ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

การเดิน ยิ้ม และความอยากรู้อยากเห็น เป็นเพียงเหตุการณ์สำคัญบางส่วนในช่วงวัยเตาะแตะที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่ตั้งตารอ อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน ที่ได้รับการรองรับจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูเด็กวัย 1-2 ขวบ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

จักรยานเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการ และวิธีเลือกให้เหมาะกับวัย

การปั่นจักรยานสามารถปั่นได้ทุกวัย เพียงแต่ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยและสรีระร่างกาย สำหรับประโยชน์ของการปั่นจักรยานนอกจากช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะทางร่างกาย ซึ่งเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถ ปั่นจักรยานเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] จักรยานเด็ก เริ่มปั่นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ จักรยานเด็กในช่วงวัย 2-4 ปี :   ช่วงวัย 2-4 ปี หรือวัยก่อนอนุบาล เด็กเล็กสามารถฝึกกล้ามเนื้อได้ด้วยจักรยาน 3 ล้อ ให้เด็กค่อย ๆ ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการฝึกทรงตัว โดยจักรยาน 3 ล้อ จะมีล้อใหญ่ข้างหน้า 1 ล้อ ส่วน 2 ล้อหลังเป็นล้อขนาดเล็ก คอยพยุงตัวเด็กให้สามารถปั่นจักรยานได้ง่าย  จักรยานขาไถหรือจักรยานทรงตัว ช่วงวัย 2-5 ปี :  จักรยานขาไถ เป็นชื่อเรียกตามรูปทรงของจักรยาน เป็นจักรยานสำหรับเด็กที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยการใช้ขาไถ จักรยานเด็กแบบนี้จะช่วยฝึกเรื่องการทรงตัว จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรยานทรงตัว (Balance Bike) หน้าล้อของจักรยานจะกว้าง ช่วยลดแรงกระแทก  วิธีเลือกจักรยานเด็ก จักรยานเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปร่างของเด็ก จึงควรให้เด็กมาทดลองนั่ง ลองปั่นดูว่ารู้สึกพอดีกับรูปร่างหรือไม่ ความยาวของขาเด็กควรพอดีกับขาถีบ ให้เด็กลุกขึ้นยืนบนพื้นคร่อมจักรยานไว้ จะสังเกตเห็นว่าอานอยู่พอดีกับเป้ากางเกงของเด็กหรือไม่ เมื่อใช้เท้าถีบจักรยานแล้วต้องงอเข่าพอดี […]

สำรวจ ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

วิธีการรับมือเมื่อ ลูกหกล้ม และวิธีการป้องกัน

ลูกหกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับเด็กวัยหัดเดินขึ้นไป ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกมีการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น กระทบกระเทือนที่ศีรษะ บาดแผลใหญ่ กระดูกหัก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อลูกหกล้ม และคอยสังเกตสัญญาณความผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจนเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตที่ทำให้ลูกน้อยหกล้ม แน่นอนว่ามีสาเหตุหลายประการที่อาจทำให้ลูกน้อยหกล้ม แต่การหกล้มนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับอายุและสถานการณ์ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหกล้ม ได้แก่ ผู้ดูแลหลับขณะป้อนนม หรือโยกตัวทารกแล้วทารกหลุดออกจากอ้อมแขน ผู้ดูแลอุ้มทารกเดินสะดุดหรือหกล้ม และปล่อยให้ทารกหลุดมือ ล้มเพราะเปลี่ยนโต๊ะ ตกจากเตียง ในเด็กโตสาเหตุของการหกล้มที่พบบ่อยที่สุด คือ การตกบันไดเมื่อพวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้และอยู่ในช่วงที่กำลังชอบสำรวจสภาพแวดล้อม ล้มลงบนพื้น หรือกระแทกกับพื้นผิวที่แข็งหรือแหลม ในขณะที่พวกเรากำลังเรียนรู้ที่จะเดิน กลิ้ง และคลาน พวกเขาอาจตกจากที่สูงได้ หากพวกเขาสามารถปีนได้ สัญญาณเตือนก่อนลูกหกล้ม จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ให้ข้อมูลว่า การหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 19 ปี โดยมีเด็กประมาณ 8,000 คนที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มทุกวันในห้องฉุกเฉิน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ ในกรณีส่วนใหญ่หาก ลูกน้อยหกล้ม แล้วร้องไห้ทันที ไม่มีเลือดออก และอาจไม่แสดงอาการบาดเจ็บที่ชัดเจน เมื่อจับพวกเขาให้ยืนขึ้น ก็อาจจะปลอบใจลูกน้อย ซึ่งในกรณีการหกล้มที่ไม่รุนแรงดังกล่าว […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน อาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน แต่โดยพื้นฐานแล้วย่อมต้องมีพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่ายกาย อารมณ์ และจิตใจ  คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลและสังเกตพัฒนาการของลูกน้อย ทั้งนี้ เพื่อจะได้รับมือกับลูกน้อยได้อย่างเข้าใจ รวมทั้งหากเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการ จะได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงที การเจริญเติบโตทางร่างกายและความสามารถของเด็ก 1 ขวบ 2 เดือน 1.จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก (WHO)  น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กวัยนี้อยู่ที่ 9 กิโลกรัมสำหรับเด็กผู้หญิง และ  10 กิโลกรัมสำหรับเด็กผู้ชาย ส่วนความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 76 เซนติเมตรสำหรับเด็กผู้หญิง และ 78 เซนติเมตรสำหรับเด็กผู้ชาย 2.เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่สามาถยืนได้ด้วยตนเองและเริ่มก้าวเท้าสองสามก้าวได้แล้ว บางคนอาจเดินได้เองแล้ว หรืออาจมีเด็กบางคนที่อาจเริ่มวิ่งหรือแม้กระทั่งเริ่มคลานขึ้นบันได รวมทั้งปีนป่าย 3. ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นแล้ว ควรแปรงฟันให้ลูกน้อยเป็นประจำทุกวัน และวัยนี้อาจสามารถเอ่ยคำง่าย ๆ เช่น พ่อ แม่ ได้ และอาจจะพูดคำอื่น ๆ ได้อีก 5-6 คำ รวมทั้งความสามารถในการรับคำสั่งง่าย ๆ เช่น ไปหยิบของเล่น ไปข้างนอก 4. พ่อแม่หลายคนอาจเริ่มอยากฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำหรือฝึกใช้กระโถน โดยปกติแล้ว เด็ก […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 17 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เอาไว้ การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุ 17 เดือนแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยส่งเสียงอย่างหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือเสียงกรีดร้อง เนื่องจากลูกพบเสียงของตัวเอง และทดสอบว่าจะมีเสียงดังมากแค่ไหน เขาอาจต้องการความสนใจแบบทันทีทันควัน วิธีรับมือที่ดีที่สุด คือ ทำเป็นไม่สนใจ เพราะยิ่งให้ความสนใจมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็ยิ่งกรีดร้องมากขึ้น ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร การออกเสียง ในขณะที่ลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อบริเวณลิ้นและปากก็อาจจะออกเสียงได้ดีขึ้น ดังนั้น การออกเสียงในสิ่งที่ลูกน้อยพูดซ้ำ ๆ เป็นการช่วยแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง และช่วยให้คนในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ สามารถฟังสิ่งที่ลูกน้อยพูดได้เข้าใจมากขึ้น สอนลูกเรื่องการร้องเสียงดัง ลูกน้อยอาจกรีดร้องใส่หูของคุณพ่อคุณแม่ จึงควรอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจว่าการตะโกนเป็นการทำร้ายหู และบอกลูกว่าเขาไม่มีสิทธิ์จะโต้ตอบอะไรถ้าไม่ใช้เสียงปกติ แต่ระวังอย่าตะโกนสั่งสอนหรือดุ คุณพ่อคุณแม่อาจบอกว่า “ลูกพูดเสียงดังเวลาอยู่กลางแจ้งได้ แต่จะไม่เสียงดังเวลาอยู่ร่วมกับคนอื่น” ควรทำอาหารให้หลากหลายในทุก ๆ มื้อ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เสนอตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างหลากหลาย จากกลุ่มอาหารที่ต่าง ๆ ลูกน้อยก็มีสิทธิ์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างครบถ้วน สุขภาพและความปลอดภัย จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ ลูกน้อยนอนอย่างไร ในวัยนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนประมาณ 11 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน และงีบหลับประมาณ 2 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน ช่วงก่อนนอนมักเป็นช่วงที่ต้องสู้รบปรบมือกันมากหน่อย เนื่องจากลูกน้อยในวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่ง หรืออาจจะไม่ยอมนอน เพราะกลัวความมืดและการอยู่คนเดียว ลูกน้อยกินอาหารอย่างไร คุณหมอจะซักถามเพื่อตรวจดูว่า […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 16 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อย ในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง กลัวเสียงดัง ลูกน้อยวัย 16 เดือนอาจกลัวเสียงดัง และแสดงออกถึงความกลัว โดยลูกน้อยอาจตื่นกลัว ร้องไห้ หรือตกใจเสียงเครื่องดูดฝุ่น พายุฝนฟ้าคะนอง เสียงหวอ ดอกไม้ไฟ และเสียงลูกโป่งแตก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือลูกน้อย คือ การปลอบโยน โดยการกอดและการรับรู้ถึงความรู้สึก เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ อาจสอนให้ลูกน้อยทำท่าปิดหู เวลาได้ยินเสียงดัง เพื่อช่วยควบคุมความกลัว แล้วในที่สุดลูกน้อยก็จะเลิกกลัวเสียงดังไปเอง เพราะจะเริ่มเข้าใจว่าเสียงนั้นมาจากไหน และเรียนรู้ว่าเสียงดังเกิดจากอะไร งีบหลับ ในช่วงอายุ 15-18 เดือน ลูกน้อยอาจไม่ต้องการงีบหลับในช่วงเช้าแล้ว เนื่องจากการงีบหลับช่วงเที่ยงวัน หรือช่วงบ่ายก็เพียงพอแล้ว ในช่วงแรก ๆ การงีบหลับ 1 ครั้งอาจใช้เวลานานกว่าที่เคย แต่ควรระวังอย่าให้หลับนานเกินไปในช่วงกลางวัน เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอน และอาจจำเป็นต้องลดเวลาในการงีบหลับในช่วงบ่ายให้น้อยลง การนอนจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สร้างกิจวัตรที่ดีขึ้นมาให้ลูกน้อยปฏิบัติตาม ซึ่งกิจวัตรที่ดีควรจะมีเวลาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 20-30 นาที โดยกิจกรรมทีททำควรทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 18 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

ลูกน้อยวัย 18 เดือน มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนัก ส่วนสูง หรือแม้แต่การแสดงออกต่าง ๆ ที่แสดงความเป็นตัวเองออกมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงวัยที่ควรได้รับวัคซีนสำคัญ เช่น วัคซีนโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตลูกอยู่เสมอ เพื่อจะได้ส่งเสริมการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีพัฒนาการทางร่างกายอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนนี้ การตรวจวัดร่างกายของลูกน้อยโดยเฉลี่ยแล้วอาจมีค่าดังต่อไปนี้ น้ำหนัก : 10 กก. ถึง 14 กก. (เด็กผู้ชาย) และ 9 กก. ถึง 13 กก. (เด็กผู้หญิง) ความสูง : 77 ซม. ถึง 87 ซม. (เด็กผู้ชาย) และ 74 ซม. ถึง 86 ซม. (เด็กผู้หญิง) […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 21 เดือน เป็นอย่างไรบ้าง

เด็กวัย 21 เดือน หรือประมาณ 1 ปี กับอีก 9 เดือน เป็นช่วงวัยที่เริ่มซุกซน อยู่ไม่สุข และมักจะชอบวิ่งไปมาหรือปีนบันไดเล่น หรือเด็กบางคนก็อาจจะชอบนั่งเงียบ ๆ และสังเกตรอบตัวมากกว่า ซึ่งล้วนถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจ พัฒนาการเด็ก 21 เดือน และดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 21 เดือน ด้านการเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุได้ 21 เดือนแล้ว เด็กในวัยนี้มักจะอยู่ไม่นิ่งและเริ่มหาวิธีวิ่งแล้ว ซึ่งการที่เด็กอยู่ไม่นิ่งนี้ อาจทำให้รู้สึกเหมือนกำลังจับปูใส่กระด้งอยู่ก็ได้ บางครั้งก็อาจพยายามเดินถอยหลัง หรือปีนบันไดเล่น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีนะ เพราะนั่นถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เขาได้เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยฝึกตาและมือให้ทำงานประสานกัน นอกจากนี้ยังฝึกการทรงตัวอีกด้วย แต่หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยนั่งเงียบผิดปกติ ไม่ค่อยได้ขยับตัวหรือทำตัวซุกซนอะไรเลย ก็ไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เพราะลูกน้อยก็จะใช้เวลาถึง 20% ของวันในการนั่งสังเกต และเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา  แต่ถ้าลูกน้อยไม่ยอมเคลื่อนไหวอะไรเลย ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจจะสามารถต่อตัวต่อเป็นตึกสูงๆ ได้ หรือการขีดเขียนบนกระดาษ หรือบนกำแพง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เขามีพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว สุขภาพและความปลอดภัยของลูก 21 เดือน จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ ถ้าลูกน้อยนอนกรน ทำเสียงเหมือนกรน […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็ก 25 เดือน พัฒนาการและวิธีดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ เด็ก 25 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ เด็ก 25 เดือน เด็กในช่วงอายุก่อนถึงวัยเรียนนี้มักจะมีจินตนาการที่เพริศแพร้ว ยกเว้นเมื่อออกมาในรูปแบบของความกลัว เด็กอายุ 2 ขวบจะมีพัฒนาการทางด้านความกลัวในหลากหลายรูปแบบ โดยจะสามารถนึกภาพไปไกลกว่าสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าได้ แถมยังนำความไม่ชอบคนแปลกหน้า และประสบการณ์ความเจ็บปวดในอดีต (อย่างเช่น ความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีน) มาเติมแต่งเข้าไปด้วย สมองของเด็กก่อนวัยเรียนจะเป็นเหมือนรังผึ้ง ที่เชื่อมต่อเส้นประสาทใหม่ๆ มากมายมหาศาลเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะได้ช่วยให้เขาเข้าใจอะไรๆ ในโลกที่เต็มไปด้วย “อะไร ทำไม และอย่างไร” เขาจะเริ่มซักถามอะไรมากมาย ซึ่งเป็นแนวทางในการค้นพบสิ่งต่างๆ และเป็นการแลกเปลี่ยนและมีปฏิสัมพันธ์กับคุณ ปล่อยให้เขาได้ซักถามคุณเถอะนะ เขาจะได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น เด็กอายุ 2 ขวบส่วนใหญ่จะไม่สามารถขับถ่ายได้เอง แต่หลายๆ คนก็พร้อมจะฝึกขับถ่ายด้วยตัวเองแล้ว คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ บรรยายให้ลูกน้อยฟังถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ช่วงนี้เด็กจะเรียนรู้การใช้ภาษา คุณพ่อคุณแม่อาจบรรยายสิ่งต่างๆ ให้ยาวขึ้น เช่น “ตอนแรกเราจะเดินไปที่โต๊ะเขียนหนังสือตัวใหญ่นั้น แล้วบอกชื่อลูก จากนั้นเราจะนั่งลง แล้วอ่านหนังสือด้วยกันในขณะที่นั่งรอ” อย่าโกหกลูกน้อย เช่น อย่าพูดว่า “การฉีดยาไม่เจ็บเลยสักนิด” อย่าสัญญาอะไรที่จะไม่เป็นจริง เช่น ลูกจะไม่โดนฉีดยาหรอกนะ มองโลกในแง่ดีเข้าไว้ เด็กอายุ 2 […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 24 เดือน มีพัฒนาการอะไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 24 เดือน หรือ 2 ปี เป็นช่วงที่ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณหนึ่งแล้ว อาจสามารถเปลี่ยนชุดได้ด้วยตัวเอง สามารถเลือกเสื้อผ้าที่ชอบได้ และอาจเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ เช่น ฝึกเปลี่ยนเสื้อผ้าด้วยตัวเอง ลองหาของ หรือตั้งคำถามง่าย ๆ กับลูก เพื่อช่วยฝึกทักษะการคิดและการสื่อสารของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 24 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุ 2 ขวบแล้ว ลูกอาจจะถอดเสื้อผ้าหรือใส่เสื้อผ้าได้เอง และเขาอาจรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบใส่อะไร นอกจากนี้ทักษะการเคลื่อนไหวของลูก ก็กำลังพัฒนาด้วยเหมือนกัน ตอนนี้เขาอาจจะยืนได้อย่างมั่นใจแล้ว เขาอาจสามารถก้มตัวหยิบของที่พื้นได้ด้วย หรืออาจจะกระโดดเข้าที่หรือยืนเขย่งปลายเท้าได้ แต่เมื่อลูกน้อยมีอายุ 2 ขวบ เขาจะเข้าใจแล้วว่าสิ่งของต่าง ๆ นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้องของเขายังไง เขาจะเข้าใจได้ดีขึ้นในเรื่องขนาดของวัตถุ และความเกี่ยวข้องกับข้าวของอย่างอื่น เขาอาจทำตามคำสั่งในเรื่องทิศทางได้ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลตรงมุมห้องมาให้แม่หน่อย” หรือ “มองหาบนเตียงสิลูก” ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยได้ ด้วยการซื้อเสื้อผ้าที่มีกระดุม 2-3 เม็ด เทปตีนตุ๊กแก หรือตะขอ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้เรียนรู้วิธีใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง เขาจะใส่กางเกงเอวยางยืด เสื้อที่สวมทางศีรษะ และรองเท้าที่ใช้เทปตีนตุ๊กแกได้ดีที่สุด การเตรียมเสื้อผ้าที่ใส่ง่ายไว้ให้ลูกน้อย จะช่วยลดความยุ่งยากในตอนเช้าๆ ให้ได้ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 23 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 23 เดือน เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย ตัวอาจจะเริ่มยืดขึ้น แลดูผอมลง และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การพูดคุย การใช้มือ เด็กในวัยนี้สามารถจดจำและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถสื่อสารได้เป็นคำหรือประโยคสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่าเด็กแต่ละคนต่างมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน หากลูกน้อยมีพัฒนาการที่เร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่ควรกังวลใจมากเกินไป ค่อย ๆ ส่งเสริมและหาทางสนับสนุนพร้อมเรียนรู้ไปกับลูกน้อย  [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 23 เดือน ลูกน้อยวัย 23 เดือน อาจจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้มากถึงวันละสิบคำ โดยเฉพาะเมื่อเมื่อมีอายุครบ 2 ขวบ จะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ สร้างประโยคที่ใช้คำ 2-4 คำได้ ร้องเพลงง่าย ๆ ได้ ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ใช้สรรพนามได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องเสมอไป พูดซ้ำคำที่ได้ยินจากบทสนทนา จำชื่อคน สิ่งของ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ถ้าการเติบโตของลูกน้อยดูช้าลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีแรก ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กที่มีอายุ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 29 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 29 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เด็กบางคนอาจยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปัน จึงยังคงมีความรู้สึกหวงของและแย่งชิงของเล่นอยู่เสมอ อีกทั้งเด็กบางคนก็อาจมีอาการดื้อและไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยวัย 29 เดือน เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกับวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 29 เดือน การต่อสู้เพื่อแย่งชิงของเล่น มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กในวัยนี้ เมื่อเด็ก 2 คนเล่นด้วยกัน การหวงของเล่นหรือการแบ่งปันของเล่น เป็นทักษะที่ยังไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ พัฒนาการเด่น ๆ ของเด็กในวัยนี้คือการทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ลูกน้อยอาจต้องการกินอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก สวมเสื้อผ้าแบบเดิม ทำอะไรแบบเดียวกัน นั่นแสดงว่าเขากำลังพยายามทำความเข้าใจกับโลกใบนี้ และรักษาบางสิ่งบางอย่างไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นวิธีที่เขาใช้ฝึกการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เด็กกำลังทำอะไรเพื่อให้ตนเองรู้สึกสบายใจ เด็กในช่วงวัยนี้ จะมีการพัฒนาวิธีการคิดที่เรียกว่า การแสดงเชิงพื้นที่หรือการคิดเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ภายในใจตนเองได้ เมื่อเด็กมีประสบการณ์หรือมีความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับสมอง และสามารถมองเห็นภาพนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตุ๊กตาหมีที่หายไปมีรูปร่างหน้าตายังไง จะไปบ้านคุณยายได้ยังไง อาหารที่กินไปเมื่อวานนี้เป็นยังไง ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร เด็กในวัยนี้อาจมีการทะเลาะกัน หรือไม่เข้าใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเด็ก ควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างของการแบ่งปันและการให้ อาจใช้คำว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน