โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

สำรวจ โรคติดเชื้อ

โรคติดเชื้อจากอาหาร

การติดเชื้ออีโคไล (E.coli Infection)

การติดเชื้ออีโคไล (E. coli) สามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเล็กน้อยถึงรุนแรง คำจำกัดความการติดเชื้ออีโคไล คืออะไร แบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรืออีโคไล (E. coli) พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ โดยปกติแล้ว แบคทีเรียอีโคไลส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไลบางสายพันธุ์ เช่น อีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ซึ่งพบว่าแพร่ระบาดบ่อย ก็สามารถทำให้เกิดอาการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้รุนแรง ส่งผลให้ถ่ายเหลว ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด มีไข้ อาเจียนได้ การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลสามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผักสด และเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี หากเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงดี ส่วนมากแล้วจะสามารถหายจากการติดเชื้ออีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หญิงมีครรภ์ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะพัฒนาไปจนถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการไตวายที่เรียกว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย (Hemolytic-uremic syndrome หรือ HUS) อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้เองที่บ้าน การติดเชื้ออีโคไล พบได้บ่อยแค่ไหน การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลนั้นพบได้บ่อยมาก มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย อย่างไรก็ดี […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุยิ่งฉีดไว ยิ่งลดความเสี่ยงโรค

การฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ Influenza A และ Influenza B ทำให้มีอาการ เช่น เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หนาวสั่น อ่อนเพลีย บางคนอาจอาเจียนหรือท้องเสีย หรืออาจมีอาการของไข้หวัดใหญ่โดยที่ไม่มีไข้ก็ได้ โรคไข้หวัดใหญ่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ จะยิ่งสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-heart-rate] ทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่และอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนทุกเพศทุกวัยควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปและผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนวัยอื่น และถึงแม้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคแมวข่วน อันตรายจากน้องเหมียวที่ควรระวัง

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทำให้มนุษย์ทั้งหลายยินยอมพร้อมใจที่จะเป็นทาสแบบสมัครใจและไร้เหตุผล แต่ทว่าเจ้าแมวเหมียวของพวกเราชาวทาสอาจจะไม่ได้แค่น่ารักน่าถนุถนอมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในบางครั้งเจ้าเหมียวก็อาจจะนำเอา โรคแมวข่วน มาติดทาสแมวที่คอยเลี้ยงดูได้เช่นกัน Hello คุณหมอ ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคแมวข่วนเพื่อที่จะได้รับมือและดูแลกับน้องแมวได้อย่างถูกต้อง โรคแมวข่วนเกิดจากอะไร โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) หรือ (CSD) เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียจากแมวที่ติดเชื้อ ซึ่งเราในฐานะเจ้าของแมวก็อาจจะไม่ได้สังเกตหรือสังเกตรู้ได้ว่าแมวกำลังติดเชื้อหรือเปล่า เมื่อแมวที่ติดเชื้อมาเลียเข้าที่แผลหรือผิวหนัง หรือมีการสัมผัสกับน้ำลายของแมวแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ถูกแมวกัด หรือข่วนเข้าที่ผิวหนังจนเป็นแผล สาเหตุเหล่านี้เพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อจากแมวได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้ก็คือเชื้อ Bartonella henselae โดยกว่า 40% ของเจ้าแมวเหมียวนั้นจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้อยู่ภายในปาก และกรงเล็บ ซึ่งเจ้าแมวเหมียวเหล่านี้ก็ได้รับเชื้อมาจากการเกาเห็บหรือมัดที่ติดเชื้อ หรือกัดเห็บหมัดเหล่านั้น หรือมาจากการต่อสู้กับแมวตัวอื่นที่มีเชื้อนี้ก็ได้เช่นกัน อาการของโรคแมวข่วนเป็นอย่างไร อาการของโรคจะไม่ปรากฏทันทีที่ถูกแมวข่วนหรือกัด แต่หลังจากนั้นเพียงวันหรือสองวันก็จะปรากฎอาการต่างๆ โดยในช่วงแรกหลังจากถูกกัดหรือข่วน จะมีผื่นสีแดง หรือผื่นพุพอง ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แต่อาจทำให้เกิดหนองได้ หลังจากนั้นภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ หรือหลังจากที่แผลหาย คุณอาจมีอาการ ดังนี้ มีไข้ (แต่ไม่สูงมาก อาจต่ำกว่า102 องศาฟาเรนไฮต์) ปวดศีรษะ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองบวม ในบางกรณีอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่าที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะหากโรคนี้เกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคแมวข่วนอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อกระดูก ข้อต่อ ดวงตา สมอง หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ จะป้องกันโรคแมวข่วนและดูแลตนเองอย่างไรได้บ้าง คุณสามารถที่จะดูแลและป้องกันทั้งตนเองและน้องแมวของคุณได้ ดังนี้ 1.ระมัดระวังการสัมผัสกับแมวในบ้านหรือแมวจรจัด โดยเฉพาะในช่วงที่แมวออกไปเล่นข้างนอกมา เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าแมวไปรับเชื้อมาหรือไม่ รวมถึงสัตว์แปลกหน้าที่พบก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

การมีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ อยู่ในบ้าน ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยมากมายหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามสัตว์เลี้ยงอาจนำเชื้อโรคเข้ามาสู่คนในบ้านได้ด้วยเช่นกัน เพื่อการรับมือและระมัดระวัง Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง และวิธีรับมือในเบื้องต้น โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่ควรระวัง สัตว์เลี้ยงแม้จะมีความน่ารัก มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ทว่าในหลายๆ ครั้ง ไม่เพียงแต่สัตว์เลี้ยงจะนำเห็บและหมัดมาติดเจ้าของเท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ยังสามารถแพร่เชื้อโรคให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่มากับสัตว์เลี้ยงที่คุณควรระมัดระวังและควรรู้จัก ได้แก่ 1.โรคกลาก  (Ringworm) กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ได้มีสาเหตุมาจากการหมักหมมหรือความสกปรกแค่เพียงอย่างเดียว เพราะเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยอย่างสุนัข หรือแมว ก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคนี้มาสู่เราได้เช่นกัน ซึ่งจะติดต่อกันผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสัมผัสกับสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการของผื่นแดงบริเวณผิวหนัง มีการตกสะเก็ด และมีอาการคัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคกลากไปพบคุณหมอ 2.โรคท้องร่วงจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) โรคนี้เกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัขหรือแมวที่ติดเชื้อ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง เป็นตะคริว และมีไข้ขึ้นสูงในระยะเวลา 2-5 วันหลังการสัมผัสอุจจาระของสัตว์ แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ควรไปพบคุณหมอ 3.โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) โรคแมวข่วน เกิดจากการถูกแมวที่ติดเชื้อกัด หรือข่วน หรือเลียเข้าที่แผล ทำให้แผลหรือบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการปวด บวม และเป็นรอยแผล ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย 4.โรคท็อกโซพลาสโมซิส […]


การติดเชื้อจากแมลง

ชิคุนกุนยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ชิคุนกุนยา คืออะไร ชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยไวรัสชิคุนกุนยาพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด ชิคุนกุนยาพบบ่อยแค่ไหน ชิคุนกุนยาพบมากกว่า 60 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา และส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของชิคุนกุนยา ไข้ ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า ผื่นแดง อาการของโรคมักแสดงออกมาให้เห็นในช่วง 4-8 วันหลังจากที่โดนยุงที่มีเชื้อกัด โรคชิคุนกุนยามีสัญญาณบางอย่างคล้ายกับไข้เดงกีและไวรัสซิกา ทำให้บางครั้งอาจมีการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนในบางพื้นที่ที่พบโรคเหล่านี้ได้ทั่วไป โรคชิคุนกุนยาไม่สามารถทำให้ถึงตาย แต่อาจทำให้อาการเรื้อรังได้ สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุฒหอหมอเมื่อใด หากมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ หรือหากเพิ่งเดินทางกลับจากบริเวณที่เสี่ยงติดเชื้อไข้เดงกี  และมีไข้ขึ้นฉับพลัน ควรเข้าพบข้าพบคุณหมอทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของตัวเอง สาเหตุ สาเหตุของชิคุนกุนยา ชิคุนกุนยามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพกับของ 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน

เคยไหมเพื่อน หรือคนรอบตัวที่สนิทกันหลายๆ ของคุณ มักชอบหยิบยืมสิ่งของกันจนถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ หรือแม้เครื่องสำอางก็ตาม แต่รู้หรือเปล่าว่ามีของบางอย่างที่แม้จะสนิทกันขนาดไหนก็ไม่ควรให้กันยืมกันนะคะ เพราะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าหากันได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จะขออาสาพาไปดู 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน ซึ่งหากใครกำลังทำอยู่ โปรดหยุดเสียดีกว่านะคะก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน แปรงสีฟัน แปรงสีฟันก็เป็นของใช้ส่วนตัวอีกอย่างที่ไม่ควรยืมกัน แม้จะสนิทกันมากขนาดไหนก็ตาม เพราะการแปรงฟันเพื่อทำความสะอาดช่องปาก หากช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียก็จะเป็นการกระจายเชื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นหากคุณลืมแปรงสีฟันควรยอมเสียเวลาหาซื้อ ไม่ควรยืมของคนอื่น ผ้าเช็ดตัว หลังจากอาบน้ำเสร็จเรียบร้อย ผ้าเช็ดตัวมักเป็นสิ่งแรกที่คุณหยิบขึ้นมาซับน้ำที่เปียกอยู่ทั่วร่างกาย หากคุณใช้ผ้าเช็ดตัวมาเป็นเวลานานโดยไม่เคยซักทำความสะอาดเลย อาจทำให้ผ้าเช็ดตัวของเราเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเป็นจำนวนมากก็ได้ เพราะผ้าขนหนูนั้นแทบจะชื้นอยู่ตลอดเวลาซึ่งถือเป็นอุณหภูมิที่เชื้อโรคชอบกันมาก ยิ่งคุณเห็นรอยดำๆ บนผ้าเช็ดตัวแล้วละก็ นั่นอาจเป็นเชื้อราที่กำลังก่อตัวได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เมื่อใช้งานแล้วอาจเกิดปัญหาโรคผิวหนังตามมา ดังนั้นทางที่ดีเราไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่นหรือให้คนอื่นใช้ผ้าเช็ดตัวของตัวเองเพราะอาจเป็นการกระจายเชื้อโรค และที่สำคัญควรหมั่นซัก หรือทำความสะอาดผ้าเช็ดตัวอยู่เสมอ และตากในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีแสงสว่างส่องถึง ผ้าเช็ดตัวจะได้แห้ง ไม่อับชื้น เครื่องสำอาง เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สาวๆ มักหยิบยืมกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น ลิปสติก บลัชออน แป้ง อายแชโดว์ แต่จะนับเป็นเรื่องธรรมดาก็ไม่เชิง เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรทำเลยจะดีเสียกว่า เพราะโรคบางโรคสามารถติดต่อกันอย่างง่ายดายผ่านการสัมผัสแบบใกล้ชิด เช่น โรคเริม เมื่อใช้ลิปสติกร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเริม น้ำลายหรือเชื้อโรคที่ติดอยู่บนลิปสติกสามารถส่งผ่านไปยังผู้ใช้ได้ หรือแม้แต่แป้ง บลัชออน เครื่องสำอางเหล่านี้ที่ใช้กับผู้ที่เป็นโรคผิวหนังแล้วถูกใช้ต่ออาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อีกด้วยเช่นกัน จึงบางครั้มก็อาจส่งผลให้บางคนเกิดอาการคัน มีรอยแดง […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ อีโบลา โรคจากไวรัสร้ายคร่าชีวิต

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อโรคอีโบลา หรือไวรัสอีโบลากันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วอีโบลาคืออะไร และโรคนี้อันตรายร้ายแรงแค่ไหน Hello คุณหมอ จึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับ อีโบลา โรคจากไวรัสหายากแต่อันตรายร้ายกาจที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย และปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด อีโบลา คืออะไร โรคอีโบลา หรือโรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease หรือ EVD) เดิมรู้จักกันในชื่อโรคไข้เลือดออกอีโบลา คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน ถือเป็นโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคนี้มีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 90 ไวรัสอีโบลาถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1976 ในเขตชนบทห่างไกลในประเทศซูดาน และในหมู่บ้านริมแม่น้ำอีโบลา ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และแม่น้ำอีโบลาก็ได้กลายมาเป็นชื่อของโรคในเวลาต่อมา นับตั้งแต่นั้น โรคอีโบลาก็แพร่ระบาดไปทั่วทวีปแอฟริกา และมีผู้คนติดเชื้อเป็นระยะ สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าค้างคาวผลไม้บางชนิดคือตัวพาหะของไวรัสอีโบลาตามธรรมชาติและเป็นตัวแพร่เชื้อ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เช่น ชิมแปนซี กอริลลา ลิง เม่น แอนทิโลป รวมไปถึงมนุษย์ที่ติดเชื้อ ก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน มนุษย์ติดเชื้ออีโบลาได้อย่างไร มนุษย์เราสามารถติดเชื้ออีโบลาได้จากการสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง เนื้อเยื่อ หรือของเหลวจากร่างกายของสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำนม น้ำลาย อสุจิ เหงื่อ โดยสามารถถ่ายทอดเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปาก จมูก ดวงตา บาดแผล และการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อเป็นพิเศษได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

คำจำกัดความภาวะอาหารเป็นพิษ คืออะไร ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือ เจือปนสารพิษ นี่คือสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปแล้วภาวะอาหารเป็นพิษไม่ใช่อาการร้ายแรง และผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่วันโดยไม่ต้องรับการรักษา ภาวะอาหารเป็นพิษ พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะอาหารเป็นพิษพบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะอาหารเป็นพิษ สัญญาณและอาการทั่วไปของภาวะอาหารเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ เจ็บและเกร็งบริเวณช่องท้อง มีไข้ รู้สึกไม่มีแรงและอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกหนาวสั่น อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้รวมอยู่ในอาการข้างต้นนี้ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้ อาเจียนบ่อยและไม่สามารถกลั้นอาเจียนได้ อาเจียนหรือขับถ่ายเป็นเลือด ท้องเสียนานเกินกว่า 3 วัน รู้สึกเจ็บปวดหรือเกร็งบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง วัดอุณหภูมิทางปากสูงได้เกินกว่า 38.6 องศาเซลเซียส รู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปากแห้ง ปัสสาวะเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ปัสสาวะเลย อ่อนเพลียอย่างรุนแรง วิงเวียนหรือมึนงงศีรษะ สายตาพร่ามัว กล้ามเนื้อไม่มีแรง และเป็นเหน็บตามแขน สาเหตุสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ ภาวะอาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อน ซึ่งการปนเปื้อนนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการแปรรูปหรือผลิตอาหาร รวมถึงสามารถปนเปื้อนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป กักเก็บ ขนส่ง หรือระหว่างเตรียมพร้อม ถ้ารับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก อย่างเช่น ผักสลัด หรือพืชผัก ผลไม้ ชนิดอื่นๆ เชื้อโรคหรือสารพิษที่เป็นอันตรายก็อาจไม่ได้ถูกทำลาย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้ แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยไวรัส ถือเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ตามมาด้วยเชื้อแบคทีเรีย สารพิษ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

งูสวัด (Shingles)

งูสวัด เป็นอาการผื่นผิวหนังที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ส่วนใหญ่อาการจะปรากฏเป็นแนวตุ่มข้างลำตัว คำจำกัดความ งูสวัดคืออะไร งูสวัด (shingles) เป็นอาการผื่นผิวหนังที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แม้ว่าเมื่อหายจากอาการอีสุกอีใสแล้ว แต่เชื้อยังคงอยู่ในระบบประสาทนานนับปี จนกลับมาทำให้เกิดอาการงูสวัดได้ แม้ว่าทุกส่วนของร่างกายสามารถเกิดอาการงูสวัดได้ แต่ส่วนใหญ่อาการจะปรากฏเป็นแนวตุ่มข้างลำตัว ผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคงูสวัด หรือเนื่องจากความเครียด การบาดเจ็บ ยาบางประเภทและสาเหตุอื่นๆ โรคงูสวัดอาจเป็นอาการที่ไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรวจหาให้ทราบโดยเร็ว และรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ และทำให้โอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนลดลง โรคงูสวัดพบบ่อยแค่ไหน โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้บ่อยมาก และสามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคงูสวัด อาการกลุ่มแรกของโรคงูสวัดคืออาการเจ็บและรู้สึกแสบร้อน อาการเจ็บมักเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย และเกิดผื่นเล็กๆ ขึ้น และมักเกิดผื่นแดงตามมา โดยลักษณะของผื่นมีดังนี้คือ เกิดปื้นแดง เกิดตุ่มน้ำที่แตกง่าย เกิดผื่นจากสันหลังไปรอบตัว เกิดผื่นที่หน้าและใบหู มีอาการคัน ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการนอกเหนือจากการเจ็บปวด และผื่นจากโรคงูสวัด อาการเหล่านี้ ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยของโรคงูสวัด ได้แก่ ปวดหรือเกิดผื่นที่ตา ที่ควรได้รับการรักษา เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดกับดวงตา สูญเสียการได้ยินหรือปวดหูข้างใดข้างหนึ่งรุนแรง เวียนศรีษะ หรือลิ้นไม่สามารถรับรสได้ ซึ่งเป็นอาการของกลุ่มอาการแรมซีย์ ฮันท์ (ramsay hunt syndrome) การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดขึ้นหากผิวหนังเกิดอาการแดง บวม และรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัส อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด คุณควรพบหมอหากคุณมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีอาการปวด หรือผื่นที่บริเวณใกล้ดวงตา หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา การติดเชื้อนี้สามารถนำไปสู่ความเสียหายกับดวงตาถาวรได้ เมื่อคุณมีอายุตั้งแต่ 70 […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและ วิธี รักษา ไข้หวัดใหญ่

องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ประเทศในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย สามารถพบโรคไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดปี การเรียนรู้วิธีรับมือไข้หวัดใหญ่อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น วิธี รักษา ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงวิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้สามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไข้หวัดใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างไร [embed-health-tool-bmi] โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์เอ สายพันธุ์บี โดยในประเทศไทยพบบ่อยในฤดูฝน ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาจะป่วยเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ และอาการจะดีขึ้น แต่สำหรับบางคนอาการของโรคไข้หวัดใหญ่อาจนำไปสู่การติดเชื้อในปอดที่รุนแรงยิ่งขึ้น อาการของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบบ่อย มีดังนี้ มีไข้ปานกลางหรือมีไข้สูง ไอแห้ง ปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อีกหนึ่งโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดใหญ่ และมักเกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน คือ โรคไข้หวัดธรรมดา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไข้หวัด แต่ความแตกต่าง คือ อาการของไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน และทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้มากกว่า อาการไอแห้งและอาการอ่อนเพลียจากไข้หวัดใหญ่สามารถกินเวลาได้นาน 2-3 สัปดาห์ หากมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าไข้หวัดใหญ่เริ่มรุนแรงขึ้น เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจติดขัด ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและ วิธี […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม