ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

การ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก หมายถึง อาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น และเส้นประสาท โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ปวดหลัง หรือมีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้ออักเสบ สาเหตุ อาการ การรักษา

กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การออกกำลังกายหักโหม การติดเชื้อ โดยเมื่อเป็นแล้ว มักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อบวม และในบางรายอาจกลืนอาหารลำบาก [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ กล้ามเนื้ออักเสบ คืออะไร กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) หมายถึง กล้ามเนื้อมีอาการปวดบวมจนทำให้รู้สึกเจ็บ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นภาวะภูมิแพ้ตัวเองรูปแบบหนึ่ง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อ หรือการออกกำลังกายหักโหม ทั้งนี้ กล้ามเนื้ออักเสบแบ่งย่อยได้หลายชนิด แต่ที่พบบ่อยและรู้จักกันดี ได้แก่ Polymyositis เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหลายมัดในเวลาเดียวกัน โดยมักเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ สะโพก หรือต้นขา ปกติแล้ว กล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี Dermatomyositis เป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับมีผดผื่นตามร่างกาย พบมากในผู้หญิงรวมทั้งเด็ก และผู้ที่เป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้มักเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า Inclusion Body Myositis หมายถึง กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณแขน ต้นขา และกล้ามเนื้อตั้งแต่หัวเข่าลงไป มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และบางครั้ง กล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อลำคอ ทำให้กลืนอาหารลำบาก อาการ อาการของกล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อป่วยเป็นกล้ามเนื้ออักเสบมักส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม เช่น […]

สำรวจ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness)

คำจำกัดความ กล้ามเนื้อแข็งตัวคืออะไร กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle stiffness) คือ อาการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งและเคลื่อนไหวลำบากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่เฉยๆ กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) แตกต่างจากการตึงตัว (rigidity) และการหดเกร็ง (spasticity) ตรงที่อาการจะเกิดขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายก็ตาม อาการกล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) ส่วนใหญ่หายได้เอง คุณอาจพบว่าอาการนั้น จะบรรเทาลงจากอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว เมื่อคุณออกกำลังกายสม่ำเสมอและยืดเส้นบ่อยๆ ในบางกรณีอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness) ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกล้ามเนื้อแข็งตัวร่วมกับอาการอื่นๆ ดังนั้นจึงควรลองหมั่นสังเกตตัวเอง ป้องกันการเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว กล้ามเนื้อแข็งตัวพบได้บ่อยแค่ไหน กล้ามเนื้อแข็งตัว (Muscle Stiffness)  พบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกล้ามเนื้อแข็งตัว อาจพบสัญญาณเตือนและอาการดังต่อไปนี้ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดบวม หรือรู้สึกไม่สบาย บวมแดง นอนไม่หลับ อาการเป็นอุปสรรค ต่อการสวมใส่เสื้อผ้า มีปัญหาในการเปลี่ยนท่าทาง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอ ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อแข็งตัว ร่วมกับอาการไข้ ปวด ปัสสาวะสีเข้ม หรือเกิดอาการบวม เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งตัวหลังจากถูกแมลงกัดต่อย และมีปฏิกิริยาแพ้รุนแรง หากพบว่ามีอาการดังกล่าว หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ร่างกายของคนเรานั้น […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

รู้หรือไม่ กายภาพบำบัดด้วย การดึงหลัง ช่วยลดอาการปวดหลังของคุณได้

การทำกายภาพบำบัดที่เรียกว่า การลดแรงกดทับหมอนรองกระดูกด้วยการดึงหลัง หรือ การดึงหลัง อาจไม่ใช่อะไรแปลกใหม่สำหรับคุณ เพราะคุณอาจเคยได้ยินการบำบัดนี้จากแพทย์ หรือเคยเห็นวิธีการบำบัดนี้ในอินเตอร์เน็ต คุณอาจทราบว่า การบำบัดชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การบำบัดด้วยวิธีนี้มีวิธีการอย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบสำหรับคุณในบทความนี้ การดึงหลัง ทำอย่างไร การลดแรงกดทับหมอนรองกระดูกด้วยการดึงหลัง เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อยืดกระดูกสันหลังอย่างเบาๆ เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยเตียง และเครื่องมือที่ใช้ในการยืด ในระหว่างการบำบัด ผู้ป่วยไม่ต้องถอดเสื้อผ้า เพียงนอนราบลงบนเตียง และผู้ทำการบำบัดจะรัดบริเวณสะโพกและร่างกายของคุณ เพื่อให้ร่างกายส่วนบนอยู่นิ่ง แต่ร่างกายส่วนล่างจะไม่ถูกรัด ในบางกรณีอาจนอนหงาย แต่ในบางกรณีอาจนอนคว่ำ นักกายภาพบำบัดจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อตั้งเวลาและน้ำหนัก ขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วยแต่ละคน การดึงหลังช่วยคุณได้อย่างไร การดึงหลัง เป็นการรักษาโดยการยืดกระดูกสันหลังอย่างอ่อนโยน ซึ่งจะสามารถลดแรงกดทับที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาท และเนื้อเยื่อบริเวณนั้น อีกทั้งช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ในบริเวณที่เกิดปัญหา เนื่องจากเลือดช่วยพาน้ำ สารอาหาร และออกซิเจนไปสู่บริเวณหมอนรองกระดูก อาการจึงสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น การบำบัดประเภทนี้ถือว่า เป็นการบำบัดที่ช่วยดึงกระดูกสันหลังให้เข้าที่บริเวณหมอนรองกระดูก การบำบัดเพื่อลดแรงกดทับด้วยการดึงหลังนี้ มักใช้การรักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) กระดูกทับเส้น โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อต่อ และเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง ระบบการลดแรงกดทับด้วยการดึงหลัง มักใช้เครื่องมือเมื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง การบำบัดนี้ช่วยกระบวนการรักษาหมอนรองกระดูก และลดการกดทับบริเวณนั้น ดังนั้น อาการปวดจะทุเลาลง หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการบำบัดประเภทนี้ ควรปรึกษาแพทย์ ระยะเวลาของการบำบัด การรักษาในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30 ถึง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่คุณควรต้องรู้

การทำความเข้าใจอาการและสาเหตุของอาการปวดหลัง เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากอาการเจ็บชนิดหนึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บชนิดอื่น ๆ และทำให้เกิดปัญหามากมายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่ง Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้ทุกคนทราบว่า กระบวนการนี้ทำให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหลัง และสามารถนำไปสู่ อาการปวดหลังชนิดเรื้อรังได้ เมื่อผู้ป่วยเข้าพบหมอเป็นครั้งแรกเพื่อพูดคุยถึงอาการปวดหลัง ส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาแบบเดียวกันที่ใช้ได้กับทุก ๆ กรณี โดยทั่วไปแพทย์มักเริ่มตรวจวินิจฉัย และเริ่มขั้นตอนการรักษาแบบเฉพาะทางขั้นสูง และอธิบายวิธีการตรวจรักษาอย่างละเอียด แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนการรักษาอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลาย เท่ากับว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นการสร้างสมมติฐาน และลองผิดลองถูกมากกว่า และโดยเฉพาะหากอาการปวดหลังไม่ทุเลาลง นั่นอาจเป็นสัญญาณให้คุณรู้ว่า คุณกำลังมี อาการปวดหลังชนิดชนิดเรื้อรัง 5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่ควรระวัง อาการกล้ามเนื้อฉีก อาการนี้เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด และก่อให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลัน สูงถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลัน เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการกระตุกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น อาการกระตุกและปวดนั้นเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายซึ่งไม่ควรที่จะละเลย แต่ข้อดีคือ อาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกนั้นไม่รุนแรง สามารถตอบสนองการรักษาตามอาการได้ โดยใช้เวลาประมาณสองถึงสามวัน หรือไม่กี่สัปดาห์ในการเยียวยา แม้อาการกล้ามเนื้อฉีกในคนส่วนใหญ่สามารถรักษาได้โดยง่าย แต่อาการนี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ใหญ่กว่า เพราะหากอาการกล้ามเนื้อฉีกเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังได้ และถ้ามีอาการกล้ามเนื้อฉีกมากกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป คุณควรพิจารณาว่า นี่อาจเป็นอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หรือเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อที่พยายามป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ อาการปวดข้อฟาเส็ท (ข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลัง) เกิดจากการอักเสบของข้อฟาเส็ท ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดลำดับที่สอง เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง โดยข้อฟาเส็ทนี้เชื่อมอยู่กับข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกที่เรียงต่อกันบริเวณสันหลัง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังนั้น ข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ทจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดอาการปวดในระยะเริ่มแรก […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้

อาการปวดหลัง เป็นผลมาจากการที่กระดูกสันหลังได้รับแรงกดทับจากการบาดเจ็บ โรคหรือกลไกที่ผิดปกติในร่างกาย อาการปวดหลังรุนแรงเป็นอาการเจ็บรุนแรงที่เกิดขึ้นกะทันหัน หลังจากไม่แสดงอาการอยู่หลายวันหรือเป็นสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการปวดหลังเฉียบพลันอาจนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง และอาการรุมเร้าอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น Hello คุณหมอ จึงมี วิธีแก้ปวดหลัง มาฝาก รับรองเลยว่าสามารถบรรเทาได้ทั้งอาการปวดหลังเฉียบพลันและอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังส่วนล่างประเภทต่างๆ ระดับของอาการปวดหลัง เริ่มจากอาการปวดเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณของการบาดเจ็บ และสามารถเป็นได้ทั้งอาการเรื้อรังหรือเฉียบพลัน อาการปวดหลังเฉียบพลันจะเกิดขึ้นทันที และกินระยะเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ สาเหตุของอาการปวดหลังเฉียบพลันมาจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกอักเสบก็ได้ หากปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่าสามเดือนและอาการรุนแรงขึ้น ควรไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจัย เพราะคุณอาจต้องเข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง การรักษาอาการปวดหลัง ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของผู้ป่วย ประเภทและความรุนแรงของอาการปวดหลัง โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนมากจะมีอาการดีขึ้น โดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และการออกกำลังกายมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา วิธีแก้ปวดหลัง เฉียบพลัน การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างมักเริ่มจาก การใช้ยาแก้ปวด และ การบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอลเป็นหนึ่งในยาที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เบื้องต้น แต่ผู้ป่วยบางคนอาจพบว่า ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ยาแก้ปวดมีผลข้างเคียง และทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพของคุณ การบำบัดด้วยความร้อนและเย็น การประคบเย็นภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีก จะช่วยลดการบวมและอักเสบ แต่คุณไม่ควรประคบน้ำแข็งลงบนผิวหนังโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการไหม้จากความเย็นได้ ควรห่อน้ำแข็งด้วยผ้าก่อนประคบลงบนผิวหนัง ส่วนการบำบัดด้วยความร้อน เช่น การแช่น้ำร้อน การประคบร้อน […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ไคโรแพรคติก อีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดหลัง

โรคปวดหลัง เป็นโรคที่มีอาการปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยโรคปวดหลังมักเกินในผู้สูงอายุซึ่งมีความเสื่อมของร่างกายทำให้ปวดหลังได้ง่าย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป กระดูกพรุน การนั่งทำงานเป็นเวลานาน รูปแบบการรักษาอาการปวดหลังก็มีหลากหลายรูปแบบ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปรู้จักการรักษาแบบ ไคโรแพรคติก หรือการจัดกระดูกนั่นเอง ไคโรแพรคติก (Chiropractic) คืออะไร ไคโรแพรคติกคือการรักษาอาการปวดหลังด้วยการใช้มือจัดกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือก โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติกใช้ทฤษฎีการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมของโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกาย โดยเฉพาะการจัดกระดูกสันหลังให้เข้าที่โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้ยาในการรักษา มักจะใช้ในการฟื้นฟูความคล่องตัวของข้อต่อที่ถูกจำกัด ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ โดยการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออาจมีสาเหตุมาจาก การตกจากที่สูง การตึงของกล้ามเนื้อ การนั่งโดยไม่มีเบาะหนุนหลังอย่างเหมาะสม การรักษาแบบไคโรแพรคติกเป็นการรักษาแบบทางเลือก ที่ส่วนใหญ่มีหลักการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูกอ่อน เส้นเอ็น บางครั้งใช้รักษาร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ไคโรแพรคติกกับการรักษาอาการปวดหลัง หมอที่ทำการรักษาแบบไคโรแพรคติกจะทำการวินิจฉัย โดยทำการตรวจร่างกาย มีการทดสอบร่างกายของเราในห้องแลป ว่าอาการปวดหลังของเราเหมาะสมที่จะรักษาด้วยไคโรแพรคติกหรือไม่ โดยการรักษาแบบไคโรแพรคติกอาจจะต้องทำให้เรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่ออาการ ควบคู่ไปกับการจัดกระดูกของแพทย์ เพื่อใช้ควบคุมให้ผลการรักษาออกมาอย่างมีคุณภาพ ในหลายๆ ครั้งการรักษาแบบ ไคโรแพรคติกยังต้องทำร่วมกับการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายหรือการฟื้นฟูร่างกายในแผนการรักษาอีกด้วย เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลังแบบ ไคโรแพรคติกเพื่อฟื้นฟูการทำงานและป้องกันการบาดเจ็บที่นอกเหนือจากอาการปวดหลัง ความปลอดภัยจากการรักษาแบบไคโรแพรคติก การรักษาอาการปวดหลังด้วยไคโรแพรคติกบางครั้งอาจมีผลข้างเคียงจากการดึงข้อต่อกระดูกสันหลัง คืออาจจะมีอาการปวดหัวชั่วคราว รู้สึกเมื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สบายในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ได้รับการรักษา มีรายงานการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะที่เกี่ยวกับปลายประสาทส่วนล่างของโพรงกระดูกสันหลัง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดคอและไหล่ จากการทำงานหน้าจอตลอดวัน เมื่อเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องรับมือให้ดี

อาการ ปวดคอและไหล่ (NSP-Neck and Shoulder Pain) หรือที่เรารู้จักกันว่าอาการ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ในกลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ แต่ในเมื่อคนทำงานไม่มีทางเลือก เพราะต้องนั่งทำงานแบบนั้นทั้งวัน จะทำยังไงที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดพวกนี้ดี? ทำไมการทำงานหน้าคอมถึงทำให้ ปวดคอและไหล่ ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ที่พบบ่อยจากหลาย ๆ การวิจัยก็คือ ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน อย่างเช่น การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ แรงกด การวางท่าทางที่ไม่สบายหรือไม่เป็นธรรมชาติของแขนขา เป็นต้น ปัจจัยข้างต้น เป็นสิ่งที่พบบ่อยในคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เนื่องจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ร่างกายส่วนบนจะต้องหยุดนิ่ง โดยคอจะทำหน้าที่พยุงศีรษะ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณหนึ่งในเจ็ดส่วนของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เพื่อให้ร่างกายอยู่นิ่ง ๆ การเกร็งกล้ามเนื้อคออย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงให้ศีรษะอยู่ตำแหน่งนี้ ทำให้ลดการไหลเวียนของเลือดมายังกล้ามเนื้อ นำไปสู่ความอ่อนล้าและความเสียหายของกล้ามเนื้อ การเกร็งนี้ยังทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาทในคอ ทำให้เกิดอาการปวดหลังและด้านข้างของศีรษะได้ด้วย นอกจากนี้ถ้านั่งอยู่ในท่าที่ไม่สบาย หรือมุมมองหน้าจอที่ไม่ดีพอ ตำแหน่งของเก้าอี้และโต๊ะที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เนื้อเยื่ออ่อนหดเกร็ง เกิดการตึงที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลง และรู้สึกถึงความอ่อนล้า มีการบันทึกไว้ในงานวิจัยบางชิ้นว่า อาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อและความเครียดโดยรวม ทำให้โครงสร้างร่างกายเกิดอาการหดเกร็ง และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวด อีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยก็คือ ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม อย่างการนั่งหลังค่อม โดยหัวยื่นออกไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ในสันหลังต้องทำงานหนักเป็นสองเท่าจากที่ควรจะเป็น […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

7 อาการปวดหลัง ที่มักเกิดกับ ผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย

เมื่อพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับหลังแล้ว ผู้หญิงเป็นเพศที่มักต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเช่นนี้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงและผู้ชายมีโครงสร้างกระดูกเชิงกราน และฮอร์โมนที่ต่างกัน อีกทั้งผู้หญิงยังมีหน้าที่ในการให้กำเนิดบุตรด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม อาการปวดหลัง 7 ประเภท ที่พบได้ใน ผู้หญิง มากกว่าผู้ชายมาฝากกันแล้วค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย อาการปวดหลัง 7 ประเภท ที่พบได้บ่อยใน ผู้หญิง 1. อาการปวดกระดูกก้นกบ อาการปวดกระดูกก้นกบอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือเกิดขึ้นฉับพลันหลังจากมีแรงกระแทกในบริเวณดังกล่าว หรือในบางกรณี แค่การสัมผัสเบา ๆ ในบริเวณนั้นก็สามารถทำให้คุณเจ็บปวดได้แล้ว ฉะนั้น ในบางครั้ง แค่คุณนั่งท่าปกติก็อาจทำให้คุณปวดกระดูกก้นกบ จนทรมานมากได้ อาการปวดกระดูกก้นกบมักรุนแรงขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก แต่ก็โชคดีที่อาการเจ็บปวดนี้มักทุเลาลงภายหลังการขับถ่ายแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดกระดูกก้นกบมักเกิดจากการคลอดบุตร หรือการล้มก้นกระแทก 2. กระดูกสันหลังยุบ ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาจทำให้กระดูกสันหลังของคุณแตก และส่งผลให้กระดูกสันหลังยุบได้ กระดูกยุบตัวมักพบได้มากที่สุดในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบน ส่วนใหญ่ผู้ที่มีปัญหานี้จะรู้สึกปวดรุนแรง แต่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อกระดูกสันหลังยุบอาจทำให้หลังค่อมหรือความสูงลดลงได้ 3. กระดูกสันหลังเคลื่อนจากการเสื่อมสภาพ กระดูกสันหลังเคลื่อนจากการเสื่อมสภาพ (Degenerative spondylolisthesis) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังชิ้นหนึ่งในบริเวณหลังส่วนล่าง เคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนอยู่เหนือชิ้นส่วนที่อยู่ข้างใต้ ทำให้รากประสาทเกิดการระคายเคือง และเกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างและขา อาการทั่วไปของกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่ อาการปวดขาหรืออ่อนเพลีย ที่เกิดขึ้นขณะเดินหรือยืนเป็นเวลานาน อาการปวดอาจรุนแรงมากพอที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณได้ 4. […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

9 กิจวัตรประจำวันง่ายๆ ที่ช่วย ป้องกันอาการปวดหลัง อย่างได้ผล

ไม่มีใครชอบอาการปวดหลัง ฉะนั้น เราควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม นั่นก็คือ อย่าปล่อยให้อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้ คุณสามารถ ป้องกันอาการปวดหลัง ด้วยการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายบางอย่าง เมื่อทำสิ่งเหล่านี้ทุกวันจนเป็นนิสัย ก็จะช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันอาการปวดหลังได้ในระยะยาว กิจวัตรที่ช่วย ป้องกันอาการปวดหลัง 1. ปรับท่านอน การนอนหงายจะทำให้กระดูกสันหลังได้รับแรงกดทับ คุณจึงควรยกขาขึ้นเล็กน้อยเพิ่มช่วยลดแรงกดดันที่หลังขณะหลับ นอกจากนี้ การสอดหมอนไว้ใต้เข่าเวลานอน ก็สามารถช่วยลดแรงกดทับได้ 50% ซึ่งจะป้องกันอาการปวดหลัง แต่ถ้าคุณมีอาการปวดหลังอยู่แล้ว ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับท่านอนที่ดีที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ท่าที่แนะนำก็คือ ท่านอนตะแคงข้าง และงอเข่าเข้าหาหน้าอก แต่สำหรับบางคนที่ชอบนอนหงาย ให้เอาหมอนสอดไว้ใต้เข่าเวลานอน 2. สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเป็นประจำด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บที่หลังได้ คุณควรเน้นการออกกำลังกายที่หลัง และหน้าท้องเป็นหลัก โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังยืดหยุ่นและแข็งแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหลังได้ 3. เพิ่มแคลเซียมและวิตามินดี กระดูกที่แข็งแรงจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อยที่สุดในวัยชรา โดยเฉพาะในผู้หญิง การทำให้กระดูกและกระดูกสันหลังแข็งแรง ทำได้โดยการกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และวิตามินดี อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว ส่วนอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี เช่น ปลาไขมันสูง ไข่แดง ตับ ชีส คุณสามารถกินแคลเซียมและวิตามินดีในรูแบบอาหารเสริมได้ด้วย […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง

คุณมีอาการ ปวดหลัง แบบนี้หรือเปล่า นั่งทำงานนานๆ แล้วปวดหลัง นั่งนานๆ แล้วเมื่อยบ่า เมื่อยคอ ลองนั่งหลังตรงแล้ว แต่ทำได้ไม่นานก็กลับมานั่งเหมือนเดิม และไม่ช่วยให้หายปวดหลังเลย ปวดหลังบริเวณเอว อาการปวดหลังแบบนี้ สาเหตุอาจเกิดจากการนั่งผิดท่า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด ผลเสียจากการนั่งผิดท่า การนั่งผิดท่า นั่งนาน ทำให้เสี่ยงหลายโรค เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็ง เนื่องจากมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้สำรวจพฤติกรรมของคน 8,000 คน งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ที่ใช้เวลาไปกับการนั่ง เฉลี่ย 12.3 ชั่วโมงต่อวันนั้น ในเวลา 4 ปีต่อมา มีคน 340 คนเสียชีวิตจากปัญหาสุขภาพต่างๆ และคนส่วนใหญ่ที่นั่งนานก็เสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า คนที่นั่งติดต่อกันน้อยกว่า 30 นาที จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรน้อยที่สุด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การนั่งนานๆ จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ และเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากเรานั่งผิดท่านานๆ ทำให้กระทบต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย จึงควรที่จะลุกขึ้นมายืน หรือยืดเส้นยืดสายเบาๆ เพื่อไม่ให้การนั่งทำลายสุขภาพของเรามากเกินไป สาเหตุที่ทำให้ ปวดหลัง อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังคือ กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณตั้งแต่คอจนถึงเอว ซึ่งกล้ามเนื้อจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือกล้ามเนื้อช่วงคอ กล้ามเนื้อช่วงกลางหลัง และกล้ามเนื้อช่วงเอว การนั่งผิดท่าส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อทั้งสามส่วน […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ปวดส้นเท้า (Heel Pain)

คำจำกัดความเท้าและข้อเท้าของคุณสร้างขึ้นมาจากกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ชิ้น และมากกว่า 100 เส้นเอ็น ส้นเท้าเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในเท้าของคุณ ถ้าคุณใช้งานมากเกินไป หรือทำให้เท้าของคุณนั้นบาดเจ็บ คุณอาจกำลังประสบกับอาการ ปวดส้นเท้า  (Heel Pain) อาการเจ็บปวดมักจะปรากฎใต้ส้นเท้าหรือด้านหลังเท้า ตรงส่วนที่เอ็นร้อยหวายเชื่อมกับกระดูกส้นเท้า บางครั้งมันยังส่งผลกระทบไปยังด้านข้างของส้นเท้า อาการปวดที่ปรากฎใต้ส้นเท้านั้นเรียกว่า โรครองช้ำ (plantar fascitis) โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบได้ประจำของอาการเจ็บส้นเท้า อาการปวดหลังส้นเท้านั้นคือ เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการเจ็บยังสามารถส่งผลไปที่ข้างเท้าด้านในและด้านนอกของเท้าและส้นเท้า ในหลายๆ กรณี อาการเจ็บปวดไม่ได้เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ในตอนแรก มันมักจะเจ็บเบาๆ แต่อาการอาจรุนแรงขึ้นได้ และบางครั้งก็ใช้งานไม่ได้ อาการนี้มันจะหายได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา แต่บางครั้ง มันก็อาจจะเรื้อรังได้ ปวดส้นเท้าเป็นอาการที่พบบ่อยแค่ไหน อาการปวดส้นเท้าเป็นปัญหาที่เกิดกับเท้าที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการปวดส้นเท้านั้นจะรู้สึกเจ็บปวดใต้ส้นเท้า หรืออาจจะแค่ด้านหลังส้นเท้า อย่างใดอย่างหนึ่ง อาการปวดโดยปกตินั้นจะเริ่มจากอาการเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่มีบาดแผลตรงส่วนที่ติดเชื้อ แต่มันจะแสดงอาการบ่อยครั้งเมื่อสวมใส่รองเท้าส้นแบนราบ ในหลายกรณี อาการปวดจะอยู่บริเวณใต้เท้า ไปยังส่วนหน้าของเท้า ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ปวดส้นเท้า เมื่อไหร่ที่เราควรไปหาหมอ คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ อาการเจ็บปวดนั้นถึงขั้นรุนแรง อาการเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้นแบบฉับพลัน คุณมีรอยแดงตรงส้นเท้า คุณมีอาการบวมตรงส้นเท้า คุณไม่สามารถเดินได้เนื่องจากคุณมีอาการปวดส้นเท้า ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัว มีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือหากคุณมีคำถามอะไรก็ตาม ได้โปรดปรึกษากับหมอ เพราะร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน จึงเป็นการดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับแพทย์ ว่าควรรักษาอาการอย่างไร สาเหตุอาการปวดส้นเท้าไม่เพียงแต่จะเกิดจากการบาดเจ็บเพียงตำแหน่งเดียว อย่างข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงหรือหกล้ม แต่ยังมาจากความเครียดสะสมและการบวมของส้นเท้า โรครองช้ำ โรครองช้ำมักจะปรากฏเมื่อมีแรงกดลงบนเท้ามากเกินไป จนสร้างความเสียหายต่อเส้นเอ็นฝ่าเท้า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม