สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพหญิง

การมีประจำเดือน

5 เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน ที่ควรรู้

เมื่อ เป็นประจำเดือน เพศหญิงจะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดทุก ๆ 21-35 วัน เป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายผลิตไข่ และไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ แม้ว่าการมีประจำเดือนถือเป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือผู้ที่มีอายุประมาณ 12-55 ปี แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนอยู่หลายประการ เช่น มีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนแล้วไม่ท้อง ประจำเดือนเป็นเลือดสกปรก น้ำมะพร้าวทำให้ประจำเดือนหยุดไหล ไม่ควรออกกำลังกาย ระหว่างเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน แม้ประจำเดือนจะเป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงทุกคน แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนอยู่ซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อย มีดังนี้ มีเพศสัมพันธ์ระหว่างเป็นประจำเดือนแล้วจะไม่ท้อง คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่าง เป็นมีประจำเดือน จะไม่ทำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากประจำเดือนเกิดขึ้นหลังจากไข่ตกและไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้ในขณะมีประจำเดือนไม่มีไข่ที่พร้อมปฏิสนธิ จึงไม่ทำให้ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่มีรอบเดือนสั้น หรือระหว่าง 21-24 วัน เมื่อเป็นประจำเดือน ร่างกายจะตกไข่ฟองใหม่ภายใน 4-5 วันนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน และหากมีเพศสัมพันธ์ในวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน เซลล์อสุจิซึ่งมีชีวิตอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้นานประมาณ 5 วัน อาจสามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่ตกระหว่างเป็นประจำเดือน และอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ ไม่ควรออกกำลังกาย ขณะเป็นประจำเดือน เพศหญิงมักเข้าใจว่าระหว่าง เป็นประจำเดือน ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง […]


การมีประจำเดือน

ปจด. กับปัญหากวนใจที่พบได้บ่อยในเพศหญิง

ปจด. หรือประจำเดือน หมายถึงภาวะเลือดออกทางช่องคลอดของเพศหญิงทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ 21-35 วัน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน หลังจากที่ร่างกายตกไข่แล้วไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิของเพศชาย ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ เพศหญิงอาจพบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับประจำเดือนแตกต่างกันไป เช่น ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนขาด ปวดท้องประจำเดือน หากปัญหาเหล่านี้สร้างความไม่สบายตัวหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ได้ [embed-health-tool-ovulation] ปจด. คืออะไร ปจด. เป็นคำย่อของประจำเดือน หรือการที่ร่างกายเพศหญิงมีเลือดออกทางช่องคลอดเดือนละครั้ง ซึ่งนับเป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยทั่วไป ผู้หญิงมักมีประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุ 12-16 ปี และจะหยุดมี ปจด. เมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือเมื่ออายุราว ๆ 45-55 ปี ซึ่งร่างกายจะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทั้งนี้ ประจำเดือนแต่ละรอบ จะเกิดห่างกันประมาณ 21-35 วัน และเลือดประจำเดือน จะไหลติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน ปัญหา ปจด. ที่พบบ่อย ปัญหาสุขภาพในเพศหญิงเกี่ยวกับประจำเดือนที่อาจพบได้บ่อย ประกอบด้วยปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมามาก (Menorrhagia) […]


เนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกมดลูก สาเหตุ อาการ การรักษา

เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ภาวะนี้พบบ่อยในผู้หญิงอายุ 40-50 ปี แต่ก็สามารถเกิดในผู้หญิงในวัยอื่นได้เช่นกัน เนื้องอกมดลูกเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติ อาจเกิดได้ทั้งบริเวณภายในเนื้อมดลูก ผนังมดลูก หรือปากมดลูก มีขนาดและรูปร่างที่หลากหลาย สาเหตุอาจเกิดได้จากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศหญิง โดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมักไม่แสดงอาการ ทั้งยังมีโอกาสเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายหรือก้อนมะเร็งเพียง 0.25-1.08% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีเนื้องอกมดลูกไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมมากที่สุด [embed-health-tool-ovulation] เนื้องอกมดลูก เกิดจากอะไร เนื้องอกมดลูกอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ระดับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีหน้าที่กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นในแต่ละรอบเดือน แต่ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เนื้องอกในมดลูกก่อตัวขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อการผลิตฮอร์โมนช้าลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื้องอกมักจะหดตัวและมีขนาดเล็กลง พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นเนื้องอกมดลูก อาจมีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมดลูกสูงขึ้น อาการที่เป็นสัญญาณของเนื้องอกมดลูก โดยทั่วไป เนื้องอกมดลูกจะไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน หากมีอาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของเนื้องอกมดลูกที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนมานานกว่า 1 สัปดาห์ รู้สึกหน่วงหรือเจ็บบริเวณท้องน้อยซึ่งเป็นตำแหน่งของกระดูกเชิงกราน คลำพบก้อนเนื้อในท้อง หรือรู้สึกว่าท้องโตขึ้นแบบไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย รู้สึกปวดบริเวณหลังและขา มีอาการท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกไปเบียดทับลำไส้ใหญ่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกโตจนไปดันกระเพาะปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด เนื้องอกมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเนื้องอกมดลูก อาจมีดังนี้ มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้ที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อยมีแนวโน้มเกิดเนื้องอกมดลูกได้ง่ายกว่าคนที่มีประจำเดือนตามปกติ […]


การมีประจำเดือน

ตกขาวก่อนประจำเดือน ต่างจากตกขาวปกติอย่างไร

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอด สามารถพบได้ทั่วไปในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีหน้าที่ช่วยป้องกันช่องคลอดแห้ง และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยปริมาณของตกขาว กลิ่น สี อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ตกขาวในแต่ละช่วงหรือในแต่ละวัน อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น ตกขาวก่อนประจำเดือน การทราบความแตกต่างระหว่างตกขาวที่มักพบได้ในช่วงก่อนมีประจำเดือนและตกขาวปกติ อาจเป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตที่ทำให้ทราบได้ว่าประจำเดือนจะมาเมื่อใด และสามารถเตรียมดูแลตัวเองในช่วงมีประจำเดือนได้ดีขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ขับออกมาจากช่องคลอด และปากมดลูก มีหน้าที่ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและเซลล์ที่ตายแล้วออกจากช่องคลอดโดยธรรมชาติ และช่วยป้องกันช่องคลอดแห้ง ตกขาวโดยทั่วไปอาจเป็นเมือกเหนียว สีใสหรือสีขาว อย่างไรก็ตาม สีและปริมาณตกขาวที่ผิดปกติ ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ หรือปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบ โรคหนองใน ตกขาวก่อนประจำเดือน ต่างจากตกขาวปกติอย่างไร ตกขาวก่อนประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า ช่วงตกไข่ มักมีสีใส ลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ เนื้อสัมผัสลื่น ไม่มีกลิ่นและมีปริมาณมาก เมื่อไข่ตก หากไม่มีการปฏิสนธิหรือตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกไม่สำเร็จ ผนังมดลูกที่หนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนก็จะหลุดออกและกลายเป็นเลือดประจำเดือนไหลออกจากช่องคลอด ทำให้บางครั้ง อาจมีตกขาวสีชมพูซึ่งเกิดจากตกขาวปนเลือดประจำเดือนได้ด้วย และหลังจากหมดประจำเดือน อาจสังเกตเห็นตกขาวได้น้อยลงหรือแทบมองไม่เห็น ตกขาวก่อนประจำเดือน ผิดปกติหรือไม่ ตกขาวก่อนประจำเดือนถือเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอในทันที คัน ระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอดบวมแดง แสบหรือเจ็บขณะปัสสาวะ […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ติดเชื้อในช่องคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

ติดเชื้อในช่องคลอด หมายถึง การติดเชื้อโรคทั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรับประทาน ทา หรือสอดช่องคลอด เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังป้องกันได้โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ทำความสะอาดช่องคลอดสม่ำเสมอ และเลือกสวมใส่ชั้นในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นอันเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ติดเชื้อในช่องคลอด คืออะไร ติดเชื้อในช่องคลอด เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะช่องคลอดอักเสบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัย กลุ่มผู้หญิงที่อาจเสี่ยงติดเชื้อในช่องคลอดมากกว่ากลุ่มอื่นได้แก่ กลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยโดยไม่ป้องกัน หรือกำลังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กลุ่มที่ใช้ยาฆ่าเชื้อบางชนิด หรือใช้ยาสเตียรอยด์ กลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มที่สวนล้างช่องคลอด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ช่องคลอดระคายเคือง เช่น สบู่ น้ำหอม สเปรย์ กลุ่มที่สวมกางเกงหรือชั้นใน ที่ชื้นแฉะหรือรัดแน่นจนเกินไป กลุ่มที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนไป เนื่องจากกำลังตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมบุตร หรือกำลังเป็นประจำเดือน กลุ่มที่มีระดับภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งอาจเป็นผลพวงจากอาการป่วยหรือการใช้ยาบางชนิด อาการ อาการ ติดเชื้อในช่องคลอด โดยทั่วไป ผู้ที่ติดเชื้อในช่องคลอด มักมีอาการดังต่อไปนี้ คันหรือแสบบริเวณช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง รู้สึกแสบช่องคลอดเมื่อปัสสาวะ พบเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ผิวหนังโดยรอบช่องคลอด ปวด บวม หรือปริแตก นอกจากนี้ เชื้อแต่ละชนิดยังทำให้ตกขาว ซึ่งโดยปกติจะใสหรือเป็นสีขาว รวมถึงกลิ่นไม่แรง มีลักษณะเปลี่ยนไปดังนี้ เชื้อรา ตกขาวจะข้นขึ้น […]


สุขภาพหญิง

การตรวจคัดกรองโรคในผู้หญิง สำคัญอย่างไร เบื้องต้นควรตรวจอะไรบ้าง

การ ตรวจคัดกรองโรค ในผู้หญิง คือ การทดสอบในเบื้องต้นเพื่อหาสัญญาณของโรคหรือสภาวะสุขภาพในผู้หญิง ไม่ว่าจะมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคหรือไม่ก็ตาม หากผู้หญิงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคแล้วพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคใด ๆ อาจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้น ๆ ลดลงได้ หรือหากตรวจคัดกรองแล้วพบโรคตั้งแต่ในระยะแรก ก็อาจช่วยให้รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือช่วยเพิ่มโอกาสในการหายจากโรค [embed-health-tool-bmi] การ ตรวจคัดกรองโรค ในผู้หญิง เบื้องต้นมีอะไรบ้าง การตรวจวัดความดันโลหิต ผู้หญิงควรตรวจอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี หากพบว่า ค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดขณะหัวใจบีบตัว หรือค่าความดันตัวบน คือ 120-139 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดขณะหัวใจคลายตัว หรือค่าความดันตัวล่าง คือ 80-89 มิลลิเมตรปรอท ควรเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง หากค่าความดันตัวบนเกิน 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ อาจยิ่งต้องเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตให้บ่อยขึ้น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตัวเองจากคุณหมออย่างเคร่งครัด การตรวจวัดไขมันในเลือด คุณหมออาจแนะนำให้เริ่มเข้ารับการตรวจวัดไขมันในเลือดเมื่ออายุ 20 ปี และตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี […]


สุขภาพหญิง

จดหมายจากบรรณาธิการ: ผู้หญิงทุกคนควร “รักตัวเอง” ให้เป็น

วันก่อน ดิฉันได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนรุ่นน้อง เธอมีความกังวลว่าอายุใกล้จะ 40 แล้ว แต่รู้สึกไม่มีความสุข ไม่มีแฟน เบื่องาน น้ำหนักตัวก็ขึ้นกว่า 10 กิโลกรัม ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า “น้องควรทำอย่างไรดีคะพี่” ถ้าเป็นคุณ คุณจะทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า จะเริ่มต้นแก้ปัญหาที่ตรงไหน ดิฉันช่วยเพื่อนรุ่นน้องแก้ปัญหาด้วยการตั้งคำถามง่าย ๆ ที่ทุกคนควรจะถามตัวเองในวันที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือท้อใจ    "น้องรักตัวเองเป็นหรือยังล่ะ" ดิฉันถาม เธอเงียบไปประมาณ 5 วินาที แล้วถามว่า "รักกับตัวเองหรือคะพี่"   การรักตัวเองให้เป็น เป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็น มองเห็นคุณค่าในตัวเอง พัฒนาตนเอง เพื่อให้แข็งแกร่งได้จากตัวเอง เมื่อคุณรู้จักที่จะดูแลตัวเองให้เติบโต เข้มแข็ง มีพลัง ก็แปลว่า คุณพร้อมที่จะรักและเผื่อแผ่ความรักไปสู่ผู้อื่นเช่นเดียวกัน และไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นหันมารักตัวเอง    การรักตัวเองให้เป็น ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่มันคือ "การรัก เมตตา และดูแลตัวเอง ทั้งกาย วาจา ใจ" กาย: สุขภาพสำคัญเป็นอันดับ 1 อย่าใช้ร่างกายหนักเกินไป อย่าทำงานหักโหมเสียจนเอาเงินเดือนมาเป็นค่าหมอ อย่าตามใจปากขนาดนั้น ชีวิตควรอยู่บนความพอดี หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายที่ตัวเองชอบ […]


สุขภาพหญิง

สุข สวย สตรอง ทั้งกายและใจ แบบฉบับปู ไปรยา

ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก เป็นหนึ่งในหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยและสามารถไปเฉิดฉายในระดับอินเตอร์ด้วยความสามารถ ความรักในอาชีพ และความทะเยอทะยาน ตั้งแต่ช่วงก่อนโควิดระบาด ปูย้ายมาอยู่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เรียนการแสดงและแคสงานต่าง ๆ  ภาพยนตร์ฮออลีวูดเรื่อง Paradise City ที่ปูแสดงนำร่วมกับ จอห์น ทราโวลต้า และ บรู๊ซ วิลcลิส กำลังจะเข้าฉายภายในปี พ.ศ. 2565 นี้ นอกจากนี้ ปูยังทำธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า Freshly by Praya เนื่องในวันสตรีสากลโลก (International Women’s Day) Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสพูดคุยกับปูเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ การใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายในสหรัฐอเมริกา และเคล็ดลับในการใช้ชีวิตให้มีความสุข มีเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพกายและใจอย่างไรบ้างคะ ปูมองว่าการออกกำลังกายมันสำคัญมาก การที่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย มีเหงื่อออก เพราะว่าสุดท้ายแล้วมันก็สอดคล้องและพ่วงกันหมดเลย สุขภาพใจก็เกี่ยวกับการที่เราดูแลร่างกาย เมื่อก่อน ปูวิ่งมาราธอน ปูค่อนข้างจริงจังกับการออกกำลังกายมาก แต่ตอนนี้ปูจะทำเพื่อ wellness (สุขภาพ/ความสุขสมบูรณ์) มากกว่า ก็คือไม่เหมือนเมื่อก่อน คือไม่ได้เน้นว่าต้องมีซิกแพคตลอดเวลา แต่กล้ามเนื้อหน้าท้องก็ยังดูดี มองว่าไม่ต้องกดดันตัวเองมาก ไม่ต้องอดอาหาร […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเยอะเป็นน้ำ เกิดจากอะไร

ตกขาว เป็นหนึ่งในกระบวนการตามธรรมชาติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ที่ขับเอาเมือกหรือของเหลวออกมาจากช่องคลอดเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ช่องคลอดแห้งหรือติดเชื้อ ตกขาวปกติจะเป็นเมือกใสหรือออกสีขาว แต่ถ้าหาก ตกขาวเยอะ เป็นน้ำ หรือมีตกขาวผิดปกติ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม  [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร  ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นของเหลวหรือเมือก มีสีใสหรือขาว เนื้อสัมผัสลื่น ลักษณะคล้ายไข่ขาว โดยปกติตกขาวจะมีหน้าที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของช่องคลอด ป้องกันภาวะช่องคลอดแห้ง ช่วยทำความสะอาดช่องคลอด และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่ถ้าหากมีอาการตกขาวผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ สีของตกขาว บอกอะไรได้บ้าง  การเปลี่ยนแปลงของสีของตกขาวอาจเป็นสัญญาณถึงความผิดปกติ ดังตัวอย่างต่อไปนี้  ตกขาวสีขาว เป็นตกขาวปกติที่พบได้ทั่วไป แต่หากมีอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ คัน ระคายเคือง ตกขาวมีลักษณะเหนียว ตกขาวเป็นก้อนเหมือนแป้งเปียก อาจเกิดจากการติดเชื้อรา หรือภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ตกขาวสีเหลืองหรือสีเขียว อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อพยาธิในช่องคลอด โรคหนองใน หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คันบริเวณอวัยวะเพศ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ตกขาวสีแดงหรือสีน้ำตาล อาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ตกขาวสีชมพู เกิดจากมีเลือดปริมาณน้อย ๆ ปนมากับตกขาวปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากปากมดลูกอักเสบหรือเลือดออกกะปริบกะปรอยจากในโพรงมดลูกได้ นอกจากนี้ หากตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีสีผิดปกติ […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ตกขาวเป็นก้อน คือ สัญญาณที่อาจบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เชื้อราในช่องคลอด อาจมีอาการตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง สีเขียว มีกลิ่นเหม็น คัน ปวด บวม แดงบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากความระคายเคือง การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น เหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เชื้อราและแบคทีเรียดีในช่องคลอดไม่สมดุลจนเกิดการติดเชื้อ โดยปกติตกขาวเป็นก้อนไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่อาจสร้างความรำคาญและความเจ็บปวด การใช้ยารักษาและการดูแลตัวเองอาจช่วยลดปัญหาอาการตกขาวเป็นก้อนได้ [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร ตกขาวเป็นก้อนหนา สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราในช่องคลอด โดยปกติภายในช่องคลอดจะมีสมดุลของเชื้อราและแบคทีเรียดี เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก และป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโตมากเกินไป แต่การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้แบคทีเรียและเชื้อราดีในช่องคลอดเสียสมดุล จนเกิดการอักเสบขึ้น โดยเชื้อราก่อโรคที่พบส่วนใหญ่ คือ เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและกระจายการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการ ดังนี้ ตกขาวเป็นก้อนหนา ลักษณะคล้ายนมบูด ตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง หรือสีเขียว มีกลิ่นเหม็นออกจากช่องคลอด นอกจากนี้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม