การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

สำรวจ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดหน้าท้องล่าง ป้องกันโรคอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไร

หน้าท้องล่าง อาจเกิดจากไขมันสะสมในบริเวณหน้าท้องเนื่องจากระบบการเผาผลาญทำงานผิดปกติ ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกินไป การไม่ออกกำลังกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการ ลดหน้าท้องล่าง รวมถึงการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังเหล่านั้น [embed-health-tool-bmi] หน้าท้องล่างป่อง เกิดจากอะไร หน้าท้องล่างป่อง อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ ที่ทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินสะสมบริเวณหน้าท้องล่างและรอบเอว โดยสังเกตได้จากพุงล่างป่องคล้ายลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล หรือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 25 และรอบเอวเกิน 35-40 นิ้ว นอกจากนี้ หน้าท้องล่างยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมันและน้ำตาลสูงมากเกินไป เช่น ขนมหวาน ข้าวขาว พาสต้า ขนมปังขาว ของทอด อาหารแปรรูป น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เบียร์ ไวน์ โซจู เพราะอาจส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องมากจนเกิดหน้าท้องล่าง ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลายไขมันมาใช้เป็นพลังงาน เมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ไขมันจึงสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงหน้าท้องล่าง ความเครียด อาจทำให้บางคนรู้สึกอยากอาหารและรับประทานอาหารมากจนเกินไปเพื่อช่วยคลายเครียด จึงส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องล่าง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดส่วนเกินให้กลายเป็นไกลโคเจน (Glycogen) ที่เป็นไขมันชนิดหนึ่งไปเก็บสะสมทั่วทั้งร่างกายรวมถึงบริเวณหน้าท้องล่าง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน อาจสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การออกกำลงกายแบบคาร์ดิโอ การออกกำลังแบบ HIIT การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง โดยควรเลือกอย่างเหมาะสมตามภาวะสุขภาพหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อช่วยให้การลดน้ำหนักมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย [embed-health-tool-bmi] ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ดีต่อสุขภาพอย่างไร การออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในเลือดและเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน จึงอาจสามารถช่วยลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังอาจช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับง่าย อารมณ์ดี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ดังนี้ โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อต่ออักเสบ โรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการโควิด-19 ในระดับรุนแรงเมื่อเกิดการติดเชื้อ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ นอกจากนี้ การออกกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้านเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีซึ่งไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งยังสามารถทำได้ทุกเวลาตามที่ตนเองสะดวก ออกกําลังกายลดน้ําหนัก ที่บ้าน ทำได้อย่างไร การออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้าน อาจทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1. การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เป็นการออกกำลังกายลดน้ำหนักที่บ้าน ที่ช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในเลือด ช่วยลดการสะสมของไขมัน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอด ซึ่งอาจช่วยให้เลือดไหลเวียนและนำส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

6 ท่าออกกําลังกายลดพุง ผู้หญิง และวิธีดูแลตัวเอง

การออกกำลังกายตาม ท่าออกกําลังกายลดพุง ผู้หญิง อาจช่วยลดไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง ลดพุง และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพ เพื่อลดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และช่วยป้องกันไม่ให้อาการป่วยแย่ลง โดยเฉพาะผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือเป็นโรคหัวใจ มีปัญหาระบบทางเดินหายใจและปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีพุง สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีพุง อาจสืบทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคอ้วนหรือมีระบบการเผาผลาญอาหารที่ไม่ดี จึงส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องมากจนก่อให้เกิดพุง โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมันไม่ดีและน้ำตาลสูง เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ข้าวขาว อาหารทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลมและน้ำผลไม้ อาจทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่และน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลให้มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลและไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนส่งผลให้ไขมันสะสมในร่างกายจนนำไปสู่การอ้วนลงพุง นอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง จึงอาจส่งผลให้ไขมันสะสมและเกิดพุง ความเครียด อาจทำให้ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญไขมัน อีกทั้งอาจทำให้รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้นและรับประทานอาหารมากขึ้นเพื่อช่วยคลายเครียด ส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลอรี่มากเกินไปและมีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องจนก่อให้เกิดพุง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดส่วนเกินให้กลายเป็นไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งนำไปเก็บสะสมทั่วทั้งร่างกาย รวมถึงบริเวณหน้าท้อง จนส่งผลให้เกิดพุง ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคจิต ยาสเตียรอยด์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

5 ท่าออกกําลังกายลดพุง ที่ทำตามได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การเลือก ท่าออกกําลังกายลดพุง ควรเลือกตามความเหมาะสมกับสุขภาพ เพื่อช่วยลดไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง ควบคุมน้ำหนัก หรือช่วยลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพ โดยอาจศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองหรือเข้ารับคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติมได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้มีพุง สาเหตุที่ทำให้มีพุง มีดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอ้วนหรือมีระบบการเผาผลาญอาหารไม่ดีก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีความเสี่ยงต่อการอ้วนลงพุงด้วยเช่นกัน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำตาลมากเกินไป เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ข้าวขาว อาหารทอด อาหารแปรรูป คุกกี้ โดนัท เค้ก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่มากเกินไป ทำให้มีไขมันสะสมจนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีพุง การไม่ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงพุงได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินให้กลายเป็นไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งไปเก็บสะสมทั่วทั้งร่างกายรวมถึงบริเวณหน้าท้อง จนทำให้เกิดพุง ความเครียด อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่อาจส่งผลต่อระบบเผาผลาญไขมัน และอาจทำให้รู้สึกหิวบ่อย ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลให้รับประทานอาหารมากขึ้นได้ นอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักขึ้น มีพุงและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ 5 ท่าออกกําลังกายลดพุง  5 ท่าออกกําลังกายลดพุง ที่สามารถทำได้ที่บ้านง่าย ๆ มีดังนี้ 1. เบสิก […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน และวิธีควบคุมน้ำหนัก

ผู้ที่ต้องการลดและควบคุมน้ำหนักหลายคนอาจสงสัยว่า ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน เพื่อให้ได้ค่าตัวเลขที่แม่นยำที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ควรชั่งน้ำหนักในตอนเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้องว่างและร่างกายยังไม่ได้รับอาหาร จึงอาจแสดงค่าของน้ำหนักตัวที่แม่นยำ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหมกมุ่นกับการชั่งน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้ [embed-health-tool-bmi] ควรชั่งน้ำหนักตอนไหน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการชั่งน้ำหนัก คือ ตอนเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ท้องว่างและร่างกายยังไม่ได้รับอาหาร น้ำหนักจึงอาจมีความคงที่มากที่สุด นอกจากนี้ หากชั่งน้ำหนักในช่วงเวลาอื่น ๆ น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป และเพื่อให้สามารถอ่านค่าความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในแต่ละวันได้อย่างแม่นยำ คำแนะนำต่อไปอาจช่วยได้ ควรชั่งน้ำหนักในช่วงเช้าและควรเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ วัน หรือหากชั่งน้ำหนักเป็นรายสัปดาห์ควรชั่งในวันและเวลาเดิมด้วย ควรเข้าห้องน้ำก่อนชั่งน้ำหนัก ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้น้อยที่สุดหรือสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิม เพื่อให้น้ำหนักไม่คลาดเคลื่อนมากนัก ควรวางเครื่องชั่งน้ำหนักในพื้นผิวที่แข็งและเรียบ ยื่นเท้าเปล่านิ่ง ๆ บนตาชั่ง โดยทิ้งน้ำหนักไปที่เท้าทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน ควรชั่งน้ำหนักบ่อยแค่ไหน การชั่งน้ำหนักน้ำหนักบ่อยครั้งอาจมีข้อดีในการช่วยให้สามารถติดตามความเป็นไปของน้ำหนัก จึงอาจช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้คงที่ได้ในระยะยาว และอาจช่วยให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การหมกมุ่นกับการชั่งน้ำหนักมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน โดยอาจทำให้บางคนมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อน้ำหนักไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จนเกิดความวิตกกังวลจนนำไปสู่การสร้างนิสัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การข้ามมื้ออาหาร การอดอาหาร การรับประทานอาหารน้อยเกินไป การออกกำลังกายมากเกินไป ดังนั้น จึงอาจจำเป็นต้องจัดระเบียบในการชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ดังนี้ การชั่งน้ำหนักทุกวัน อาจช่วยให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ตลอดทั้งวัน และอาจช่วยให้สามารถจัดระเบียบการดูแลตัวเองเพื่อควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ อาจทำให้รู้สึกมีแรงผลักดันมากขึ้นในการจัดการและควบคุมน้ำหนักเป็นประจำทุกวัน การชั่งน้ำหนักรายสัปดาห์ อาจช่วยไม่ให้เกิดความหมกมุ่นกับน้ำหนักตัวมากเกินไป และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งไขมันในร่างกายให้เป็นไปอย่างสมดุล […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดพุงล่าง ป้องกันโรคอ้วนลงพุง ทำได้อย่างไรบ้าง

สำหรับผู้ที่มีพุงล่าง หรือพุงหมาน้อย อาจเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ทำให้มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง สามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ที่อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น พุงล่างป่อง และรู้สึกไม่มั่นใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องใส่เสื้อผ้ารัดรูป ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการ ลดพุงล่าง ซึ่งอาจทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีในการช่วยลดพุงล่างอย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmr] พุงล่าง  เกิดจากอะไร พุงล่าง อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่ส่วนเกินจากอาหาร เก็บไว้ในรูปแบบไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอว โดยอาจสังเกตได้ลักษณะรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ดูคล้ายกับลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล มีค่าดชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป รอบเอว 35-40 ขึ้นไป รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายเมื่อเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ หากไม่รีบลดพุงล่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดพุงล่าง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูงในปริมาณมาก เช่น พาสต้า ข้าวขาว ขนมปังขาว ของทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เค้ก คุกกี้ โดนัท รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เบียร์ ไวน์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

เทคนิคการ ลดน้ําหนัก 1 เดือน ทำได้อย่างไร

ปัญหาน้ำหนักเกินเกณฑ์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรมของคนในครอบครัว ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ดีที่เน้นแต่การรับประทานอาหารไขมัน น้ำตาลและแป้งสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ดังนั้น หากต้องการ ลดน้ำหนัก 1 เดือน จึงควรศึกษาเทคนิคการลดน้ำหนักอย่างเหมาะสมหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] อันตรายต่อสุขภาพจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ น้ำหนักเกินเกณฑ์ สังเกตได้จากการมีค่าดัชนีมวลกาย 25-30 ขึ้นไป ไขมันรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว มีพุง มีเหนียง และตัวใหญ่ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่โรคอ้วน อีกทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพได้ ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากหลอดเลือดตีบหรืออุดตันเนื่องจากไขมันสะสมซึ่งขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง โดยอาจสังเกตได้จากอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เจ็บหน้าอก มีปัญหาด้านความจำและไม่มีสมาธิ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการสะสมของไขมันและคอเลสเตอรอลอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินในการจัดการกับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมาก จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อม ข้อต่ออักเสบ โดยอาจสังเกตได้จากอาการปวดบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหวและข้อต่อบวม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การมีน้ำหนักตัวมากและไขมันสะสมอาจส่งผลกระทบต่อการหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ และส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยสังเกตได้จากอาการนอนกรนอย่างหนัก หายใจลำบากและหายใจไม่เต็มปอด อาการโควิด-19 ระดับรุนแรง โรคอ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสน้อยลง […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

คีโตคือ อะไร ดีต่อสุขภาพหรือไม่และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

คีโตคือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นอาหารที่มีไขมันสูงและลดคาร์โบไฮเดรต โดยมีจุดประสงค์ในการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาวิธีการกินคีโตอย่างถูกต้อง หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อรับแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงจากการกินคีโตอย่างไม่เหมาะสม เช่น อาการท้องผูก โรคไต โรคเกาต์ และประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง [embed-health-tool-bmi] คีโตคือ อะไร การกินคีโต คือ การรับประทานอาหารโดยเน้นอาหารที่มีไขมันสูง และลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตลง ให้น้อยกว่า 50 กรัม/วัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก เมื่อรับประทานอาหารในรูปแบบคีโตอย่างต่อเนื่องอาจทำให้พลังงานลดน้อยลง ระดับอินซูลินลดลง นำไปสู่ภาวะคีโซซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายดึงไขมันนำมาใช้เป็นพลังงานหลักแทนน้ำตาล จึงส่งผลให้น้ำหนักลดลงหรือช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจและโรคเบาหวานได้ อาหารที่ควรรับประทานสำหรับการกินคีโต มีดังนี้ ไขมันดี เช่น ไข่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า อะโวคาโด ลูกพรุน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ข้าวโอ๊ต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ไขมันไม่ดี เช่น เนย ชีส มาการีน ครีมเทียม เนื้อสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับการกินคีโต มีดังนี้ ขนมปังขาว […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

IF (Intermittent Fasting) เป็นวิธีลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นบางวันหรือบางช่วงเวลาของวัน เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันภายในร่างกาย หากถามว่า ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง คำตอบคือในช่วงที่รับประทานอาหารได้ ผู้ทำ IF สามารถบริโภคอาหารได้ทุกอย่าง แต่ควรเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนในช่วงอดอาหาร สามารถบริโภคได้เพียงน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ทำ IF คืออะไร IF หมายถึง การลดน้ำหนักด้วยการกินและอดอาหารเป็นเวลา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานจากไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต ซึ่งส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจช่วยทำให้น้ำหนักตัวลดลงตามไปด้วย การทำ IF มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น 16/8 คือการอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง/วัน และช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารได้คือ 8 ชั่วโมง/วัน เช่น รับประทานอาหารมื้อแรกเวลา 9.00 และมื้อต่อ ๆ ไปภายในเวลา 18.00 น. หลังจากนั้น งดรับประทานอาหาร 5:2 Fasting คือการรับประทานอาหารปกติ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ไดเอ็ท หรือการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำได้อย่างไรบ้าง

ไดเอ็ท หรือการควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารโปรตีนสูง การบริโภคอาหารแบบนับพลังงานแคลอรี่ หรือการหลีกเลี่ยงรับประทานคาร์โบไฮเดรตขัดสี นอกจากนั้น เพื่อให้การไดเอ็ทได้ผลและมีประสิทธิภาพ ควรนอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน [embed-health-tool-bmi] ไดเอ็ท คืออะไร ไดเอ็ท ทับศัพท์มาจากคำว่า Diet ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าอาหาร อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ไดเอ็ท หมายถึง การควบคุมอาหารหรือเลือกรับประทานอาหารเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก ไดเอ็ท ทำได้อย่างไรบ้าง การควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักนั้นทำได้หลายวิธี ดังนี้ บริโภคอาหารให้ได้พลังงานน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ร่างกายต้องการพลังงานเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อย่อยสลายและเปลี่ยนสารอาหารต่าง ๆ เป็นพลังงาน แต่หากร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าที่ต้องการในแต่ละวัน ทำให้เกิดการสะสมพลังงานส่วนเกินในรูปแบบของไขมัน เมื่อไขมันเพิ่มขึ้น น้ำหนักและขนาดตัวก็จะเพิ่มตาม ทำให้เสี่ยงมีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ทั้งนี้ ผู้ชายควรได้รับพลังงานจากอาหารประมาณ 2,500 แคลอรี่/วัน ส่วนผู้หญิงควรได้รับพลังงานจากอาหารประมาณ 2,000 แคลอรี่/วัน หากร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลง จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้นำมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวค่อย ๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมน้ำหนักด้วยการนับจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน ไม่ควรน้อยกว่า 1,200 แคลอรี่/วัน เพราะหากร่างกายได้รับพลังงานน้อยเกินไป ระดับการเผาผลาญพลังงานจะต่ำลง ซึ่งส่งผลให้การ ลดน้ำหนัก เป็นไปได้ยากขึ้น อีกทั้งอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าได้ง่าย เลือกบริโภคอาหารโปรตีนสูง การบริโภคอาหารโปรตีนสูง หรือการเลือกรับประทานอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก จะช่วยให้ระดับฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มท้องเพิ่มสูงขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน