backup og meta

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่คุณไม่ควรมองข้าม

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่คุณไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียถึงชีวิตได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ มาให้ทุกคนได้เช็กกันดูค่ะ มาดูกันสิคะว่า ตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนี้หรือไม่ รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 

โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดจากการสะสมของคาบจุลินทรีย์ (การสะสมของไขมัน) ในหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ เมื่อหลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจแคบลง เลือดจึงไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง การตีบตันของเส้นเลือด อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย

อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จนกระทั่งหลอดเลือดเกิดอาการตีบตัน หรือมีภาวะหัวใจวาย 

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

สาเหตุส่วนใหญ่ของ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการสะสมของไขมันหรือการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงพฤติการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน ๆ  เอาล่ะ! เรามาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณเสี่ยงต่อการเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไม่? โดย ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังต่อไปนี้

  • อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงเสียหายและตีบ โดยส่วนใหญ่มักพบในพศชายมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงจะมีความเสี่ยงสูงหลังจากวัยหมดประจำเดือน)
  • ประวัติสมาชิกในครอบครัว  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น บิดา พี่ชาย น้องชายได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี หรือถ้ามารดา พี่สาว น้องสาว มีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี อาจ
  • การสูบบุหรี่  ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งหายใจรับควันบุหรี่เข้าไปก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็น 2 เท่า ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 
  • ความดันโลหิตสูง  ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้  อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้แคบลง
  • โรคเบาหวาน  มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ภาวะความเครียด การรับประทานอาการที่มีไขมันในปริมาณสูง ขาดการออกกำลังกาย นั่งกับที่เป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นต้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง  เมื่อระะดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยระดับคอเลสเตอรอลสูง เกิดจากระะดับไขมันมีความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein: LDL) ที่เรียกว่า คอเลสเตอรอลไม่ดี   หากระดับไขมันมีความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein: HDL) หรือที่เรียกว่า คอเลสเตอรอลดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ โรคหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้พบได้ทั่วไป ซึ่งนักวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่่เป็นไปได้อื่น ๆ เช่น ภาวะหยุดการหายใจขณะหลับ ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง โปรตีนซี-รีแอ็คทีฟในระดับสูง (High sensitivity C-reactive protein: hs-CRP) เป็นต้น 

เคล็ดลับการดูแลตนเอง ลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมตนเอง ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 
  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  รวมถึงควบคุมสภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และโรคเบาหวาน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันต่ำ

ที่สำคัญคุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตามการนัดหมายของแพทย์ร่วมด้วย เพราะการเช็กสุขภาพจะสามารถทำให้คุณได้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเร่งดำเนินการรักษาตนเองได้อย่างเท่าทันก่อนเกิดอาการ และโรคเรื้อรังร้ายแรง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coronary Artery Disease. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16898-coronary-artery-disease. Accessed April 30, 2021

Coronary artery disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/symptoms-causes/syc-20350613. Accessed April 30, 2021

What is coronary artery disease?. https://www.cdc.gov/heartdisease/coronary_ad.htm. Accessed April 30, 2021

Coronary Artery Disease. https://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-coronary-artery-disease. Accessed April 30, 2021

What to know about coronary heart disease. https://www.medicalnewstoday.com/articles/184130. Accessed April 30, 2021

Coronary artery disease.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/symptoms-causes/syc-20350613. Accessed April 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา