backup og meta

อาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ เกิดจากอะไรได้บ้างนะ

อาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ เกิดจากอะไรได้บ้างนะ

ส่วนใหญ่แล้ว อาการคันเหงือก มักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ๆ ที่ฟันกำลังจะขึ้น แต่สำหรับอาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสภาวะต่าง ๆ รวมถึงโรคเหงือก อาการภูมิแพ้ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปดูว่าอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของ อาการคันเหงือก ในผู้ใหญ่

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ คันเหงือก ในผู้ใหญ่

เหงือก เป็นเนื้อเยื่อที่มีความบอบบาง มีหน้าที่ในการปกป้องฟัน รากฟัน และเส้นประสาทบริเวณรอบ ๆ ซึ่งมีความอ่อนไหวเป็นอย่างมาก เหงือกเป็นส่วนที่ต้องการ การดูแลไม่ต่างจากฟันเลยทีเดียว หากเหงือกเกิดความเสียหาย อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพฟันอย่างร้ายแรงได้

เมื่อทราบถึงสาเหตุของ อาการคันเหงือก จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณเกิด อาการคันเหงือก ได้

เหงือกได้รับบาดเจ็บ

เมื่อเหงือกได้รับบาดเจ็บ อาจทำให้รู้สึกปวด รู้สึกไม่สบายที่เหงือก และเกิด อาการคันเหงือก ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การเจ็บที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น นอนกัดฟัน ที่อาจเป็นสาเหตุของ อาการคันเหงือก ได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกเกิดการระคายเคืองและคันได้

การสะสมของคราบจุลินทรีย์

การสะสมของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นคราบเหนียว ๆ เกิดจากการสะสมของเศษอาหารผสมกับแบคทีเรีย จับตัวกันและเกาะอยู่ตามซอกฟัน หากมีการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี คราบจุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะทำทำให้เกิดปัญหา โรคเหงือก ได้ นอกจากนี้ คราบจุลินทรีย์เหล่านี้ ยังทำให้เลือดออกขณะแปรงฟันและเกิด อาการคันเหงือก อีกด้วย

เหงือกอักเสบ

เหงือกอักเสบถือเป็นโรคเหงือกระยะแรก ๆ โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่ไม่รุนแรง เกิดจากการสะสมคราบจุลินทรีย์ ในระยะนี้เหงือกจะไม่ก่อนให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

อาการแพ้

ความไวต่อสิ่งเร้าบางอย่างหรืออาการแพ้บางอย่างอาจทำให้เกิด อาการคันเหงือก ได้ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ธัญพืช ยา หรือสัตว์เลี้ยง สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้ทั้งสิ้น แม้แต่โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล เช่น ไข้ละอองฟาง ก็ทำให้เกิด อาการคันเหงือก ได้เช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามธรรมชาติ อาจส่งผลต่อความรู้สึกของเหงือก ผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ วัยรุ่นที่เพิ่งมีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือน อาจมี อาการคันเหงือก บ่อยกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เพราะฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ ในช่องปากด้วย

ปากแห้ง

เมื่อช่องปากแห้ง น้ำลายไม่เพียงพอที่จะทำให้ช่องปากมีความชุ่มชื้น อาจทำให้เกิด อาการคันเหงือก ได้

อุปกรณ์ทันตกรรมที่ไม่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมไม่ว่าจะทั้งปากหรือว่าใส่เพียงบางส่วน อาจทำให้เกิดปัญหาคันเหงือกได้ เมื่อเกิดช่องว่างระหว่างฟันปลอมและเหงือกเศษอาหารอาจเข้าไปติดอยู่ตามซอก จนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโต จนเกิดการติดเชื้อ จนทำให้เกิดการอักเสบและ อาการคันเหงือก

บรรเทา อาการคันเหงือก อย่างไรดี

เมื่อมี อาการคันเหงือก สิ่งที่สามารถทำได้ที่บ้าน เพื่อบรรเทา อาการคันเหงือก และความระคายเคือง สามารถทำได้ ดังนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟัน
  • บ้วนปากด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
  • รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อบรรเทาอาการคันที่เกิดจากการแพ้

เมื่อเกิดอาการคันเหงือกอย่างต่อเนื่อง หรือมี อาการคันเหงือก ที่เกิดจากโรคเหงือก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา หากเป็นโรคเหงือกในระยะแรก ๆ แพทย์อาจจะแนะนำให้เปลี่ยนแปลงอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือแนะนำให้ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง หากมีการบาดเจ็บที่ปาก หรือการนอนกัดฟัน ทำให้เกิดอาการคันเหงือก การสวมอุปกรณ์ป้องกันช่องปาก เพื่อป้องกันการกัดฟันที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อฟันและเหงือก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Itchy Gums.https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/itchy-gums.Accessed March 30, 2021

What’s to know about itchy gums?.https://www.medicalnewstoday.com/articles/319565.Accessed March 30, 2021

Why Do You Have Itchy Gums?.https://www.colgate.com/en-us/oral-health/gum-disease/why-do-you-have-itchy-gums.Accessed March 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดที่ฟัน สัญญาณของฟันผุ ที่เกิดจากการดูแลฟันไม่ดี

เหงือกบวมรอบฟันซี่เดียว เกิดจากอะไร และมีวิธีจัดการอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา