การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด มีจุดประสงค์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการคุณกำเนิดที่เป็นไปได้ โดยสิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้อยู่ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคุมกำเนิด

ทำหมัน การคุมกำเนิดถาวร วิธีทำหมันหญิงและทำหมันชาย

การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันตั้งครรภ์หรือการขัดขวางการตั้งครรภ์ คือ การวางแผนครอบครัววิธีหนึ่ง ช่วยในการกำหนดจำนวนบุตรที่ต้องการ วางแผนการเตรียมความพร้อมก่อนการมีลูก โดยการคุมกำเนิดทำได้หลายวิธี แต่หากต้องการให้การคุมกำเนิดนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร การทำหมัน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย [embed-health-tool-ovulation] วิธีคุมกำเนิด การคุมกำเนิดมีอยู่หลายวิธี แต่ที่คุ้นเคยและใช้กันมาก ๆ คือ ถุงยางอนามัย มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดถึง 98% หากใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีทั้งถุงยางอนามัยชายและถุงยางอนามัยหญิง การใช้ถุงยางอนามัยยังช่วยเรื่องการป้องกันโรคได้อีกด้วย ส่วนการคุมกำเนิดอื่น ๆ ได้แก่ คุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ใช้การตกไข่และการมีประจำเดือนมาช่วยในการกำหนดวันปลอดภัยที่จะมีเพศสัมพันธ์ โดยนับช่วงเวลา 7 วัน ก่อนประจำเดือนมาวันแรก และ 7 วัน หลังจากวันแรกที่ประจำเดือนมา แต่วิธีนี้อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะวันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  คุมกำเนิดใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด หรือการใช้ห่วงอนามัย คุมกำเนิดถาวร ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำหมันหญิงและทำหมันชาย ทำได้อย่างไร การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดสำหรับครอบครัวที่ไม่ต้องการมีบุตรหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว สามารถทำได้ทั้งการทำหมันหญิงและทำหมันชาย วิธีทำหมันชาย  การทำหมันชายง่ายกว่าการทำหมันหญิง สามารถทำได้ทั้งในคลินิก หน่วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาล โดยมีวิธีการทำหมันชาย ดังนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดตรงบริเวณถุงอัณฑะเหมือนท่ออสุจิผ่าน  จากนั้นใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กน้อยประมาณ […]

สำรวจ การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด

ยาคุมแบบแปะ มีข้อดี ข้อเสีย และวิธีใช้อย่างไร

ยาคุมแบบแปะ เป็นการคุมกำเนิดประเภทหนึ่ง โดยใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินติดลงบนผิวหนังเพื่อให้ฮอร์โมนซึมเข้าทางผิวหนัง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบลืมหรือไม่สะดวกรับประทานยาคุมตามวันและเวลาที่กำหนด แต่ต้องเปลี่ยนทุก 1 สัปดาห์ หรือตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมแบบแปะ คืออะไร ยาคุมแบบแปะ คือ การคุมกำเนิดโดยใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินแปะบริเวณหน้าท้อง หลัง แขน หรือลำตัวส่วนบน จากนั้น ฮอร์โมนจะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อยับยั้งการตกไข่ และทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกหนาขึ้น ป้องกันอสุจิเดินทางไปถึงไข่ หากใช้อย่างถูกวิธีการคุมกำเนิดแบบแปะอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ข้อดีและข้อเสียของยาคุมแบบแปะ ข้อดีของการใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะ ใช้งานง่าย อาจช่วยลดการเกิดสิว เนื่องจากช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนส่งผลให้ลดสิวที่เกิดจากฮอร์โมนได้ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ลดความเสี่ยงการเกิดซีสต์ในรังไข่และโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ ข้อเสียของการใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก เพราะยาคุมกำเนิดแบบแปะอาจปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างต่อเนื่อง  อาจมีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น สายตาพร่ามัว อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บเต้านม อารมณ์แปรปรวน ท้องเสีย การแข็งตัวของเลือด ติดเชื้อในช่องคลอด  เสี่ยงเลือดออกมากระหว่างมีประจำเดือน จากการทดลองเกี่ยวกับการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นไทยของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. […]


การคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ที่ควรรู้ก่อนใช้งาน

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดตามกำหนด หรือถุงยางอนามัยที่ใช้แตก ควรใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นและไม่ควรใช้บ่อย เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีฮอร์โมนสูงกว่ายาคุมชนิดอื่น ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน จึงอาจรุนแรงกว่ายาคุมกำเนิดชนิดอื่น ยาคุมฉุกเฉินอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์น้อยกว่าการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดอื่น โดยอาจป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75-85% เมื่อรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน และภายใน 150 ชั่วโมง หรือ 5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยา อย่างไรก็ตาม หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินแล้วมีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมฉุกเฉิน ยาคุมฉุกเฉินประเภทรับประทาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สังเคราะห์ ลีโวนอร์เจสเตรลช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ ชะลอการตกไข่ ทำให้มูกมดลูกหนาขึ้น และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ยากขึ้น ควรรีบกินยาชนิดนี้ให้เร็วที่สุด หรือภายใน 72 ชั่วโมง (3 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal acetate) ช่วยชะลอการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมแบบแปะ วิธีการใช้และผลข้างเคียง

การใช้ ยาคุมแบบแปะ หรือแผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ช่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วไปคือ แปะแผ่นแปะคุมกำเนิดไว้บนผิวหนังติดต่อกัน 3 สัปดาห์ใน 1 เดือน โดยเปลี่ยนแผ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และงดแปะ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ประจำเดือนมาในรอบเดือนนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาคุมแบบเม็ดที่ต้องกินยาทุกวัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีใช้งานที่ถูกต้อง และพิจารณาผลข้างเคียงของยาคุมแบบแปะหรือแผ่นแปะคุมกำเนิด อาจช่วยให้วางแผนป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมแบบแปะ ยาคุมแบบแปะ หรือแผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นแผ่นยาฮอร์โมนชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบไปด้วยยาฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogens) ผสมกับยาฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ แผ่นแปะคุมกำเนิดมีลักษณะเป็นแผ่นสีเนื้อบาง ยืดหยุ่นได้ดี สามารถแปะไว้ในขณะที่อาบน้ำ ว่ายน้ำ เล่นกีฬา และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ วิธีใช้คือ แปะแผ่นแปะคุมกำเนิดไว้บนผิวหนังบริเวณต้นแขน หลังส่วนบน หน้าท้อง เป็นต้น แผ่นยาจะปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังและยาจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่กระแสเลือด ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้เกิดการตกไข่ ทำให้มูกบริเวณมดลูกหนาขึ้น ป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิผ่านเข้าไปได้ และทำให้ผนังมดลูกบางจนตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม ยาคุมแบบแปะสามารถช่วยคุมกำเนิดได้เท่านั้น ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections […]


การคุมกำเนิด

ฉีดยาคุม มีประโยชน์และผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

ฉีดยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย การฉีดยาคุมกำเนิด 1 ครั้งอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน ช่วงหลังคลอดหรือให้นมบุตรก็สามารถเข้ารับการฉีดยาคุมกำเนิดได้ การฉีดยาคุมกำเนิดแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นาน มีราคาย่อมเยา และอาจสะดวกกว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับบางคน เนื่องจากแก้ไขปัญหาการลืมรับประทานยา อย่างไรก็ตาม การศึกษาประโยชน์และผลข้างเคียงของการฉีดยาคุมกำเนิด อาจช่วยให้ทราบว่าการคุมกำเนิดวิธีนี้เหมาะกับตนเองหรือไม่ และอาจทำให้สามารถคุมกำเนิดด้วยการฉีดยาคุมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมกำเนิดแบบฉีด ยาคุมกำเนิดแบบฉีดชนิดที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ยาคุมกำเนิดแบบฉีดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว (Progestin-only Injectable Contraceptives) หรือที่เรียกว่า ยาฉีดเมดร็อกซีโพรเจสเทอโรนแอซีเทต (Medroxyprogesterone Acetate) ยาคุมชนิดนี้มีเพียงโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในรูปแบบสังเคราะห์ ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้อาเจียน วิธีฉีดยาคุมกำเนิดทำได้โดยฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนข้างที่ไม่ถนัดหรือบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก ฮอร์โมนโปรเจสตินจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดและช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วยการทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงจนตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิไม่สามารถฝังตัวได้ ทำให้มูกมดลูกเหนียวขึ้นจนอสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่ที่บริเวณปากมดลูกได้ยากขึ้น ทั้งยังช่วยยับยั้งการตกไข่ด้วย เพื่อให้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดออกฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง ควรฉีดทุก 3 เดือน และควรไปพบคุณหมอตามนัดฉีดยาหรือภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์หากครบกำหนดฉีดยาคุมกำเนิดรอบใหม่ การฉีดยาคุมกำเนิด มีประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการฉีดยาคุมกำเนิด อาจมีดังนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงและปลอดภัย ช่วยให้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้สะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ต้องกินยาทุกวัน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิด และอาจออกฤทธิ์ได้นานถึง 3 เดือน ไม่กระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ราคาถูก อาจเข้าถึงได้ง่ายกว่าการคุมกำเนิดประเภทอื่น เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด […]


การคุมกำเนิด

ฝังยาคุมกำเนิด ดีหรือไม่ เหมาะกับใคร

การ ฝังยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์ได้นาน สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้ถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้ การฝังยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง สามารถฝังและนำออกยาคุมออกได้อย่างรวดเร็ว อาจไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้เวลาพักฟื้นนาน อีกทั้งยังไม่ต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำทุกเดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาคุมแบบฝังควรศึกษาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงให้ถี่ถ้วน จะได้ทราบว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดแบบฝังทำงานอย่างไร การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝังสามารถทำได้โดยการฝังหลอดยาขนาดเล็ก ยืดหยุ่นสูง ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตรหรือประมาณไม้ขีดไฟไว้ใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนท่อนบนของแขนข้างที่ไม่ถนัด ภายในหลอดยาจะบรรจุฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือบางครั้งเรียกว่า โปรเจสโตเจน (Progestogen) ซึ่งจะค่อย ๆ ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดประมาณวันละ 70-60 ไมโครกรัม ตัวฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลง ทำให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้ยากขึ้น กระตุ้นให้มูกมดลูกเหนียวข้นจนอสุจิเข้าไปสู่ปากมดลูกได้ยากขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่และป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้นานถึง 3-5 ปี ประโยชน์ของการ ฝังยาคุม ประโยชน์ของการฝังยาคุมกำเนิด อาจมีดังนี้ สามารถคุมกำเนิดอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน อาจมีอาการปวดท้องน้อยลง นอกจากนี้ รอบเดือนอาจมีระยะเวลาสั้นลงหรืออาจไม่มาเลย ใช้สะดวก อาจไม่ต้องกังวลเรื่องวิธีใช้ที่ถูกต้องเหมือนการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยาง ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนง่าย เหมือนกับการกินยาเม็ดคุมกำเนิด […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คือ ยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่ายาคุมกำเนิดปกติ โดยปกติแล้ว ยาคุมกำเนิดมักจะมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 30-50 ไมโครกรัม แต่ยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 20 ไมโครกรัม หรือน้อยกว่านั้น ทั้งนี้ ยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ต่างจากยาคุมกำเนิดแบบปกติหากใช้อย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจรับประทาน [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดมีกี่ประเภท  ยาคุมกำเนิดอาจแบ่งแยกประเภทได้ ดังนี้  ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยว เป็นยาคุมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หนึ่งแผงจะมียาทั้งหมด 28 เม็ด หากรับประทานถูกวิธี เช่น เจ็บหน้าอก ผิวเป็นจุดคล้ายกระ ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาคุมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ มีทั้งชนิดแผงละ 21 เม็ด และแผงละ 28 เม็ด ถือเป็นยาคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด หากรับประทานถูกวิธี  การรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ หน้าเป็นฝ้า เลือดออกกะปริบกะปรอย ซึ่งอาการมักดีขึ้นหลังจากเริ่มใช้ยาประมาณ 2-3 เดือน ยาคุมฉุกเฉิน เป็นตัวยาที่มีส่วนประกอบฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมกินตอนไหน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีที่สุด

ยาคุมกำเนิด เป็นวิธีที่นิยมใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ยาคุมกำเนิดมีฮอร์โมนเพศหญิงเป็นส่วนประกอบหลัก การรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ การทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่า ยาคุมมีกี่ประเภท ยาคุมกินตอนไหน และควรกินอย่างไร อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยยาคุมกำเนิดได้ อย่างไรก็ตาม ยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   [embed-health-tool-ovulation] ยาคุม คืออะไร  ยาคุมกำเนิด หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ยาคุม คือ ยาที่ช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ได้แก่ โปรเจสโตรเจน ยาคุมแต่ละประเภทอาจมีฮอร์โมนเพศในชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันไป  ประเภทของยาคุมกำเนิดที่อาจพบได้บ่อย เช่น  ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีโปรเจสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนเพียงอย่างเดียว ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นส่วนประกอบ ยาคุมกำเนิดจะเข้าไปปรับเปลี่ยนการทำงานของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น รังไข่ ปากมดลูก ผนังมดลูก โดยการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น และยังทำให้ผนังมดลูกบางลง ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวที่ผนังมดลูกได้ จึงไม่ตั้งครรภ์ ยาคุมกินตอนไหน   การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติ เช่น แบบฮอร์โมนเดี่ยว แบบฮอร์โมนรวม อาจทำได้ดังนี้  เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดในวันแรกที่มีประจำเดือน หรืออาจช้ากว่านั้นได้ แต่ไม่ควรเกินวันที่ 5 ของการมีประจำเดือน  รับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน วันละ […]


การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง และทำได้อย่างไร

การคุมกำเนิด คือ วิธีป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิ หรือการป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนที่ถูกผสมแล้ว ไม่ให้ฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก วิธีคุมกำเนิดมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด การรับประทานยาคุมกำเนิด การทำหมันแบบถาวร อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด จะต้องพิจารณาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิด ข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมน รวมไปถึงโรคประจำตัวของผู้ใช้งานด้วย [embed-health-tool-ovulation] การคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง การคุมกำเนิดแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้ การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว สามารถกลับมามีลูกได้เมื่อหยุดคุมกำเนิด โดยวิธีคุมกำเนิดชั่วคราวอาจมีดังนี้ ถุงยางอนามัยผู้ชายและผู้หญิง ถุงยางสำหรับเพศชายผลิตจากน้ำยางพาราหรือโพลียูรีเทน (Polyurethane) มีลักษณะบาง เป็นทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งมีกระเปาะ ยืดหยุ่นได้ดี ใช้สวมใส่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ส่วนถุงยางสำหรับเพศหญิงผลิตจากโพลียูรีเทน มีลักษณะบาง ยืดหยุ่นได้ดี ที่ปลายแต่ละข้างมีขอบยางที่ช่วยยึดให้ถุงยางอยู่กับที่ เวลาสวมใส่ให้ถือถุงยางด้วยมือข้างหนึ่ง ใช้นิ้วสอดเข้าไปในถุงยางอนามัยและดันถุงยางอนามัยให้เข้าไปถึงบริเวณปากมดลูก จากนั้นถุงยางจะคลายตัวและขยายออกเอง โดยต้องให้ปลายด้านหนึ่งของถุงยางอยู่นอกช่องคลอดเพื่อให้ดึงออกได้ง่าย ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงในผู้ที่แพ้สารหล่อลื่นที่เคลือบอยู่บริเวณผิวถุงยาง และอาจลอประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลงถ้าสวมใส่ผิดวิธี หรือมีการแตก รั่ว หลุด ระหว่างการใช้งาน หมวกยางกั้นช่องคลอดหรือหมวกครอบปากมดลูก (Diaphragm) มีลักษณะเป็นทรงกลมทำจากซิลิโคนอ่อนนุ่ม ใช้สอดเข้าไปในช่องคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อปิดปากมดลูกไม่ให้ตัวอสุจิสามารถเข้าไปในโพรงมดลูกและผสมกับไข่จนปฏิสนธิได้ อาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ระคายเคืองภายในช่องคลอดและอวัยวะเพศชายได้ ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge) ทำจากโฟมโพลียูรีเทน […]


การคุมกำเนิด

ลืมกินยาคุม ควรทำอย่างไร

ลืมกินยาคุม หมายถึง การไม่ได้กินยาคุมกำเนิดตามเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจทำให้อสุจิผสมกับไข่เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการป้องกันการตั้งครรภ์ควรกินยาคุมสม่ำเสมอ และศึกษาวิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น รวมทั้งวิธีปฏิบัติตัวในกรณีที่ลืมกินยาคุม [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิด คืออะไร ยาคุมกำเนิด คือ ยาป้องกันการตั้งครรภ์ เพื่อยับยั้งการตกไข่ รวมทั้งกระตุ้นการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก และทำให้ผนังมดลูกบางลงจนไข่ไม่สามารถฝังตัวในผนังมดลูกได้ ยาคุมส่วนใหญ่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในรูปแบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด โดยควรรับประทานวันแรกที่ประจำเดือนมาตามลูกศรบนแผงยาวันละ 1 เม็ด และควรรับประทานในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน นอกจากนี้ ยังมียาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่สามารถรับประทานได้ในกรณีถุงยางขาด ถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยควรรับประทานไม่เกิน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ แต่อาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงไม่นิยมรับประทานยาคุมชนิดนี้ ลืมกินยาคุม ควรทำอย่างไร สำหรับผู้ที่ลืมกินยาคุม อาจปฏิบัติตัวตามวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ลืมกินยาคุมแบบแผง 21 เม็ด และ 28 เม็ด ลืมกินยาคุม 1 วัน หากนึกขึ้นได้ควรรับประทานในทันที และรับประทานเม็ดต่อไปตามเวลาเดิม ลืมกินยาคุม 2 วัน ควรรับประทาน 2 เม็ด ในวันที่จำได้ […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด วิธีการใช้ยา และผลข้างเคียง

ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด เป็นยาคุมฉุกเฉินที่ใช้ตัวยาออกฤทธิ์ชนิด Levonorgestrel ขนาด 1.5 มิลลิกรัม รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากรับประทานอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 84% แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เลือดออกทางช่องคลอด เจ็บเต้านม ซึ่งอาการข้างเคียงเหล่านี้จะดีขึ้นเองตามลำดับ แต่หากมีอาการผิดปกติติดต่อกันหลายวัน ควรปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-”ovulation”] ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด คืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด ชนิดตัวยาที่ใช้กันมากที่สุดคือ Levonorgestrel เป็นยาในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีกว่า โดยยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ดมีขนาด 1.5 มิลลิกรัม ใช้รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง อาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ 84% โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการตกไข่ ลดปริมาณของ Glycodelin ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์รวมไปถึงช่วยยับยั้งการปฏิสนธิ หลังจากรับประทานยาในช่วงสัปดาห์แรกอาจทำให้มีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือตกขาวสีน้ำตาล และอาจทำให้ประจำเดือนรอบใหม่คลาดเคลื่อนได้ วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด ควรรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม