backup og meta

เอาชนะ อาการตื่นตระหนก ก่อนที่จะกระทบต่อสุขภาพหัวใจ

เอาชนะ อาการตื่นตระหนก ก่อนที่จะกระทบต่อสุขภาพหัวใจ

ตกใจแรง จนหัวใจเต้นเร็ว ถึงกับชะงักทำอะไรไม่ถูก อาจเป็นที่มาของ อาการตื่นตระหนก จนทำให้รู้สึกตื่นกลัว หวาดระแวง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของเราได้ มารู้วิธีรับมือของภาวะนี้ในบทความของ Hello คุณหมอ กันเถอะ

อาการตื่นตระหนก คืออะไร

อาการตื่นตระหนก (Panic Disoder) คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล หวาดหลัว โดยเฉพาะเมื่อเราพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้รู้สึกกดดัน และตื่นเต้น จนทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หายใจถี่ขึ้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่จะหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป

สาเหตุหลักๆ ของอาการตื่นตระหนกนี้อาจมาจากการรับรู้ของสมองที่ไปกระตุ้นต่อมความกลัวเกินจริง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้คุณรู้สึกไม่เป็นตนเอง เรียกอีกโครงสร้างนี้ว่า อะมิกดาลา (amygdala) ในงานวิจัยบางชิ้นระบุไว้ว่าผู้ที่ความวิตกกังวลอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอัตราของหัวใจเปลี่ยนแปลง (HRV)

สัญญาณของ อาการตื่นตระหนก ที่คุณควรรู้

  • อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
  • เหงื่อออก
  • แน่นหน้าอก
  • ตัวสั่น รู้สึกร้อนวูบวาบภายใน
  • หายใจเร็ว และถี่
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้
  • กล้ามเนื้อรัดเกร็ง
  • เสียการควบคุมทางด้านอารมณ์ และทางกายภาพ

โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติม หากมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนรุนแรง เพื่อความปลอดภัย และห่างไกลจากโรคหัวใจ

6 วิธี รับมือกับอาการตื่นตระหนก เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี

หากคุณอยู่ในภาวะตื่นตระหนกเช่นนี้ ควรเรียนรู้ที่จะรับมือเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเริ่มต้นได้ ดังนี้

1. กำหนดลมหายใจเข้า-ออก สูดลมหายใจเข้าอย่างช้าๆ ประมาณ 5 วินาที และหายใจออก ทำซ้ำกันจนกว่าคุณจะรู้สึกถึงอาการที่สงบลง

2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่างกาย เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการขยับร่างกายเล็กน้อย หรือยืดแขนเหนือหัวพร้อมกับการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพื่อระงับอาการตื่นตระหนก และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกอาหารที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกระตุ้นของอาการตื่นตระหนกเพิ่มเติมได้

4. บำบัดสติ และพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy ; CBT) วิธีนี้อาจให้นักบำบัด หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในวิธีการสร้างความผ่อนคลายให้กับสมอง และควบคุมอารมณ์เมื่อพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว

5. เบี่ยงเบนความสนใจ หากพบเจอกับสิ่งที่ทำให้คุณตื่นตระหนก ให้คุณรวบรวมสติที่มี มองไปจุดโฟกัสอื่นๆ เพื่อผ่อนอัตราการเต้นของหัวใจลง เช่น ฟังเพลง เลือกดูภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ

6. การใช้ยาบรรเทาอาการ ยานี้ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรก่อนที่คุณจะใช้ เพื่อให้ทางแพทย์ได้ทราบถึงปัญหา และอาการที่คุณเป็น โดยส่วนใหญ่แพทย์อาจเลือกใช้ยา เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการกระวนกระวาย และเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของคุณได้

อาจมีเทคนิคทางการแพทย์อื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อรับขั้นตอนการรักษาอย่างเหมาะสมของอาการแต่ละบุคคล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

panic attack https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/symptoms-causes/syc-20376021 Accessed February 04, 2020

Panic Attack Symptoms https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/panic-attack-symptoms Accessed February 04, 2020

Panic Attack https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/panic-attack Accessed February 04, 2020

11 Ways to Stop a Panic Attack https://www.healthline.com/health/how-to-stop-a-panic-attack#practice-mindfulness Accessed February 04, 2020

Panic attacks: How do I stop them? https://www.medicalnewstoday.com/articles/290177.php Accessed February 04, 2020

Panic attack vs. heart attack: How to tell the difference https://www.medicalnewstoday.com/articles/322797.php#outlook Accessed February 04, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา