backup og meta

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว
นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในนักกีฬา ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเข่าปูดให้มากขึ้น จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ทำความรู้จักโรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease)

โรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) เป็นภาวะที่ทำให้ใต้หัวเข่ามีอาการปวด บวม ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นกระดูกที่ยึดติดกับสะบ้าหัวเข่าและด้านบนของกระดูกหน้าแข้ง ส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งอักเสบ 

อย่างไรก็ตาม เข่าปูด มักพบในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งและกระโดดเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาวิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล บัลเลต์ เป็นต้น 

โรคเข่าปูด มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง?

เข่าปูด มักเกิดขึ้นขณะเล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด การงอ เป็นต้น ขณะที่เรากำลังวิ่ง กล้ามเนื้อขาจะหดตัว ส่งผลให้เอ็นตรงที่ยึดติดกับลูกสะบ้าหัวเข่าตึงรั้งกระดูกใต้เข่า ทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการแตกร้าวขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อายุ เพศชายอายุระหว่าง 12-14 ปี เพศหญิงอายุ 10-13 ปี
  • เพศ พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 
  • กีฬา ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงข้างต้น มักส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่า เข่าบวม และมักรู้สึกเจ็บทุกครั้งที่คุกเข่า วิ่ง กระโดด รวมถึงการเดินขึ้นในที่สูงอย่างการขึ้นเขา หรือขึ้นบันได

นักกีฬาควรรู้! เป็นโรคเข่าปูดสามารถเล่นกีฬาได้หรือไม่

โรคเข่าปูดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือผ่าตัด อาการปวดจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อกระดูกหยุดการเจริญเติบโต สำหรับนักกีฬาที่เป็นโรคเข่าปูดไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสามารถทำกิจกรรมเล่นกีฬาได้อย่างปกติ โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ 

  • สวมรองเท้าที่สามารถดูดซับแรงกระแทกในรองเท้าผ้าใบได้
  • ชุบน้ำอุ่นไว้ที่หัวเข่าประมาณ 15 นาที ก่อนเล่นกีฬา
  • ประคบน้ำแข็งบนเข่าเป็นระยะเวลา 15 นาที หลังเล่นกิจกรรม
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักมวยปล้ำ นักบาสเกตบอล นักวอลเลย์บอล เป็นต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Osgood-Schlatter Disease. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/osgoodschlatter-disease.

Osgood-Schlatter Disease. https://kidshealth.org/en/parents/osgood.html.

Osgood-Schlatter Disease. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/osgood-schlatter-disease-a-to-z.

10 วิธีฟิตเข่า ให้แข็งแรง. https://www.vejthani.com/th/2021/03/10-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2/.

Osgood-Schlatter disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osgood-schlatter-disease/symptoms-causes/syc-20354864.

Osgood-Schlatter Disease (Knee Pain). https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/osgood-schlatter-disease-knee-pain/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/03/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker's Cyst)

 5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 26/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา