ไวรัสโคโรนา

โรค Covid-19 ที่แพร่ระบาดและส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ร้อยล้านรายทั่วโลก เป็น ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง แต่ไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Covid-19 เท่านั้น ยังมีไวรัสก่อโรคอีกมากมาย ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไวรัสโคโรนา

สัญญาณเตือน อาการลองโควิด มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

อาการลองโควิด แตกต่างไปในแต่ละราย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เหนื่อยล้าอย่างมาก เหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่ออก สูญเสียการได้กลิ่นหรือรับรู้รสชาติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นผื่น หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรดูแลตนเองในเบื้องต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกาย และไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาตามอาการ หรือประเมินสภาพร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม อาจช่วยให้อาการลองโควิดหายไปได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmi] อาการลองโควิด คืออะไร อาการลองโควิด (Long-term effects of COVID-19 หรือ Long COVID) เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว โดยร่างกายจะมีอาการผิดปกติหลังจากได้รับเชื้อนานกว่า 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป โดยทั่วไป ผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าจะมีอาการเล็กน้อยหรือรุนแรง ก็ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นลองโควิดหรืออาการป่วยบางอย่างในระยะยาวได้ แม้ว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้วก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอาการลองโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการลองโควิด ได้แก่ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือต้องการการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ป่วยหนัก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วก่อนที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอาการของกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กหรือภาวะมิสซี (MIS- C) และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในผู้ใหญ่ หรือภาวะมิสเอ (MIS-A) ในช่วงที่เป็นโควิดหรือหลังหายจากโควิด ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก เกิดจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดการอักเสบ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการลองโควิดเป็นอย่างไร โควิด-19 […]

สำรวจ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา

แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ แพร่เชื้อไว กลายพันธ์ุเร็วกว่าเดิม

แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ ในปัจจุบันได้แพร่ระบาดไปแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนักวิจัยในหลาย ๆ ประเทศได้มีข้อสันนิษฐานว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจาก สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ส่งผลให้หลายประเทศต่างวิตกกังวล โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กำลังอยู่ในช่วงเร่งฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา มาให้ทำความรู้จักกัน เพื่อที่จะได้รับมือกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างทันท่วงที  แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่  โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) หรือ C.37  เกิดจากการกลายพันธุ์ในหนามโปรตีนบริเวณตำแหน่ง L452Q และ  D253N  ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราประชากรเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สูงแห่งหนึ่งของโลก โดยในปัจจุบันได้แพร่ระบาดไปแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก จากผลการศึกษาการวิจัยในหลาย ๆ ประเทศ มีข้อสันนิษฐานว่า โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา มีแนวโน้มแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ  และอาจรุนแรงใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา หรืออาจจะรุนแรงมากกว่า ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่ระบุแน่ชัดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสแลมบ์ดา เช่น ความรุนแรงของโรค ความสามารถต่อการหลบหนีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย แต่ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น […]


ไวรัสโคโรนา

น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19

การ ดื่มน้ำกระชายขาว ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะสามารถเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 ได้อย่างไรบ้าง น้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 ดร. ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา กล่าวว่าจากผลการศึกษาการวิจัย พบว่า สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญ 2 ตัว คือสารแพนดูราทินเอ (Pandulatin A) และสารพิโนสโตบิน (Pinostrobin)  มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้อีกด้วย ดังนั้นหลายคนจึงหันมาใช้กระชายขาวในรูปแบบของเครื่องดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาสารสกัดจากกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับรักษาโรคโควิด-19 โดยคาดว่าอาจใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการพัฒนาการวิจัยให้สำเร็จลุล่วง สูตรน้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำ สูตรน้ำกระชายขาว เสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยโควิด-19 เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยมีส่วนผสมและวิธีทำ ดังต่อไปนี้ ส่วนผสม น้ำสะอาด 1 ลิตร ขิงสด 50 กรัม กระชายสด 200  กรัม ใบหูเสือ 10 ใบ น้ำตาลทรายแดง […]


ไวรัสโคโรนา

ไขข้อข้องใจ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่?

ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลให้วิถีชีวิตประจำวันของเราเปลี่ยนไปจากเดิม ระมัดระวังใส่ใจดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น เช่น การรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย อาจทำให้เราเกิดความสับสนว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นจริงหรือเท็จแค่ไหน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยอย่างการ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่? มาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนค่ะ  ไขข้อข้องใจ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19 จริงหรือไม่? ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ระบุแน่ชัดว่าการ กินผักดิบเสี่ยงติดโควิด-19  และไม่มีข้อบ่งชี้ไหนที่ระบุว่าพักดิบเป็นพาหะแพร่เชื้อโรค อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผักจะยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อโรค เราก็ต้องเลือกรับประทานผักให้ถูกสุขอนามัย เช่น ล้างผักให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนนำมารับประทานอาหารหรือก่อนนำไปประกอบอาหารเสมอ  4  พืชผักสมุนไพรไทย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พืชผักสมุนไพรไทยที่มีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีดังต่อไปนี้  พริก มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมด้วยวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในเลือดอีกด้วย  กะเพรา ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ  หอมหัวใหญ่ หอมแดง มีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก กระเทียม อุดมด้วยสารอัลลิซิน (Allicin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ […]


ไวรัสโคโรนา

ทำความรู้จัก ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19

วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อมูลเกี่ยวกับ ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19 มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ จะมีประสิทธิภาพต่อการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้มากน้อยแค่ไหน ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเลย ฟาวิพิราเวียร์ ยารักษาโรคโควิด-19 มีที่มาอย่างไร? ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ผลิตโดยโดยบริษัท ฟูจิฟิล์ม โตยามะเคมิคอล (Fujifilm Toyama Chemical) ในประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2557  เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศญี่ปุ่น และได้มีการนำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ในแถบแอฟริกาตะวันตกช่วง พ.ศ. 2557-2559  ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ประเทศจีนได้รับอนุญาตในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และอนุญาตให้นำมาศึกษาทดลองทางคลินิกเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในส่วนของประเทศไทยได้นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แต่ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจากโรคโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มากถึงวันละ 3 แสนเม็ดหรือเดือนละประมาณ 9 ล้านเม็ด  ศาสตราจารย์แพทย์หญิง นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรมจึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาสูตรต้นตำรับ จนขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยยาดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อย และเริ่มเข้าสู่ระบบการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่เชื้อเร็วเทียบเท่าสายพันธุ์เดลตา

หลายประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพบ เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังแพร่ระบาดมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ผลงานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ทางวารสาร Science ได้ระบุว่า เชื้อไวรัสเอปซีลอน เกิดการกลายพันธุ์จนสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 ได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูรู้จักกับ เชื้อไวรัสเอปซีลอน ให้มากขึ้นกัน เพื่อที่เราจะได้ป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที  เอปซีลอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ คืออะไร โควิดสายพันธุ์เอปซีลอน (Epsilon) พบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อยด้วยกัน คือ  B.1.427  เกิดจากการกลายพันธุ์จากยีนเอสของโปรตีนหนาม (S Protein) ตำแหน่ง ที่เรียกว่า “L452R” B.1.429 เกิดจากการหลายพันธุ์ในหนามโปรตีน 5 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า I4205V,  D1183Y (ในยีนส์ ORF1b) และ L452R, W152C, S13I (ในยีนส์ S) ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาพบว่า มีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวนี้สูงถึง […]


ไวรัสโคโรนา

วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

สถานการณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดทั่วโลกนี้ ปัจจุบันก็ยังคงไม่มียาที่สามารถจะรักษาผู้ป่วยจำนวนมากให้หายขาดได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีข่าวดีในเรื่องของวัคซีนนา ๆ ชนิด ที่ผู้ผลิต และทางการแพทย์ได้ร่วมมือกันวิจัย และผลิตออกมาอย่างแพร่หลาย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเบื้องต้นถึง วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด เพื่อให้ทุกคนนำไปพิจารณา และนัดหมายรับวัคซีนเพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด เพื่อเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน ที่คุณควรได้รับ ไม่ได้มีแค่วัคซีนสำหรับโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังมี วัคซีน อื่นอีกหลายชนิดที่คุณควรได้รับเป็นประจำทุกปี หรือตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องเจอ ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณะสุขที่ได้แนะนำการฉีดวัคซีนพื้นฐานที่ทุกคนควรฉีดเอาไว้ ดังนี้ วันซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี  วันซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอีกเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP) วันซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดย วัคซีน […]


ไวรัสโคโรนา

สุนัขดมกลิ่น ผู้ช่วยสำคัญในการตรวจจับผู้ป่วยโควิด-19 ในสนามบิน

เมื่อพูดถึง สุนัขดมกลิ่น เราอาจนึกไปถึงพวกสุนัขตำรวจที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ในด้านการดมกลิ่นค้นหาสิ่งต่าง ๆ ทั้งยาเสพติด ระเบิด หรือแม้กระทั่งคนหาย แต่หากบอกว่าสุนัขดมกลิ่นพวกนี้สามารถตรวจจับ โรคโควิด 19 ด้วย บางคนอาจจะไม่เชื่อ และคิดว่าไม่สามารถทำได้ แต่จากงานวิจัยล่าสุด เผยว่า การใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจจับผู้ป่วยโควิด-19 อาจแม่นยำกว่าที่เราคิด ว่าแต่สุนัขดมกลิ่นตรวจจับโควิด 19 ได้จริงหรือไม่ เราไปหาคำตอบกันเลย สุนัขดมกลิ่นกับการตรวจจับโรค เราอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า สุนัข มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์และสัตว์ชนิดอื่น ๆ โดยปกติ สุนัขจะมีหน่วยรับกลิ่นบริเวณจมูกมากกว่า 300 ล้านหน่วย ซึ่งมากกว่ามนุษย์ที่มักจะมีหน่วยรับกลิ่นแค่ประมาณ 6 ล้านหน่วยเท่านั้น นั่นทำให้สุนัขสามารถดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ ความสามารถในการดมกลิ่นอันดีเลิศแบบนี้เอง ที่ทำให้หลายหน่วยงานพยายามฝึกสุนัขดมกลิ่นให้ทำหน้าที่ในการตรวจจับกลิ่นพิเศษต่าง ๆ ทั้งกลิ่นระเบิด สารเสพติด รวมถึงโรคด้วย มีงานวิจัยที่พบว่า เมื่อเราป่วย ร่างกายของเราจะหลั่งสารประกอบที่มีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัวออกมา เรียกว่า สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds หรือ VOCs) แม้ว่ามนุษย์จะไม่สามารถดมกลิ่นของสารประกอบนี้ได้ แต่สุนัขกลับดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นพิเศษเฉพาะนี้ได้ ทำให้สามารถตรวจจับได้ว่าบุคคลนั้นเป็นโรคอะไรอยู่หรือไม่ ซึ่งจากผลการศึกษาจนถึงปัจจุบัน พบว่า ความแม่นยำในการตรวจจับโรคของสุนัขดมกลิ่น เกือบจะ […]


ไวรัสโคโรนา

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน ได้หรือไม่ จะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือเปล่า

หลายคนที่ติดตามข่าวการฉีด วัคซีนโควิด -19 ในช่วงนี้ อาจจะได้ยินเกี่ยวกับคำแนะนำเรื่องการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน ระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่สอง เช่น ฉีดวัคซีนซิโนแวค (sinovac) ก่อนในเข็มที่ 1 แล้วเข็มที่ 2 ค่อยไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) จนอาจทำให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 สองชนิดที่แตกต่างกัน เป็นอันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ ทำไมถึงมีการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างชนิดกัน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่เพิ่งคิดค้นมาได้ไม่นาน ทำให้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนเหล่านี้ยังคงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ความใหม่ของวัคซีนนี้เองทำให้ศึกษาค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด-19 ออกมาให้เห็นเรื่อย ๆ หนึ่งในงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ก็คือ การทดลอง ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่แตกต่างกัน 2 ชนิด เพื่อดูว่าระดับการสร้างภูมิคุ้มกันจะมีประสิทธิภาพแตกต่างจากการฉีดวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ยกตัวอย่าง งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กำลังดำเนินในสหราชอาณาจักร (UK) ได้ทำการเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบฉีด วัคซีนโควิด-19 สองชนิดที่แตกต่างกัน โดยให้ผู้เข้าทดสอบได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ในเข็มที่ 1 […]


ไวรัสโคโรนา

สารพันเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19

เชื่อว่าในขณะนี้ หลาย ๆ คนอาจจะตระหนักและรับทราบข้อปฏิบัติในการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ หรือการเว้นระยะห่าง แต่กับผู้ที่ติดโควิด-19 และรักษาหายแล้ว จะมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำสารพัดเทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ เทคนิค การดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาจนหายจาก โรคโควิด-19 แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในทันที ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง รวมถึงเพื่อคอยเฝ้าระวังสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย กรมการแพทย์ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อดูแลตัวเองหลังหายจากโควิด-19 ไว้ ดังนี้ กักตัวจนครบ 14 วัน ปัญหาการขาดแคลนเตียงและบุคลากรสำหรับรักษา โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการมักจะได้กลับบ้านหลังจากกักตัวดูแลภายในโรงพยาบาลเพียงแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้น และจำเป็นต้องกักตัวเองที่บ้านเพิ่มจนครบกำหนด 14 วัน เพื่อให้มั่นใจว่า หายดีและไม่อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อแล้ว จึงจะสามารถกลับมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ในช่วงระหว่างที่กักตัวที่บ้าน ควรแยกห้องนอน และถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำ กับพื้นที่พักอาศัย หากไม่สามารถแยกได้ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งาน และห้ามใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องพบปะกับผู้อื่น ทำความสะอาด นอกเหนือจากการทำความสะอาดตามปกติแล้ว ก็ควรเน้นทำความสะอาดในจุดที่ตัวเองสัมผัสบ่อย ๆ และจุดเสี่ยงที่อาจมีการสะสมของเชื้อโรค เช่น ลูกบิดประตู […]


ไวรัสโคโรนา

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

การ ฉีดวัคซีนโควิด 19 มีเป้าหมายสำคัญคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรค และช่วยลดความรุนแรงของอาการจากโรคได้ อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนโควิด 19 ก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีน mRNA วัคซีน viral vector vaccine และวัคซีน protein-based vaccine วัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้อาจจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนี้ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้จดจำและหาทางกำจัดเชื้อก่อโรคโควิด-19 อย่างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้ เมื่อเราฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว หากเราได้รับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ร่างกายของเราก็จะพร้อมรับมือกับโรคนี้ ช่วยควบคุมอาการ ไม่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการที่รุนแรง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากจำนวนผู้ที่ได้รับ วัคซีนโควิด-19 มีมากพอ อาจจะสามารถช่วยทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ซึ่งจะช่วยควบคุม และยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม