โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

สำรวจ โรคติดเชื้อ

การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) มีส่วนช่วยป้องกัน โรคระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างไรบ้าง

เรามักจะคิดว่า แบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ดีต่อร่างกาย แต่ปรากฏว่าร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียกหลายล้านล้านตัว และ แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ นอกจากจะมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ยังถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะทำให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง แบคทีเรียในทางเดินอาหารคืออะไร แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) จะอยู่ในลำไส้ 300-500 ชนิดของแบคทีเรีย โดยมียีนเกือบ 2 ล้านตัวและจะจับคู่กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นๆ เช่นไวรัสและเชื้อรา โดยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้จะสร้างสิ่งที่เรียกว่าไมโครไบโอตา (microbiota) หรือไมโครไบโอม (microbiome) เช่นเดียวกันกับลายนิ้วมือ ไมโครไบโอตาของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป กล่าวคือไมโครไบโอตาเป็นการผสมผสานของแบคทีเรียในร่างกายของคุณ ที่จะแตกต่างจากของผู้อื่น ซึ่งบางส่วนถูกกำหนดจากไมโครไบโอตาของแม่ ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่คุณเคยสัมผัสมาตั้งแต่เกิด และบางส่วนมาจากอาหารที่กินและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต แบคทีเรียอาศัยอยู่ทั่วร่างกายของคุณ แต่ที่อยู่ในลำไส้อาจมีผลกระทบมากที่สุดต่อสุขภาพ เนื่องจากแบคทีเรียเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารทั้งหมด และส่วนใหญ่จะอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จึงส่งผลต่อทุกๆ อย่างตั้งแต่การเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ไปจนถึงอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันด้วย แบคทีเรียในทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างไรบ้าง งานวิจัยแนะนำว่า แบคทีเรียในทางเดินอาหารในผู้ที่มีสุขภาพดีจะแตกต่างจากผู้ที่เป็นโรค เนื่องจากคนป่วยอาจมีแบคทีเรียบางชนิดน้อยเกินไปหรือมากเกินไป หรือผู้ป่วยอาจขาดแบคทีเรียหลากหลายชนิด ที่บางชนิดช่วยป้องกันโรคในขณะที่ชนิดอื่นอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรค นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้เริ่มเชื่อมโยงระหว่าง โรคภัยไข้เจ็บกับแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ดังนี้ โรคลำไส้อักเสบ ได้แก่ โรคโครห์น (Crohn’s disease) และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (Ulcerative colitis) ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ต้านการอักเสบในระดับต่ำ […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis)

โรคพยาธิเส้นด้าย เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลมในสกุล Strongyloides ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน คำจำกัดความ โรคพยาธิเส้นด้ายคืออะไร โรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis) เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากพยาธิตัวกลม (nematode หรือ roundworm) ในสกุล Strongyloides ถึงแม้ว่ามีพยาธิตัวกลมมากกว่า 40 สายพันธุ์ในสกุลนี้ที่สามารถส่งผลต่อนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่สายพันธุ์ Strongyloides stercoralis เป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ตัวอ่อนมีขนาดเล็ก โดยมีความยาวได้มากที่สุด 1.5 มม. ซึ่งพอๆ กับขนาดของเมล็ดมัสตาร์ดหรือเมล็ดทรายขนาดใหญ่ โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้บ่อยเพียงใด โรคพยาธิเส้นด้ายพบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ยังสามารถพบผู้ป่วยได้ในเขตภูมิอากาศอบอุ่นได้อีกด้วย พยาธิเส้นด้ายพบได้มากขึ้นในพื้นที่ชนบท ในสถานที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และในกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคพยาธิเส้นด้าย ในผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50 โรคพยาธิเส้นด้ายไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่หากมีอาการ อาจได้แก่ อาการแสบหรือปวดบริเวณช่องท้องส่วนบน ท้องร่วงหรือมีอาการสลับระหว่างท้องร่วงและท้องผูก มีอาการไอ มีผื่นคัน มีผื่นลมพิษใกล้ทวารหนัก อาเจียน น้ำหนักลด อาจมีผื่นเกิดขึ้นทันทีหลังจากสัมผัสพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis อาการที่พบในระบบทางเดินอาหารมักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเป็นครั้งแรก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของโรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิเส้นด้ายเกิดจากพยาธิตัวกลมสายพันธุ์ S. stercoralis พยาธิตัวกลมนี้ส่วนใหญ่ส่งผลต่อมนุษย์ โดยคนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อโดยสัมผัสดินที่มีพยาธิอาศัยอยู่ เมื่อตัวอ่อนพยาธิสัมผัสผิวหนัง สามารถเข้าสู่ผิวหนังและเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ โดยท้ายที่สุด […]


การติดเชื้อจากแมลง

มาลาเรีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

มาลาเรีย เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง หากยุงก้นปล่องกัด ปรสิตพลาสโมเดียมที่เป็นสาเหตุของมาลาเรียอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้มีอาการหนาวสั่นและมีไข้ซ้ำที่เกิดขึ้นตามรอบ ที่มีอาการ คือ 2-3 วันใน 1 รอบ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ มาลาเรีย คืออะไร มาลาเรีย (Malaria) เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง หากยุงก้นปล่องกัดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมที่เป็นสาเหตุของมาลาเรียอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้อาจมีอาการหนาวสั่นและมีไข้ซ้ำที่เกิดขึ้นตามรอบที่มีอาการ คือ 2-3 วันใน 1 รอบ มาลาเรียพบได้บ่อยเพียงใด มาลาเรียพบในประเทศเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มากกว่าเขตภูมิอากาศแถบอบอุ่น อาจส่งผลต่อคนทุกวัย มาลาเรีย อย่างไรก็ตาม มาลาเรียอาจจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของมาลาเรีย สิ่งบ่งชี้และอาการของมาลาเรียที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ อาการหนาวสั่นในระดับปานกลางถึงรุนแรง มีไข้สูง มีเหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย เลือดจาง ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการชัก หมดสติ อุจจาระมีเลือดปน อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอหากมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้ มีไข้สูงในขณะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรือหลังจากเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับมาลาเรีย มีไข้สูงถึงแม้ว่าเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือ 1 ปี หลังจากกลับจากเดินทางท่องเที่ยว หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

โรคซาร์ส (SARS) หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome)

โรคซาร์ส (SARS) หรือ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) เป็นรูปแบบหนึ่งของปอดบวม โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2002 แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ 9 ใน 10 คน หายจากโรค ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคซาร์สให้หายขาด แต่หากไม่เข้ารับการรักษาโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประคองอาการให้ดีขึ้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคซาร์สคืออะไร โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือโรคซาร์ส (SARS) เป็นรูปแบบหนึ่งของปอดบวม โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2002 ภายในเวลาไม่กี่เดือน นักท่องเที่ยวและชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศทำให้เกิดการระบาดของโรคใน 29 ประเทศทั่วโลก แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ 9 ใน 10 คน หายจากโรค แต่หากผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตได้ ดังนั้น ภาคส่วนที่มีอำนาจเร่งประชาสัมพันธ์สัญญาณของโรค วิธีการวินิจฉัย และแนะนำให้แยกผู้ป่วยออกมาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ในเดือนกรกฎาคม ปี 2003 การระบาดของโรคซาร์สหยุดลง และไม่มีรายงานการเติดเชื้อโรคอีกตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา โรคซาร์สพบบ่อยแค่ไหน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

พยาธิตัวตืด ภัยแฝงจากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจอันตรายกว่าที่คิด

พยาธิตัวตืด (Tapeworms) โผล่มาเป็นข่าวให้สะพรึงกันเป็นครั้งคราว แต่ความจริงแล้ว เรามีโอกาสติดเชื้อพยาธิตัวตืดได้ง่ายกว่าที่คิด เพราะพยาธิตัวตืดมีอยู่ในเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด และการกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ในแบบสุกๆ ดิบๆ ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อพยาธิตัวตืด แม้ว่าส่วนใหญ่ พยาธิตัวตืดจะเป็นสาเหตุของอาการโรคเพียงไม่กี่ชนิด และรักษาได้ง่าย แต่บางครั้งก็สามารถสร้างปัญหาสุขภาพร้ายแรง และอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน สัญญาณว่าคุณอาจติดเชื้อ พยาธิตัวตืด เข้าแล้ว การติดเชื้อในลำไส้ (Intestinal infection) เมื่อคุณกินตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดเข้าไป ตัวอ่อนเหล่านั้นสามารถเติบโตเป็นพยาธิตัวตืดเต็มวัยเกาะอยู่ตามผนังลำไส้ของคุณได้ การติดเชื้อพยาธิตัวตืดในลำไส้สามารถสังเกตได้จากอาการ หรือสัญญาณเหล่านี้ คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ อยากอาหารเค็ม น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร การติดเชื้อแบบลุกลาม (invasive infection) เมื่อคุณบริโภคไข่พยาธิตัวตืดเข้าไป ไข่เหล่านั้นสามารถเคลื่อนที่ออกนอกลำไส้และฝังตัวเป็นถุงตัวอ่อนพยาธิ (larval cyst) ในเนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนต่างๆ ก่อนจะค่อยๆ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนนั้นมีปัญหา ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้ ปวดศีรษะ เกิดถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ เกิดปฏิกิริยาแพ้ตัวอ่อนพยาธิตัวตืด อาการทางระบบประสาท รวมไปถึงโรคลมชัก การติดเชื้อพยาธิตัวตืดส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการใดๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก แต่คุณสามารถสังเกตอุจจาระของคุณได้ ว่ามีพยาธิตัวตืดหรือไม่ ซึ่งพยาธิตัวตืดมีลักษณะดังนี้ ลำตัวแบน ยาวเป็นปล้อง สีขาวขุ่น หรือเหลืองอ่อน […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

ไวรัสตับอักเสบเอ อีกหนึ่งโรคติดต่ออันตรายที่คุณป้องกันได้

ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อตับ โรคไวรัสตับอักเสบเอ ถูกจัดให้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง และสามารถกลายเป็นโรคระบาดที่รุนแรง จนทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ เบื้องต้นเราลองมาหาความรู้จากโรคนี้ในบทความที่ Hello คุณหมอนำมาฝากกัน โรคไวรัสตับอักเสบเอ คืออะไร โรคไวรัสตับอักเสบเอ หรือโรคตับอักเสบเอ เกิดจากไวรัสตับอักเสบเอ ที่สามารถอยู่รอดได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อาหาร ได้เป็นเวลานานที่ระดับค่า pH ต่ำและอุณหภูมิต่ำ โรคไวรัสตับอักเสบเอ เป็นโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ อาการป่วยมีตั้งแต่เล็กน้อยเป็นระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ ไปจนถึงอาการป่วยรุนแรงนานหลายเดือน โรคไวรัสตับอักเสบเอ จะปรากฏแบบเฉียบพลันแค่ในช่วงแรกของการติดเชื้อ คนที่เป็นโรคนี้มักจะหายได้เอง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ต่างจากโรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี ที่สามารถกลายเป็นโรคตับเรื้อรังได้ การแพร่เชื้อ การแพร่เชื้อของโรคไวรัสตับอักเสบเอ เป็นการแพร่เชื้อผ่านทางอุจจาระหรือทางปาก โดยผ่านปัจจัยเหล่านี้ การสัมผัสจากคนสู่คน เช่น การกัด แต่ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางการสัมผัสทั่วๆ ไป เช่น การกอด การจับมือ การแตะตัว เมื่อผู้ที่ติดเชื้อใช้มือสกปรกสัมผัสกับสิ่งของ หรือเตรียมอาหารให้ผู้อื่น เมื่อไม่ได้ล้างมือ หรือทำความสะอาดสิ่งของและบริเวณที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะทางทวารหนัก ช่องคลอด ออรัลเซ็กส์ เป็นต้น บริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ สามารถแพร่กระจายผ่านน้ำและอาหารสกปรกได้ อาหารที่มีแนวโน้มปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ง่าย ได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารที่มักรับประทานโดยไม่ปรุงสุก เช่น ผัก ผลไม้ น้ำ โรคไวรัสตับอักเสบเอ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ โรคบาดทะยัก เพื่อให้รับมือโรคอันตรายนี้ได้ทัน

โรคบาดทะยัก จัดเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่คนทั้งในอดีตและปัจจุบันยังไม่ค่อยรู้จักดีนัก เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคบาดทะยัก เพื่อให้คุณทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าโรคบาดทะยักมีอาการและสาเหตุอย่างไรบ้าง เพื่อคุณจะได้รับมือกับบาดทะยัก ได้ทันท่วงที โรคบาดทะยัก คืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือ การติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียมทีตานี (Clostridium tetani) เมื่อเชื้อนี้แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย แบคทีเรียนี้จะสร้างสารพิษที่รุนแรงเรียกว่า เตตาโนสะปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะไปทำลายเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) จนเสียหาย อาการของโรคบาดทะยัก หลังจากที่เชื้อแบคทีเรียบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลลึก อาจต้องใช้เวลาไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์ กว่าสัญญาณและอาการของโรคบาดทะยักจะแสดงออกมา ซึ่งระยะฟักตัวของการติดเชื้อโดยเฉลี่ย คือ 7 ถึง 10 วัน สัญญาณและอาการที่พบได้บ่อยของโรคบาดทะยัก ก็คือ อาการชักกระตุกและแข็งเกร็งที่อวัยวะหลายส่วน นอกจากนี้ โรคบาดทะยักยังสามารถทำให้เป็นไข้ เหงื่อออก ความดันโลหิตเพิ่มสูง และเร่งอัตราการเต้นของหัวใจได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีบาดแผลลึกหรือสกปรก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาและฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันบาดทะยัก หากคุณยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักภายใน 5 ปี หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดกระตุ้นบาดทะยักไปแล้วหรือยัง ควรฉีดใหม่อีกครั้งในทันที สาเหตุของโรคบาดทะยัก เชื้อคลอสตริเดียมทีตานีหรือที่รู้จักกันว่า สปอร์ของแบคทีเรีย คือ สาเหตุของบาดทะยัก สามารถพบได้ในฝุ่นละออง ดิน และมูลสัตว์ หากคุณบาดเจ็บ และมีบาดแผลลึก เชื้อบาดทะยักจะสร้างพิษเตตาโนสะปาสมินและทำลายเซลล์ประสาทสั่งการ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อของคุณจะเริ่มรู้สึกแข็ง […]


โรคติดเชื้อจากอากาศ

คุณป่วยได้หรือเปล่าถ้ามีใคร ไอจาม ใส่คุณ?

อาการ ไอจาม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ไอหรือจามเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น ไปจนถึงไอจามเรื้อรัง เพราะป่วยเป็นวัณโรค คนเราสามารถไอหรือจามได้ตลอดเวลา และบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว จึงไม่ได้ป้องกันอย่างถูกวิธี ซึ่งนี่เอง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคมากมายแพร่ไปในอากาศ กระจายสู่ผู้อื่น และอาจทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อโรคป่วยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory tract infections) ได้ ไวรัส..ไปได้ไกลและอยู่ได้นานกว่าที่คิด ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การไอหรือจามแต่ละครั้ง จะมีละอองน้ำลายประมาณ 3,000 หยด พร้อมกับไวรัสอีกราว 20,000 ตัว กระเซ็นออกมาด้วยความเร็วสูงสุดถึง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยเมื่อไอ ละอองน้ำลายจะกระเซ็นไปได้ไกลถึง 6 เมตร และเมื่อจาม ละอองน้ำลายจะไปได้ไกลถึง 8 เมตร แถมละอองน้ำลายที่กระเซ็นออกมายังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 10 นาทีเลยทีเดียว แม้ไวรัสที่ออกมาจะสัมผัสกับพื้นผิวแล้ว  ก็ยังสามารถอยู่รอด และกลับมาลอยในอากาศได้อีกครั้ง อนุภาคของไวรัสนั้นสามารถมีชีวิตอยู่บนเหล็กได้นานหลายชั่วโมง และมีชีวิตอยู่บนพลาสติกได้นานหลายวัน เมื่อคนอื่นหายใจเอาไวรัสเหล่านั้นเข้าไป จึงอาจทำให้ติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ไอจาม แบบไม่ให้แพร่เชื้อโรค การไอจามมักเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันระวังหรือไม่ทันตั้งตัว คุณจึงไม่ได้ป้องกัน และปล่อยให้เชื้อโรคจากตัวคุณ แพร่ไปสู่ผู้อื่นอีกหลายต่อหลายคน แต่คุณเองก็สามารถช่วยป้องกัน และลดการแพร่เชื้อโรคได้ง่ายๆ ด้วยการไอหรือจามอย่างถูกวิธี ดังนี้ ไอหรือจามใส่กระดาษทิชชู่ และทิ้งลงถังขยะทันที ไอหรือจามใส่ข้อพับหรือแขนเสื้อท่อนบน […]


ไวรัสโคโรนา

หน้ากากอนามัย ใช้อย่างไร ป้องกันอะไรได้บ้าง

ในภาวะที่ในอากาศเต็มไปด้วยฝุ่น ควัน ละออง และเชื้อโรค เราจึงควรสวมใส่ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อโรค ฝุ่น ควันที่อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ หรือโรคหวัดตามมาได้ แต่หากสงสัยว่า เรากำลังใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องกันอยู่หรือไม่ และหน้ากากนั้นสามารถป้องกันหวัดได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและวิธีการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อให้ป้องกันเชื้อโรคได้อย่างดี หน้ากากอนามัย คืออะไร หน้ากากอนามัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุผ้าอย่าง โพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ซึ่งจะต้องมีชั้นกรองอากาศอย่างน้อย 2 – 3 ชั้นเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรค สารพิษ หรือมลพิษจากภายนอกซึ่งจะทำให้ผู้ที่สวมใส่มีความปลอดภัย โดยชั้นในสุดเป็น ไฮโดรฟิลลิก (Hydrophilic) ที่ช่วยดูดน้ำ หรือลดความชุ่มชื้นได้ ชั้นกลางเป็น ฟิลเตอร์ (filter) ที่ใช้กรอง ส่วนชั้นนอกสุดเป็น ไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันน้ำ หน้ากากอนามัยควรจะมีคุณสมบัติที่จะป้องกันแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 80 ประเภทของ หน้ากากอนามัย หน้ากากใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรค หรือฝุ่นควันจากอากาศ แต่คุณต้องรู้จักกับประเภทของหน้ากากก่อน เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า เราควรใช้หน้ากากแบบใด โดยปกติหน้ากากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หน้ากากอนามัยเป็นหน้ากากที่ใส่แบบหลวมๆ ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาว่าสามารถใช้สำหรับเป็นเครื่องมือการแพทย์ได้ แพทย์ พยาบาล […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

โรคทริคิโนซิส (Trichinosis)

โรคทริคิโนซิส เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก คำจำกัดความ โรคทริคิโนซิสคืออะไร โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) หรือโรคบางครั้งเรียกว่าโรคทริคิเนลโลสิส (trichinellosis) เป็นภาวะติดเชื้อพยาธิตัวกลม (Roundworm) ประเภทหนึ่ง พยาธิตัวกลมใช้ร่างกายของผู้อาศัยในการอยู่อาศัยและขยายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะหมี สุนัขจิ้งจอก และวอลรัส ภาวะติดเชื้อเกิดจากการรับประทานตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ในเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก เมื่อมนุษย์รับประทานเนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก ที่มีตัวอ่อนพยาธิตัวกลม ตัวอ่อนจะใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่จะเติบโตเป็นพยาธิโตเต็มวัยในลำไส้ จากนั้น พยาธิที่โตเต็มวัยก็จะขยายพันธุ์ตัวอ่อน แพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โรคทริคิโนซิสแพร่กระจายได้มากที่สุดในพื้นที่ชนบททั่วโลก โรคทริคิโนซิสสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นเสมอไป การป้องกันสามารถทำได้ง่าย โรคทริคิโนซิสพบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคทริคิโนซิสมีอะไรบ้าง อาการของโรคทริคิโนซิสมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จำนวนตัวอ่อนพยาธิที่แพร่กระจาย เนื้อเยื่อที่เชื้อแพร่กระจายเข้าไป และภาวะทางกายภาพทั่วไปของผู้ป่วย ผู้ป่วยจำนวนมากมักไม่มีอาการ อาการของโรคทริคิโนซิสเกิดขึ้นเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1: การติดเชื้อในลำไส้ มีอาการใน 1 ถึง 2 วันหลังจากรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ มีอาการได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสีย มีตะคริวที่ช่องท้อง และมีไข้ต่ำ ระยะที่ 2: อาการจากการแพร่กระจายของตัวอ่อนพยาธิตัวกลมในกล้ามเนื้อ มักเริ่มต้นหลังจากประมาณ 7 ถึง 15 วัน อาการได้แก่ ปวดและกดเจ็บกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีไข้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม