backup og meta

อยากมีคู่ครองแต่ใจไม่กล้าพอ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรค กลัวผู้หญิง อยู่ก็ได้นะ

อยากมีคู่ครองแต่ใจไม่กล้าพอ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรค กลัวผู้หญิง อยู่ก็ได้นะ

จะทำยังไงดีเมื่ออยากมีความรัก แต่ดันไม่กล้าเป็นฝ่ายจีบผู้หญิงก่อน และบางครั้งแค่เพียงเหลือบผู้หญิงน่ารักๆ ก็กังวลไปหมดเสียแล้ว แถมยังชอบกล่าวโทษตัวเองเป็นตุเป็นตะ ว่าอาจไม่ดีพอ หรือไม่เหมาะสมกับเธอเลย หยุดความคิดเหล่านั้นเอาไว้ก่อน วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีแก้อาการ กลัวผู้หญิง มาฝาก เพื่อป้องกันไม่ให้ หนุ่มๆ สุ่มเสี่ยงเข้าขั้นจิตตก

สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวผู้หญิง จนไม่กล้าเข้าหา

สาเห

โรคกลัวผู้หญิง (Gynophobia) ถูกจัดเป็นโรคกลัวอย่างหนึ่ง เสมือนกับความกลัวอย่างอื่น เช่น โรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวสุนัข เป็นต้น และนับได้ว่าเป็นโรคจิตเภทที่อาจเกิดอาการเรื้อรังนำไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้อย่างยากลำบาก ความกลัวชนิดนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยกับเพศชาย โดยเฉพาะเมื่อพบเจอผู้หญิงสวย น่ารัก ซึ่งอาจมีสาเหตุหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

  • ประสบการณ์ที่ถูกทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ เช่น การถูกปฏิเสธจากความรัก การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • พันธุกรรม หรือการรับรู้จากผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมคนรอบตัวคุณ
  • ถูกล้อเลียนเสียดสี หรือโดนบูลลี่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทั้งจากในสังคมจริง และสื่อโซเชียล

อาการของคุณผู้ชาย ที่เมื่อพบผู้หญิง จนต้องรีบหลีกหนี

อาการของ โรคกลัวผู้หญิง แบ่งออกทั้งหมดเป็น 2 ด้านด้วยกัน ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากปฏิกิริยาเหล่านี้

ด้านกายภาพ

ด้านความรู้สึก และอารมณ์

  • วิ่งหนีทันทีเมื่อพบเห็น
  • เขิน อาย รวมถึงอาการกลัว
  • สูญเสียความเป็นตัวเอง
  • แสดงพฤติกรรมบางอย่างออกไป ที่อาจทำให้คุณดูไม่ดีในสายตาผู้คน
  • หากผู้ที่เคยได้รับประสบการณ์รุนแรงต่อจิตใจมา อาจทำให้มีภาวะคิดสั้น หรือฆ่าตัวตายได้

หากมีอาการที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย คนในครอบครัว หรือคนรอบข้าง โปรดพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษา หรือขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อให้พ้นขีดอันตรายจากภาวะนี้

วิธีฟื้นฟูจิตใจของหนุ่มๆ ให้พร้อม ก่อนออกตามหาความรัก

ขั้นตอนแรกคุณอาจเริ่มฝึกด้วยตัวของคุณเองก่อนได้ โดยเริ่มจาก การทำสมาธิฝึกจิตใจให้สงบ หรือปรับทัศนคติในเชิงบวกเพื่อให้จัดการกับความรู้สึกของตนเอง ก่อนออกไปพบกับหญิงสาวในสังคม

หรือคุณอาจให้นักบำบัดเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ โดยผู้เชี่ยวชาญอาจใช้วิธี ดังต่อไปนี้

  • การบำบัดด้วยการสัมผัส (Exposure therapy) การสัมผัสที่ว่านี้อาจมาในรูปแบบของการชมวิดิโอผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม คลิปเสียง เพื่อให้เกิดการคุ้นชิ้น เข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้หญิงได้มากขึ้น หากคงมีการแสดงความกลัวออกมา นักบำบัดยังสามารถเก็บข้อมูลนำมาปรับใช้ในการรักษาครั้งต่อไปได้
  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy ; CBT) เป็นการสอนถึงวิธีการรับมือของ โรคกลัวผู้หญิง อย่างเช่น วิธีรับมือกับความหวาดกลัว จัดการทางด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณอยู่บ่อยๆ เพื่อให้คุณรู้สึกถึงความมั่นใจ และลดความหวาดกลัวนี้ลง

ผู้ป่วยแต่ละคนย่อมมีปัญหา และอาการแตกต่างกัน ดังนั้น สำหรับบางกรณี อาจมีการใช้ยาร่วมด้วย ได้แก่

  • ยาระงับประสาท ที่สามารถทำให้คุณลดความวิตกกังวลลง และเหมาะกับผู้ที่มีประวัติของการเสพสารเสพติด หรืออาการติดแอลกอฮอล์เรื้อรังมากก่อน
  • ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers) ที่มีส่วนในการควบคุมอะดรีนาลีนที่ร่างกายหลั่งออกมา เมื่อเกิดความเครียด และความวิตกกังวล รวมถึงลดความดันโลหิต อาการใจสั่น เมื่อคุณกำลังมีอาการกลัวผู้หญิงออกมา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gynophobia: What You Should Know https://www.healthline.com/health/mental-health/gynophobia#symptoms Accessed March 02, 2020

Fear of beautiful women. Venustraphobia https://fearof.org/venustraphobia/ Accessed March 02, 2020

Venustraphobia https://www.fearof.net/fear-of-beautiful-women-phobia-venustraphobia-or-caligynephobia/ Accessed March 02, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แค่ อ่านหนังสือ ก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีได้

ข้อดี ข้อเสีย ของการเยียวยาจิตใจด้วย การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา