สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพหญิง

การมีประจำเดือน

ตกขาวเกิดจากอะไร แบบไหนที่เรียกตกขาวผิดปกติ

ตกขาวเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยปกติสาเหตุที่ทำให้เกิดตกขาวอาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งตกขาว คือ ของเหลวใสที่หลั่งออกมาจากช่องคลอด เป็นกระบวนการตามธรรมชาติของร่างกายในการขจัดสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้วออกจากช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อ อีกทั้งยังเพิ่มความชุ่มชื้นไม่ให้ช่องคลอดแห้งจนเกิดการระคายเคือง แต่หากสังเกตว่าตกขาวมีกลิ่น และมีสีที่เปลี่ยนแปลง อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติ ช่องคลอดอาจเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งควรเข้าตรวจและรับการรักษาทันที [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเกิดจากอะไร ตกขาวเกิดจากต่อมในช่องคลอดและปากมดลูกที่ผลิตของเหลวใสออกมา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิง นอกจากนี้ ตกขาวอาจมีปริมาณมากขึ้น มีสีขาวขุ่นเล็กน้อยในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยปกติ ตกขาวจะมีความเหนียว บาง เป็นเมือกขาว ๆ ใส ๆ ทั้งนี้ ปริมาณของตกขาวอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจมีตกขาวมาก ในขณะที่บางคนอาจมีตกขาวน้อยมาก  ตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร ตกขาวที่ผิดปกติ อาจสังเกตได้จาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนี้ ตกขาวสีเทา เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียที่อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบ บางคนอาจมีอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด และช่องคลอดบวมแดง ตกขาวสีน้ำตาล หรือมีเลือดออกมาปะปน อาจหมายถึงอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ตกขาวสีชมพูอ่อน อาจมาจากเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลให้มีเลือดปะปนกับตกขาวกลายเป็นสีชมพู ตกขาวสีครีมจนถึงสีเหลืองอ่อน หากมีตกขาวสีครีม เหลืองอ่อน อาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากเนื้อเยื่อในช่องคลอดถูกเสียดสีระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ต่อมในช่องคลอดผลิตตกขาวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แต่หากมีอาการคัน […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวคือ อะไร สำคัญกับระบบสืบพันธุ์ผู้หญิงอย่างไร

ตกขาวคือ ของเหลวหรือสารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอด ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอด คือ ช่องคลอดจะดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว จากนั้นขับออกมาในรูปแบบของตกขาว นอกจากนี้สารคัดหลั่งเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ป้องกันภาวะช่องคลอดแห้ง การมีตกขาวถือเป็นภาวะปกติของร่างกาย แต่หากตกขาวมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ หรือเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีอื่น ๆ เช่น สีเขียว เหลือง น้ำตาล มีเลือดปน หรือพบความผิดปกติอื่น ๆ ของช่องคลอด เช่น แสบ คัน บวม แดง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของตกขาว ประเภทของตกขาว อาจสังเกตได้จากสีของตกขาว ดังนี้ ตกขาวสีขาว สีใส หรือเป็นเมือก เป็นเรื่องปกติที่เกิดจากการขับสิ่งสกปรก หรืออาจเป็นมูกใสที่บ่งบอกว่าเป็นช่วงที่ร่างกายมีการตกไข่ก่อนเป็นประจำเดือน เป็นสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดได้หลังจากถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ แต่ถ้าหากตกขาวมีสีขาวขุ่นมากกว่าปกติ อาจหมายถึงการติดเชื้อรา ซึ่งมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ส่งผลให้เกิดอาการคัน ปวดบวม แดง ร้อนของช่องคลอด เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวสีแดงหรือน้ำตาล มักมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ การติดเชื้อในช่องคลอดหรือในอุ้งเชิงกราน การมีก้อนหรือติ่งเนื้อบริเวณช่องคลอด หรือ ปากมดลูกโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก […]


การมีประจำเดือน

ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา และการดูแลตัวเอง

ตกขาว เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน พบบ่อยในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือในหญิงตั้งครรภ์ การตกขาวเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยการจำกัดเซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียออกจากช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดสะอาดมากขึ้น แต่หากตกขาวมีสีและกลิ่นรุนแรง โดยเฉพาะหากมีอาการคันหรือแสบในช่องคลอดร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในช่องคลอด อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลสุขภาพช่องคลอดอาจช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ ของเหลวที่ผลิตจากต่อมภายในช่องคลอดและปากมดลูก เพื่อจำกัดเซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียออกจากช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อ เพิ่มความชุ่มชื้นของช่องคลอด และช่วยให้ช่องคลอดสะอาด ในบางกรณีตกขาวอาจมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น สีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ช่วงมีประจำเดือน ช่วงไข่ตก ถูกกระตุ้นทางเพศ ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ตกขาวเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากตกขาวมีสีหรือกลิ่นที่รุนแรง โดยเฉพาะหากมีอาการคันหรือแสบในช่องคลอดร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูก อาการ อาการตกขาว อาการของตกขาวที่อาจบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพ มีดังนี้ ตกขาวมีกลิ่นเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็น สีเปลี่ยน เช่น สีเขียวเข้ม สีเหลือง หรือดูเหมือนเป็นสีของหนอง มีตกขาวร่วมกับอาการคัน แสบ บวม หรือแดงในบริเวณอวัยวะเพศ เป็นผื่น หรือเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนหรือเป็นฟอง สาเหตุ สาเหตุตกขาว โดยปกติ ตกขาวจะมาในช่วงมีประจำเดือน หรือก่อนมีประจำเดือนไม่กี่วัน แต่อาการตกขาวมากกว่าปกติตลอดทั้งเดือน มีสีและกลิ่นที่รุนแรงหรืออาจมีอาการคันและแสบในช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพ ดังนี้ […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ตกขาวมีกลิ่น สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

ตกขาว หมายถึงสารคัดหลั่งที่ขับออกมาจากช่องคลอด อาจมีลักษณะเป็นเมือกเหนียวสีใสหรือขุ่น โดยปกติแล้วมักไม่มีกลิ่นใด ๆ แต่หาก ตกขาวมีกลิ่น ก็อาจเป็นสัญญาณของถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคพยาธิในช่องคลอด ซึ่งหากไม่วินิจฉัยหาสาเหตุและตรวจรักษาให้หาย ก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ [embed-health-tool-”ovulation”] สาเหตุของอาการตกขาวมีกลิ่น อาการตกขาวมีกลิ่น อาจเกิดได้จากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นสภาวะที่เชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอดเพิ่มจำนวนมากเกินไปจนเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการตกขาวเป็นสีขาวหรือสีเทา มีกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังมีอาการคันที่ช่องคลอด และอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ โรคพยาธิในช่องคลอด โรคพยาธิในช่องคลอดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas vaginalis โดยปกติแล้วผู้ติดเชื้อนี้แทบไม่มีอาการใด ๆ แต่บางกรณีก็มีตกขาวเป็นสีใส สีขาว สีเหลือง หรือสีออกเขียว และมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ อาการคัน และผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศด้วย ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นการติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ุของเพศหญิง เช่น มดลูก ช่องคลอด รังไข่ ท่อนำไข่ มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ตกขาวแบบมีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย มีเลือดออกกระปริดกระปรอย เป็นไข้ หนาวสั่น เจ็บขณะปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ สิ่งแปลกปลอมตกค้างในช่องคลอด สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด เศษถุงยางอนามัย เซ็กส์ทอย […]


การตรวจคัดกรองโรคในผู้หญิง

ตรวจภายใน สำคัญอย่างไร ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตรวจภายใน เป็นการตรวจอวัยวะของสืบพันธ์ุเพศหญิง เพื่อหาสัญญาณของโรค และอาการผิดปกติ เช่นอาการเจ็บปวดอวัยวะเพศที่ผิดปกติ แผลในอวัยวะเพศ เนื้องอก ประจำเดือนผิดปกติ หรือตรวจหามะเร็งปากมดลูก การตรวจภายในเป็นประจำทุกปีอาจช่วยป้องกันปัญหาทางระบบสืบพันธ์ุ และอาจช่วยให้รักษาโรคระยะเริ่มต้นได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ตรวจภายใน คืออะไร ตรวจภายใน คือ การตรวจสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่คุณหมอจะตรวจดูอวัยวะของระบบสืบพันธ์ุเพศหญิงทั้งภายนอกและภายใน เพื่อหาสัญญาณความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด ท่องนำไข่ มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตรวจภายในสำคัญอย่างไร ผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพทางเพศ ดังนี้ ตรวจปัญหาสุขภาพและโรคมะเร็ง เป็นการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหามะเร็งและโรคทางระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ หากพบว่ามีก้อนเนื้อที่ผิดปกติ หรือช่องคลอดอักเสบเรื้อรัง คุณหมออาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือนเพื่อติดตามอาการ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่อายุ 40-45 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี หากพบปัญหา จะได้รักษาอย่างทันท่วงที และอาจหายขาดได้ นอกจากนี้ การตรวจอุ้งเชิงกรานอาจมีเป้าหมายเพื่อเตรียมการตั้งครรภ์ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของช่องคลอด เพื่อให้ทารกปลอดภัยจากโรคติดต่อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด ตรวจหาสาเหตุของอาการโรคนารีเวช คือ การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานสตรี เช่น ปากมดลูก […]


การมีประจำเดือน

เมนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไร

เมนไม่มา หรือ ประจำเดือนไม่มา คือ ภาวะที่ประจำเดือนไม่มาประมาณ 1-3 เดือน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะความเครียด ฮอร์โมนไม่สมดุล การตั้งครรภ์ หากไม่ทำการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่าง เยื่อบุโพรงมดลูกหนา มีบุตรยาก ภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น [embed-health-tool-”ovulation”] เมนไม่มา คืออะไร ประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมาโดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน หรือในช่วง 21-40 วัน ซึ่งอาการประจำเดือนไม่มาตามรอบเดือน อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่มีประจำเดือน เมื่อมีอายุ 15 ปี ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือ ภาวะที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่อาจมีภาวะประจำเดือนไม่มาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนอาจมีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล สาเหตุที่เมนไม่มา สาเหตุที่อาจทำให้ประจำเดือนไม่มา อาจมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้ ความเครียด เมื่อระดับความเครียดเพิ่มขึ้น อาจทำให้รอบเดือนเลื่อน หรือประจำเดือนไม่มาได้ ควรบรรเทาความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ เพื่อความผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย การวิ่ง การลดน้ำหนัก […]


สุขภาพหญิง

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพผู้หญิง ให้แข็งแรงทุกช่วงวัย

การดูแลสุขภาพผู้หญิง เป็นการดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงในทุกช่วงวัย ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และสภาะจิตใจ ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะได้มีความสุขกับการมีสุขภาพดีในทุกช่วงวัย [embed-health-tool-ovulation] เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพผู้หญิง มีอะไรบ้าง เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพนั้นมีหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลตนเองด้วยการรับประทาน เพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน ทั้งนี้ แนวปฏิบัติสำหรับการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อดูแลสุขภาพผู้หญิงมีดังนี้ รับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ควรเลือกรับประทาน เพราะอาหารบางอย่างให้คุณประโยชน์มากมายกว่าที่คุณคิด แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงกินผัก ผลไม้ 5 สี ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อไม่ติดมัน หรือสัตว์ปีก เช่น ปลา ไก่ ไข่ เต้าหู้ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ดื่มน้ำเปล่าประมาณ 6- 8 แก้ว และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เค้ก พิซซ่า อาหารทอด มันฝรั่งทอด ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดหรือรสจัด หรือเวลาทำอาหารควรใส่เกลือ หรือน้ำปลาเพียงเล็กน้อย หากไม่ใส่เลยก็ยิ่งดี เคล็ดลับอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพ การดูแลสุขภาพผู้หญิง […]


การตรวจคัดกรองโรคในผู้หญิง

ตรวจมวลกระดูก อีกวิธีการรับมือกับภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิง

กระดูกมีความสำคัญต่อร่างกายมากกว่าที่คิด เพราะเป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยปกป้องอวัยวะภายใน เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว ร่างกายสูญเสียกระดูกและสร้างกระดูกใหม่อยู่ตลอด แต่ยิ่งมีอายุมากขึ้น การสร้างกระดูกใหม่ก็จะยิ่งทำได้ยาก และกระดูกก็อ่อนแอลงด้วย การ ตรวจมวลกระดูก โดยเฉพาะในผู้หญิง จึงถือเป็นการตรวจร่างกายที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาสุขภาพกระดูกได้ทัน โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน ตรวจมวลกระดูก คืออะไร การตรวจมวลกระดูกหรือการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยม เพราะช่วยให้รู้ว่าสุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงในระดับใด และมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ ตรวจมวลกระดูก มีวิธีทดสอบอย่างไร การตรวจมวลกระดูก คือการวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธีที่เรียกว่า DXA scan โดยคำว่า “DEX” ย่อมาจาก “Dual Energy X–ray Absorptiometry” เป็นการเอกซเรย์รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้รังสีเอกซ์ในระดับต่ำมากเพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูก การสแกน DEXA จะวัดปริมาณแร่ธาตุบางชนิดในกระดูก เช่น สะโพก กระดูกสันหลัง ข้อมือ การเตรียมตัวก่อนการตรวจมวลกระดูก การทดสอบความหนาแน่นของกระดูกนั้นง่าย รวดเร็ว และไม่เจ็บปวด ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก แต่ก่อนเข้ารับการตรวจมวลกระดูก ควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ก่อนการทดสอบตรวจมวลกระดูก สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ปกติ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารเสริมพวกแคลเซียม วิตามินรวม และยาลดกรด พยายามสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ใส่สบาย และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีซิป […]


ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ออกกำลังกายแบบไหน ช่วยรับมือโรค

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังอาจสามารถช่วยในการรับมือกับโรคบางอย่างได้อย่างที่คาดไม่ถึง เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ เทคนิค การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจช่วยให้ป้องกันและบรรเทาโรคได้ [embed-health-tool-ovulation] ทำความรู้จักกับ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome : PCOS) หมายถึงอาการความผิดปกติของระบบฮอร์โมน ทำให้ภายในร่างกายของผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป จนส่งผลให้รังไข่ผลิตถุงน้ำรังไข่ขึ้นมาในปริมาณมาก และไม่สามารถตกไข่ได้ตามปกติ ปัญหา โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ นี้ พบได้มากถึง 12-21% ของผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ โรคนี้สามารถนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ปัญหาการมีบุตรยาก ประจำเดือนมาผิดปกติ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ระบบเผาผลาญผิดปกติ โรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยการรับประทานยาบางชนิด การเลือกรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ การออกกำลังกาย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยบรรเทาอาการของ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ เพื่อจากสามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกาย รวมไปถึงยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพราะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อีกด้วย การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่แพทย์แนะนำ มีดังนี้ การออกกำลังกายแบบ HIIT การออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High Intensity Interval Training เป็นทางเลือกในการกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ป่วย […]


วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน ออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะสม

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะกับสตรีที่เข้าสู่ วัยหมดประจำเดือน การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมที่ไม่ควรละเลย เพราะมีส่วนช่วยเสริมสุขภาพของวัยหมดประจำเดือนให้มีความสมดุล สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ช่วงวัย หมดประจำเดือน ควรออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะสม และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ มาอ่านกันได้ที่บทความนี้เลย จาก Hello คุณหมอ วัยหมดประจำเดือน ออกกำลังกายดีอย่างไร การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เข้าสู่วัย หมดประจำเดือน ให้ประโยชน์ที่ดีในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ผู้หญิงที่ หมดประจำเดือน แล้ว มักจะพบกับปัญหาการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และมีมวลไขมันเข้ามาแทนที่ จึงเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง การออกกำลังกายช่วยให้น้ำหนักในร่างกายสมดุล เมื่อน้ำหนักร่างกายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการมีน้ำหนักตัวมาก เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง กระดูกแข็งแรง ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้น มวลกระดูกก็เริ่มที่จะมีการเสื่อมสภาพ แต่การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพหรือการสูญเสียมวลกระดูก ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน อารมณ์ดี วัยหมดประจำเดือนมักพ่วงมากับอารมณ์ที่แปรปรวน เนื่องจากความผันผวนหรือการขาดหายของฮอร์โมน การออกกำลังกายจะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความสมดุล ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี ทั้งยังลดความเสี่ยงของภาวะความจำเสื่อมด้วย  วัยหมดประจำเดือน ออกกำลังกายแบบไหนดี ผู้หญิงที่เข้าสู่วัย หมดประจำเดือน สามารถเลือกออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ ดังนี้ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เป็นกิจกรรมที่ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน และควบคุมน้ำหนักให้สมดุลตามเกณฑ์ได้เป็นอย่างดี เพราะมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม