
อาการ ริดสีดวงทวารและท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดอาการริดสีดวง หรือท้องผูก เพียงใดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเกิดทั้งสองอาการ เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอจะพาคุณแม่ทั้งหลายมารู้จักกับการปัญหากวนใจนี้ เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัวรับมือ
อาการท้องผูก (constipation) คืออะไร
อาการท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในคนไทยมีการศึกษาพบว่า 24% ของประชาชนชาวไทยคิดว่า ตนเองมีปัญหาท้องผูก แต่เมื่อสอบถามในรายละเอียดแล้วพบว่าคนไทยประมาณ 8% มีปัญหาในการเบ่ง อุจจาระลําบาก และ 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 คร้ังต่อสัปดาห์ ดังนั้นอาการท้องผูกจึงถือเป็น ปัญหาที่สําคัญอย่างหนึ่ง แม้ว่าอาการท้องผูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทําให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง
โดยทั่วไป อาการท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในคนปกติจะถ่าย อุจจาระต้ังแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 คร้ังต่อสัปดาห์ ดังน้ันถ้าผู้ใดถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็จะถือว่า ผิดปกติ อาการท้องผูกอาจสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานมากกว่าปกติ หรือมีอาการ เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง
สําหรับความหมายของอาการท้องผูกที่ใช้กันทางการแพทย์ ในปัจจุบัน แพทย์จะใช้เกณฑ์ของ Rome III criteria โดยมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยดังนี้
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
- อุจจาระเป็นก้อนแข็ง (lumpy or hard stool)
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
- มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
- ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ
โดยถ้ามีอาการครบเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่สองอาการขึ้นไป เป็นมานานมากกว่า 3 เดือน และเริ่ม มีอาการครั้งแรก (ไม่จําเป็นต้องครบเกณฑ์) นานกว่า 6 เดือน จะถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูก ถ่ายได้บ่อยแต่ถ่าย อุจจาระลําบากก็เป็นปัญหา
จากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าในผู้ป่วยบางรายที่สามารถถ่ายอุจจาระได้มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ถ้าในการถ่ายอุจจาระแต่ละครั้งถ่ายด้วยความยากลําบาก เช่น ต้องเบ่งมาก หรือ รู้สึกถ่ายไม่สุด แพทย์ก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูกเช่นกัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับทวารหนักและการควบคุม กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย ซึ่งสามารถที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มาปรึกษาด้วยอาการท้องผูก แม้ว่าจะถ่ายอุจจาระมากกว่า 2 ต่อสัปดาห์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย การ สอบถามอาการเกี่ยวกับการขับถ่ายลงไปในรายละเอียดจะทําให้เราเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยมากขึ้น
ท้องผูกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
สาเหตุของอาการท้องผูกแบ่งได้แป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย
โรคทางกายที่สามารถเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรังได้แก่
- เบาหวาน
- ต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยกว่าปกติ
- ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
- โรคทางระบบประสาทต่างๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง, โรค parkinson’s, หรือโรค multiple sclerosisสาเหตุจากยาที่รับประทานประจํา
การใช้ยาบางชนิด
นอกจากนี้ ยังมียาหลายชนิดที่ทําให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรได้รับการซักประวัติเกี่ยวกับยาที่ได้รับว่ามียาที่อาจทําให้เกิดอาการท้องผูกหรือไม่ ยาที่สามารถทําให้เกิดอาการท้องผูกได้มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มยาทางจิตเวช ที่สําคัญและพบบ่อยได้แก่ ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะยากลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitryptyline หรือ nortryptyline
- ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic ซึ่งจะทําให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาลดการบีบเกร็งของลําไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น buscopan ยารักษาโรค parkinson’s เช่น levodopa และยาแก้แพ้บางชนิด เช่น chlorpheniramine
- ยากันชัก เช่น dilantin
- ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
- ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ morphine หรือ อนุพันธ์ของ morphine เช่น paracetamol ชนิดที่มีส่วนผสมของ codeine
- ธาตุเหล็ก ที่มีอยู่ในยาบํารุงเลือด
- ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของ calcium หรือ aluminium
- ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น diclofenac, piroxicam และ indomethacin
- ยาอื่นๆ เช่น cholestyramine
การอุดกั้นของลําไส้
การอุดกั้นของทางเดินอาหารสามารถทําให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งภาวะดังกล่าว ได้แก่
- มะเร็งหรือเนื้องอกของลําไส้ใหญ่และทวารหนัd
- ลําไส้ตีบตัน (stricture)
- ลําไส้บิดพันกัน (volvulus)
- ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น rectocele, rectal prolapse, anal stenosis
- การลดน้อยลงของปมประสาทบริเวณลําไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Hirschprung’s disease)
สาเหตุที่เกิดจากการทํางานของลําไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ
- การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction หรือ anismus)
- การเคลื่อนไหวของลําไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกันทําให้อุจจาระ เคลื่อนไหวภายในลําไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ (colonic inertia)
- ภาวะลําไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
ปัจจัยอื่นๆ ที่ทําให้ท้องผูกได้ง่าย ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อย รับประทานอาหารที่มีกากน้อย และมีนิสัยในการขับถ่ายที่ไม่ดี
ในบรรดาสาเหตุของอาการท้องผูก ที่กล่าวมาข้างต้นพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจํานวนน้อยเท่านั้นที่อาการ ท้องผูกมีสาเหตุมาจากโรคทางกาย ยา หรือโรคของลําไส้ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง (>90%) จะหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งถ้านําผู้ป่วยกลุ่มนี้มาตรวจดูการเคลื่อนไหวของลําไส้และการทํางานของกล้ามเนื้อบริเวณ หวารหนักจะพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหนึ่งจะมีการเคลื่อนไหวของลําไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการ ขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ทราบกันชัดเจน แต่เป็นภาวะที่สามารถ รักษาได้ การรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้และแนวทางการดูแลรักษาจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก
ภาวะท้องผูกในคนตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
ภาวะตั้งครรภ์ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนเเปลง โดยฮอร์โมนดังกล่าว มีผลทำให้กล้ามเนื้อลำไส้เล็กคลายตัว เมื่อลำไส้เล็กคลายตัวจากภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อาหารต่างๆผ่านได้ช้าลง นอกจากนี้ยาบำรุงในผู้หญิงตั้งครรภ์ได้แก่ เหล็ก มีผลทำให้ท้องผูก
ริดสีดวงทวาร (hemorrhoids) คืออะไร
ริดสีดวงทวาร หมายถึง การมีกลุ่มของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา แบ่งเป็น 2 ชนิด
1) ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายใน หมายถึง
ริดสีดวงทวารที่เกิดเหนือทวารหนักขึ้นไปตามปกติจะไม่โผล่ออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้และมักจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุดจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในขณะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน
2) ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายนอก หมายถึง
ริดสีดวงที่เกิดขึ้นบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก สามารถมองเห็นและคลำได้หลอดเลือดที่โป่งพองจะถูกคลุมด้วยผิวหนังจึงอาจเกิดความเจ็บปวดได้เพราะผิวหนังมีปลายประสาทรับความรู้สึก
สาเหตุ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่า ยีน FOXC2 gene บนโครโมโซมคู่ที่ 16 อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคและเส้นเลือดขอดที่ขา
- อาชีพ ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ จะมีผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดดำบริเวณปากทวารไหลกลับสู่หลอดเลือดดำในช่องท้องช้าลง โดยทั่วไปหลอดเลือดดำมีลิ้นเพื่อให้เลือดดำไหลกลับได้ทางเดียวแต่เมื่อการไหลของเลือดดำช้าลงประกอบกับมีความดันในช่องท้องสูงจึงเกิดการคั่งของหลอดเลือดดำบริเวณกลุ่มหลอดเลือดปากรูทวารหนักส่งผลให้กลุ่มหลอดเลือดดำโป่งพองจนเกิดอาการของโรค
- เกิดจากโรคแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับแข็ง หรือโรคตับอักเสบไวรัสบีซึ่งจะมีอาการท้องมานในระยะสุดท้าย และเมื่อมีน้ำในช่องท้องมาก ๆจะส่งผลไปกดการไหลเวียนเลือดในช่องท้องเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดดำไหลกลับเข้าช่องท้องได้ไม่ดีนัก
อาการ
- ระยะที่ 1 – มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนักเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกเลือดจะออกมากยิ่งขึ้น
- ระยะที่ 2– อาการมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้นเริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้นแต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง
- ระยะที่ 3– อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นเวลาถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าเดิม หรือเวลาจาม ไอยกสิ่งของหนัก ๆ ที่ความเกร็ง เบ่งในท้องเกิดขึ้นหัวริดสีดวงทวารจะออกมาข้างนอกทวารหนักแล้วก็กลับเข้าที่เดิมไม่ได้ ต้องเอานิ้วมือดันๆ เข้าไปถึงจะเข้าไปอยู่ภายในทวารหนักได้
- ระยะที่ 4 – ริดสีดวงกำเริบมาก โตมากขึ้น มองเห็นได้จากภายนอกอย่างชัดเจนเกิดอาการบวม อักเสบ อาการแทรกซ้อน รุนแรงมาก มีเลือดออกมาเสมอ อาจมีน้ำเหลืองเมือกลื่น และอุจจาระก็ยังตามออกมาอีกด้วยทำให้เกิดความสกปรกและมีอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดอาการคันด้วยบางทีอาจเน่าและอักเสบมากยิ่งขึ้น การติดเชื้อโรคเป็นไปได้ง่าย และเมื่อเลือดออกมาเรื่อย ๆ จะเกิดอาการซีด มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงจะเกิดอาการหน้ามืด
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยส่วนมากจะมีเลือดสดออกทางทวารหนักระหว่างที่ถ่ายอุจจาระสามารถสังเกตได้จากการมีเลือดเปื้อนกระดาษชำระหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระหรือมีเลือดไหลออกมาเป็นหยด ทั้งนี้อาจจะมีอาการเจ็บทวารหนักหรือไม่ก็ได้ถ้าเกิดอาการอักเสบหรือหัวยื่นออกมาข้างนอก อาจรู้สึกเจ็บรุนแรงจนทำให้ยืน นั่ง หรือเดินไม่สะดวกและอาจคลำพบก้อนเนื้อที่เป็นหัวบริเวณปากทวารหนักในรายที่เป็นเรื้อรังหรือมีเลือดออกมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการซีดจากการเสียเลือดได้
ริดสีดวงทวารในภาวะตั้งครรภ์ หมายถึง ภาวะที่เส้นเลือดในอวัยวะส่วนล่างของอวัยวะขับถ่ายเกิดอาการบวม ในบางกรณี ผนังของเส้นเลือดขยายจนมีลักษณะบางจนเส้นเลือดนูนและเกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะะขับถ่าย ภาวะที่รบกวนและสร้างความเจ็บปวดนี้เกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ในช่วงสามเดือนแรก และเกิดจากอาการท้องผูก สาเหตุหลักของอาการที่เกิดที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ แรงกดที่เพิ่มขึ้นบนลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและเพริเนี่ยมตลอดจนอาการท้องผูก
การป้องกันและการรักษาอาการริดสีดวงและท้องผูกระหว่างการตั้งครรภ์
- เพิ่มปริมาณกากใยในอาหาร (ผลไม้ ผัก และธัญพืช)
- ดื่มน้ำมากๆ (เครื่องดื่มชนิดอื่นๆสามารถช่วยได้ เช่นน้ำผลไม้หรือซุป)
- หลีกเลี่ยงการเบ่งขณะขับถ่าย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษาอาการระคายเคือง
- ทำความสะอาดทวารหนักหลังขับถ่าย เช็ดด้วยกระดาษชำระเบาๆจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- แช่น้ำอุ่นเพื่อบบรเทาอาการคัน อาจใส่เบคกิ้งโซดาในน้ำที่แช่
- ประคบเย็น
- อย่านั่งนานเกินไป ลุกขึ้นยืนหรือเดินหลังการนั่งเป็นระยะเวลานาน
ควรพบหมอเมื่อใด
หากพบว่ามีภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนล่าง ควรรีบไปพบคุณหมอ ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนล่าง (lower gastrointestinal bleeding; LGIB) หมายถึง การที่มีเลือดออกจาก lesion ที่อยู่ในทางเดิน ภาวะ LGIB นี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยพอสมควร แม้หากเปรียบเทียบกับ UGIB แล้ว ภาวะ LGIB จะพบได้น้อยกว่า เพียงประมาณ 1/5-1/3 ของ UGIB
การถ่ายเป็นเลือดเป็นอาการที่ควรได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโดยแพทย์เนื่องจากอาจบ่งชี้ถึงอาการที่ร้ายแรง เช่น ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (colon polyps) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคผนังลำไส้ใหญ่โป่งพอง (diverticulosis) และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal cancer)
อย่างไไรก็ตาม ข่าวดีของผู้ที่ตั้งครรภ์คือ ริดสีดวงทวารมักหายไปหลังจากการคลอด ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพื่อป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร หากคุณมีอาการท้องผูก ไม่ควรเบ่งอุจจาระขณะขับถ่ายและไม่ควรอั้นอุจจาระเมื่อปวด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Review Date: พฤษภาคม 28, 2019 | Last Modified: มิถุนายน 20, 2019