สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพหญิง

สุขภาพหญิง

ไทรอยด์กับผู้หญิง รู้หรือไม่ ไทรอยด์อาจส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็ก ที่ดูเหมือนผีเสื้อ ตั้งอยู่ที่ฐานคอของคนเรา ฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ จะควบคุมกระบวนการเผาผลาญของร่างกายเกือบทั้งหมด นับตั้งแต่ความเร็วในการเผาผลาญแคลอรี่ ไปจนถึงความเร็วในการเต้นของหัวใจ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ปัญหา ไทรอยด์กับผู้หญิง นั้นอาจเกิดขึ้นมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหลังการคลอดบุตร หรือช่วงหมดประจำเดือน ลองหาคำตอบได้จากบทความนี้ [embed-health-tool-ovulation] ไทรอยด์กับผู้หญิง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร โรคที่ต่อมไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ของคุณยังมีบทบาทสำคัญต่อการมีประจำเดือน ภาวะขาดประจำเดือน (Amennorrhea) เป็นอาการของต่อมไทรอยด์ ที่อาจทำให้ประจำเดือนขาดหายไปนานหลายเดือน หรืออาจจะหลายปี หากโรคที่ต่อมไทรอยด์มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกัน เป็นไปได้ว่ารังไข่จะได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้คุณอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ เนื่องจากปัญหาของต่อมไทรอยด์รบกวนการมีประจำเดือน ขัดขวางการตกไข่ จึงอาจทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ โรคที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ยังอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อมารดาและบุตรในท้อง ใครมีแนวโน้มจะเกิดปัญหากับต่อมไทรอยด์ คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดปัญหากับต่อมไทรอยด์ เช่น ประวัติการมีปัญหาสุขภาพของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดหรือการรักษาด้วยรังสี ที่อาจส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ โรคคอพอก โรคโลหิตจาง หรือเบาหวานชนิดที่ 1 โรคที่ต่อมไทรอยด์ชนิดไหนที่ส่งผลต่อผู้หญิง โรคที่ต่อมไทรอยด์บางชนิดส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ได้แก่ ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyrodism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยเกินไป หรือต่อมไทรอยด์ทำงานไม่เพียงพอ ภาวะดังกล่าวจะทำให้การทำงานของร่างกายช้าลง โดยมากแล้วภาวะนี้จะเกิดจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s disease) การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก เป็นต้น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน จะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนกับสุขภาพ มาดูสิว่าประจำเดือนบ่งบอกสุขภาพยังไงบ้าง

สาวๆหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ประจำเดือนกับสุขภาพ เกี่ยวข้องกัน ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสนใจกับประจำเดือน เนื่องจากเราสามารถวิเคราะห์สุขภาพของเราได้จากลักษณะและสีของประจำเดือน ฉะนั้นเมื่อคุณมีประจำเดือนครั้งต่อไป ก็ลองตรวจดูว่ามีลักษณะหรือสีอย่างไร เพราะหากพบความปกติใดๆ จะได้รักษาหรือแก้ไขได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] สีและลักษณะของ ประจำเดือนกับสุขภาพ ที่สาวๆ ควรรู้ ประจำเดือนสีแดงสด สีแดงสดเหมือนสีรถดับเพลิงนั้น แสดงว่าคุณสาวๆไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เนื่องจากประจำเดือนสีแดงสด มักจะหมายถึง คุณเพิ่งจะเริ่มมีประจำเดือนได้ไม่กี่วัน ยิ่งคุณมีเลือดสดใหม่มากเท่าไหร่ ประจำเดือนของคุณก็จะมีสีแดงสดมากขึ้นเท่านั้น แต่ถึงแม้จะไม่ต้องกังวลในเรื่องของสุขภาพ แต่คราบสีที่แดงที่อาจติดอยู่บนเสื้อผ้านั้นอาจเป็นคนละเรื่องกัน ฉะนั้นก็ควรระมัดระวังเอาไว้ให้ดี อย่าให้เปื้อนเสื้อผ้าได้ หรือบางทีอาจต้องเตรียมเสื้อผ้าสำรองเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความมั่นใจและบุคลิกภาพของคุณค่ะ  ประจำเดือนสีแดงอมน้ำตาล หลังจากคุณมีประจำเดือนได้ประมาณสองสามวัน ประจำเดือนก็อาจเริ่มเปลี่ยนสีจากสีแดงสดไปเป็นสีแดงอมน้ำตาล ซึ่งประจำเดือนสีนี้อาจทำให้ใครๆ คิดว่านั่น คือ สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพได้ง่าย แต่จริงๆ แล้วนั่นเป็นสัญญาณที่ดี โดยปกติแล้วประจำเดือนสีแดงอมน้ำตาลนั้น คือ เป็นเลือดเก่าที่เคยอยู่ในมดลูกมาเป็นเวลานานกว่าเลือดสดใหม่ จึงมีโอกาสที่จะเกิดการออกซิเดชั่น สีจึงดูไม่สดใส อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ประจำเดือนของคุณเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลได้ ก็คือ การใส่ห่วงคุมกำเนิด โดยเฉพาะแบบโปรเจสเตอโรน การใส่ห่วงคุมกำเนิดจะทำให้ผนังมดลูกหลุดลอกออกมาในปริมาณน้อยกว่า ซึ่งก็หมายความว่าเลือดจะยังอยู่ในนั้นนานกว่าเดิม แต่ถึงแม้จะมีเลือดออกมาน้อยลง แต่เลือดพวกนั้นก็ยังก่อปัญหาติดตามเสื้อผ้าให้คุณได้อยู่ดี ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด ลิ่มเลือดหรือเลือดข้นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่คุณกำลังมีประจำเดือน โดยปกติแล้วก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เพราะนั้นเป็นแค่อาการของการมีเลือดออกเท่านั้นเอง ตราบใดที่ไม่ได้เป็นลิ่มเลือดอยู่ตลอดเวลา และไม่ได้มีขนาดใหญ่เกินกว่าเหรียญห้าบาท ก็ยังถือว่าคุณมีอาการปกติ แต่ถ้าลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ปกติแล้วผู้หญิงที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ มักจะมีประจำเดือนในปริมาณมาก ซึ่งก็หมายความว่า อาจจะอยู่ในภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน มีเนื้องอกในมดลูก […]


การมีประจำเดือน

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณและอาการที่บอกได้ว่าไม่ใช่แค่ปวดประจำเดือน

อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่า สาวๆ อาจกำลังมีอาการ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อให้ทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป เนื่องจาก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จะตรวจพบได้จากการใช้กล้อง เพื่อดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy) จึงต้องพบคุณหมอ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกไปเกิดขึ้นนอกโพรงมดลูก เช่น รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ หรือผนังกระเพาะปัสสาวะ โดยบางครั้งก็อาจกระจายออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป อย่างเช่น กระบังลม ปอด เยื่อหุ้มช่องปอด เป็นต้น โดยถึงแม้จะยังอยู่นอกมดลูก แต่เยื่อบุมดลูกเหล่านี้ ก็ยังมีปฏิกิริยาแบบเดิม นั่นก็คือ เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้น และหลุดลอกเป็นเลือดประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดประจำเดือนที่ข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดท้องเวลามีประจำเดือน หรือมีบุตรยาก สัญญาณที่บอกว่าสาวๆ กำลังมีอาการของ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 1. ปวดท้องโดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน อาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่ชัดเจนที่สุด ของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังไม่หาย และจะปวดมากยิ่งขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน เนื่องจากเนื้อเยื่อและเลือดที่ถูกขับออกมาจากเยื่อบุมดลูกที่ไม่ได้อยู่ในมดลูก จะไม่สามารถออกจากร่างกายได้ จึงทำให้เกิดอาการคั่งของเลือด เกิดอาการบวม และเจ็บปวด โดยจะเจ็บปวดมากที่สุด บริเวณหน้าท้องส่วนล่างและบั้นเอว เหมือนกับอาการปวดท้องกระจำเดือนทั่วไป อาการปวดอาจอยู่เฉพาะที่ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดลามไปยังส่วนอื่นๆที่อยู่รอบๆอย่างเช่น หลัง ขาหนีบ หรือทวารหนักได้ ความแตกต่างระหว่างปวดท้องประจำเดือนธรรมดา […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะภาวะช่องคลอดอักเสบจะทำให้มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเกิดการเปรอะเปื้อนระหว่างวัน ดังนั้น จึงควรสังเกตและตรวจสอบสุขภาพช่องคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นช่องคลอดอักเสบ หรือหากทราบถึงอาการหรือสัญญาณเตือนก็จะทำให้รักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของช่องคลอดอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เป็นโรคทางนรีเวชที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในช่องคลอดขาดความสมดุล มีสภาพเปลี่ยนแปลงเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งแอนนาโรบีส (Anaerobes) หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากกว่าแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เป็นแบคทีเรียที่ดี จึงทำให้ช่องคลอดขเต็มไปด้วยจุลินทรีย์จนเกิดการอักเสบตามมา พร้อมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบได้ ดังนี้ การมีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนใหม่บ่อยๆ การมีกิจกรรมทางเพศบ่อยครั้ง หรือเปลี่ยนคู่นอนคนใหม่ อาจส่งผลให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ จนช่องคลอดอักเสบและรู้สึกเจ็บปวด การทำความสะอาดแบบสวนล้าง การล้างช่องคลอดโดยการนำของเหลว เช่น น้ำ ฉีดอัดเข้าไปบริเวณช่องคลอดด้วยความแรง อาจทำให้ช่องเกิดการอักเสบนำและทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ สัญญาณ และอาการของช่องคลอดอักเสบ  หากมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อาจสังเกตสัญญาณเตือน หรืออาการบางอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ช่องคลอดมีของเหลวที่เหมือนน้ำ ไม่เข้มข้น มีสีเทาหรือขาว ไหลออกมา ช่องคลอดมีกลิ่นแรงอันไม่พึงประสงค์ และมีกลิ่นเหมือนคาวปลา คันรอบนอกช่องคลอด รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน แบคทีเรียในช่องคลอดอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเสมอไป แต่ในบางกรณี การมีแบคทีเรียในช่องคลอด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม อย่างเช่น ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ช่องคลอดอักเสบ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบคทีเรียในช่องคลอดเพิ่มความน่าจะเป็นของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อเอชไอวี เชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

แบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ

แบคทีเรียในช่องคลอด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี และหากแบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล คือมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีมากเกินไป อาจทำให้เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอดอย่างถูกวิธี หรือการใช้ยาและรับประทานยาตามที่คุณหมอสั่ง หากพบว่าติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจลดความเสี่ยง หรือบรรเทาอาการของโรคได้ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หากแบคทีเรียบางชนิดเติบโตขึ้นในช่องคลอดมากเกินไป จำนวนแบคทีเรียจะเสียสมดุล จนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการนี้เรียกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แน่ชัดของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมากกว่า หากคุณมีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน หรือเพิ่งมีคู่นอนคนใหม่ หรือในกรณีที่คุณชอบสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ แต่ในทางกลับกันหากคุณมีคู่นอนเพียงคนเดียว และไม่ได้สวนล้างช่องคลอด หรือไม่สูบบุหรี่ คุณอาจมีความเสี่ยงต่ำกว่าในการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด และแม้ว่าอาการนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็อาจเป็นได้เช่นกัน จะรู้ได้อย่างไรหากติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดไม่ได้แสดงอาการเสมอไป อาการที่พบบ่อยที่สุด ก็คือ ความผิดปกติของตกขาว คุณอาจสังเกตสีที่เปลี่ยนไป กลิ่นที่แย่ผิดปกติของตกขาว หรืออาจมีความรู้สึกแสบ คัน หรือเจ็บปวดในช่องคลอด หรือบริเวณใกล้ๆ ช่องคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดเป็นอันตรายหรือไม่ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมักจะไม่เป็นอันตราย อาการอาจจะหายได้เองหลังจากไม่กี่วัน แต่สามารถทำให้คุณมีปัญหาหากเกิดภาวะอื่นๆร่วมด้วย อย่างเช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนดหรือการติดเชื้อที่มดลูกหลังคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด จะทำให้คุณเสี่ยงที่จะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ระหว่างการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน เช่น การผ่าคลอด การทำแท้ง หรือการตัดมดลูกออก การติดแบคทีเรียในช่องคลอด จะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า หากคุณสัมผัสกับเชื้อนี้ การวินิจฉัยและการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด แบคทีเรียในช่องคลอด สามารถแพร่กระจายระหว่างคู่นอนที่เป็นหญิงรักหญิงได้ อย่างไรก็ตาม คุณจะไม่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจากฝาชักโครก การนอนเตียงร่วมกัน หรือการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเดียวกัน […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ถ้า หยุดกินยาคุมกำเนิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายผู้หญิง

สาวๆ แต่ละคนก็มีเหตุผลในการกินยาคุมกำเนิดไม่เหมือนกัน บางคนต้องการคุมกำเนิด บางคนกินเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับร่างกายบางอย่าง เช่น สิว ขนตามร่างกาย หรือบางคนกินเพราะแพทย์สั่ง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร Hello คุณหมอ จะชวนมาดูว่าหากสาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด ร่างกายอาจจะเกิดอาการอย่างไรบ้าง ผลข้างเคียงต่อร่างกายเมื่อ หยุดกินยาคุมกำเนิด มีผลต่อประจำเดือน ตอนที่กินยาคุมกำเนิดก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับการมีประจำเดือนอยู่แล้ว เช่น การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่ทำให้สาวๆ บางคนประจำเดือนเปลี่ยนไป มาเร็วไป มาช้าไป หรือเลือดออกน้อย ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ผู้หญิงหลายๆ คนก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงจนต้องไปหาคุณหมอ และเมื่อเวลาที่สาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมีความเป็นไปได้ที่ประจำเดือนจะผิดปกติ เนื่องจากในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีผลต่อประจำเดือนโดยตรง การหยุดกินยาคุมจะทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงกลับมาเป็นเหมือนเดิม ตอนที่ไม่ได้กินยาคุมกำเนิด จึงอาจเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เช่น มามากกว่าปกติ มาน้อยกว่าปกติ หากหยุดยาคุมกำเนิดแล้วประจำเดือนไม่มาหลายเดือนควรไปพบคุณหมอ สิวขึ้น ในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีผลทำให้ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง ซึ่งฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวผลิตไขมันซีบัม (Sebum) ออกมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว การกินยาคุมจึงช่วยลดการเกิดสิวได้ กลับกันหากสาวๆ หยุดกินยาคุม ฮอร์โมนก็จะกลับมาอยู่ในระดับปกติ […]


การมีประจำเดือน

ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause)

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปีแต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่น ๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร คืออะไร การหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ เมื่อวงจรการมีประจำเดือนหยุดลง ทั้งนี้ หากไม่มีรอบเดือนเป็นเวลานาน 12 เดือนติดต่อกัน ถือว่าได้เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่นๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้ไม่บ่อยนัก ตามข้อมูลจากสถิติที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา ภาวะนี้จะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 1,000 คน ของผู้หญิงในช่วงอายุ 15-29 ปี และ 1 ใน 100 คนของผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม