การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด มีจุดประสงค์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการคุณกำเนิดที่เป็นไปได้ โดยสิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้อยู่ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคุมกำเนิด

ทำหมัน การคุมกำเนิดถาวร วิธีทำหมันหญิงและทำหมันชาย

การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันตั้งครรภ์หรือการขัดขวางการตั้งครรภ์ คือ การวางแผนครอบครัววิธีหนึ่ง ช่วยในการกำหนดจำนวนบุตรที่ต้องการ วางแผนการเตรียมความพร้อมก่อนการมีลูก โดยการคุมกำเนิดทำได้หลายวิธี แต่หากต้องการให้การคุมกำเนิดนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร การทำหมัน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย [embed-health-tool-ovulation] วิธีคุมกำเนิด การคุมกำเนิดมีอยู่หลายวิธี แต่ที่คุ้นเคยและใช้กันมาก ๆ คือ ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98% หากใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีทั้งถุงยางอนามัยชายและถุงยางอนามัยหญิง การใช้ถุงยางอนามัยยังช่วยเรื่องการป้องกันโรคได้อีกด้วย ส่วนการคุมกำเนิดอื่น ๆ ได้แก่ คุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ใช้การตกไข่และการมีประจำเดือนมาช่วยในการกำหนดวันปลอดภัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ โดยนับช่วงเวลา 7 วัน ก่อนประจำเดือนมาวันแรก และ 7 วัน หลังจากวันแรกที่ประจำเดือนมา แต่วิธีนี้อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะวันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  คุมกำเนิดใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด หรือการใช้ห่วงอนามัย คุมกำเนิดถาวร ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำได้อย่างไร การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดสำหรับครอบครัวที่ไม่ต้องการมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย วิธีทำหมันชาย  การทำหมันชายง่ายกว่าการทำหมันหญิง สามารถทำได้ทั้งในคลินิก หน่วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาล โดยมีวิธีการทำหมันชาย ดังนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดตรงบริเวณถุงอัณฑะเหมือนท่ออสุจิผ่าน  จากนั้นใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กน้อยประมาณ […]

สำรวจ การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด มีการทำงาน และผลข้างเคียงอย่างไร

ยาคุมกำเนิด ส่วนใหญ่ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์หากรับประทานอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-”ovulation”] ยาคุมกำเนิดคืออะไร  ยาคุมกำเนิด คือ ยาป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร โดยมีทั้งในรูปแบบ 21 เม็ด 28 เม็ด และยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด และ 2 เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อยับยั้งกระบวนการตกไข่ ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากรับประทานอย่างถูกวิธีอาจมีประสิทธิภาพในป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากถึง 99% ประเภทของยาคุมกำเนิด  ประเภทของยาคุมกำเนิด มีดังนี้ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive:  – COC)  เป็นยาคุมชนิดเม็ดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ควรรับประทานในวันแรกที่ประจำเดือนมา หรือไม่เกิน 5 วันหลังจากนั้น โดยรับประทานตามลูกศรที่กำหนดไว้บนแผงยา ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมประกอบไปด้วยยาคุม 3 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ ยาคุมฮอร์โมนระดับเดียว (Monophasic pills) เป็นยาคุมกำเนิดที่พบบ่อยที่สุด ใน 1 แผง จะมีทั้งหมด 21 เม็ด […]


การคุมกำเนิด

ฝังเข็มยาคุม อีกหนึ่งทางเลือกของการคุมกำเนิด

ฝังเข็มยาคุม เป็นการคุมกำเนิดในระยะยาวสำหรับผู้หญิง โดยนำแท่งพลาสติกยืดหยุ่นได้ขนาดประมาณไม้ขีดไฟ ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เรียกว่า อีโตโนเกสเตรล (Etonogestrel) ฝังเข้าไปบริเวณใต้ท้องแขนด้านบน อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ประมาณ 3-5 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ [embed-health-tool-ovulation] ฝังเข็มยาคุม คืออะไร ฝังเข็มยาคุม คือ การนำแท่งพลาสติกที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนฝังเข้าบริเวณใต้ท้องแขนด้านบน โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งพลาสติกเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณต่ำและสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน รวมถึงทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้อสุจิเคลื่อนที่ไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยากขึ้น และยังทำให้ผนังเยื่อบุมดลูกบางลง จึงไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง  ขั้นตอนการฝังเข็มยาคุม  การฝังเข็มยาคุมกำเนิด ควรทำในช่วงมีประจำเดือน 5 วันแรก เพื่อจะได้แน่ใจว่าไม่ได้กำลังตั้งครรภ์ รวมถึงเพื่อให้ยาที่ฝังมีผลในการป้องกันทันที การฝังเข็มยาคุมใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที โดยขั้นตอนอาจมีดังนี้  ตรวจร่างกาย เช็ดทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ฉีดยาชาบริเวณจุดฝังเข็มยาคุม ใช้เข็มเปิดแผลและสอดแท่งที่มีหลอดยาบรรจุไปในบริเวณใต้ท้องแขน ทำการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ตามด้วยผ้าพันแผล หลังจากฝังเข็มยาคุมสามารถถอดผ้าพันแผลออกได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำเอาไว้ 3-5 วัน เพื่อรักษาความสะอาด และรอให้ยาคุมแบบฝังเข้าที่ และควรไปหาคุณหมอตามกำหนด เพื่อตรวจดูแผลที่ฝังยาและติดตามผล การฝังเข็มยาคุมสามารถอยู่ได้ประมาณ 3-5 ปี เมื่อครบกำหนดควรถอดยาออก และใส่หลอดใหม่เข้าไปหากต้องการคุมกำเนิดต่อ แต่หากลืมฝังยาคุมกำเนิดควรป้องกันด้วยวิธีอื่นก่อน […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดเพื่อใช้ป้องการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ผู้ที่รับประทานยาคุมฉุกเกฉินอาจเสี่ยงกับผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ แล้วอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลง ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน กินอย่างไร ควรศึกษาให้เข้าใจเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ให้ได้ผล  [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการตกไข่ ทำให้สารคัดหลั่งบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวมากขึ้น ทำให้ผนังโพรงมดลูกอาจไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ ประเภทของยาคุมฉุกเฉินที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่ ยาคุมลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมฉุกเฉินในกลุ่มโพรเจสติน (Progestins) ที่เป็นฮอร์โมนควบคุมภาวะการตกไข่ ซึ่งมีแบบ 1 เม็ดรับประทานเพียงครั้งเดียว โดยจะมีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 1.5 มิลลิกรัมควรรับประทานยาคุมประเภทนี้ภายใน 72 ชั่วโมง และแบบ 1 แผง 2 เม็ด ที่มีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม โดยควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 72 ชั่วโมง และรับประทานยาเม็ดที่ 2 ห่างจากเม็ดแรกประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ยาคุมยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal […]


การคุมกำเนิด

ลืมกินยาคุม1วัน เสี่ยงท้องไหม และควรทำอย่างไร

ลืมกินยาคุม1วัน เป็นปัญหาที่อาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เลือดออกจากช่องคลอด วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แต่การเรียนรู้สิ่งที่ควรทำเมื่อลืมกินยาคุม อาจช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม และลดโอกาสในการตั้งครรภ์หรือเกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น  [embed-health-tool-ovulation] ยาคุม คือ  ยาคุม คือ หนึ่งในทางเลือกในการป้องกันการตั้งครรภ์ ด้วยการรับประทานยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปากมดลูก ผนังมดลูก รังไข่ โดยการสร้างเมือกที่บริเวณปากมดลูกให้มากขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผนังมดลูกบางลง ทำให้ไข่ไม่สามารถฝังตัวได้ และทำให้ไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น  ลืมกินยาคุม1วัน ควรทำอย่างไร ยาคุมกำเนิดมีชนิดแผงแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยแผง 28 เม็ดนั้น 7 เม็ดสุดท้ายที่มีสีแตกต่างจากเม็ดอื่น เป็นเม็ดยาปราศจากฮอร์โมนที่มีไว้ช่วยให้มีนิสัยการกินยาในทุกวันก่อนเริ่มต้นแผงใหม่ หากลืมรับประทานไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด  ผู้ที่ลืมกินยาคุม 1 วัน ควรปฏิบัติตามประเภทยาคุมที่ใช้ ดังต่อไปนี้  หากลืมกินยาคุมชนิดฮอร์โมนเดียว  ลืมกินยาคุมไม่เกิน 3 ชั่วโมง ควรกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้  ลืมกินยาคุม 1 เม็ด ควรกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ ซึ่งอาจต้องกินยาคุม 2 […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉิน การรับประทานและความเสี่ยง

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีคุมกำเนิดสำหรับกรณีฉุกเฉินเมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถุงยางแตก หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75%-85% ซึ่งน้อยกว่าการคุมกำเนิดแบบอื่น และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ การรับประทานยาคุมฉุกเฉินบ่อยครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นฮอร์โมนในปริมาณสูง และเพิ่มความเสี่ยงท้องนอกมดลูกได้ จึงควรทำความเข้าใจความเสี่ยงและความเหมาะสมในการใช้ยาด้วย [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉินทำงานอย่างไร ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยารับประทานที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) และ ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate) ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนสังเคราะห์ ช่วยชะลอหรือหยุดการปล่อยไข่ เพิ่มความเหนียวของมูกปากมดลูก เเละทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ควรใช้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate) ช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ชะลอหรือหยุดการปล่อยไข่ ควรใช้โดยเร็วที่สุด ภายใน 120 ชั่วโมง หรือ 5 วัน หลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมฉุกเฉินทั้ง 2 […]


การคุมกำเนิด

กินยาคุมฉุกเฉิน ประจำเดือนไม่มา เกิดจากอะไร

กินยาคุมฉุกเฉิน แต่ ประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา ดังนั้น หากกินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกระปริบกระปรอยนานกว่า 1 สัปดาห์ และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมด้วย ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน  ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมี 2 ประเภท ได้แก่  ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่นิยมใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจอเตอโรน (Progesterone) สังเคราะห์ ยา 1 กล่อง มี 1 แผง แต่ละแผงจะมีเม็ดยาอยู่ 2 เม็ด เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ และควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง หรืออาจรับประทาน 2 เม็ดพร้อมกัน หากมีอาการอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา ควรรับประทานยาใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่อง […]


การคุมกำเนิด

วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน ที่ถูกต้อง และผลข้างเคียง

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถุงยางอนามัยขาด นับหน้า 7 หลัง 7 ผิด ถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ดี วิธีกินยาคุมฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจใช้ยาคุมชนิดนี้ เพราะหากกินยาคุมฉุกเฉินผิดวิธี หรือกินบ่อยเกินไป อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร  ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่ง ที่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือเกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยางอนามัยขาดหรือรั่ว ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดรายเดือนติดต่อกัน 2 เม็ดขึ้นไป รวมถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศ  ยาคุมฉุกเฉินมีตัวยาลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยชะลอกระบวนการตกไข่ของผู้หญิง โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ยาคุมฉุกเฉินสามารถลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 95% หากกินภายใน 120 ชั่วโมง (5 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือเกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิด แต่หากกินยาคุมฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน ยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาคุมฉุกเฉินชนิดเม็ดเดียว มีตัวยาฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 1.5 มิลลิกรัม คือ กินครั้งเดียว […]


การคุมกำเนิด

วิธีกินยาคุม แต่ละชนิด และผลข้างเคียงของยาคุมที่ควรรู้

ยาคุมกำเนิดมีให้เลือกหลายชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว และยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน แต่ วิธีกินยาคุม แต่ละชนิดอาจแตกต่างกัน เนื่องจากความเข้มข้นของฮอร์โมนภายในยาแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการคุมกำเนิด หากกินยาคุมไม่ถูกวิธีอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจวิธีกินยาคุมแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้นด้วย [embed-health-tool-ovulation] วิธีกินยาคุม แต่ละชนิด ยาคุมกำเนิดมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว และยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน โดยมีรายละเอียดและวิธีกินยาคุมแต่ละชนิด ดังนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive หรือ COC) ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 99% หากรับประทานอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนรวมกันในเม็ดเดียวในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบ่งเป็นแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด มีวิธีกินยาคุมที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ เริ่มต้นกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดแรกตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมาหรือไม่เกิน 5 วัน นับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือน แต่หากเริ่มรับประทานยาหลังจากวันที่ 5 ของรอบประจำเดือน ควรป้องกันด้วยถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะรับประทานยาครบ 7 วัน สำหรับยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด ให้รับประทานวันละ […]


การคุมกำเนิด

ยาคุม มีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร

ยาคุม เป็นยาเม็ดรับประทานช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว และยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน หากรับประทานยาอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ยังไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพ 100% และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับถุงยางอนามัยจะเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดีขึ้น ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละชนิดอาจมีปริมาณฮอร์โมนไม่เท่ากันและอาจไม่เหมาะกับทุกคน ดังนั้นก่อนการเลือกใช้แต่ละชนิดจำเป็นต้องพิจารณาถึงสุขภาพ โรคประจำตัว ข้อจำกัดในการใช้ฮอร์โมน และระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิดด้วย [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของยาคุม ยาคุมมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว และยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ดังนี้ 1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive – COC) ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาคุมชนิดเม็ดแบบรับประทาน ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ หากรับประทานยาคุมอย่างถูกต้องจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยฮอร์โมนจะทำให้มูกบริเวณปากมดลูกหนาขึ้น สเปิร์มจึงเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการตกไข่ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เป็นภาวะที่ไม่เหมาะสมในการฝังตัวของตัวอ่อน เนื่องจากเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์จึงอาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด อาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่เดือนเมื่อรับประทานยาคุมอย่างต่อเนื่อง และรับประทานยาคุมตรงเวลา นอกจากนี้ อาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน และเพิ่มความเสี่ยงของ การเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เล็กน้อย ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมประกอบด้วย 3 […]


การคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงของยาคุม มีอะไรบ้าง ยาคุมไม่เหมาะกับใคร

ยาคุม เป็นยาเม็ดรับประทานช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ หากรับประทานยาอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ยังไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพ 100% และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานยาคุมควรทราบถึงข้อดี และ ผลข้างเคียงของยาคุม เพื่อพิจารณาก่อนตัดสินใจรับประทาน [embed-health-tool-ovulation] ยาคุม คืออะไร ยาคุม คือ ยาคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ยาคุมกำเนิดแบบผสม ที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสติน (Progestins) ส่วนยาคุมแบบมินิพิล (Minipill) จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสตินเท่านั้น และมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่ายาคุมกำเนิดแบบผสม โดยยาคุมกำเนิดแต่ละชนิดอาจมีรูปแบบ และวิธีการรับประทานแตกต่างกัน เช่น ยาคุมบางชุดอาจมีทั้งแบบ 21 และ 28 เม็ด ประกอบด้วยยาออกฤทธิ์ 21 เม็ด แต่สำหรับชุดยา 28 เม็ด อาจมียาหลอกร่วมประมาณ 7 เม็ด การรับประทานยาคุมกำเนิดควรรับประทานวันแรกที่รอบเดือนมา วันละ 1 เม็ด และรับประทานในช่วงเวลาที่ตรงกันทุกวัน เพื่อง่ายต่อการจดจำ หากกรณีลืมรับประทานให้รีบรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากลืมรับประทานยาคุมจนเข้าสู่วันที่ 2 ควรรับประทาน 2 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม