เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคุณจะต้องทำงานกับ เพื่อนร่วมงาน ที่มีอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกัน หลายคนคงยังสงสัยว่าควรจะต้องทำตัวอย่างไรถึงจะเหมาะสม ดังนั้นวันนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาแนะนำกัน
เพื่อนร่วมงานเจ็บป่วยเรื้อรังเราควรให้กำลังใจอย่างไรดี
หากคุณมีเพื่อนร่วมงานที่ เจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคข้ออักเสบ เป็นต้น แล้วไม่รู้จะสนับสนุนเพื่อนร่วมงานอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือวิธีการที่ดีที่สุด ที่คุณสามารถช่วยพวกเขาได้ ดังนี้
แสดงความเห็นอกเห็นใจ
แค่เพียงบอกเพื่อร่วมงานของคุณว่ากำลังคิดถึงพวกเขาอยู่ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ไม่ต้องกลัวที่จะต้องพูดว่า “ไม่รู้จะพูดอะไรดี แต่ฉันอยู่ตรงนี้และเป็นห่วงคุณ” หรือ “ฉันอยากอยู่ตรงนี้เป็นเพื่อนคุณ และจะช่วยเหลือคุณเท่าที่จะทำได้” แต่สิ่งที่ไม่ควรพูดมากที่สุดก็คือ “ทำไมไม่บอกกันให้เร็วกว่านี้” เพราะการพูดแบบนี้ยิ่งจะทำให้เพื่อนร่วมงานของคุณ รู้สึกผิดมากกว่าที่จะได้รับความรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการดูแล เอาใจใส่
ความรู้ของบริษัท
ความรู้และทักษะในการทำงานถือเป็นสิ่งมีค่าของบริษัท ซึ่งมักจะพบเห็นได้ในพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริษัทเป็นเวลานาน แม้ปัญหาสุขภาพของพวกเขาจะไม่สามารถป้องกันได้เมื่อปฏิบัติหน้าที่ แต่พวกเขายังสามารถสอน หรือให้คำปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพวกเขาได้ ซึ่งนี่คือการใช้ความสามารถของผู้ที่กำลังเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประโยชน์มากที่สุด เพราะการสรรหาและฝึกอบรวมพนักงานใหม่ ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา
เคารพความเป็นส่วนตัว
พยายามระมัดระวัง เมื่อเพื่อนร่วมงานซึ่งกำลังมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ต้องการความเป็นส่วนตัว และเมื่อพวกเขาต้องการพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นกับพวกเขา โดยพยายามสังเกตพฤติกรรมของพวกเขานั่นเอง แม้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จะมาเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเขา นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาจะอยากให้คนอื่นรู้ด้วย
นอกจากนั้นการแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับคนอื่น ที่มีความเจ็บป่วยแบบพวกเขาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากคุณไม่อาจจะสามารถรับรู้ได้ว่า พวกเขาเปิดรับฟังเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ดังนั้น ถ้าคุณยังไม่รู้ความรู้สึกของผู้มีอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง การพูดว่า “ฉันรู้ว่ามันจะไม่เป็นไร” หรือ “คนรู้จักของฉันก็มีอาการเจ็บป่วยเหมือนกับคุณ และตอนนี้พวกเขาจึงหันมาสนใจสุขภาพ ด้วยการวิ่งมาราธอน” มันอาจสื่อถึงเจตนาดีของคุณ แต่จงจำไว้ว่า แต่ละคนนั้นมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน
เสนอตัวที่จะช่วยเหลืองานของพวกเขา
ลองเสนอตัวที่จะช่วยเหลืองานที่คุณสามารถทำแทนเขาได้ แทนที่จะบอกว่าทำตามที่เขาต้องการ การที่คุณแสดงความเต็มใจที่จะช่วยเหลือพวกเขา จะทำให้ความเครียดของพวกเขาลดน้อยลง
อย่าทำเป็นไม่สนใจพวกเขา
พยายามอย่าเพิกเฉยหรือหลีกเลี่ยงเพื่อนร่วมงานที่กำลัง เจ็บป่วยเรื้อรัง เพราะพวกเขาอาจจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้พูดคุยกับใครสักคนหนึ่ง หากคุณกำลังรู้สึกไม่มั่นใจที่จะพูดหรือทำอะไรสักอย่าง ขอให้รอจนกว่าคุณจะค้นคว้าเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับคนทีรู้เรื่องให้มากกว่านี้เสียก่อนจะเป็นการดีที่สุด
จากการสำรวจความเกี่ยวเนื่องของโรคมะเร็งและการทำงาน แสดงให้เห็นว่า คนงานชาวอเมริกันส่วนใหญ่กำลังมองหาความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากหัวหน้างานของตนเอง ประมาณ 59% ระบุว่า พวกเขาไม่มั่นใจว่า ฝ่ายบริหารขององค์กรนั้นจะรู้วิธีที่จะช่วยเหลือพนักงานที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือไม่
ซึ่งในบรรดาคนงานที่ทำงานกับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ประมาณ 90% เชื่อว่า ฝ่ายบริหารสามารถสนับสนุนได้มากกว่านี้ นอกจากนั้นยังมีผลวิจัยอื่นๆ อีก ดังนี้
- ร้อยละ 45 เชื่อว่า ฝ่ายบริหารสามารถจัดหาเครื่องมือและรูปแบบในการทำงานได้มากขึ้น เช่น ตางรางเวลาที่ยืดหยุ่น หรืออุปกรณ์และเทคโนโลยีพิเศษ
- ร้อยละ 37 เชื่อว่า ฝ่ายบริหารสามารถสร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสนับสนุนต่อการทำงานได้มากขึ้น
- ร้อยละ 35 เชื่อว่า ฝ่ายบริหารสามารถพิจารณาถึงความเป็นส่วนตัวของเพื่อนร่วมงานได้
- ร้อยละ 33 เชื่อว่า ฝ่ายบริหารสามารถพัฒนานโยบายของบริษัทให้ดีขึ้น เพื่อสนับสนุนผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังได้
- ร้อยละ 16 รายงานว่า ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง จะทำให้ความจงรักภักดีต่อบริษัทของเพื่อนร่วมงานลดน้อยลง
ดังนั้น ความมั่นใจและการมีภาวะความเป็นพวกนำ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่กำลังมีอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง เพราะนอกจากพวกเขาจะต้องการความมั่นใจแล้ว พวกเขายังต้องการความปลอดภัย และความเข้าอกเข้าใจในที่ทำงานอีกด้วย
สิ่งที่ฝ่ายบริหารควรทำต่อผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
เนื่องจากฝ่ายบริหารถือว่ามีอำนาจในการออกนโยบายต่างๆ และขอความร่วมมือจากทุกคนภายในบริษัท ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายบริหารจะสามารถทำได้ต่อผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังก็คือ
- ให้เพื่อนร่วมงานที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง แนะนำวิธีที่คุณสามารถสนับสนุนพวกเขาได้อย่างดีที่สุด อย่าตั้งสมมติฐานขึ้นมาเอง
- พิจารณาวิธีที่จะทำให้งานของพวกเขามีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเสนอเวลาการทำงานแบบยืดหยุ่น หาเครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- รู้ว่าข้อมูลทางการแพทย์ใด ควรจะแบ่งปันให้ใครรับรู้รับทราบด้วย
- มอบหมายบุคคลหนึ่งในทีม เป็นผู้สังเกตและอัพเดตเกี่ยวกับสถานะของสุขภาพของผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
- จัดสรรเวลาเพื่อให้สมาชิกในทีมคนอื่นๆ ได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง