backup og meta

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา ที่มีมากกว่าเรื่องความงาม

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา ที่มีมากกว่าเรื่องความงาม

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา ส่วนใหญ่มักจะถูกนำมาทำเบเกอรี่ เนื่องจากมันมีคุณสมบัติในการทำให้แป้งฟูขึ้น โดยการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่นอกจากประโยชน์ในด้านการทำเบเกอรี่แแล้ว เบกกิ้งโซดายังมีประโยชน์อื่นๆ อีก แต่จะเป็นอะไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอมีเรื่องนี้มาฝากกัน

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เบกกิ้งโซดา (Baking soda) มีอีกชื่อหนึ่งว่า “โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate)”  มันมักจะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำเบเกอรี่ แต่ยอกเหนือจากการใช้เบกกิ้งโซดาในการทำอาหารแล้ว มันยังถูกนำมาใช้ในด้านความสวยความงามอีกด้วย แต่ความจริงแล้วประโยชน์ของเบกกิ้งโซดานั้น มีมากกว่านำมาใช้ทำเบเกอรี่และใช้ด้านความสวยความงาม แต่ประโยชน์ของมันจะมีอะไรบ้าง ลองมาดูกัน

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา

  • ใช้ทำความสะอาดฟัน

เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ คราบจุลินทรีย์จะแข็งตัวกลายเป็นหินปูน และเมื่อฟันของเรามีหินปูนสะสมอยู่จำนวนมาก ก็อาจทำให้โรคเหงือกเกิดขึ้นได้ ถ้าอยากขจัดคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปาก ลองใช้เบกกิ้งโซดาดูสิ เพราะมันสามารถขจัดคราบเหล่านี้ได้ดีเลยทีเดียว ส่วนวิธีใช้ก็เพียงแค่จุ่มแปรงสีฟันลงในเบกกิ้งโซดา แล้วนำมาใช้แปรงกันตามปกติ แต่เบกกิ้งโซดาจะไม่มีฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ ดังนั้น ก็ควรจะต้องใช้ยาสีฟันธรรมดารวมด้วย เพื่อความปลอดภัย

  • ทำน้ำยาบ้วนปาก

การเอาเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา มาผสมในน้ำครึ่งแก้วแล้วนำมาบ้วนปาก มันสามารถช่วยดับกลิ่นปากที่เกิดจากการทานอาหารต่างๆ ได้เหมือนน้ำยาบ้วนปากทั่วไป นอกจากนั้นแล้ว มันยังสามารถบรรเทาแผลเปื่อยขนาดเล็กที่เกิดขึ้นภายในปากได้อีกด้วย

  • เป็นยาลดกรดตามธรรมชาติ

กรดไหลย้อนเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มันเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลจากกระเพาะย้อนกลับสู่หลอดอาหาร ซึ่งกรดนี้อาจทำให้หลอดอาหารระคายเคือง และทำให้รู้สึกแสบร้อนระหว่างช่องท้องและลำคอ และเนื่องจากเบกกิ้งโซดาคือมีสารที่ทำให้เป็นกลาง ซึ่งนั่นก็คือโซเดียมไบคาร์บอเนตที่สามารถทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลาง ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากกรดไหลย้อน และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารได้ด้วย นอกจากนั้นมันยังสามารถรักษาอาการเสียดท้องได้ด้วย ซึ่งวิธีการทำก็คือ ละลายเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในน้ำเย็น คนให้ละลาย แล้วดื่มอย่างช้าๆ

  • ใช้เป็นยาดับกลิ่น

กลิ่นเหงื่อที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา ส่วนมากการที่แบคทีเรียในรักแร้แตกตัว ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะเปลี่ยนเหงื่อให้กลายเป็นของเสีย ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหงื่อขึ้นนั่นเอง เบกกิ้งโซดาสามารถกำจัดกลิ่นเหงื่อ และทำให้กลิ่นไม่พึงประสงค์ลดลงได้ ซึ่งวิธีการใช้ก็คือการนำเบกกิ้งโซดามาทาบนรักแร้ของคุณนั่นเอง แต่ถ้าหากคุณไม่อยากให้มีคราบสีขาวติดอยู่บนเสื้อผ้า ลองหาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่มีส่วนผสมของเบกกิ้งโซดามาใช้ก็ได้เช่นกัน โดยการมองเห็นส่วนผสมที่มีชื่อว่า โซเดียมคาร์บอเนต ที่เป็นส่วนผสมหลัก

  • บรรเทาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ดังนั้น การดื่มเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำ จะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ การนำเบกกิ้งโซดามาผสมน้ำแล้วดื่ม จะช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) ได้ เนื่องจากมันมีความสามรถในการลดระดับกรดในปัสสาวะ

  • ช่วยการทำงานของไต

ไต มีหน้าที่ในการกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย หากคุณมีอาการโรคไตเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือสาเหตุอื่นๆ ที่กรดสามารถสร้างขึ้นในร่างกายของคุณได้ การใช้เบกกิ้งโซดา ซึ่งมีโซเดียมไบคาร์บอเนต สามารถช่วยลดกรดได้ และยังอาจช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกและสร้างกล้ามเนื้ออีกด้วย

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการออกกำลังกาย

เบกกิ้งโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นอาหารเสริมยอดนิยมในหมู่นักกีฬาก็ว่าได้ จากการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า เบกกิ้งโซดา สามารถช่วยให้คุณออกกำลังกายได้นานขึ้น โดนเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น การวิ่ง เป็นต้น เนื่องจากเบกกิ้งโซดามีค่า pH สูง จึงอาจช่วยชะลอความเมื่อยล้าในช่วงที่ออกกำลังกายมานถึงจุดที่หนักที่สุด

  • ลดความเสี่ยงต่อโรคเกาต์และปัญหาอื่นๆ

เมื่อมีกรดยูริคระดับสูงในปัสสาวะและเลือด จะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายเกิดอาการปวดและทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบ และโรคเกาต์ ซึ่งเบกกิ้งโซดาสามารถช่วยต่อต้านกรดส่วนเกิน และใช้เป็นยาที่มีประสิทธิภาพได้

  • บรรเทาอาการคันผิวหนังและการถูกแดดเผา

การเอาเบกกิ้งโซดาผสมน้ำแล้วอาบ จะช่วยบรรเทาอาการคันที่ผิวหนังได้ นอกจากนั้นมันยังช่วยบรรเทาอาการคันจากการถูกแดดเผาได้ด้วย และเบกกิ้งโซดาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อรวมกับส่วนผสมอย่าง แป้งข้าวโพด หรือข้าวโอ๊ต เป็นต้น ดการทำน้ำเบกกิ้งโซดาเพื่อใช้อาบก็ทำได้ด้วยการ เติมเบกกิ้งโซดา 1-2 ถ้วยลงในอ่างน้ำอุ่น หรือหากพื้นที่มีจำกัด ก็ผสมเบกกิ้งโซดาและน้ำอุ่นในภาชนะขนาดพอเหมาะแทนก็ได้เช่นกัน

  • ช่วยต่อสู้กับมะเร็ง

ทั้งโรงพยาบาลและในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล มักจะเก็บโซเดียมคาร์บอเนตเอาไว้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และกรณีอื่นๆ นอกจกานั้นมันยังช่วยในการต่อต้านคุณสมบัติที่เป็นกรดของยาเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็งอีกด้วย จากการศึกษาบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่า ระดับกรดที่ต่ำอาจชะลอเนื้องอกบางชนิด ไม่ให้เจริญเติบโตหรือแพร่กระจายต่อได้อีกด้วย

  • รักษาแคลลัส (Calluses)

แคลลัสเป็นผิวหนังที่หยาบกร้าน ซึ่งเกิดจากแรงเสียทานหรือแรงกดที่ยาวนาน ซึ่งกิจกรรมที่มักทำให้เกิดแคลลัสคือ การเดินทำสวน หรือการเล่นกีฬาเป็นประจำ การเป็นแคลลัสที่ไม่รุนแรงก็สามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดและรู้สึกไม่สบายได้เมื่อโดนแรงกด ดังนั้นการแช่อยู่ในน้ำเบกกิ้งโซดา จะช่วยทำให้แคลลัสนุ่มขึ้น ทั้งยังลดความรู้สึกไม่สบายที่อาจเกิดขึ้นได้

แต่ทั้งนี้ก่อนการใช้เบกกิ้งโซดาเกี่ยวกับร่างกาย การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำและวิธีใช้ที่ถูกต้อง จะเป็นการดีที่สุด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health and Beauty Uses for Baking Soda. https://www.webmd.com/beauty/ss/slideshow-beauty-baking-soda-health. Accessed March 06, 2020

23 Benefits and Uses for Baking Soda. https://www.healthline.com/nutrition/baking-soda-benefits-uses#section1. Accessed March 06, 2020

Baking Soda Benefits: 11 Health And Beauty Benefits To Look Out For!. https://food.ndtv.com/health/baking-soda-benefits-11-health-and-beauty-benefits-to-look-out-for-1834759. Accessed March 06, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/04/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว

เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา