backup og meta

สมุนไพรสำหรับโรคโลหิตจาง มีอะไรบ้างและเป็นประโยชน์อย่างไร

สมุนไพรสำหรับโรคโลหิตจาง มีอะไรบ้างและเป็นประโยชน์อย่างไร

โรคโลหิตจาง (anemia) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเพศหญิง และมีโอกาสในการเกิดอาการต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการปวดหัว ผิวหนังซีด และสูญเสียความทรงจำ ผู้หญิงทุกคนจึงควรตระหนักถึงโรคโลหิตจางและอาการของมันอย่างจริงจัง เพื่อรับมือกับอาการของโรคโลหิตจาง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ การใช้ สมุนไพรสำหรับโรคโลหิตจาง มาฝากกกันค่ะ

โรคโลหิตจาง คืออะไร

โรคโลหิตจาง เป็นอาการที่เลือดไม่สามารถผลิตฮีโมโกลบินหรือเซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ ฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มีหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจน

ดังนั้น หากคุณมีภาวะโลหิตจาง เซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกายของเราจะไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย ผิวหนังซีด และหายใจไม่ออก

โรคโลหิตจางมีหลากหลายประเภท ได้แก่

  • โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) โรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell) โรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง (pernicious anemia)
  • การดูดซึมผิดปกติ เช่น โรคโลหิตจางจากการขาดกรดโฟลิก (megaloblastic anemia)
  • การขาดสารอาหาร เช่น ภาวะขาดวิตามิน ภาวะขาดธาตุเหล็ก

สมุนไพรสำหรับโรคโลหิตจาง

ผักกาดส้ม

ผักกาดส้ม เป็นสมุนไพรที่มีความสามารถอันยอดเยี่ยมในการเพิ่มระดับฮีโมโกลบินได้อย่างรวดเร็ว ผักกาดส้ม (Yellow Dock) จึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับการแนะนำอย่างมากในการรักษาโรคโลหิตจาง

ผักกาดส้มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บธาตุเหล็กของตับ จึงกลายเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคโลหิตจาง โดยทั่วไป สมุนไพรชนิดนี้จะไม่มีผลข้างเคียงใดๆจึงเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยมากๆ

นอกจากนี้ผักกาดส้ม ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กจำนวนมาก คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของได้ โดยการผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อย่างเช่น ดอกโคลเวอร์แดง หรือดอกโบตั๋น

ถั่วอัลฟัลฟา

ถั่วอัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถเพิ่มปริมาณเลือดของคุณ เพราะมีจำนวนของโฟโตเคมีคัล (photo-chemical) อยู่จำนวนมาก ถั่วอัลฟัลฟายังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กจำนวนมาก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยโลหิตจาง ผู้คนมักจะใช้ถั่วชนิดนี้ลงไปในแซนด์วิช สลัด หรือแม้กระทั่งใช้ทำอาหาร

มะขามป้อม

มะขามป้อม เป็นแหล่งรวมวิตามินซี จำนวนมาก และเป็นที่ทราบกันดีว่า วิตามินซี มีบทบาทสำคัญมากต่อการดูดซึมธาตุเหล็กในเลือด คุณสามารถเพิ่มรสชาติของน้ำมะขามป้อมได้ด้วยการใส่น้ำผึ้งลงไป

แดนดิไลออนและรากโกโบ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลหากนำแดนดิไลออน (Dandilion) และรากโกโบ (Burdock root) มาใช้ร่วมกัน ความสามารถที่ได้จากการผสมผสาน 2 สิ่งนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร และเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการบรรเทาโรคโลหิตจาง โดยเฉพาะกับโรคโลหิตจางที่ขาดแคลนธาตุ B12

โรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

โรคโลหิตจางโดยทั่วไป มีสาเหตุเกิดจากการขาดแคลนธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กมีบทบาทสำคัญในการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ ตับ ผักใบเขียวเข้ม

นอกเหนือจากการเพิ่มธาตุเหล็กลงไปในอาหาร คุณยังสามารถใช้สมุนไพรที่เป็นตัวสนับสนุนสำคัญ ในการจัดการกับโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

  • พืชตระกูลส้มที่อุดมไปด้วย วิตามิน ซี ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาการดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น ในบรรดาพืชตระกูลส้ม น้ำมะนาวจัดว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในเรื่องนี้
  • ต้นเนตเทิล (nettle) นอกเหนือจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ยังอุดมไปด้วยวิตามิน เอ บี และเค วิตามินเหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบดูดซับธาตุเหล็กของร่างกายให้ดีขึ้น
  • เนื่องด้วยรสชาติที่ดี บวกกับการอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก จึงทำให้อะโวคาโดกลายมาเป็นตัวเลือกที่ดีในการรักษาโรคโลหิตจาง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Understanding Anemia — the Basics. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-anemia-basics#1. Accessed August 3, 2017

Best Herbal Remedies To Treat Anemia. http://www.findhomeremedy.com/best-herbal-remedies-to-treat-anemia/. Accessed August 3, 2017

5 Herbs to Help You Recover from Anemia. https://www.herbazest.com/wellness_articles/5_herbs_to_help_you_recover_from_anemia. Accessed August 3, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/07/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณกำลัง รับมือกับ โรคซึมเศร้า

วิตามินดีกับเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ส่งผลอะไรต่อโรคนี้ได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา