backup og meta

ใจสะอาด น้ำไม่ต้องอาบก็ได้ แนวคิดขบขันหรือสัญญาณเตือน โรคกลัวการอาบน้ำ

ใจสะอาด น้ำไม่ต้องอาบก็ได้ แนวคิดขบขันหรือสัญญาณเตือน โรคกลัวการอาบน้ำ

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคกลัวการอาบน้ำ ที่หลายคนพอได้ยินชื่อแล้ว อาจจะสงสัยว่ามันมีโรคนี้อยู่บนโลกจริงๆหรือไม่ แต่โรคกลัวการอาบน้ำนี้เป็นความกลัวที่มีอยู่จริงค่ะ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะถ้าหากปล่อยไว้ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาแน่นอน

“โรคกลัวการอาบน้ำ’ อีกหนึ่งโรคแปลกที่มีอยู่จริง

โรคกลัวการอาบน้ำ(Ablutophobia) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการโรควิตกกังวลที่ส่งผลให้เกิดเป็นความกลัว (Phobia) ตามลำดับ

โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการกลัวอย่างรุนแรง หากต้องมีการทำความสะอาดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ หรือการทำความสะอาดสิ่งของ เช่น การซักล้าง การซักผ้า

โรคนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่ถ้าในวัยผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้

สาเหตุ ที่ทำให้คุณเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น การถูกพ่อแม่ทำโทษอย่างรุนแรงสมัยเด็กที่ไม่ยอมอาบน้ำ การไม่อาบน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอทำให้ไม่คุ้นชิน การถูกพ่อแม่จู้จี้จุกจิกบ่อยสมัยในวัยเด็กๆ เป็นต้น

  • ประสบการณ์ที่น่ากลัว

การได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บหลังจากประสบการณ์ที่น่ากลัว หรือเจ็บปวดจากการอาบน้ำ เช่น หกล้มขณะอาบน้ำ หัวฟาดพื้นขณะอาบน้ำ  นอนแช่อ่างอาบน้ำแล้วเผลอหลับจมน้ำ เป็นต้น

  • การส่งผ่านทางพันธุกรรม

พฤติกรรมและความกลัวแฝงต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล จากพ่อแม่นั้นถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน

  • ความผิดปกติทางสมอง

เมื่อสมองเกิดความผิดปกติได้รับความกระทบกระเทือนหรืออาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด เช่น การอาบน้ำ การซักผ้า การล้างจาน อาจส่งผลให้เราเกิดอาการกลัวในสิ่งนั้นๆได้

อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าข่ายเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ

ผลกระทบจากการไม่อาบน้ำ

หากคุณไม่อาบน้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

  • ปัญหาโรคผิวหนัง

หากไม่อาบน้ำเป็นประจำแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่าคุณต้องมีปัญหาเกี่ยวกับด้านผิวหนังอย่างแน่นอน เช่น เชื้อรา สิว อาการคัน และยิ่งถ้าคุณเกาทุกครั้งที่มีอาการคัน เชื้อโรคเหล่านั้นย่อมเข้าไปสู่ผิวของคุณได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ด้านสุขภาพตามมาอีกด้วย

เมื่อคุณไม่อาบน้ำเป็นประจำจะทำให้คุณคุ้นชินกับกลิ่นตัวของตนเอง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนรอบข้างจะคุ้นชินไปด้วย นอกจากจะทำให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบจากกลิ่นไม่พึ่งประสงค์นี้แล้วคุณอาจจะโดนรังเกียจแบบไม่รู้ตัวไปเลยก็ได้

  • สีผิวไม่สม่ำเสมอ

หากไม่อาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ สีผิวจะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลด่างๆ ซึ่งเกิดจากสิ่งสกปรก แบคทีเรีย เหงื่อ และไขมันส่วนเกินบนชั้นผิว

วิธีการรักษาโรคกลัวการอาบน้ำ

การรักษาโรคกลัวการอาบน้ำสามารถรักษาได้หลายวิธีทั้งการรักษาด้วยตัวเองและทางการแพทย์ โดยมีวิธีดังนี้

  • การรักษาด้วยตัวเอง

เราสามารถดูแลตัวเองให้หายจากโรคกลัวการอาบน้ำได้ด้วยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ รวมถึงการออกกำลังกาย กิจรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดความเครียดความวิตกกังวลยังช่วยใหเราฝึกจิตมีสมาธิบรรเทาความกลัวที่มีอยู่ในใจได้

  • การรักษาทางการแพทย์

การรับประทานยาและการบำบัดทางจิตวิทยา (Cognitive Behavior Therapy ; CBT) ร่วมด้วย ยาที่ใช้ในการรักษาเป็นยาบรรเทาความวิตกกังวล ความกลัว ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อรับการบำบัด โดยนักจิตวิทยาจะบำบัดให้เห็นถึงความแตกต่างข้อดีและข้อเสียหรือวิธีการกระตุ้นผู้ป่วยให้คุ้นชินกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำ เช่น ฝักบัว อ่างน้ำ ให้ผู้ป่วยค่อยๆเผชิญกับสถานการณ์ที่เขารู้สึกกลัวในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการขั้นรุนแรงอาจใช้เทคนิคการสะกดจิตร่วมด้วย

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ablutophobia. https://dictionary.webmd.com/ablutophobia Accessed 28 January 2020

What is ablutophobia?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320008.php Accessed 28 January 2020

Ablutophobia. https://www.healthline.com/health/ablutophobia. Accessed 28 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

อาบน้ำอุ่น อาบน้ำเย็น อย่างไหนจะดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา