backup og meta

ไทเก๊ก ประโยชน์ และข้อควรระวังที่ควรรู้

ไทเก๊ก ประโยชน์ และข้อควรระวังที่ควรรู้

ไทเก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง (Taijiquan หรือ Tai’chi Chua) เป็นการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดลมหายใจ โดยกระบวนท่าของ การรำไทเก๊ก ได้มาจากการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่าง ๆ ปัจจุบัน การรำไทเก๊ก ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะเป็นไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อและออกแรงเคลื่อนไหวมาก แต่ก็ยังมีข้อควรระวังบางประการ หากผู้สูงอายุอยากออกกำลังกายแบบไทเก๊ก

ทำความรู้จักกับไทเก๊ก

ไทเก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง (Taijiquan หรือ Tai’chi Chua) เป็นศิลปะการต่อสู้รูปแบบหนึ่งของประเทศจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้รับการเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบัน มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนสมัยใกล้สิ้นสุดราชวงศ์ซุง โดยผู้ให้กำเนิดชื่อ ชาง ซาน-เฟ็ง เป็นการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดลมหายใจ โดยกระบวนท่าของไทเก๊ก ได้มาจากการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่าง ๆ

ปัจจุบัน ไทเก๊กได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อและออกแรงเคลื่อนไหวมาก ช่วยปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

ไทเก๊ก เหมาะกับใครบ้าง

กลุ่มผู้สูงอายุนิยมออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊กที่สวนสาธารณะ แม้ไทเก๊กอาจดูเป็นการร่ายรำอย่างเชื่องช้า แต่จริง ๆ แล้ว ถือเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ด้วยรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องใช้แรงเยอะ เน้นการฝึกลมหายใจ สามารถฝึกได้ทุกสถานที่ เช่น บ้าน สวนสาธารณะ

ประโยชน์ขอไทเก๊ก

  • ปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือด

ไทเก๊กช่วยปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือด และระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงด้วย

  • บรรเทาความเครียด

ท่วงท่าการรำไทเก๊กเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายแบบช้า นิ่มนวล เป็นการบริหารพลังชีวิต ฝึกกำหนดลมหายใจ จึงอาจทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย และสามารถบรรเทาความเครียดได้เป็นอย่างดี

  • ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร

ระหว่างรำไทเก๊ก ปลายลิ้นจะต้องแตะเพดานปากบริเวณปลายฟันหน้าตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายได้มากขึ้น เมื่อค่อย ๆ กลืนน้ำลาย จะช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ปรับสมดุลระบบขับถ่าย

การรำไทเก๊กเป็นประจำอาจช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล รวมถึงระบบขับถ่ายด้วย ไทเก๊กช่วยกระตุ้นให้ลำไส้หดตัวขณะถ่ายอุจจาระ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเรื่องท้องผูกได้

  • ปอดแข็งแรง

ไทเก๊กเกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ เมื่อรำไทเก๊กเป็นประจำ อาจช่วยให้ปอดขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้หายใจได้สะดวกกว่าเดิม

ข้อควรระวัง

แม้ไทเก๊กจะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แต่สตรีมีครรภ์และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกควรหลีกเลี่ยงการรำไทเก๊ก อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกในระดับไม่รุนแรงมากอยากออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊ก ควรปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อความปลอดภัย

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tai chi: A gentle way to fight stress. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/tai-chi/art-20045184.  Accessed 4 February, 2020

Tai Chi and Qi Gong. https://www.webmd.com/fitness-exercise/a-z/tai-chi-and-chi-gong. Accessed 4 February, 2020

The health benefits of tai chi. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-health-benefits-of-tai-chi. Accessed 27 September, 2021

A guide to tai chi. https://www.nhs.uk/live-well/exercise/guide-to-tai-chi/. Accessed 27 September, 2021

Tai Chi and Qi Gong: In Depth. https://www.nccih.nih.gov/health/tai-chi-and-qi-gong-in-depth. Accessed 27 September, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/09/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเชื่อใหม่ได้แล้ว!!

ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพเพียบ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 27/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา