backup og meta

เลิกกังวล โรคสมองน้อยย้อย รักษาให้หายได้หากคุณรู้ทัน

เลิกกังวล โรคสมองน้อยย้อย รักษาให้หายได้หากคุณรู้ทัน

ทุกคนคงสงสัย และประหลาดใจเมื่อได้ยินชื่อของโรคนี้อย่างแน่นอน เพราะอาจยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักสำหรับ โรคสมองน้อยย้อย ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดขึ้นได้ยาก 1 ในพันล้านคนเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามเราไม่ควรประมาทกับความอันตรายนี้ เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่คุณรัก รวมทั้งตัวคุณเองด้วย รู้ก่อน ก็ย่อมรักษาได้ก่อน วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคสมองน้อยย้อยนี้กัน

โรคสมองน้อยย้อย (Chiari Malformation) เกิดจากอะไร?

โรคสมองน้อยย้อยในภาษาอังกฤษนั้นเรียกว่า  เชียรี่ มาลฟอเมชั่น (Chiari Malformation) คือ ความผิดปกติของโครงสร้างความสัมพันธ์ของกะโหลกศีรษะและสมองที่ไม่สมดุลกัน เนื่องจากกะโหลกศีรษะนั้นมีขนาดที่เล็กกว่าทำให้เนื้อเยื้อสมองส่วนท้ายทอยที่มีขนาดที่โตกว่าย้อยลงมากดทับส่วนอื่นๆ เช่น ก้านสมอง กระดูกสันหลัง เป็นต้น

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคสมองน้อยย้อย อาจมีปัจจัยมาจากพันธุกรรม การขาดวิตามิน สารอาหาร สารเคมีอันตราย ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นทารกในครรภ์ รวมถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ และการไหลเวียนน้ำส่วนของไขสันหลังนำไปสู่การอุดตันสัญญาณบางอย่างที่ส่งจากสมองทำให้เกิดการสะสมของเหลวจนเกิดการเติบโตของสมองส่วนท้ายทอยขึ้น

ประเภทของ โรคสมองน้อยย้อย มีความรุนแรงของโรคต่างกันแค่ไหน

ประเภทที่ 1 เป็นประเภทเกี่ยวข้องกับต่อมทอมซิล อาจมีอาการปวดหัว ไอ จาม หายใจไม่ออก เจ็บคอ อาเจียน ซึ่งยังคงถือว่าเป็นอาการแรกเริ่มที่ไม่ชัดเจนนัก จนกว่าผู้ป่วยจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน

ประเภทที่ 2 เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อสมองน้อยและก้านสมอง บางกรณีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับสมองน้อยอาจหายไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว โดยประเภทนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารกในครรภ์ และมีความเสี่ยงรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้หากไม่รีบตรวจตั้งแต่ต้น

ประเภทที่ 3 มีสภาวะที่ค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน ซึ่งมาพร้อมกับอาการโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) เกิดจากก้านสมองขยายยื่นออกมาจนถึงไขสันหลัง และสามารถทำลายระบบประสาทจนถึงขั้นเสียชีวิต

ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นความไม่สมบูรณ์ในของ ซีรีเบลลัม (Cerebellum) อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย หรือสามารถเกิดการเสียชีวิตได้ตั้งแต่ยังเด็ก

สัญญาณเตือนแรกเริ่มของโรคสมองน้อยย้อย

  • เวียนหัว อาเจียน
  • ไอ หรือจาม
  • เสียงแหบลง
  • เจ็บคอเวลากลืนอาหาร
  • สูญเสียการได้ยิน
  • มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน
  • ปริมาณน้ำลายมากเกินไป
  • การหายใจผิดปกติ
  • อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
  • อาการชัก

รีบรักษาก่อนสายเกินไป ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาเพียงอย่างเดียวที่สามารถแก้ไข และป้องกันการลุกลามของโรคสมองน้อยย้อยโดยแบ่งออกได้ ดังนี้

  • การผ่าตัดแบบบีบอัด

เป็นการกำจัดปัญหาส่วนล่างของกะโหลกศีรษะ และแก้ไขโครงสร้างกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ ศัลยแพทย์อาจทำการเปิดขยายเนื้อเยื่อไขสันหลัง เพื่อให้มีพื้นที่การไหลเวียนของเหลวได้ดีในบริเวณไขสันหลัง ซึ่งป้องกันการก่อให้เกิดสภาวะสมองคั่งน้ำ

  • กระแสไฟฟ้า

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ความถี่กระแสไฟฟ้าเข้าช่วย เพื่อย่อเนื้อเยื่อสมองส่วนล่างของซีรีเบลลัม (Cerebellum) ให้เล็กลงในขนาดที่พอดี

  • การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (Laminectomy)

คือการกำจัดกระดูกส่วนนอกของกระดูกสันหลัง เพื่อลดแรงกดทับบนรากประสาท และไขสันหลัง อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดแบบอื่นที่เหมาะสมมาเป็นตัวช่วยเพิ่มเติม

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยในเบื้องต้น และตรวจสอบร่างกายในด้านการควบคุมการทำงานของสมองน้อยก่อนการรักษา ผู้ป่วยอาจได้รับการผ่าตัดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยทางด้าน สุขภาพ โรคประจำตัว และอายุที่เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chiari Malformation: Everything You Need to Know https://www.healthline.com/health/chiari-malformation#outlook Accessed January 03,2020

Chiari Malformation https://www.webmd.com/brain/chiari-malformation-symptoms-types-treatment#1 Accessed January 03,2020

Chiari Malformation https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chiari-malformation/symptoms-causes/syc-20354010 Accessed January 03,2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดจี๊ดขึ้นสมอง หลังดื่มน้ำเย็น กินไอศกรีม เป็นเพราะอะไร อันตรายไหม?

วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้สมองของคุณสุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา