การคลอดและหลังคลอด

การคลอดและหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเตรียมพร้อม โดยการคลอดที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ การคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ก็จะต้องผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารก เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคลอดและหลังคลอด ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอดและหลังคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

หมวดหมู่ การคลอดและหลังคลอด เพิ่มเติม

สำรวจ การคลอดและหลังคลอด

การคลอด

คลอดลูกธรรมชาติ ข้อดี ข้อเสีย และการดูแลตัวเองหลังคลอด

คลอดลูกธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดตามแบบปกติโดยไม่ใช้การผ่าตัด เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ยกเว้นกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่ขยาย ภาวะรกเกาะต่ำ ลูกไม่กลับศีรษะ ครรภ์เป็นพิษ ทารกได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ที่อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าคลอดแทนเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก [embed-health-tool-due-date] คลอดลูกธรรมชาติ คืออะไร การคลอดลูกธรรมชาติ คือ การคลอดลูกโดยไม่ใช้การผ่าตัดเพื่อทำคลอด แต่อาจใช้วิธีการควบคุมการหายใจเป็นจังหวะ เพื่อช่วยเพิ่มแรงเบ่งทารกให้ออกมาผ่านช่องคลอด โดยมีคุณหมอคอยบอกจังหวะการหายใจ การคลอดทารกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ การคลอดลูกธรรมชาติ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ข้อดีและข้อเสียของการคลอดลูกธรรมชาติ มีดังนี้ ข้อดี  การคลอดลูกธรรมชาติ  มีข้อดีตรงที่คุณแม่สามารถฟื้นตัวหลังคลอดได้ไวกว่าการผ่าคลอด เนื่องจากไม่มีบาดแผลขนาดใหญ่จากการผ่าตัด อีกทั้งยังอาจทำให้คุณแม่ได้รับประสบการณ์การคลอดลูก และรู้สึกใกล้ชิดกับทารกได้มากกว่าการผ่าคลอด ข้อเสีย คุณแม่อาจต้องทนเจ็บปวดกับมดลูกที่หดและขยายเป็นเวลานาน เนื่องจากต้องรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างพอที่ศีรษะของทารกจะออกมาได้ นอกจากนี้ บางคนอาจเสี่ยงต่อการตกเลือดเนื่องจากรกหลุดออกไม่หมด วิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกแบบธรรมชาติ ในช่วงระยะเวลาที่รอให้ปากมดลูกขยายระหว่างการคลอดธรรมชาติ คุณแม่อาจสามารถบรรเทาอาการปวดได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ทำสมาธิ โยคะ เดินช้า ๆ นวดตามลำตัวและหลัง โดยอาจให้สามี หรือคนรอบข้างคอยนวดผ่อนคลาย อาบน้ำ แช่น้ำอุ่น ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น เปิดเพลงฟัง อ่านหนังสือ เปลี่ยนท่านอนหรือท่านั่ง ทำใจสบาย ๆ ให้กำลังใจตนเอง  นอกจากนี้ ผู้คนที่อยู่รอบข้างควรให้กำลังใจ คอยดูแลคุณแม่อย่างใกล้ชิดเพราะ ระหว่างที่รอให้ปากช่องคลอดขยายอาจทำให้คุณแม่เจ็บปวด วิตกกังวล […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ของเตรียมคลอด ที่ควรเตรียมพร้อมก่อนคลอด

ของเตรียมคลอด ควรเตรียมให้พร้อมทั้งของคุณแม่ คุณพ่อ และของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัว เอกสารสำคัญ รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด นอกจากนี้ คุณแม่ควรดูแลสุขภาพก่อนคลอดอยู่เสมอ เพื่อให้คลอดง่าย ฟื้นตัวหลังคลอดง่าย และส่งเสริมให้คุณแม่และทารกมีสุขภาพที่ดี [embed-health-tool-due-date] การวางแผนและการดูแลสุขภาพก่อนคลอด ก่อนคลอดว่าที่คุณแม่ควรวางแผนในการดูแลสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตและอื่น ๆ ดังนี้ พบคุณหมออยู่เสมอ ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และก่อนคลอด ควรเข้าพบคุณหมอตามนัดอยู่เสมอเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจสอบสุขภาพร่างกาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิต โรคเรื้อรังอื่น ๆ คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมหรือการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มกาแฟ หรือการใช้ยาบางชนิดที่อาจไม่เหมาะในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เชื้อเอชพีวี ไวรัสตับอักเสบบีและเอ หัดเยอรมัน และวัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ทารกไม่ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ การรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม เป็นประจำทุกวัน สำหรับคุณแม่ก่อนคลอด หากได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพออย่างน้อย 1 […]


การคลอด

คลอดลูก สัญญาณเตือน ความเสี่ยงและการดูแลตัวเอง

การคลอดลูก มีทั้งการคลอดแบบธรรมชาติและการผ่าคลอด ซึ่งคุณหมออาจต้องพิจารณาสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสมหากคุณแม่สังเกตพบสัญญาณเตือนการคลอดลูก เช่นเจ็บท้อง น้ำคร่ำไหล ควรรีบเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อทำการคลอดทันที [embed-health-tool-due-date] การคลอดลูก มีกี่แบบ การคลอดลูกมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ การคลอดลูกแบบธรรมชาติ เป็นวิธีการเบ่งคลอดลูกโดยไม่ใช้การผ่าตัด อาจมีการควบคุมลมหายใจเป็นจังหวะ เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการเบ่งลูกออกมา การคลอดลูกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่ การคลอดลูกแบบธรรมชาติมีหลายเทคนิคด้วยกันทั้งการคลอดลูกตามปกติ และการคลอดลูกในอ่างน้ำ เพื่อช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย และลดการบาดเจ็บ การคลอดลูกแบบธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือระยะหดตัวและขยายตัวของมดลูก คุณแม่อาจรู้สึกว่ามดลูกมีการหดและขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3-10 นาที ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะปากมดลูกขยายกว้างถึง 10 เซนติเมตร เพื่อให้พอดีกับขนาดศีรษะของลูก จึงจะเริ่มทำการเบ่งคลอดคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งเมื่อมีการหดตัวและขยายตัวของช่องคลอด บางคนอาจมีสารคัดหลั่งสีใส หรือมีเลือดออกมาเล็กน้อย คุณแม่อาจบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำตัวให้ผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการเปิดฟังเพลงสบาย ๆ อาบน้ำ ลุกขึ้นเดิน ระยะที่ 2 คือระยะที่ปากมดลูกขยายตัวเตรียมพร้อมคลอด เมื่อปากมดลูกขยายถึง 10 เซนติเมตร คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพื่อเบ่งทารก ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง เมื่อศีรษะทารกโผล่ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ซึมเศร้าหลังคลอด อาการ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

ซึมเศร้าหลังคลอด เป็นภาวะที่คุณแม่อาจเผชิญในช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตร อาการที่พบอาจมีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงขั้นรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ทำให้วิตกกังวล หวาดกลัว หรือทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูก การใช้ชีวิตครอบครัว หากคุณแม่หลังคลอดรู้สึกว่าตนเองมีอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง ควรปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตนเองและฟื้นฟูจิตใจที่เหมาะสม [embed-health-tool-due-date] ซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ อารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมของคุณแม่หลังคลอด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่มือใหม่ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย หดหู่ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการเลี้ยงดูทารกในระยะแรกที่ทำให้คุณแม่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือความกังวลในการดูแลลูก จนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า อาการซึมเศร้าหลังคลอด ซึมเศร้าหลังคลอด อาจมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ดังนี้ เบบี้ บลู (Baby Blue) หรือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด มักเกิดขึ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วันหรือประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด อาจส่งผลให้คุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด วิตกกังวล  เศร้า ร้องไห้ อารมณ์แปรปรวน มีปัญหาด้านความอยากอาหาร มีปัญหาด้านการนอนหลับ โรคซึมเศร้าหลังคลอด ในระยะแรกอาจสับสนระหว่างภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้าหลังคลอด แต่โรคซึมเศร้าหลังคลอดอาจสังเกตได้จากอาการทางกายและทางจิตใจที่หลากหลาย รุนแรง และคงอยู่นานกว่าภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ส่วนใหญ่จะมีอาการตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน […]


การคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด และระยะเวลาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด เป็นกระบวนการทำงานของมดลูกที่เริ่มมีการขยายตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์​ โดยมักเกิดอาการในช่วงสัปดาห์ที่ 28 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแรกที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์นั้นใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะออกมาเผชิญกับโลกภายนอก คุณแม่ควรสังเกตอาการเจ็บท้องคลอดของตนเองและเตรียมพร้อมเพื่อไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-due-date] อาการเจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอดเป็นสัญญาณเตือนว่าทารกใกล้คลอดออกจากท้องคุณแม่ตั้งครรภ์และอาจสามารถสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ ร่วม ดังนี้ ท้องร่วง คุณแม่อาจมีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด หน้าท้องเปลี่ยนแปลง อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกกลับหัวนำศีรษะลงไปบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือปากมดลูกเพื่อเตรียมตัวออกจากท้องของมารดา จึงอาจทำให้หน้าท้องมีลักษณะต่ำลง มีเลือดออก ปากมดลูกอาจมีเลือดปนมากับมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกโพรงมดลูกเข้าสู่ทารกในครรภ์ ถุงน้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอดถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารกในครรภ์อาจแตกและไหลออกมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงก่อนคลอดบุตร หากมีอาการเจ็บท้องและถุงน้ำคร่ำแตกออกควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและแจ้งให้หมอทราบเพื่อเตรียมตัวคลอดอย่างทันท่วงที ระยะเวลาเจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอด จนถึงช่วงคลอดทารกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1  เป็นระยะแรกที่ปากมดลูกของคุณแม่ขยายออกประมาณ 4 เซนติมเตร มดลูกเริ่มมีการหดตัวทุก ๆ 60-90 วินาที จนกว่ามดลูกจะขยายตัวถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งบางคนอาจใช้เวลานานกว่า 4-8 ชั่วโมง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรง ในระยะนี้คุณหมออาจแนะนำให้คุณพ่อหรือคนรอบข้างคอยให้กำลังใจ หรือพาคุณแม่ลุกเดิน เปิดเพลง อาบน้ำ ช่วยนวดหลัง เพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ระยะที่ 2  เมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดจนสุด ทารกจะเคลื่อนไปทางปากช่องคลอด คุณหมออาจให้เริ่มออกแรงเบ่ง หรือกดท้องคุณแม่อย่างเบามือ เพื่อเสริมแรงดันทารกให้ออกจากท้องสู่โลกภายนอก คุณแม่อาจมีความรู้สึกเหมือนกับการเบ่งถ่ายอุจจาระ แต่ระยะการคลอดในคุณแม่ท้องแรกไม่ควรใช้เวลาเกิน 3 […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

วินาทีคลอดลูก ขั้นตอนและการเตรียมตัว มีอะไรบ้าง

วินาทีคลอดลูก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่การที่มดลูกเริ่มหดตัว ปากมดลูกขยายตัวเต็มที่พร้อมคลอด และการจัดการหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลอดธรรมชาติ คุณแม่อาจต้องผ่านช่วงเวลาที่เจ็บปวดระหว่างคลอดอย่างยาวนานหลายชั่วโมง ดังนั้น การเตรียมตัวก่อนคลอด เพื่อทราบถึงวิธีการจัดการกับความเจ็บปวดระหว่างคลอด จึงอาจช่วยลดความเครียดในวินาทีคลอดลูกได้ [embed-health-tool-due-date] วินาทีคลอดลูกหมายถึงช่วงเวลาใดบ้าง วินาทีคลอดลูก เป็นวินาทีสำคัญที่ทารกกำลังจะออกมาลืมตาดูโลก โดยผ่านกระบวนการคลอดในขั้นตอนเหล่านี้ ระยะที่ 1 การหดตัวของมดลูก ปากมดลูกค่อย ๆ เปิดออกและนิ่มลง ซึ่งการหดตัวนี้อาจจะเกิดขึ้นก่อนคลอดเป็นเวลาหลายวันหรือหลายชั่วโมง ในระยะนี้คุณแม่ควรผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ตั้งตัวตรงเมื่อนั่งหรือยืนและเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง การฝึกหายใจ การนวด หรืออาบน้ำอุ่นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะแรกของการคลอดได้ ปากมดลูกจะขยายตัวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง และอาจเร็วกว่านั้น 5 ชั่วโมง สำหรับการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หรือ 3 ในทุก ๆ 15 นาที พยาบาลอาจใช้หูฟังตรวจการเต้นหัวใจทารก เพื่อเช็คอัตราและจังหวะหัวใจทารกว่าเป็นปกติหรือไม่ ระยะที่ 2 ปากมดลูกขยายตัวเต็มที่เตรียมพร้อมคลอด เมื่อปากมดลูกขยายเต็มที่ทารกจะเคลื่อนตัวลงไปทางช่องคลอดเพื่อไปยังปากช่องคลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดท้องและอาจต้องการเบ่งคลอด ซึ่งระยะเบ่งคลอดของลูกคนแรกไม่ควรนานเกิน 3 ชั่วโมง และสำหรับลูกคนที่ 2 ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ช่วงเวลาเบ่งคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดเป็นเวลานานกว่าระยะเวลาจริง ในระหว่างการคลอดคุณหมอจะฉีดยาชา เพื่อลดอาการเจ็บปวดก่อนการผ่าตัดช่องคลอด เพื่อง่ายต่อการคลอดทารกทางช่องคลอด เมื่อศีรษะของทารกเกือบจะโผล่ออกมา คุณหมออาจบอกให้คุณแม่หยุดเบ่ง […]


การคลอด

คลอดธรรมชาติ ข้อดี ข้อเสียสำหรับคุณแม่

คลอดธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นมานานหลายศตวรรษก่อนจะมีเทคนิคทางการแพทย์ หรือโรงพยาบาลเข้ามาครอบคลุมคอยอำนวยความสะดวก ปัจจุบัน การคลอดลูกธรรมชาติยังคงเป็นตัวเลือกแรกที่คุณแม่หลายคนนิยมเลือก จนกว่าคุณหมอจะพิจารณาว่า คุณแม่และทารกใช้ระเวลานานเกินไป เพราะถึงช่วงเวลาที่พร้อมคลอด แต่ทารกไม่สามารถคลอดออกมาได้ หรืออาจมีข้อบ่งชื้อื่นที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกไม่กลับหัว จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกสถานการณ์ดังกล่าวนี้ คุณหมอจำเป็นต้องให้คุณแม่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแทน [embed-health-tool-due-date] คลอดธรรมชาติ คืออะไร คลอดธรรมชาติ คือ การคลอดบุตรทางช่องคลอด อาจมีการใช้ยาเร่งคลอดร่วมด้วยกรณีที่มดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี มีการใช้วิธีการควบคุมหายใจ เพื่อเพิ่มแรงในการเบ่งทารกออกจากท้องผ่านช่องคลอด การคลอดทารกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่ การคลอดธรรมชาติทำให้เกิดอาการเจ็บท้องคล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงร่วมด้วย ข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้อัตราการผ่าคลอดไม่ควรเกิน ร้อยละ 15 โดยพิจารณาจากสถานการณ์ที่ไม่พร้อมคลอดธรรมชาติหรือมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอด เช่น ภาวะรกต่ำ คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อเริม ติดเชื้อเอชไอวี ทารกไม่กลับตัวนำศีรษะลงมาบริเวณช่องคลอด ภาวะคลอดล่าช้า  ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ มีดังนี้ การคลอดธรรมชาติเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีของคุณแม่ เนื่องจากความเจ็บปวดนี้เมื่อผ่านมาได้อาจเสริมสร้างพลังงานและร่างกายให้แข็งแรงขึ้น พร้อมจะดูแลทารกหลังคลอดได้เป็นอย่างดี การคลอดธรรมชาติมักเผชิญกับการหดรัดตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ขณะเดียวกันก็อาจช่วยกระตุ้นกระบวนการหายใจให้ทารกได้ดีกว่าการผ่าคลอด การผ่าคลอดอาจจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาชา ซึ่งส่งผลกระทบข้างเคียงต่อคุณแม่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาการง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด (Fetal Distress) เกิดจากภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด เช่น มดลูกแตก ครรภ์เป็นพิษ คลอดติดไหล่ ทารกไม่ยอมกลับหัว ส่งผลให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่พอในระหว่างคลอด และอาจเสี่ยงต่อ การเสียชีวิตได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] ภาวะทารกเครียดขณะคลอด คืออะไร ภาวะทารกเครียดขณะคลอด หรือ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หมายถึง ภาวะที่ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจนมากขึ้น เนื่องจากได้รับปริมาณออกซิเจนที่ไม่เพียงพอระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอด ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด อย่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับภาวะนี้กันอยู่เนื่องจากความคลุมเครือของคำศัพท์ แต่ส่วนใหญ่อาจพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาการของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน อาจมีสัญญาณของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรืออาการดังกล่าวต่อไปนี้ ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง หรือมีความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ โดยมีสีน้ำตาลแกมเขียว หรือมีน้ำคร่ำในครรภ์น้อยเกิน การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอตามเวลานัดในแต่ละไตรมาส แต่ถ้าหากเริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปพบคุณหมอทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ สาเหตุของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน สาเหตุของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ได้แก่ คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสุขภาพ เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะคลอดติดไหล่ อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากเกิน 35 ปีขึ้นไป คุณแม่ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง มดลูกแตก สายสะดือย้อย ทารกอยู่ในท่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

คลอดติดไหล่ สาเหตุ อาการ และการรักษา

คลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia) หมายถึงการที่ไหล่และส่วนลำตัวของทารกติดอยู่ภายในช่องคลอดในขณะที่ส่วนศีรษะคลอดออกมาแล้วส่งผลให้ไม่สามารถออกมาจากครรภ์มารดาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากขนาดตัวของทารกใหญ่เกินไป หรือคลอดเร็วเกินไป ทารกยังไม่กลับตัวอย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจส่งผลให้คุณแม่เสียเลือดมาก และอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ คลอดติดไหล่ คืออะไร คลอดติดไหล่ เกิดขึ้นเมื่อไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างของทารกติดอยู่ด้านหลังกระดูกหัวหน่าวของแม่ระหว่างการคลอด ส่งผลให้ไม่สามารถออกมาจากครรภ์มารดาได้จำเป็นต้องใช้หัตถการเพิ่มเติมเพื่อช่วยคลอดนอกเหนือจากท่าทำคลอดปกติ โดยภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ระหว่างการคลอด ที่คุณหมอจำเป็นต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อย คลอดติดไหล่ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะคลอดติดไหล่ เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทำให้การคลอดล่าช้าผิดปกติ ซึ่งสามารถพบได้ใน 0.2-3 % หรือประมาณ 1 ใน 200 คน อาการ อาการของภาวะคลอดติดไหล่ ภาวะคลอดติดไหล่ ส่วนมากมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ ปรากฏออกมาให้เห็น คุณหมอจะสามารถรู้ว่าการคลอดนั้นมี ภาวะคลอดติดไหล่ ก็ต่อเมื่อศีรษะของทารกออกมาแล้ว แต่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายยังไม่ออกมาตามปกติของการคลอด เหมือนเต่าที่หดคออยู่ในกระดอง สาเหตุ สาเหตุของภาวะคลอดติดไหล่ สาเหตุของการเกิดภาวะคลอดติดไหล่ อาจมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณหมอต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ทารกที่ตัวใหญ่หรือตัวโต (Macrosomia) ยิ่งทารกตัวโต หรือน้ำหนักมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสเกิด ภาวะคลอดติดไหล่ มากขึ้นเท่านั้น ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 8 ปอนด์ หรือประมาณ 3,700 กรัม บางเกณฑ์อาจไปถึง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

สายสะดือพันคอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือผิดปกติ สายสะดือยาวเกินไป เป็นต้น แม้ภาวะนี้จะพบได้เป็นปกติ แต่บางครั้งก็อาจเป็นอันตราย ทำให้ทารกขาดสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จนอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้ ทั้งนี้ การหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและไปตรวจครรภ์ตามนัดเสมอตลอดการตั้งครรภ์ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอันตรายเนื่องจากสายสะดือพันคอทารกได้ [embed-health-tool-”due-date”] สายสะดือ คืออะไร สายสะดือ (umbilical cord) เป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับรกเพื่อทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดมารดาไปให้แก่ทารก มีขนาด 1-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีเลือดประมาณ 125 มิลลิลิตร/กิโลกรัม มีลักษณะขาวขุ่น เป็นเส้นยาว และบิดเป็นเกลียว ซึ่งช่วยให้สายสะดือไม่พับงอ สายสะดือพันคอ คืออะไร สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่คุณแม่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ถ้าเกิดเหตุการณ์สายสะดือพันคอทารกคุณแม่มักจะไม่รู้ตัว อาจรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น ไม่สามารถหาทางป้องกันล่วงหน้าได้ แต่แพทย์อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ แต่คุณแม่หรือคุณพ่ออาจจะต้องรวมกันสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ด้วย หากเริ่มมีการดิ้นที่น้อยลง โดยเฉพาะหลัง28สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด สาเหตุของภาวะ สายสะดือพันคอ ทารกในครรภ์ดิ้นเยอะ หรือมีการเคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือยาวผิดปกติ เนื่องจากสายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน