backup og meta

รำคาญเสียงรอบข้าง เสี่ยงเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย หรือเปล่านะ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    รำคาญเสียงรอบข้าง เสี่ยงเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย หรือเปล่านะ?

    หากคุณกำลังมีอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ กับเสียงเล็กเสียงน้อย เช่น เสียงเคี้ยวอาหารจากคนรอบข้าง เสียงพูดคุย เสียงกดปากกา ฟันธงได้เลย คุณกำลังเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย แน่นอน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนได้รู้ถึงวิธีรับมืออย่างปลอดภัย เพื่อให้การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นง่ายขึ้น

    รู้จักกับ ภาวะมีโซโฟเนีย อาการของคนไม่ชอบเสียง

    มีโซโฟเนีย (Misophonia)  เป็นคำภาษากรีกโบราณแปลว่า “ความเกลียดชังด้านเสียง” หรืออาการผิดปกติต่อการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และอาจได้รับการสืบทอดของภาวะนี้จากทางพันธุกรรมที่รับในครอบครัว เมื่อผู้ป่วยได้รับเสียงบางอย่างโดยเฉพาะเสียงเคี้ยวอาหาร ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาเกิดความหงุดหงิด และแสดงกิริยาอาการเกรี้ยวโกรธ ตื่นตระหนก จนหนีเตลิดออกไปจากเสียง หรือบริเวณเหล่านั้น

    มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เริ่มศึกษาภาวะมีโซโฟเนียนี้ โดยทีมวิจัยจากอังกฤษ ได้นำอาสาสมัครในช่วงวัยผู้ใหญ่จำนวน 20 คน รับเสียงที่แตกต่างกันออกไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

  • กลุ่มแรกเป็นเสียงทั่วไป เช่น เสียงหายใจ เคี้ยวอาหาร 
  • กลุ่มที่สองอยู่ในเสียงรบกวนระดับสากล เช่น ทารกร้อง ผู้คนกรี๊ดกร๊าด
  • กลุ่มที่สามเสียงที่เป็นกลาง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง
  • ผลสรุปเป็นไปตามที่ทีมวิจัยได้คาดการณ์ และสันนิษฐานไว้ ผู้ที่เป็นภาวะมีโซโฟเนียเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และจัดอันดับให้เสียงของการรับประทานอาหาร การหายใจอยู่ในอันดับแรก รองลงมาเป็นเสียงของเด็กทารกร้อง ส่วนอันดับสุดท้ายที่สร้างความรำคาญให้น้อยที่สุดเป็นเสียงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อย่างเสียงฝนตก

    เช็กอาการเหล่านี้ว่าคุณเข้าข่ายเป็น ภาวะมีโซโฟเนีย หรือไม่

    • อารมณ์โกรธ เมื่อได้ยินเสียง
    • พฤติกรรมก้าวร้าว ทำลายวัตถุสิ่งของ
    • แสดงวาจาหยาบคายกับผู้ที่ทำเสียงรบกวน
    • ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือผู้คนรอบข้าง
    • หลีกหนีเสียงรบกวนอย่างรวดเร็ว จากบริเวณนั้น
    • อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
    • ความดันโลหิตสูง

    วิธีรับมือกับภาวะมีโซโฟเนีย อย่างถูกวิธี เพื่ออารมณ์ที่ดีในทุกวัน

    ยังไม่มีการค้นพบถึงการรักษาให้หายขาดได้ แต่มีขั้นตอนการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ และรับมือกับภาวะมีโซโฟเนียได้ดี มีดังต่อไปนี้

    • การปรับความรู้ความเข้าใจของพฤติกรรม (CBT) ที่สามารถบำบัดทัศนคติด้านความคิดเชิงลบต่อเสียงให้ดีขึ้น
    • อบรมให้ทนต่อเสียงรอบข้างได้ดีขึ้น โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับภาวะหูอื้อ (TRT) 
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • พกอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น หูฟัง ที่อุดหู

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา