backup og meta

ประโยชน์ของมะเขือเทศต่อการบำรุงผิว

ประโยชน์ของมะเขือเทศต่อการบำรุงผิว

มะเขือเทศ เป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ทั้งวิตามินซี เบต้าแคโคทีน (Beta-carotene) ไลโคปีน (Lycopene) ที่นอกจากจะดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังดีต่อการบำรุงผิวอีกด้วย โดยอาจช่วยปกป้องผิวจากความเสื่อมของเซลล์เนื่องจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี และอาจช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่เป็นโปรตีนสำคัญต่อโครงสร้างผิว อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการแพ้ต่อมะเขือเทศได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการรับประทาน

[embed-health-tool-bmi]

สารอาหารในมะเขือเทศที่ช่วยบำรุงผิว

มะเขือเทศถือเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มะเขือเทศหนึ่งผลนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ทั้ง เบตาแคโรทีน ลูทีน (Lutein) ไลโคปีน แมกนีเซียม (Magnesium) โพแทสเซียม (Potassium) วิตามินเอ (Vitamin A) นอกจากนี้ยังมีวิตามิน บี 1 วิตามิน บี 3 วิตามิน บี 5 วิตามิน บี 6 และ วิตามิน บี 9 อีกด้วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการบริโภคมะเขือเทศนั้น ส่งผลดีต่อผิวพรรณมากกว่าการใช้มะเขือเทศมาทาที่ผิวหนัง

ประโยชน์ของมะเขือเทศสำหรับผิวสวย

มะเขือเทศมีคุณสมบัติในการบำรุงผิว เพื่อช่วยให้ผิวสวยได้ ดังนี้

1) ช่วยผลัดเซลล์ผิว

การผลัดเซลล์ผิว เป็นวิธีการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกไป เพื่อให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ซึ่งจากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2) ช่วยบำรุงเซลล์ผิวที่มีความเสียหาย

จากการวิจัยในปี 2020 พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระเช่น วิตามินซีและไลโคปีน นั้นมีส่วนช่วยในการต่อต้านเซลล์ผิวหนังที่มีความเสียหาย แต่งานวิจัยนั้นไม่ครอบคลุมถึงการใช้มะเขือเทศในการทาหรือพอก

3) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง

จากการศึกษาพบว่า ระดับโพแทสเซียมในร่างกายที่มีปริมาณต่ำนั้น ส่งผลทำให้ผิวหนังเกิดความแห้งกร้านและอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคผิวหนังบางชนิดได้ ซึ่งมะเขือเทศถือเป็นแหล่งของโพแทสเซียมที่ดี มะเขือเทศหนึ่งผลอุดมไปด้วยโพแทสเซียม 0.9 กรัม การที่ร่างกายได้รับโพแทสเซียมที่เพียงพอจะช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื่น ไม่แห้ง

4) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่ผิวหนังถูกแดดเผาไหม้

จากการศึกษาในปี 2006 พบว่าการบริโภคพืชที่อุดมไปด้วยไลโคปีน อย่างมะเขือเทศ มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายมีความทนทานต่อรังสียูวี ซึ่งเป็นรังสีที่มีความอันตรายต่อผิวหนัง ซึ่งจากการศึกษาผู้ที่บริโภคมะเขือเทศนาน 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ที่มีการบริโภคมะเขือเทศร่างกายสามารถทนทานต่อรังสียูวีมากกว่าบุคคลทั่วไป

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ มะเขือเทศบำรุงผิว

มะเขือเทศถือเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสภาพผิวมากมาย แต่สำหรับบางคนมะเขือเทศอาจไม่ได้ให้ประโยชน์เสมอไป บางคนอาจจะมีอาการแพ้สารอาหารในมะเขือเทศจนเกิดอาการที่ผิวหนัง ซึ่งในแต่ละคนอาจจะเกิดปฏิกิริยาแพ้แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เกิดรอยแดงที่ผิวหนัง
  • มีผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • เกิดอาการคันตามร่างกาย

ดังนั้น เมื่อรับประทานมะเขือเทศ ควรสังเกตอาหารของตัวเอง ว่ามีความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นตามร่างกายหรือไม่ แต่สำหรับบางคนที่ใช้มะเขือเทศภายนอก หรือใช้ครีมที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมควรลองทาครีมนั้น ๆ ที่แขนเป็นบริเวณเล็ก ๆ เพื่อดูว่ามีรอยแดง อาการคัน หรือบวมขึ้นในบริเวณที่ทาครีมหรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tomatoes For Skin Care: Here's How You Can Use Tomatoes For Soft And Supple Skin. https://food.ndtv.com/beauty/tomatoes-for-skin-care-heres-how-you-can-use-tomatoes-for-soft-and-supple-skin-1844984. Accessed April 18, 2022.

An Update on the Health Effects of Tomato Lycopene. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3850026/. Accessed April 18, 2022.

Discovering the link between nutrition and skin aging. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3583891/. Accessed April 18, 2022.

Lycopene-rich products and dietary photoprotection. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16465309/. Accessed April 18, 2022.

Enhancing the Health-Promoting Effects of Tomato Fruit for Biofortified Food. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3972926/. Accessed April 18, 2022.

The Health Benefits of Tomatoes. https://www.webmd.com/food-recipes/ss/slideshow-tomato-health-benefits. Accessed April 18, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/04/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำตาลในผลไม้ ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่

รับประทานวิตามินซีมากไป อาจได้ผลร้ายมากกว่าผลลัพธ์ที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 19/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา