การคลอดและหลังคลอด

การคลอดและหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเตรียมพร้อม โดยการคลอดที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ การคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ก็จะต้องผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารก เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคลอดและหลังคลอด ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอดและหลังคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

หมวดหมู่ การคลอดและหลังคลอด เพิ่มเติม

สำรวจ การคลอดและหลังคลอด

เตรียมตัวก่อนคลอด

ป้องกันภาวะคลอดยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะหนึ่งในการคลอดบุตรที่อาจพบได้ก็คือ ภาวะคลอดยาก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ทารกมีขนาดตัวใหญ่ ทารกคลอดก่อนกำหนด คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ภาวะนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้สาเหตุและวิธีการ ป้องกันภาวะคลอดยาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดยากและปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้ [embed-health-tool-due-date] ภาวะคลอดยาก โดยปกติ เมื่อถึงเวลาของการคลอดทารกในครรภ์จะหันหัวเข้าอุ้งเชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมคลอด แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก เกิดขึ้น คือ ทารกมีขนาดตัวใหญ่ คลอดก่อนกำหนด มดลูกมีความผิดปกติ หรือมีเนื้องอก คุณแม่เป็นโรคอ้วน คุณแม่มีโรคเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก ดังนั้น หากมีวิธี ป้องกันภาวะคลอดยาก ไม่ให้เกิดขึ้น ก็จะทำให้คุณแม่และลูกน้อยรู้สึกสบาย ลดปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในขณะคลอดได้ ป้องกันภาวะคลอดยาก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กลัวจะเกิด ภาวะคลอดยาก ควรดูแลตัวเองดังนี้ การฝากครรภ์ การฝากครรภ์เป็นการดูแลครรภ์ของคุณโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ คุณหมอจะทำการนัดหมายคุณเพื่อมาตรวจครรภ์เป็นระยะ เพื่อดูสุขภาพโดยรวมของคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ ตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารก คุณหมอจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่คุณเพื่อการดูแลครรภ์ให้แข็งแรง รวมถึงคำแนะนำในการกินอาหารและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์ คุณหมอแนะนำทางเลือกในการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งการคลอด ได้รับอัลตราซาวด์เพื่อดูทารกในครรภ์ ตรวจคัดกรองอาการบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นในทารกอย่าง ดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) ตรวจเลือดเพื่อหาโรคซิฟิลิส เอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี ตรวจคัดกรองเซลล์เคียวและธาลัสซีเมีย เมื่อฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับการดูแลครรภ์ รวมถึงดูแลลูกน้อยในครรภ์อย่างใกล้ชิดจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ควบคุมการรับประทานอาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ควรควบคุมการรับประทานอาหาร […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

การคลอดล่าช้า สาเหตุ อาการ และความเสี่ยง

การคลอดล่าช้า (Prolonged Labor) เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของการคลอด หมายถึงการคลอดที่ใช้ระยะเวลานานเกินกว่า 20 ชั่วโมงขึ้นไปนับตั้งแต่มีอาการเจ็บท้องคลอดและเข้าสู่ระยะเร่งของการคลอด (Active Phase) จากปกติที่ควรใช้เวลาแค่ประมาณ 12-18 ชั่วโมง การคลอดล่าช้าอาจเป็นอันตรายต่อทารก เนื่องจากอาจทำให้ทารกขาดออกซิเจน หัวใจเต้นผิดปกติ มีความผิดปกติในน้ำคร่ำ หรือมีการติดเชื้อได้ รวมทั้งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในคุณแม่ด้วย เช่น ภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี หากคุณแม่มีภาวะคลอดล่าช้า คุณหมออาจแนะนำให้ทำการผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และเด็ก [embed-health-tool-due-date] วิธีคำนวณวันที่ครบกำหนดวันคลอด อายุครรภ์จะวัดโดยการใช้วันแรกของรอบเดือนครั้งสุดท้าย 280 วันหรือ 40 สัปดาห์ นับจากระยะเวลาเฉลี่ยของการตั้งครรภ์ หากไม่รู้ว่าประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นบุคคลที่มีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ คุณหมออาจจะขอให้มีการอัลตราซาวด์ เพื่อกำหนดอายุครรภ์ของทารก ในช่วงไตรมาสแรก ด้วยการวัด CRL (Crown-rump Length) ซึ่งการวัด CRL นั้นสามารถประมาณอายุของทารกได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ทารกทุกคนเติบโตด้วยความเร็วเท่ากันโดยประมาณ แต่หากอัลตราซาวน์ในอายุครรภ์ที่มากขึ้น ความแม่นยำจะน้อยลง สาเหตุของ การคลอดล่าช้า หรือคลอดที่อายุครรภ์เกินกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า อะไรคือสาเหตุหลักให้คุณแม่มีการเจ็บครรภ์หรือตั้งครรภ์ที่นานกว่าปกติ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการ เช่น ครอบครัวมีประวัติ การคลอดทารกล่าช้า เคยมีประวัติตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน กระดูกเชิงกรานของคุณแม่ที่เล็กเกินไป หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ น้ำหนักตัวของคุณแม่เกินเกณฑ์ หรือโรคอ้วน […]


การคลอด

ผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ไม่พร้อมคลอดแบบธรรมชาติ

ผ่าคลอด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด คุณแม่ที่ใกล้คลอดควรศึกษาถึงขั้นตอนการผ่าคลอดเพื่อจะได้มีทางเลือกในการตัดสินใจคลอดลูกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความพร้อมด้านจิตใจของคุณแม่เองด้วย [embed-health-tool-due-date] ผ่าคลอด (Cesarean section) คืออะไร ผ่าคลอด เป็นวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องและผนังมดลูกแล้วนำทารกออกมา ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะเลือกผ่าคลอด ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองได้ หรือการคลอดแบบธรรมชาติอาจจะมีอันตรายต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ การเตรียมตัวก่อนการผ่าคลอด ของใช้จำเป็นสำหรับคุณแม่ ของใช้จำเป็นสำหรับลูกน้อย เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น สมุดฝากครรภ์ บัตรโรงพยาบาล สำเนาบัตรประชาชนทั้งคุณพ่อคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน ทำความสะอาดบริเวณท้อง ร่างกายที่ต้องเตรียมสำหรับ วิธีผ่าคลอด เมื่อถึงเวลาผ่าคลอดแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก โดยมีอยู่ 2 วิธีคือ ฉีดยาชาเข้าบริเวณไขสันหลัง ดมยาสลบ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก วิธีผ่าคลอด สำหรับวิธีผ่าคลอดนั้น อาจเกิดความเสี่ยงขึ้นได้ โดยความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง สำหรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความเสี่ยงต่อลูกน้อย ได้แก่ ปัญหาการหายใจ โดยอาจมีอาการหายใจเร็วผิดปกติในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าคลอด การบาดเจ็บจากการผ่าตัด แม้ว่าจะเกิดได้ยาก แต่รอยบุบที่ผิวหนังของทารกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการผ่าตัด ความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ ได้แก่ การติดเชื้อ หลังผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อที่โพรงมดลูก ตกเลือดหลังคลอด เวลาผ่าคลอดอาจทำให้เลือดออกมากระหว่างคลอดและหลังคลอด เพิ่มความเสี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ในอนาคต หลังจากการผ่าคลอด มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ยิ่งมีการผ่าคลอดมากเท่าใด ความเสี่ยงของรกเกาะต่ำ ภาวะรกเกาะติดเกาะแน่น […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

กินอะไรคลอดง่าย อาหารชนิดไหนเหมาะกับคุณแม่ใกล้คลอด

กินอะไรคลอดง่าย อาจเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนท้องหลายคนสงสัย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงใกล้คลอด จริง ๆ แล้วอาหารทุกชนิดล้วนแต่มีประโยชน์ และมีอาหารบางชนิดที่อาจช่วยให้คลอดง่ายได้จริง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทั้งนี้ คุณแม่ใกล้คลอดสามารถปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] กินอะไรคลอดง่าย คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงครรภ์ ไม่ควรกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป และอาจเลือกอาหารที่อาจช่วยให้คลอดง่าย ดังต่อไปนี้ สับปะรด สับปะรดเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี ช่วยลดการอักเสบขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งสับปะรดยังเป็นแหล่งของโฟเลต (Folate) ที่ดีต่อการตั้งครรภ์ด้วย แม้สารสกัดจากสับปะรดจะทำให้เกิดการหดของมดลูกส่งผลทำให้คลอดง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ควรรับประทานสับปะรดทั้งลูก เพราะหากร่างกายมีสารโบรมีเลน (Bromelain) จากสับปะรดมากเกินไป อาจนำไปสู่อาการท้องร่วงหรือเป็นตะคริวได้ การรับประทานสับปะรดในช่วงตั้งครรภ์ นับว่าปลอดภัย เพียงแต่อาจต้องจำกัดปริมาณให้เหมาะสมด้วย น้ำมันละหุ่ง น้ำมันละหุ่งสามารถทำให้เกิดการหดตัวของมดลูกได้ แต่น้ำมันละหุ่งถือเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คุณหมอปัจจุบันมักไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ในการช่วยให้คลอดง่าย เพราะอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายรุนแรง ส่งผลให้รู้สึกไม่สบาย ปวดท้อง เสียน้ำมาก จนนำไปสู่อันตรายต่อครรภ์และทารกในครรภ์ได้ ชาใบราสเบอร์รี่สีแดง ชาใบราสเบอร์รี่สีแดง เป็นสมุนไพรที่อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกและทำให้มดลูกหดตัว ทั้งนี้ ชาใบราสเบอร์รี่สีแดงไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันว่าจะช่วยให้คลอดง่ายได้จริงหรือไม่ อินทผาลัม อินทผาลัมเป็นผลไม้ตามธรรมชาติที่มีเส้นใยอาหารสู ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานอินทผาลัมมักมีปากมดลูกขยายใหญ่มากขึ้น ส่งผลให้คลอดได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาในการคลอดสั้นลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสารต่าง ๆ ในอินทผาลัม เช่น โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ช่วยรักษาสมดุลระหว่างน้ำและเกลือในร่างกาย วิตามินเค ทารกแรกคลอดมักขาดวิตามินเค การกินอินทผาลัมจึงอาจช่วยให้ทารกได้รับวิตามินเค กรดไขมัน เป็นกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้คุณรู้สึกมีพลังงานตลอดทั้งวัน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด มีอะไรบ้าง รับมืออย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระหว่างคลอด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่หรือทารกเสียชีวิตได้ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-due-date] ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด อาจทำให้คุณแม่หรือทารกพบอาการต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือแตกเองก่อนเจ็บครรภ์คลอด โดยอาจเกิดขึ้นก่อนที่ครรภ์จะครบกำหนด 37 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากภาวะติดเชื้อโรคที่ช่องทางคลอด หากเข้ารับการดูแลโดยคุณหมอทันเวลา คุณแม่และทารกมีโอกาสที่จะรอดชีวิต ภาวะการขาดออกซิเจนแรกคลอด ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจทำให้ทารกเสียชีวิตระหว่างคลอดได้ ภาวะคอติดไหล่ เกิดขึ้นเมื่อศีรษะของทารกได้หลุดผ่านออกมาทางช่องคลอดแล้ว แต่ไหล่ข้างใด ข้างหนึ่งยังคงติดอยู่ในตัวแม่ ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถหลุดออกมาได้ในทันที อาจต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญของคุณหมอที่ทำคลอด เลือดออกมามากเกินไป มดลูกไม่หดตัวส่งผลให้มีเลือดออกมาก ซึ่งการตกเลือดดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่มีเลือดออกมากจนเกินไป แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอด ช่องคลอด และเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีแนวโน้มที่จะฉีกขาดได้ในระหว่างขั้นตอนการคลอดลูกน้อย หากมีการฉีกที่รุนแรง แพทย์จะทำการเย็บแผลให้ การคลอดไม่เป็นไปตามแผน เป็นลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก คือปากมดลูกขยายได้ช้า ทำให้ทารกไม่สามารถออกมาได้ หรือบางครั้งตัวของทารกมีขนาดใหญ่เกินไป หากคุณแม่ไม่สามารถคลอดได้โดยธรรมชาติ แพทย์จะทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

อยากคลอดลูกง่าย ออกกำลังกายด้วยโยคะอาจช่วยได้

โยคะสำหรับคนท้อง อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ อยากคลอดลูกง่าย เนื่องจากการฝึกโยคะ เป็นการฝึกร่างกายควบคู่ไปกับจิตใจ หากทำเป็นประจำ อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์หายใจได้ดีขึ้น และมีสมาธิมากขึ้น ซึ่งอาจดีต่อการคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึกโยคะในท่าที่เหมาะสม ภายใต้การดูแลของคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] โยคะ คืออะไร โยคะ (Yoga) หรือการฝึกโยคะ คือ กระบวนการฝึกฝนร่างกายควบคู่ไปกับการฝึกหายใจ และฝึกจิตให้มีสมาธิจดจดกับลมหายใจเข้าออก หากทำเป็นประจำอย่างถูกต้อง อาจช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ทั้งกายและใจ โยคะเป็นการออกกำลังกายแบบง่าย ๆ ช้า ๆ ไม่เน้นความรวดเร็ว จึงถือว่าเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากฝึกโยคะคนท้องเป็นประจำอาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ช่วยลดอาการปวดหลัง เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากโยคะเหล่านี้ อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถคลอดลูกได้ง่ายขึ้นทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูท่าที่เหมาะสม และควรอยู่ภายใต้การดูแลจากคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ อยากคลอดลูกง่าย โยคะท่าไหนช่วยได้ การฝึกท่าโยคะดังต่อไปนี้ อาจส่งผลดีต่อการคลอดลูก 1. โยคะท่าเด็กหมอบ (Child’s pose) เป็นท่าที่ช่วยใหระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงสามารถบรรเทาอาการปวดหลัง และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แถมยังช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน วิธีปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยคุกเข่าลงนั่งบนส้นเท้า เหยียดแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจออกแล้วโน้มตัวไปข้างหน้าช้า ๆ กดฝ่ามือลงแนบกับพื้น สำหรับคุณแม่ที่ท้องโต อาจต้องกางหัวเข่าออกให้กว้างขึ้น จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด 2. สคอวท (Squat) ช่วยผ่อนคลาย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

มดลูกแตก อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

มดลูกแตก หมายถึง ภาวะที่มดลูกขณะตั้งครรภ์มีการฉีดขาด หรือปริออก ทำให้มีการตกเลือดในช่องท้องจำนวนมาก และอาจทำให้ทารกในครรภ์และน้ำคร่ำหลุดออกจากมดลูกเข้าไปในช่องท้อง จนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ ซึ่งภาวะมดลูกแตกนี้พบมากในช่วงระหว่างคลอด แต่บางครั้งก็อาจเกิดในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-due-date] อาการของภาวะมดลูกแตก อาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะมดลูกแตก มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ กดหน้าท้องแล้วรู้สึกเจ็บ ปวดบริเวณเหนือหัวหน่าว (ส่วนของร่างกายที่อยู่ระหว่างท้องน้อย กับอวัยวะสืบพันธุ์) มดลูกหดรัดตัวไม่สัมพันธ์กัน ทำให้การคลอดแบบธรรมชาติเป็นไปได้ลำบากขึ้น ศีรษะของลูกน้อยถดถอยเข้าสู่ช่องคลอด ปวดรุนแรงอย่างฉับพลันเมื่อมดลูกบีบรัดตัว อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ผิดปกติ หากพบว่าผนังมดลูกผิดปกติ คุณหมออาจวินิจฉัยให้ผ่าตัดคลอดแทนการคลอดธรรมชาติ สาเหตุของมดลูกแตก มดลูกแตก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การบีบรัดตัวของมดลูกในขณะคลอดอาจทำให้มดลูกแตกได้ การใช้มดลูกมากเกินไป เช่น การมีลูกมากกว่า 3 คนขึ้นไป การผ่าตัดผนังมดลูก หรือเคยขูดมดลูกมาก่อน ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป เมื่อเทียบกับความกว้างของอุ้งเชิงกราน ทารกอยู่ในท่านอนขวาง หรือที่เรียกว่า “ลูกน้อยไม่ยอมกลับหัว” อายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนมีอายุมาก ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เคยประสบอุบัติเหตุ และมดลูกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ผนังมดลูกอ่อนแอ หรือบางผิดปกติ เคยมีการผ่าคลอดมาก่อน ใช้ยาบางชนิดที่ทำให้มดลูกบีบตัวผิดปกติ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับปริมาณยาชนิดนั้นมากเกินไป วิธีรักษาและป้องกันมดลูกแตก หากเกิดภาวะที่เสี่ยงมดลูกแตก คุณหมอจะทำการผ่าตัดคลอด เนื่องจากหากคลอดเองตามธรรมชาติอาจพบปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาได้ อย่างไรก็ตาม ควรพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่เป็นไปได้ทั้งหมดกับคุณหมอ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

10 สัญญาณการคลอด ที่ควรสังเกต

เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก็อาจหมายความว่าทารกใกล้จะคลอดออกมาแล้ว โดยคุณแม่อาจสังเกตได้จากสัญญาณการคลอดต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำแตก ปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดท้องเป็นพักๆ มีเลือดออกทางช่องคลอด หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลในทันที [embed-health-tool-due-date] สัญญาณการคลอด มีอะไรบ้าง 1. ท้องเริ่มเคลื่อนที่ต่ำ หรือลดลง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากเมื่อใกล้คลอดลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนตัวลงไปบริเวณเชิงกราน หากลดระดับลงมากเท่าใด ก็หมายถึงสัญญาณการคลอดที่ดีมากเท่านั้น และทำให้คุณแม่อุ้มท้องหายใจสะดวกขึ้น หากท้องเริ่มเคลื่อนต่ำลง คุณอาจจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เพราะหัวลูกน้อยดันลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ 2. ปากมดลูกขยาย ปากมดลูกเปิดนั้นเป็นยังไง คือวิธีการที่คุณหมอจะตรวจดูปากมดลูกสัญญาณการคลอด ว่าเริ่มมีสัญญาณการคลอดหรือไม่ หากพบว่าปากมดลูกเปิดแล้วก็แนะนำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด คุณแม่มักจะมีอาการมีมูกเลือดสีน้ำตาลคล้ำๆออกทางช่องคลอด ซึ่ง เป็นสัญญาณว่าอาจจะมีการเปิดของปากมดลูก 3. มีอาการปวดมากขึ้น มีความรู้สึกเป็นตะคริว และปวดหลังส่วนล่าง รวมไปถึงขาหนีบเมื่อใกล้คลอด เนื่องจากส่วนนำของทารกลดต่ำมาอยู่ในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อ และส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณแม่มหัศจรรย์ สำหรับเตรียมความพร้อมให้กับสถานการณ์ตอนใกล้คลอด 4. ข้อต่อมีความหลวมขึ้น ซึ่งระยะเวลาการตั้งครรภ์ฮอร์โมนรีแล็กซินได้ทำให้เอ็นมีการคลายตัวเล็กน้อย คุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ารู้สึกตึงน้อยลงรวมถึงผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติในการเปิดกระดูกเชิงกราน สำหรับการเตรียมพร้อม 5. อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง เนื่องจากลำไส้ส่วนล่างถูกรบกวน ถึงแม้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าน่ารำคาญ แต่อาการเหล่านี้คือ สัญญาณการคลอดที่ดี 6. น้ำหนักเริ่มคงที่ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 น้ำหนักตัวคุณแม่จะเริ่มไม่ค่อยขึ้นแล้ว เนื่องจากทารกอาจพัฒนาจนเต็มที่แล้ว 7. เหนื่อยง่ายกว่า คุณแม่ช่วงใกล้คลดออาจมีอาการเหนื่อยง่ายมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ รู้สึกอยากอยู่เฉย ๆ และง่วงนอนบ่อยขึ้น 8. สารคัดหลั่งเปลี่ยนสี สารคัดหลั่งต่าง ๆ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ขั้นตอนสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นการตรวจสุขภาพมารดา สุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ทราบถึงภาวะและความปลอดภัยของผู้ที่เป็นแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยคุณหมอจะช่วยตรวจดูพัฒนาการของทารก การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ก่อนคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ หากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขหรือหาทางดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ  [embed-health-tool-due-date] ตรวจครรภ์ก่อนคลอดสำคัญอย่างไร การตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการตั้งครรภ์ที่จะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์หรืออาจเกิดขึ้นขณะคลอด ในทุก ๆ การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด แพทย์จะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติ พัฒนาการ ตลอดจนความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเมื่อพบความผิดปกติแพทย์ก็สามารถที่จะหาวิธีรับมือหรือลดความเสี่ยงนั้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจครรภ์ก่อนคลอดจึงช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของแม่และเด็ก รวมถึงลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อแม่และเด็กได้ด้วย ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ต้องตรวจอะไรบ้าง การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ แต่หลัก ๆ แล้ว มักมีการตรวจคัดกรอง ดังนี้ การตรวจเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงของโรคติดเชื้อและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคโลหิตจางธาลาสซีเมีย การอัลตร้าซาวด์ การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ด้วยการอัลตร้าซาวด์ เป็นรูปแบบการตรวจครรภ์ที่น่าจะเป็นที่คุ้นหูมากที่สุดสำหรับคนท้อง กระบวนการอัลตร้าซาวด์นี้มักเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18-20 ของการตั้งครรภ์ และแม่ท้องมักจะได้รับการอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารก เพศของทารก หรือตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นการ ตรวจครรภ์ ที่มักเริ่มตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะตรวจด้วยวิธีวัดระดับน้ำตาลในเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ท้องผูกหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา

ท้องผูกหลังคลอด อาจเกิดจากการที่ร่างกายของคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงปรับตัวให้กลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่ส่งผลให้กระบวนการขับถ่ายทำงานได้ไม่ดี และส่งผลให้มีอาการท้องผูก ดังนั้น คุณแม่หลังคลอดจึงควรดูแลสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้มาก ๆ หรือเข้าการรักษาจากคุณหมอในกรณีที่อาการยังไม่ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] ท้องผูกหลังคลอด เกิดจากอะไร หลังจากที่มีการคลอดบุตรแล้ว ร่างกายของคุณแม่ก็จะเริ่มกลับเข้าสู่สภาพเดิมอีกครั้ง แต่ยังไม่สามารถฟื้นฟูให้เป็นปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว อวัยวะบางอย่างอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าที่จะปรับตัวกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ ลำไส้ของแม่หลังคลอดก็เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านการคลอดลูกมาหมาด ๆ ลำไส้จะยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ หรือขยับได้ไม่ค่อยดี จึงส่งผลให้กระบวนการดูดซึมสารอาหาร กระบวนการย่อยอาหาร และการลำเลียงกากอาหารที่ลำไส้ทำได้ไม่ดีนัก แม่หลังคลอดจึงมักเกิดอาการท้องผูกตามมา อย่างไรก็ตาม อาการท้องผูก หลังคลอด ยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยร่วมอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ ร่างกายขาดน้ำ ทำให้ลำไส้แห้ง ลำเลียงอาหารและกากอาหารได้ไม่ดี เคลื่อนไหวน้อย หลังคลอด ร่างกายของคุณแม่ต้องการพักฟื้น จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มากนัก ทำให้อวัยวะในร่างกาย โดยเฉพาะลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง จนส่งผลให้ท้องผูก ความเครียดและความวิตกกังวลหลังคลอด มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ พักผ่อนไม่เพียงพอ คุณแม่มือใหม่อาจจำเป็นต้องลุกมาดูแลลูกกลางดึกบ่อย ๆ จนนอนไม่พอ ซึ่งการพักผ่อนน้อยมีผลต่อกระบวนการขับถ่ายตามปกติ คลอดลูกโดยการผ่าคลอด การคลอดลูกด้วยวิธีนี้อาจต้องใช้เวลา 3-4 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน