backup og meta

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อะไรที่ไม่ควรกิน

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อะไรที่ไม่ควรกิน

พวกเราทุกคนสามารถได้ประโยชน์จากมื้ออาหารเพื่อสุขภาพ แต่คนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะต้องระมัดระวังอาหารที่รับประทานเข้าไปบ้าง เพราะจากที่จะได้สุขภาพที่ดี อาจจะกลายเป็นการทำร้ายสุขภาพไปเสียได้ อาหารใดบ้างที่ผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยง หาคำตอบได้ในบทความนี้

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง

ไนเตรทอาจทำให้อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แย่ลงได้

ไนเตรท ไม่เพียงไม่่ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เท่านั้น แต่ยังไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคนปกติอีกด้วย ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหายใจของยุโรประบุว่า ไนเตรท อาจทำให้อาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลงได้ และกระตุ้นให้อาการของโรคปะทุขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยใหม่ ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ไนเตรทอาจจะทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกด้วย เบคอน ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป แฮม และฮอทดอก ล้วนแล้วแต่มีไนเตรท และควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การรับประทานเกลือมากเกินไป ไม่ดีต่อ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

หากคุณเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือ เนื่องจากเกลือและอาหารเค็มจะทำให้ร่างกายเก็บกักน้ำมากขึ้น ทำให้ปอดได้รับแรงกดดัน และยากต่อการหายใจ ควรพยายามหลีกเลี่ยงไปใช้เครื่องปรุงรสอย่างอื่น เช่น สมุนไพร เครื่องเทศ ที่มีโซเดียมน้อยจะดีที่สุด

ผลิตภัณฑ์จากนมสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมูกได้

ถึงแม้ว่านมจะอุดมไปด้วยแคลเซียม ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมูกในปอดของคุณได้ สอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า สารประกอบในนม ที่เรียกว่า คาซูมอร์ฟีน สามารถทำให้การผลิตน้ำมูกมีมากขึ้น หรือทำให้เสมหะเหนียวขึ้น

เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระบบทางเดินหายใจของเราถูกทำลาย และไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายน้ำมูกผ่านเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้เกิดอาการไอและหายใจลำบาก ถ้าคุณสังเกตว่า มีเสมหะเกิดขึ้นมากกว่าเดิม หรือเสมหะเหนียวขึ้น คุณควรจำกัดปริมาณนมที่คุณรับประทาน ซึ่งรวมถึงอะไรก็ตามที่ผลิตจากนม เช่น โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส เนย นมเปรี้ยว

ผักบางชนิดสามารถทำให้หายใจลำบากยิ่งขึ้น

โดยปกติแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้รับประทานผักตระกูลกะหล่ำ เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของผักชนิดนี้ก็คือ อาจทำให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้ ซึ่งแก๊สในกระเพาะอาหารนี้จะกดลงไปที่ปอด ทำให้ผู้ป่วยที่เป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หายใจได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก

ณไม่จำเป็นต้องหยุดรับประทานพืชตระกูลกะหล่ำไปโดยสิ้นเชิง จะดีกว่าถ้าคุณจะจำกัดปริมาณการกิน ผักบางชนิดที่คุณควรหลีกเลี่ยงคือ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว หัวไชเท้า

ซัลไฟต์ในกุ้งทำให้ทางเดินหายใจแคบลง

อาหารทะเลอาจเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี แต่กุ้งอาจมีผลกระทบต่อการหายใจของคุณ ภายในกุ้งมีสารเคมีที่เรียกว่า ซัลไฟต์ ที่ทำให้หลอดลมของผู้ที่เป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แคบลง ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงการรับประทานกุ้ง นอกจากนี้ สัตว์น้ำที่มีเปลือกรวมไปถึง มันฝรั่ง เบียร์ ไวน์  และยาบางชนิดก็มีซัลไฟต์เหมือนกัน

อาหารทอดสามารถทำให้ยากต่อการหายใจ

คล้ายกับพืชตระกูลกะหล่ำ อาหารทอดสามารถทำให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้ อาหารมัน อาหารทอด ทำให้กระเพาะของคุณมีแก๊ส อาการท้องอืดจะไปดันกล้ามเนื้อกระบังลม และจำกัดการขยายตัวของปอด ซึ่งไม่ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นอย่างมาก

อาหารที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน

อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น มะนาว ส้ม แม้ว่าจะอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี แต่ก็อาจกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน มีงานวิจัยที่พบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจทำให้อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รุนแรงขึ้น ดังนั้นคุณจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Foods to Avoid With COPD. https://lunginstitute.com/blog/food-to-avoid-with-copd/. Accessed January 15, 2017.

Cured Meats May Worsen COPD. http://www.webmd.com/lung/copd/news/20120309/cured-meats-may-worsen-copd. Accessed January 15, 2017.

COPD Foundation Blog. https://www.copdfoundation.org/COPD360social/Community/Blog/Article/293/Milk-Products-and-Mucus-in-COPD.aspx. Accessed January 15, 2017.

8 Common Myths About Dehydration. http://www.care2.com/greenliving/8-common-myths-about-dehydration.htm.  Accessed January 15, 2017.

What to know about COPD and diet. https://www.medicalnewstoday.com/articles/copd-diet. Accessed June 16, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/06/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คุณควรรู้ไว้ จะได้หลีกเลี่ยงทัน

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา