การคลอดและหลังคลอด

การคลอดและหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเตรียมพร้อม โดยการคลอดที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ การคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ก็จะต้องผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารก เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคลอดและหลังคลอด ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอดและหลังคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

หมวดหมู่ การคลอดและหลังคลอด เพิ่มเติม

สำรวจ การคลอดและหลังคลอด

การคลอด

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด (Epidural)

Epidural คือ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด เป็นหนึ่งในตัวยาที่คุณหมอมักเลือกใช้เพื่อจัดการกับความเจ็บปวดระหว่างการคลอด อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพสูงต่อการช่วยจัดการความเจ็บปวดขณะคลอด แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ยาชนิดนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ความดันต่ำ คุณแม่ที่กำลังใกล้คลอดควรปรึกษาคุณหมอก่อนคลอดถึงผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนี้ [embed-health-tool-due-date] Epidural คืออะไร Epidural คือ ยาระงับความรู้สึกที่ใช้เวลาคลอด มีผลต่อการบรรเทาความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ขณะคลอด ผ่านการฉีดยาเข้าสู่เยื่อหุ้มกระดูกสันหลังส่วนล่าง ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของโคเคน เมื่อตัวยาเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ไขสันหลังเกิดอาการชา และยับยั้งไม่ให้ความรู้สึกปวดผ่านเข้าสู่สมอง แต่การใช้ยาระงับความปวดในวิธีนี้ ยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย แต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาเฉพาะบริเวณที่ฉีดเท่านั้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์ยังมีสติสมบูรณ์ขณะคลอดลูก โดยคุณหมอจะให้ยาฉีดระงับความรู้สึกในช่วงที่ปากมดลูกเริ่มเปิดขยายตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร ข้อดีของยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด เมื่อหญิงตั้งครรภ์เจ็บปวดในขณะคลอด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเครียด เช่น เอพิเนฟริน (Epinephrine) และ โนเอพิเนฟริน (Norepinephrine) ออกมา ซึ่งจะเข้าไปขัดขวางการบีบตัวของมดลูก อาจทำให้ระยะเวลาการคลอดนานขึ้น และส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกได้ การให้ยาระงับความรู้สึก จะช่วยบรรเทาความเครียด ความกังวล ของคุณแม่ และช่วยให้กระบวนการคลอดเร็วขึ้นและราบรื่นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ช่วยทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกปลอดภัย ลดความเสี่ยงการตายคลอด ทั้งนี้ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอดนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นยาระงับปวดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจากการสำรวจผู้หญิงจำนวน 28 ราย จาก 100 ราย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ตกเลือดหลังคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่

ตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะการสูญเสียเลือดหลังคลอดบุตร อันเป็นผลมาจากภาวะรกลอกตัว แต่ทั้งนี้ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ถึงร้อยละ 50 ในระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้น โดยปกติแล้วสียเลือดหลังคลอดจึงมักไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับร่างกายของคุณแม่ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกมากเกินไป ซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลให้เกิดการช็อก เสียเลือดและเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-due-date] อาการตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนมีร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีอาการแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่จะมีอาการตกเลือดหลังคลอดภายใน 1 วันหลังคลอดทารก แต่อาจมีอาการตกเลือดหลังคลอดหลังคลอดทารกไปแล้ว 12 สัปดาห์ก็เป็นได้  ทั้งนี้อาการส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ เลือดไหลไม่หยุด ความดันโลหิตลดต่ำลง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น เซลล์เม็ดเลือดแดงลดต่ำลง รู้สึกเจ็บปวดอวัยวะเพศและมีอาการบวมแดง สาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอด ผู้ที่ผ่าตัดคลอดมักมีการสูญเสียเลือดมากกว่าผู้ที่คลอดตามธรรมชาติ ทั้งนี้มีหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 6 ประสบกับภาวะเลือดออกมากซึ่งเรียกว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) โดยมดลูกไม่หดรัดตัวเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ถึงร้อยละ 80 ของภาวะตกเลือดหลังคลอดใน 24 ชั่วโมงแรก นอกเหนือนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ต่อไปนี้ ได้แก่ ปากมดลูกฉีกขาด (Cervical Lacerations) ช่องคลอดหรือฝีเย็บฉีกขาดรุนแรง แผลขนาดใหญ่ที่ช่องคลอด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ทารกตัวโตมากกว่าปกติ ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ (polyhydramnios) การกระตุ้นคลอดหรือเร่งคลอดด้วย oxytocin […]


การคลอด

Precipitate labor คือ อะไร ควรรับมืออย่างไร

Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ นับตั้งแต่การเจ็บครรภ์และคลอดทารกรวมเสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง เป็นภาวะทางการแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อแม่และลูก แต่โดยปกติแล้วพบได้ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] Precipitate labor คืออะไร ถึงแม้ว่าผู้หญิงหลายคนผ่านประสบการณ์การคลอดลูกที่ต่างกัน แต่ขั้นตอนทั่วไปของการคลอด มีอยู่ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น และปากมดลูกเปิด ระยะคลอด ระยะตัดสายรก สำหรับ Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน โดยเป็นการคลอดทารกที่ใช้เวลาน้อยกว่าปกติ โดยระยะเวลาของการคลอดทั่วไป ตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จนถึงคลอดทารกใช้เวลาเฉลี่ย 6-18 ชั่วโมง ภาวะคลอดเฉียบพลัน หรืออาจเรียกว่า ภาวะคลอดเร็ว หมายถึงการคลอดที่ใช้เวลาสั้นเพียง 3-5 ชั่วโมง กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะคลอดเฉียบพลัน  Precipitate labor คือการคลอดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ มดลูกมีอาการหดตัวอย่างรุนแรง ช่องคลอดหย่อนยานมาก มีประสบการณ์การคลอดลูกเฉียบพลันมาก่อน ทารกในครรภ์ตัวเล็กกว่าปกติ สัญญาณและอาการของภาวะคลอดเฉียบพลัน การคลอดเฉียบพลัน มักเริ่มขึ้นด้วยการหดเกร็งอย่างรุนแรง ในเวลาที่กระชั้น ในระหว่างการเจ็บท้องแต่ละครั้ง จะรู้สึกว่าการหดเกร็งกินระยะเวลานาน มักจะรู้สึกถึงแรงกด และความรู้สึกต้องการเบ่งเพื่อขับถ่าย  แต่ทั้งนี้ ในหลายกรณี ความรู้สึกอยากเบ่งไม่ได้มาพร้อมกับการหดเกร็ง  […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

น้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน สัญญาณและวิธีรับมือที่ควรรู้

น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือ ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด ภาวะนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทารกพร้อมคลอดแล้ว แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ใกล้คลอด แต่หากเกิดภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ยังไม่ครบ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คืออะไร ทารกได้รับการปกป้องอยู่ในเยื่อหุ้มรก หรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวที่เรียกว่า น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เมื่อถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำเดิน นั่นเอง ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะการคลอด แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนครบกำหนดคลอดได้เช่นกัน น้ำคร่ำแตกมีอาการอย่างไร ความรู้สึกของอาการน้ำคร่ำแตก แตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละคน อาจเป็นได้ทั้งความรู้สึกเหมือนถุงแตก น้ำคร่ำจะไหลทะลักออกมา และอาการน้ำคร่ำรั่วเล็กๆ จริงๆ คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีน้ำคร่ำไหลหยดช้าๆเหมือนกำลังปัสสาวะ ในขณะที่บางรายอาจรุนแรงกว่านั้นมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงแรงกด จากนั้นจะรู้สึกเหมือนมีอะไรเล็ก ๆ แตกอยู่ข้างใน แล้วตามด้วยความรู้สึกโล่งทันทีที่ถุงน้ำคร่ำแตก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่หรือท้องแรก อาจไม่มั่นใจว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้นเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะกันแน่ จุดสังเกตก็คือ น้ำคร่ำจะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆไม่เหนียว และไม่มีกลิ่น แต่ในบางครั้งน้ำคร่ำอาจมีกลิ่นเหมือนคลอรีนหรือน้ำอสุจิ หรืออาจมีเลือดปนอยู่เล็กน้อยได้เช่นกัน น้ำคร่ำแตกเมื่อไร โดยปกติแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกก่อนเกิดอาการเจ็บท้องคลอดเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะน้ำคร่ำแตกช่วงในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสิบ มีภาวะน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ที่เรียกว่า “ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด” หรือ “ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด”(Premature rupture of membranes […]


การคลอด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ ผ่าคลอดซ้ำ

ผู้หญิงบางรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือมีความกลัวต่อการคลอดบุตรตามธรรมชาติ อาจเลือกวิธีคลอดบุตรโดยการผ่าคลอด อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ ยิ่งโดยเฉพาะหากผ่าคลอดซ้ำ ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าคลอดซ้ำ อาจมีทั้งการเกิดรอยแผลเป็น การบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ การตกเลือด ปัญหาเกี่ยวกับรก ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการผ่าคลอดซ้ำ และปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-due-date] ผลการศึกษาบอกอะไรเกี่ยวกับการ ผ่าคลอดซ้ำ การศึกษาในออสเตรเลียในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 2,345 ราย ซึ่งมีประสบการณ์การคลอดบุตรโดยการผ่าคลอดหนึ่งครั้ง และจัดเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน โดยผู้หญิง 1,108 ราย มีกำหนดคลอดโดยการผ่าคลอด ในขณะที่ผู้หญิงที่เหลืออีก 1,237 ราย เลือกการคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน อย่างไรก็ดี ผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิงทั้งหมด ที่ใช้การคลอดตามธรรมชาติ ขณะที่ผู้หญิงจำนวนที่เหลือใช้ทางเลือกในการผ่าคลอด อย่างเป็นที่น่าสังเกต ได้มีทารกเสียชีวิตในครรภ์ (stillbirth) โดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนสองราย ในกลุ่มที่คลอดตามธรรมชาติ ในขณะที่ไม่มีทารกเสียชีวิตในการคลอดด้วยการผ่าคลอด อัตราการเสียชีวิตของทารก หรือภาวะเกี่ยวกับสุขภาพที่ร้ายแรงก่อนออกจากโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 2.4 ในกลุ่มที่ใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติหลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 0.9 ในกลุ่มที่ใช้การผ่าคลอดอย่างเดียว โดยสรุปแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าการใช้การผ่าคลอดซ้ำเป็นทางเลือกในการคลอด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงอย่างมาก ทั้งสำหรับมารดาและบุตร ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของการ ผ่าคลอดซ้ำ การผ่าคลอดซ้ำอาจมีความเสี่ยง ดังนี้ เนื้อเยื่อมดลูกและบริเวณใกล้เคียงมีรอยแผลเป็น หลังจากการผ่าคลอดในแต่ละครั้ง จะมีแถบเนื้อเยื่อพังผืดคล้ายแผลเป็นก่อตัวขึ้น รอยแผลเป็นที่หนาส่งผลให้การคลอดเป็นไปได้ยาก […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

เจ็บท้องคลอด จริงหรือหลอก แยกได้อย่างไร

เจ็บท้องคลอด เป็นอาการใกล้คลอดที่ส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่า ลูกน้อยใกล้ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว แต่บางครั้งอาการเจ็บนั้นอาจจะยังไม่ถึงเวลาคลอดจริง ๆ ก็ได้ ฉะนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการเจ็บท้องจริงหรือเจ็บท้องหลอก เพื่อการเตรียมตัวเองให้พร้อมเสมอก่อนเวลาเจ็บท้องจริง ๆ จะมาถึง และรับมือกับสถานการณ์อย่างมีสติ ปลอดภัย  [embed-health-tool-due-date] อาการ เจ็บท้องคลอด เป็นอย่างไรบ้าง อาการเจ็บท้องหลอก คืออะไร อาการเจ็บท้องหลอกเป็นอาการเจ็บท้อง ที่ชวนให้นึกว่าใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว ถึงแม้ว่าอาการเจ็บแบบนี้จะทำให้คอมดลูกบางลง แบบเดียวกับอาการเจ็บท้องจริง ๆ แต่อาการเจ็บท้องหลอกจะไม่นำไปสู่การคลอดลูกอย่างแน่นอน อาการเจ็บท้องหลอกจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายหรือช่วงค่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวันที่ได้ออกแรงทำโน่นทำนี่ไปเยอะแยะ ตอนนี้อาจจะยังไม่มีอาการเจ็บท้องจริงเกิดขึ้นหรอกนะ แต่อาการเจ็บท้องหลอกนี้จะมีมาบ่อยขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันคลอด เวลาที่เกิดอาการเจ็บท้องหลอกนั้น จะรู้สึกตึง ๆ บริเวณช่องท้อง ซึ่งมักไม่ใช่อาการเจ็บปวด แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ สัญญาณของอาการเจ็บท้องหลอก การบีบตัวของมดลูกที่เป็น ๆ หาย ๆ การบีบตัวของมดลูกที่ไม่มีความรุนแรงมากขึ้น การบีบตัวของมดลูกที่จะหายไป เมื่อเปลี่ยนท่าทาง หรือปัสสาวะออกจนหมด อาการเจ็บท้องจริง คืออะไร อาการเจ็บท้องจริง มักจะเกิดขึ้นเวลาที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าออกซิโทซินออกมา ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นมดลูกให้เกิดการบีบรัดตัว ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว อาการเจ็บท้องจริงที่เกิดขึ้นกับว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่นั้น จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 40 ของการตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีอาการเจ็บท้องจริงเริ่มเกิดขึ้นในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์นั้น อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนด อาการเจ็บท้องจริงจะทำให้มดลูกส่วนบนเกิดอาการตึง ๆ ในการดันตัวทารกลงไปที่ช่องคลอด […]


การคลอด

คลอดลูกง่าย เป็นไปได้จริงหรือ มีเคล็ดลับอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คลอดลูกง่าย หมายถึง การคลอดบุตรตามธรรมชาติด้วยการเบ่งออกด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้เวลานานมากนัก และเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยไม่อาศัยการผ่าตัด หญิงตั้งครรภ์จำนวนไม่น้อยกลัวการคลอดลูกวิธีนี้เพราะคิดว่าจะสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส อย่างไรก็ตาม การที่จะคลอดง่ายนั้นมีเคล็ดลับที่อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหรือทำให้คลอดง่ายขึ้นซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำตามได้และเตรียมตัวก่อนคลอดได้ เคล็ดลับการคลอดง่าย หากต้องการคลอดลูกง่าย อาจเตรียมตัวระหว่างการตั้งครรภ์ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ จัดท่าทางให้พร้อมคลอด ในช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ อาจช่วยจัดท่าลูกน้อยให้พร้อมคลอด ด้วยการนั่งย่อเข่าบนพื้นแล้วใช้แขนโอบลูกบอลออกกำลังกาย (หรือเก้าอี้) เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์อยู่ในท่าที่ถูกต้องก่อนคลอดได้ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งก็จะช่วยให้คลอดง่ายขึ้นด้วย ฝึกความแข็งแรง  ว่าที่คุณแม่ที่มีความฟิตและสุขภาพดีนั้นมักจะคลอดได้อย่างราบรื่นกว่าคุณแม่ที่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และต้องการคลอดลูกง่าย ๆ ควรออกไปเดินในระยะทางสั้น ๆ ทุกวัน (ในระดับที่ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ) หรือลองสมัครเข้าเรียนโยคะสำหรับผู้หญิงตั้งท้อง หรือคลาสเตรียมคลอดก็ได้ นวดบริเวณฝีเย็บ ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ควรเริ่มต้นนวดเบา ๆ บริเวณระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก ที่เรียกกันว่า ‘ฝีเย็บ‘ โดยใช้น้ำมันจมูกข้าวหรือน้ำมันอัลมอนด์ เพื่อช่วยป้องกันอาการฉีกขาดบริเวณปากช่องคลอด ทำตัวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ระหว่างเตรียมตัวคลอดอาจพยายามเดินไปมา อาจช่วยให้การใช้ปริมาณยาแก้ปวดลดน้อยลง และมีแนวโน้มจะทำให้ช่วงเวลาเบ่งคลอดสั้นลงได้ เติมพลังงานกล้ามเนื้อให้แข็งแง การคลอดธรรมชาติต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมากในช่วงเบ่งคลอด ระหว่างการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแรงขึ้นมา และเติมพลังให้กับกล้ามเนื้อด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน การดื่มน้ำมาก ๆ ก็มีส่วนช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้นด้วย ใช้การสะกดจิตบำบัด ระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย อาจเข้าคลาสสะกดจิตบำบัด เนื่องจากมีการสอนให้รู้จักผ่อนคลาย กำหนดจังหวะหายใจ และนึกภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ปากช่องคลอดฉีก ตอนคลอดลูก สิ่งที่ต้องรู้และวิธีดูแลที่ถูกต้อง

ปากช่องคลอดฉีก ในระหว่างคลอดลูกตามธรรมชาติ อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกมีขนาดศีรษะใหญ่เกินกว่าที่ปากช่องคลอดจะขยายใหญ่ตามได้ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ซึ่งแผลของปากช่องคลอดฉีกอาจหายได้ไวหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่บางครั้งแผลฉีกขาดก็อาจต้องได้รับการเย็บ หรือต้องใช้ครีมที่มียาผสมอยู่ทาควบคู่ไปด้วย [embed-health-tool-bmi] ปากช่องคลอดฉีก คืออะไร ปากช่องคลอดฉีก มักพบได้บ่อยในระหว่างการคลอด อาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกมีขนาดศีรษะใหญ่เกินกว่าที่ปากช่องคลอดจะขยายใหญ่ตามได้ สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่จะมีปากช่องคลอดฉีก ได้แก่ ผู้หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ผู้หญิงที่มีลูกน้อยตัวใหญ่ ผู้หญิงที่ต้องเบ่งคลอดนาน ๆ ผู้หญิงที่ต้องใช้เครื่องช่วยในการคลอด เช่น การใช้คีมปากเป็ด เครื่องดูดสุญญากาศ แม้แผลฉีกขาดส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่ระดับความรุนแรงของปากช่องคลอดฉีกนั้นถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งทุกระดับอาจทำให้เจ็บปวด แต่บางระดับอาจต้องใช้วิธีเย็บแผล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหูรูดทวารหนัก การฉีกขาดระดับที่ 1 มีรอยฉีกเกิดขึ้นแค่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด ซึ่งไม่กระทบต่อกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจต้องเย็บเล็กน้อย การฉีกขาดระดับที่ 2 ซึ่งเป็นระดับที่พบได้บ่อย โดยจะเกิดการฉีกขาดในเยื่อบุช่องคลอด และเนื้อเยื่อในชั้นที่อยู่ลึกลงไป และจำเป็นต้องทำการเย็บที่มากขึ้น การฉีกขาดระดับที่ 3 แผลฉีกระดับนี้จะเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดในชั้นที่อยู่ลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ ที่ประกอบขึ้นเป็นกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ในกรณีนี้คุณหมอาจใช้วิธีเย็บแผลไปทีละชั้น โดยต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อหูรูด การฉีกขาดระดับที่ 4 แผลฉีกขาดระดับนี้เป็นแผลลึก ซึ่งฉีกตั้งแต่ปากช่องคลอดไปจนถึงเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นแผลที่มีความซับซ้อน และต้องทำการเย็บแผลหลายชั้น แต่การฉีกขาดระดับนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก โดยปกติแล้ว แผลฉีกขาดจะรักษาให้หายได้ภายใน 7-10 วัน ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ คืออะไร ควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ หรือ การคลอดล่าช้า หรือ การเจ็บคลอดเนิ่นนาน (Prolonged Labor) หมายถึงระยะเวลาที่หญิงตั้งครรภ์เจ็บท้องก่อนคลอดยาวนานกว่า 20-24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุแตกต่างกันไป [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ คืออะไร ภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ หรือที่เรียกว่า การคลอดล่าช้า หมายถึงการที่คุณแม่มีอาการปวดท้องคลอดเป็นเวลานานมากเกินกว่า 20-24 ชั่วโมงขึ้นไป โดยภาวะดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน แต่มักจะเกิดขึ้นในกรณี ดังต่อไปนี้ ทารกตัวใหญ่เกินไป หรือทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ ช่องเชิงกรานของคุณแม่แคบเกินไปหรือขยายตัวได้ไม่ดี ลักษณะมดลูกของคุณแม่มีความผิดปกติ หรือเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ มดลูกหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ปากมดลูกไม่ขยายออก การคลอดจึงดำเนินต่อไปไม่ได้ หากคุณแม่ประสบภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ ทีมแพทย์และทีมพยาบาลจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการตรวจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตรวจด้วยสายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter : IUPC) ตรวจด้วยเครื่อง Electronic Fetal Monitoring (EFM) เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ตลอด เพื่อให้มั่นใจว่า คุณแม่และลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่เป็นอันตราย ความเสี่ยงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ หากคุณแม่เจ็บท้องคลอดนานเกินไป คุณหมอจะวินิจฉัยเพื่อทำการ C–section หรือผ่าท้องคลอดบุตร เพราะหากทิ้งไว้นานเกินไป มีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือได้รับปริมาณออกซิเจนที่ต่ำเกินไป จนทำให้เสี่ยงต่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกได้ หรือหากรอให้คลอดธรรมชาติ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน