สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพหญิง

ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ช็อกโกแลตซีสต์ อันตรายของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือถุงน้ำในรังไข่ที่ภายในประกอบไปด้วยเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ในอนาคต ดังนั้น หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ ท้องเสีย มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในทันที [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ ช็อกโกแลตซีสต์  ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เต็มไปด้วยเลือดเก่า ซีสต์เหล่านี้แพทย์มักจะเรียกว่า เอนโดเมทริโอมา (Endometrioma) ซึ่งมันไม่ใช่มะเร็ง แต่แพทย์มักจะให้ความหมายว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเรียกว่า เอนโดเมทริโอซิส (Endometriosis) ผู้ที่มีเยื่อโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดขึ้นในผู้หญิงประมาณ 20-40% จะสามารถพัฒนาเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ ช็อกโกแลตซีสต์ มักก่อตัวลึกภายในรังไข่ จะมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายดินน้ำมันและมองดูแล้วจะคล้ายกับช็อกโกแลตที่ละลายแล้ว สีน้ำตาลนั้นมาจากเลือดประจำเดือนและเนื้อเยื่อที่เติมเข้าในโพรงของถุงน้ำ ช็อกโกแลตซีสต์อาจมีผลต่อรังไข่ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ครั้ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นความผิดปกติทั่วไปที่เยื่อบุของมดลูก หรือที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตนอกมดลูก และสู่รังไข่ ท่อรังไข่ และพื้นที่อื่น ๆ ของระบบสืบพันธุ์ การมีเยื่อบุมากเกินไปทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและบางครั้งก็มีบุตรยากช็อกโกแลตซีสต์เป็นกลุ่มย่อยของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะให้กลายเป็นโรคที่รุนแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดซีสต์ช็อกโกแลต เนื้อเยื่อเยื่อบุโพรงมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้เนื้อเยื่อนี้เติบโตนอกมดลูก เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถติดกับรังไข่ ท่อนำไข่ และอวัยวะใกล้เคียง เช่น […]


การมีประจำเดือน

มี ประจำเดือน 2 ครั้ง ต่อเดือน ร่างกายเราผิดปกติ อะไรเปล่านะ ?

ปกติรอบเดือนของคุณผู้หญิงมักมาแค่เดือนละ 1 ครั้ง แต่จู่ๆ ก็ดันมีเลือดคล้าย ประจำเดือน ไหลออกมาอีกเป็นครั้งที่ 2 จนทำให้เราสับสนในการนับวันตกไข่ หรือวันที่รอบเดือนจะมาในครั้งถัดไป สาวๆ บางคนแอบวิตกกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวโรคร้ายแรงจะถามหา วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณผู้หญิงทั้งหลายมาคลายข้อสงสัยกัน ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไรหรือ… วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่ มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่ ภาวะไข่ไม่ตก (Lack of ovulation) ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว […]


สุขภาพหญิง

สุขภาพช่องคลอด แข็งแรงได้ ด้วยการเลือกสวมชุดชั้นในที่เหมาะสม

เคยคิดไหมว่า “ฉันกำลังเลือกชุดชั้นในผิดอยู่รึเปล่า?” ความจริงแล้วเรื่องของชุดชั้นในถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะชุดชั้นในที่คุณสวมใส่นั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพของช่องคลอดได้เลยทีเดียว ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องเทคนิคการเลือกชุดชั้นในเพื่อ สุขภาพช่องคลอด มาฝากกันในบทความนี้ สุขภาพช่องคลอด ที่ดี เริ่มต้นจากการเลือกชุดชั้นใน รู้หรือไม่ว่าหากเลือกคุณส่วนชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสมไปออกกำลังกาย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ดังนั้นการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสมกับกิจวัตรต่างๆ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ้งเทคนิคการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสม มีดังนี้ เลือกชุดชั้นในที่ทำจากผ้าธรรมชาติ ช่องคลอดถือเป็นบริเวณที่บอบบางมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี การเลือชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายถือเป็นเนื้อผ้าที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นเนื้อผ้าที่เรียบ อ่อนโยนต่อการสัมผัสที่ผิว นอกจากนี้ยังระบายอากาศและดูดซับได้ดี ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากยีสต์ได้ ชุดชั้นในที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น ไนลอน และสแปนเด็กซ์ นอกจากจะระบายอากาศไม่ดีแล้ว ยังเก็บความร้อนและความชื้นไว้อีกด้วย ซึ่งความร้อนและความชื้นถือเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับเชื้อยีสต์ หลีกเลี่ยงการใส่จีสตริงเมื่อต้องออกกำลังกาย เนื่องจากการสวมกางเกงผ้าสแปนเด็กซ์ตอนออกกำลังกายนั้นทำให้เห็นขอบของชุดชั้นใน ดังนั้นชุดชั้นในจีสตริงจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จีสตริงจะกระชับ แต่เมื่อมันเลื่อนไปมาระหว่างออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีและความร้อน ซึ่งเป็นการนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้ นอกจากนั้นแล้วชุดชั้นในแบบจีสตริงยังอาจทำให้ช่องคลอดติดเชื้ออีโคไล (E. coli) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักพบบ่อยในอุจจาระ การส่งผ่านเชื้อนี้ผ่านทางชุดชั้นในจีสตริงไปยังช่องคลอด อาจนำไปสู่มดลูก และพัฒนาการเป็นโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบได้ด้วย ควรเปลี่ยนชุดชั้นในทุกวันหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยปกติแล้วเรามักจะส่วมชุดชั้นในหนึ่งคู่ต่อวัน แล้วนำไปซัก ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นเสมอไป แพทย์บางคนบอกว่าหากมีเหงื่อออกมาก หรือรู้สึกไม่สบายใจจากการตกขาว ก็สามารถเปลี่ยนชุดชั้นในได้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน การสวมชุดชั้นในที่มีความชื้นตลอดเวลาไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นได้ ไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืน เพื่อระบายความชื้น มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมากว่าการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืนนั้นดีหรือไม่ แต่ความจริงแล้วการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืนช่วยไม่ให้เกิดการติดเชื้อยีสต์ได้ นอกจากนั้นแล้วการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืน ยังทำให้เพิ่มพื้นที่หายใจและป้องกันความชื้นที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งความชื้นนั้นเป็นสภาพที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบคทีเรีย แต่หากไม่ชอบควมรู้สึกโล่ง […]


การมีประจำเดือน

ผ้าอนามัยแบบสอด ทำความเข้าใจก่อนใช้งานจริง

ผ้าอนามัย เป็นของใช้จำเป็นในช่วงมีประจำเดือนสำหรับคุณผู้หญิง ซึ่งผ้าอนามัยมีหลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด และอื่น ๆ ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นตามยุคตามสมัย โดยการเลือกใช้ผ้าอนามัยอาจขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่ต้องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรศึกษาถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ทำความรู้จักกับ ผ้าอนามัยแบบสอด ทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้ประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอด (Tampon) ถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดจะถูกแทรกเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูดซับประจำเดือน ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ทำจากฝ้าย เรยอน หรืออาจจะมีการผสมทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกัน สำหรับวิธีการใส่ก็ได้รับการออกแบบมาให้ใส่โดยใช้พลาสติก กระดาษแข็ง หรือสามารถใส่โดยตรงก็ได้เช่นกัน เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดถูกใส่เข้าไปในช่องคลอดจะมีการขยายตัวเกิดขึ้น ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน โดยขนาดนั้นหมายถึงความสามารถในการดูดซับ ไม่ได้หมายถึงความยาว หรือความกว้าง เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปอยู่ในร่างกาย นอกจากผ้าอนามัยแบบสอดจะใช้ในการดูดซับประจำเดือนแล้ว บางครั้งยังถูกนำมาใช้สำหรับการห้ามเลือดในการผ่าตัดอีกด้วย วิธีใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างถูกต้อง เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดมีวิธีการใช้หลายรูปแบบด้วยกัน ดังนั้น บางวิธีการใช้จะไม่ได้เพียงแค่ตัวผ้าอนามัยแบบสอดเพียงชิ้นเดียว โดยส่วนประกอบของผ้าอนามัยแบบสอด มีดังนี้ ตัวผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก มักทำจากฝ้าย เรยอน และฝ้ายออร์แกนิก รูปร่างของผ้าอนามัยแบบสอดคือ รูปทรงกระบอก และสามารถขยายเมื่อเปียกน้ำ เชือกที่ยื่นออกมาจากผ้าอนามัยแบบสอด มีไว้สำหรับถอดผ้าอนามัยแบบสอดออกจากช่องคลอด สิ่งที่ล้อมรอบผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก ประกอบด้วยกล่อง ด้ามจับ […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากสาเหตุใด และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 24-38 วัน และจะมีประจำเดือนเป็นเวลา 2-8 วันต่อเดือน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นอันตราย แต่บางกรณีก็อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง แล้ว ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากสาเหตุใด และเมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาคุณหมอ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีลักษณะเป็นอย่างไร รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีลักษณะต่างๆ เช่น ประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ ประจำเดือนมาหลายวัน มากเกินไป ช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือนเริ่มเปลี่ยนแปลง จำนวนวันที่มีประจำเดือนแตกต่างกันมาก การบันทึกข้อมูลของการมีประจำเดือน จะช่วยให้คุณรู้ว่าประจำเดือนมาปกติ หรือไม่ปกติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติจะไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรง แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีดังต่อไปนี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจาก สาเหตุใดบ้าง ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโพเจสเตอโรน (Progesterone) จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวัยรุ่นและวัยใกล้หมดประจำเดือน จึงเกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อรอบประจำเดือน ดังนี้ การตั้งครรภ์ หรือการให้นมลูก ประจำเดือนไม่มา สามารถเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ และการให้นมลูกอาจส่งผลให้ การกลับมามีประจำเดือนหลังคลอดช้าลง การกินผิดปกติ การลดน้ำหนักเร็วเกินไป หรือออกกำลังกายอย่างหนัก รวมถึงการกินผิดปกติ ทั้ง 3 สาเหตุนี้สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ ถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome, PCOS) […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

7 สาเหตุของ อาการปวดหลังในผู้หญิง ที่อาจไม่ได้เกิดจากแค่ที่หลัง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และบ่อยครั้งที่อาการปวดหลัง ก็ไม่ได้เกิดมาจากที่หลังของเราโดยตรง แต่สามารถเป็นผลกระทบมาจากอาการปวดในที่อื่น หรือจากโรคบางอย่างก็เป็นได้ มาทำความรู้จักกับ 7 สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการปวดหลังในผู้หญิง เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกจุด กับ Hello คุณหมอ 1.โรคปวดก้นกบ โรคปวดก้นกบ (Coccydynia) มีผลต่อผู้หญิงทุกวัย แต่ผู้หญิงวัย 40 ปีเป็นอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการ โดยอาการของโรคปวดก้นกบจะหายไปภายในสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่อาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ทำให้คุณไม่สามารถขับรถหรือก้มตัวโดยไม่เจ็บปวด อาการของโรคปวดก้นกบคือจะค่อยๆ เจ็บปวดบริเวณก้นกบ หรือเกิดขึ้นทันที หลังจากได้รับผลกระทบบริเวณปลายสุดของกระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบมักจะเจ็บเมื่อสัมผัส นั่ง หรือได้รับแรงกดบนบริเวณที่เจ็บ นอกจากนี้อาการท้องผูกจะเพิ่มความเจ็บปวด แต่อาการปวดจะลดลงหลังจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปวดก้นกบมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า เนื่องจากการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และตำแหน่งของกระดูกก้นกบที่ได้รับการป้องกันน้อยในผู้หญิง ถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย ถึงแม้ว่าโรคกระดูกก้นกบส่วนใหญ่จะเกิดจากการคลอดบุตร หรือการล้มไปด้านหลัง คุณหมอก็ยังคงไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ทุกครั้ง แต่สาเหตุอาจเกิดจากการที่กระดูกก้นกบไม่ยืดหยุ่นพอ ที่จะโค้งงอเนื่องจากแรงกดดัน ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่กระดูกต้นกบและเส้นเอ็นบริเวณใกล้เคือง หรือบาดเจ็บทั้งสองส่วน 2. กระดูกยุบตัวเนื่องจากกระดูกพรุน ผู้หญิงมีแนวโน้มเกือบ 2 เท่า ที่จะเป็นโรคกระดูกยุบตัว (Conpression Fractre) มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากโรคกระดูกยุบตัวมีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ถ้าคุณอายุมากกว่า 45 ปี และมีอาการปวดหลังฉับพลันและปวดรุนแรง […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

มีติ่งเนื้อปากมดลูก คุณมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้หรือเปล่า?

มีติ่งเนื้อปากมดลูก อาการผิดปกติที่ปากมดลูกนี้ เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี และมีบุตรอย่างน้อยหนึ่งคน คุณมี ปัจจัยเสี่ยง แค่ไหนในการเกิดภาวะนี้ ลองมาอ่านรายละเอียดที่ทาง Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน ติ่งเนื้อปากมดลูก คืออะไร? ปากมดลูก หรือ คอมดลูก (Cervix) เป็นทางเชื่อมมดลูกและช่องคลอด ติ่งเนื้อปากมดลูก (Cervical Polyps) มักเกิดขึ้นในช่องเปิดใกล้ช่องคลอด ติ่งเนื้อปากมดลูกมีสีจากสีแดงเหมือนเชอร์รี่ ไปจนถึงสีม่วงปนแดง โดยในบางครั้งมีสีขาวปนเทา ติ่งเนื้อปากมดลูกมีขนาดที่หลากหลาย และมักไม่เป็นอันตราย ติ่งเนื้อปากมดลูกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร อย่างไรก็ดี เนื่องจากมะเร็งหลายประเภทอาจดูเหมือนกับติ่งเนื้อปากมดลูก ติ่งเนื้อทั้งหมดควรมีการจัดการอย่างระมัดระวังโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ สาเหตุ ถึงแม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของติ่งเนื้อปากมดลูกยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แพทย์เชื่อว่าติ่งเนื้อปากมดลูกมีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบที่ปากมดลูก สาเหตุที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือการตอบสนองที่ผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในผู้หญิง ติ่งเนื้อปากมดลูกพบได้ทั่วไป ผู้หญิงหลายคนมีติ่งเนื้อปากมดลูก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีและมีบุตรอย่างน้อยหนึ่งคน เด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนจะพบติ่งเนื้อปากมดลูกได้น้อย ประเภทของ ติ่งเนื้อ ติ่งเนื้อคอมดลูกมี 2 ประเภท ได้แก่ ติ่งเนื้อปากมดลูกภายนอก (Ectocervical polyps) เป็นติ่งเนื้อที่เติบโตที่เซลล์พื้นผิวของคอมดลูก มักพบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ติ่งเนื้อปากมดลูกภายใน (Endocervical polyps) เป็นติ่งเนื้อที่เติบโตจากต่อมต่างๆ […]


สุขภาพหญิง

โอกาสและทางเลือกในการตั้งครรภ์สำหรับ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่

ผู้หญิงที่ประสบปัญหามะเร็งรังไข่ และได้เข้ารับการรักษา มะเร็งรังไข่ มาแล้ว ปัญหาเหล่านี้ อาจสามารถส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตรได้ในอนาคต แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีวิธีที่วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีที่จะช่วยให้ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ จะช่วยให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่นั้นมีโอกาสในการมีลูกได้ไม่แพ้ผู้หญิงคนอื่น ๆ ทั่วไปได้เช่นเดียวกัน มาฝากให้ทุกคนได้ลองอ่าน และทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันค่ะ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ ส่งผลต่อ ภาวะเจริญพันธุ์ อย่างไร ผู้หญิงที่ประสบกับภาวะมีบุตรยาก หมายถึงผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ โดยไม่มีการช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ใดๆ ดังต่อไปนี้ การผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง เคมีบำบัด ซึ่งทำให้ประจำเดือนหยุด และส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ การฉายรังสี ซึ่งส่งผลต่อความสามารถของรังไข่ ในการสร้างไข่ที่โตเต็มวัย ก่อนรักษา มะเร็งรังไข่ ควรทำอย่างไรจึงจะรักษา ภาวะเจริญพันธุ์ ได้ ผู้หญิงที่ตัดสินใจเข้ารักษามะเร็งรังไข่ สามารถเลือกวิธีเพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์เอาไว้ได้ ดังนี้ แช่แข็งตัวอ่อน แช่แข็งไข่ เป็นการเก็บเซลล์ไข่เอาไว้ด้วยการแช่แข็ง ใช้วิธีการป้องกันรังสี เป็นวิธีที่ทำให้รังไข่ได้รับปริมาณรังสีลดลง ด้วยการนำโล่ตะกั่วขนาดเล็กมาวางเอาไว้เหนือรังไข่ ย้ายรังไข่ (oophoropexy) โดยวิธีการนี้รังไข่จะถูกจัดตำแหน่งใหม่ เพื่อให้รังไข่หลีกเลี่ยงจากรังสีที่ถูกฉายลงมายังบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่หลังจากนั้นก็ต้องเปลี่ยนตำแหน่งรังไข่อีกครั้ง เพื่อจะได้สามารถตั้งครรภ์ได้ ผ่าตัดเอาปากมดลูกออก ซึ่งวิธีการนี้จะใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น โดยมีการผ่าตัดส่วนที่เป็นทรงกรวยขนาดใหญ่ของปากมดลูก รวมถึงบริเวณที่เป็นมะเร็งออก สำหรับส่วนที่เหลือของปากมดลูกและมดลูก จะถูกเก็บรักษาเอาไว้ ดังนั้น ผู้หญิงที่ยังเหลือรังไข่หนึ่งข้าง อาจสามารถตั้งครรภ์ได้ ส่วนผู้หญิงที่ไม่มีรังไข่อาจตกอยู่ในภาวะมีบุตรยาก แต่สามารถเลือกวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ ทางเลือกการรักษา ภาวะมีบุตรยาก การปฏิสนธิภายนอกร่างกายจากไข่ของผู้บริจาค (In […]


การมีประจำเดือน

กินมากผิดปกติ อีกหนึ่งอาการก่อนมีประจำเดือน

สมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (ACOG) ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงกว่า 85% จะมีอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS หรือ Pre-menstrual syndrome) อย่างน้อย 1 อาการ โดยอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นมีด้วยกันมีหลายอาการ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะกล่าวถึงอาการ กินมากผิดปกติ พร้อมบอกวิธีรับมือกับอาการดังกล่าวแบบง่าย ๆ แถมไม่เสียสุขภาพด้วย กินมากผิดปกติ… อาการก่อนมีประจำเดือนที่พบบ่อย อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS หรือ Pre-menstrual syndrome) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน และสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า 70% ของผู้หญิง ต้องประสบกับอาการก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ อยากอาหารมากขึ้น ท้องอืด เหนื่อยล้า มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดง่าย นอกจากนี้ ยังมีอาการกินมากผิดปกติหรือกินไม่หยุด (Compulsive eating หรือ Binge eating) กล่าวคือ อยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งในบางกรณี อาจพัฒนาไปสู่โรคกินไม่หยุด (Binge eating disorder) […]


การมีประจำเดือน

ผู้หญิงท้องได้หรือเปล่าในระหว่าง มีประจำเดือน

หลายคนอาจเชื่อว่า ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในช่วงประจำเดือน แต่ความจริงแล้ว ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ในช่วงที่ มีประจำเดือน Hello คุณหมอ จึงนำเรื่องราวที่น่าสนใจประเด็นนี้ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ ประจำเดือนคืออะไร ทุก ๆ เดือน ผนังมดลูกจะหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว หากไข่ไม่ได้รับการผสม หรือไม่สามารถฝังตัวในผนังมดลูกได้ เนื้อเยื่อผนังมดลูกจะถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย ผ่านทางช่องคลอด ในรูปแบบของเลือดประจำเดือน กระบวนการนี้เรียกว่า การมีประจำเดือนหรือรอบเดือน การมีประจำเดือนเป็นกระบวนการของร่างกายทั่วไปที่เกิดขึ้นทุกเดือนสำหรับผู้หญิงทุกคน เมื่อร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเข้าสู่ภาวะการเจริญพันธุ์ สามารถตั้งครรภ์ในช่วง มีประจำเดือน ได้หรือไม่ คนจำนวนมากคิดว่า หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างมีประจำเดือนแล้ว จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ข้อเท็จจริงคือ ผู้หญิงยังคงตั้งครรภ์ได้อยู่ในขณะที่มีประจำเดือน โดยสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุบางประการ ดังนี้ 1. เลือดที่ไหลออกทางช่องคลอด ไม่ใช่เลือดออกจากการมีประจำเดือนเสมอไป ในบางครั้งเด็กสาวยังมีภาวะเลือดออกได้ เมื่อมีการตกไข่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีภาวะการเจริญพันธุ์มากที่สุด ผู้หญิงที่มีการตกไข่ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่า เป็นเลือดออกจากการมีประจำเดือนได้ 2. การตกไข่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือ 2-3 วันหลังสิ้นสุดการมีประจำเดือนก็ได้ การตกไข่ของผู้หญิงแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละรอบของการมีประจำเดือน จึงบอกแน่ชัดไม่ได้ว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงที่มีภาวะการเจริญพันธุ์มากที่สุด เนื่องจากอสุจิสามารถอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้ 2-3 วัน หรืออาจนานถึง 5 วัน และสามารถผสมกับไข่ได้ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน การหลั่งอสุจิภายในช่องคลอด แม้จะเป็นในช่วงที่ฝ่ายหญิงมีประจำเดือนอยู่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม