โรคกรดไหลย้อน อาจทำให้มีอาการไอ อาเจียนบ่อย รู้สึกขมในปาก และปวดแสบร้อนภายในอก การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หากเป็นหวัดอาจมีอาการไอเล็กน้อยถึงไอปานกลาง ซึ่งเป็นอาการไอที่ไม่รุนแรงมาก แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจไอแบบแห้ง หรือมีเสมหะ ร่วมกับมีไข้สูง สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เด็กไอ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม