ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มักมีปัญหานอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นบ่อย หรือรู้สึกว่าร่างกายนอนไม่พอ เป็นผลมาจากการที่สรีระร่างกายและระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง รวมทั้งลองปรับท่านอนที่เหมาะสมอาจช่วยให้แก้ปัญหาการนอนให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุ ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การมีปัญหาเรื่องการนอนหลับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ ระดับฮอร์โมนผันผวน ในไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการแพ้ท้อง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ในไตรมาสที่ 3 ที่ท้องโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจจะเริ่มมีปัญหากับท่านอนมากขึ้น ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย หรือถี่ขึ้น มีอาการปวดหลัง ปวดขา หรือขาเป็นตะคริว โรคกรดไหลย้อน (GERD) ทำให้รู้สึกแสบร้อนในหลอดอาหาร  เป็นอีกสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งอาการที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่หลีกหนีไม่พ้น ทั้งนี้ หากมีปัญหาการนอนระยะยาว อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ควรพยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหากนอนไม่หลับ วิธีการแก้ ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะเป็นเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมและช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน วิธีลดปัญหาการนอน โดยเฉพาะอาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีหลากหลายวิธี ได้แก่ ปรับตำแหน่งการนอนในท่าที่คุณแม่คิดว่าสบายที่สุดให้กับตนเอง พยายามไม่เล่นโทรศัพท์ ดูโทรทัศน์ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ก่อนเข้านอน หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน และการดื่มน้ำหลังจาก 18:00 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ เรื่องใกล้ตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์

มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณบอกถึงการเจ็บครรภ์คลอด โดยจะแสดงอาการเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ซึ่งมดลูกบีบตัวเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายพร้อมสำหรับการคลอดทารกซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีอาการก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [embed-health-tool-due-date] มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ คืออะไร การบีบตัวของมดลูกขณะตั้งครรภ์เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะแสดงอาการเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอดทารก แต่ถ้าแสดงอาการก่อน 37 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนด การบีบตัวของมดลูกเป็นการที่กล้ามเนื้อบีบและคลายตัว ทำให้คุณรู้สึกท้องแข็งและอ่อนลงเมื่อมดลูกคลายตัว การบีบตัวของมดลูก (Braxton Hicks Contraction) เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 อาจมีอาการไม่รุนแรงจนไปถึงรุนแรงมาก สามารถเกิดขึ้นเร็วที่สุดในสัปดาห์ที่ 20 แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในสัปดาห์ที่ 28-30 และมักหายไปเอง แต่ถ้าเกิดในช่วงเดือนที่ 9 และแสดงอาการทุก ๆ 10-20 นาที อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอด อาการของภาวะมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ที่อาจพบบ่อยมีดังนี้ ปวดหลังส่วนล่าง ปวดอุ้งเชิงกรานและท้องส่วนบน เกิดความดันในอุ้งเชิงกราน อาการเจ็บปวด มดลูกบีบตัวนาน 60-90 วินาที มดลูกบีบตัวทุก 5-10 นาที่ ไม่สามารถเดินหรือพูดได้เมื่อมดลูกบีบตัว สาเหตุที่ทำให้มดลูกบีบตัว มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายพร้อมสำหรับการคลอดทารก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารเกิดขึ้นได้ แต่อาจมีบางสาเหตุที่ทำให้มดลูกบีบตัวขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน คือ ออกแรงมากเกินไปหรืออออกกำลังกายมากเกินไปในช่วงใกล้ครบกำหนดคลอด ร่างกายขาดน้ำ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ กับสัญญาณที่ควรรู้

การมี เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่หลายคนเกิดความกังวลได้ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของอาการ เลือดออกทางช่องคลอด ในช่วงขณะตั้งครรภ์ รวมถึงวิธีการป้องกัน จึงอาจช่วยให้คุณแม่ดูแลตัวเองและทารกในครรภ์ได้อย่างถูกวิธี [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุ เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ไตรมาสแรก สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เลือดออกทางช่องคลอด ในช่วงไตรมาสแรก โดยปกติแล้วมักจะมีอยู่ 2 สาเหตุ คือ อาการ เลือดออก ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากไข่ที่ปฏิสนธิฝังตัวในครรภ์ หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก อาการ เลือดออก เนื่องจากมีหลอดเลือดในบริเวณปากมดลูกมีความเปราะบางมากขึ้น โดยปกติอาการเหล่านี้มักมีเลือดออกเพียงแค่เล็กน้อย แต่ถ้าหากคุณมีเลือดออกทางช่องคลอดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะหากมีเลือดออกมากเมื่อมีอายุครรภ์มากขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เนื่องจากอาจเป็นสัญญานเตือนของภาวะที่อันตราย ดังต่อไปนี้ เลือดออก เนื่องจากการฝังตัวของไข่ ในการตั้งครรภ์ระยะแรกคุณอาจมีเลือดออกในช่องคลอดขณะตั้งครรภ์เล็กน้อยแต่ไม่เป็นอันตราย เนื่องจากเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาหลังจากการฝังตัวในผนังมดลูก เลือดออก จากการแท้งบุตร การแท้งบุตรเกิดขึ้นเพราะอาจมีบางความผิดปกติเกิดขึ้นกับทารก นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น ฮอร์โมนหรือปัญหาการแข็งตัวของเลือด การแท้งบุตรส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ซึ่งอาการ เลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ยังอาจมีอาการของการแท้งบุตรอื่น ๆ ได้แก่ เป็นตะคริวและปวดในช่องท้องส่วนล่าง มีของเหลวออกจากช่องคลอด อาจมีเนื้อเยื่อบางอย่างออกจากช่องคลอด ไม่มีอาการของคนที่กำลังตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นจากการที่ไข่ฝังตัวนอกมดลูก เช่น ฝังตัวในท่อนำไข่ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

รกลอกตัวก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

รกลอกตัวก่อนกำหนด หมายถึง ภาวะที่รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ได้แก่ การตั้งครรภ์ลูกแฝด การตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อท้อง [embed-health-tool-due-date] รกลอกตัวก่อนกำหนด คืออะไร ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio Placentae) หมายถึงภาวะที่รกหลุดออกจากผนังมดลูกก่อนที่จะถึงกำหนดคลอด หรือก่อนการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 โดยปกติทารกจะได้รับน้ำ สารอาหาร ออกซิเจน และโลหิตที่ไหลเวียนผ่านทางสายรก และรกจะหลุดออกพร้อมกับทารกที่คลอดออกมา แต่ความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้รกลอกตัวออกมาก่อนกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ไม่ปรากฎสาเหตุที่แน่ชัด จึงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าเกิดจากอะไร แต่โดยทั่วไปแล้วมักเกิดจากการบาดเจ็บที่ท้อง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ถูกทำร้ายร่างกาย การพลัดตก หกล้ม หรืออาจเกิดจากการสูญเสียของเหลวหรือน้ำคร่ำที่อยู่รอบ ๆ ทารกอย่างรวดเร็ว รกลอกตัวก่อนกำหนด อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่ค่อนข้างอันตราย และจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอ เพราะการที่รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกก่อนกำหนดคลอด ถือว่ามีความเสี่ยงทั้งต่อแม่และเด็กในครรภ์ ดังนี้  ความเสี่ยงต่อหญิงตั้งครรภ์ มีเลือดออกมากทางช่องคลอด  เสี่ยงที่จะมีการคลอดฉุกเฉิน เสี่ยงเกิดการตกเลือดทางช่องคลอดเป็นระยะ ๆ ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ทารกเสี่ยงที่จะได้รับน้ำ อาหาร สารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีปัญหาด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย สัญญาณของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะรกลอกก่อนกำหนด มักจะพบสัญญาณสุขภาพดังต่อไปนี้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สาเหตุและสัญญาณของอาการท้องลม

การท้องลม หรือการตั้งครรภ์ไม่มีตัวเด็ก (Anembryonic Pregnancy) คือการตั้งครรภ์ที่ไข่มีการปฏิสนธิตามปกติและฝังตัวในมดลูก แต่ไข่ที่ปฏิสนธินั้นหยุดการพัฒนาและไม่เจริญเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน ทำให้ถุงตั้งครรภ์ว่างเปล่า คล้ายกับว่าไม่เคยมีการตั้งครรภ์มาก่อน หรือที่มักจะเรียกกันว่าท้องลม หรือ ไข่ฝ่อ (Blighted Ovum) การท้องลมนับเป็นการแท้งบุตรตามธรรมชาติ และมักถูกขับออกมาเป็นประจำเดือนโดยไม่รู้ตัว แต่บางกรณีอาจจำเป็นต้องทำการขูดมดลูกเพิ่มเติม ควรปรึกษาคุณหมอให้แน่ชัดหากไม่แน่ใจว่ากำลังมีภาวะท้องลมหรือไม่ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุของท้องลม ภาวะท้องลม เป็นภาวะความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่โดยมากแล้วภาวะท้องลมที่พบได้ทั่วไปมักจะเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรืออาจเกิดจากอสุจิและไข่ที่ไม่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเร็วมากจนแทบจะไม่รู้ตัว หรือแทบจะไม่สามารถสังเกตถึงความผิดปกติของการตั้งครรภ์แบบไม่มีเด็กได้เลย  สัญญาณของท้องลม แรกเริ่มของ ภาวะท้องลม จะมีสัญญาณของการตั้งครรภ์ตามปกติ เช่น ตรวจพบการตั้งครรภ์จากการใช้ที่ตรวจครรภ์ ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มา แต่มักจะพบว่ามีอาการตั้งครรภ์ เช่น แพ้ท้อง คัดตึงเต้านมน้อยกว่าปกติ และหลังจากที่พบว่ามีการตั้งครรภ์ได้ไม่นาน ก็มีสัญญาณของการแท้งบุตรเกิดขึ้น เช่น ปวดเกร็งที่ท้อง มีเลือดออกทางช่องคลอด มีประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ หากตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ แต่ไม่นานก็มีสัญญาณการแท้งบุตรข้างต้น อาจเป็นไปได้ว่าคุณมี ภาวะท้องลม ควรไปพบคุณหมอ ท้องลมอันตรายหรือไม่ ภาวะท้องลม มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนแทบจำไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัวว่าเคยมีภาวะดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง และท้ายที่สุดการปฏิสนธิที่ไม่พัฒนาเป็นตัวอ่อนนั้น ก็จะกลายเป็นการแท้งบุตร ซึ่งอาจจะเป็นการแท้งตามธรรมชาติ ขับออกมาพร้อมกับเลือดประจำเดือนในกรณีที่ท้องลมโดยไม่รู้ตัว  สำหรับกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยโดยคุณหมอว่ามี ภาวะท้องลม คุณหมออาจแนะนำให้ทำการขยายมดลูกและขูดมดลูก หรือรับประทานยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแท้ง ก่อนที่จะทำการขูดมดลูกเพื่อเอาเนื้อเยื่อรกออก หรือทำการรักษาต่อไปในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา  อย่างไรก็ตาม […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ จัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้จนล่วงเลยไปถึงกำหนดคลอด อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อแม่และเด็กจนยากจะรักษา เพื่อป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้น คุณแม่รู้หรือไม่ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรที่จะช่วยให้คุณแม่สุขภาพดีและลดความเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์   [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์คือภาวะสุขภาพชั่วคราวที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ และมีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับโรคเบาหวานตามปกติ คือร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากคลอดลูก ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายไปเอง แต่คุณแม่หลังคลอดบางรายอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมาในภายหลัง  แม้ว่าเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเป็นอาการทางสุขภาพชั่วคราว แต่ก็มีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในขณะตั้งครรภ์และขณะคลอดได้ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนี้ ทารกมีน้ำหนักตัวมากอาจทำให้คลอดยาก  คลอดก่อนกำหนด  ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome หรือ RDS) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)  โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Intrauterine fetal death) ทารกตายคลอด (Stillbirth)  ผลกระทบต่อสุขภาพของแม่ตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดได้ ดังนี้ ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ  อาจจำเป็นต้องมีการผ่าคลอดเนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่ เสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลังจากคลอดลูก วิธีป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์   การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีได้หลายวิธีด้วยกัน สามารถปฏิบัติตัวตามได้ง่าย ๆ ดังนี้ รักษาน้ำหนักให้สมดุล หากวางแผนที่จะมีลูก หรือกำลังเริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ควรรักษาระดับน้ำหนักตามเกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย (Body […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม (Omphalocele) เป็นภาวะผนังหน้าท้องของทารกในครรภ์ปิดไม่สนิท ทำให้อวัยวะภายในช่องท้องอื่น ๆ เช่น ตับ ลำไส้ ยื่นนูนออกมา โดยมีชั้นบาง ๆ โปร่งใสหุ้มอยู่ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้มได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำ เพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-due-date] ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม คืออะไร ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม เป็นข้อบกพร่องของผนังหน้าท้องของทารกในครรภ์ ทำให้ลำไส้ ตับ และอวัยวะในช่องท้องอื่น ๆ ของเด็กทารกออกมาอยู่ด้านนอกใกล้กับฐานสายสะดือ โดยชั้นบาง ๆ โปร่งใสหุ้มอยู่โดยรอบ โดยปกติแล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วง 6-10 สัปดาห์ ลำไส้ของทารกในครรภ์จะเริ่มยาวขึ้นตามการเจริญเติบโต และยื่นออกมาผ่านทางสะดือ ที่ถูกปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อใสบาง ๆ ลำไส้ที่นูนออกมาควรจะกลับเข้าสู่ช่องท้องทารกดังเดิมในสัปดาห์ที่ 11 แต่หากลำไส้และอวัยวะภายในเหล่านี้ไม่กลับเข้าไปภายในท้อง ก็จะกลายเป็น ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม ภาวะนี้จัดได้ว่าเป็นข้อบกพร่องหายากที่อาจเกิดขึ้นได้ 1 ใน 7,000 และสามารถพบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ช่วงอายุมากกว่า 35 ปีที่กำลังตั้งครรภ์ อาการของภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม อาการของหลัก ๆ ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม คืออาการที่อวัยวะช่องท้องของทารก เช่น ลำไส้ หรือตับ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

โรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ โรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โรคผิวหนังที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ และโรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ โดยโรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยอาจมีทั้ง ผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์ ผื่นตั้งครรภ์ ผื่นภูมิแพ้ขณะตั้งครรภ์ และภาวะน้ำดีคั่งในตับช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งอาการและการรักษาอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโรค หากคุณแม่ตั้งครรภ์สังเกตพบความผิดปกติของผิวหนัง ควรปรึกษาคุณหมอและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] โรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย 1. ผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์ ผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์ (Pruritic Urticarial Papules and Plaques of Pregnancy: PUPPP) จัดเป็นหนึ่งในโรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก มักจะเริ่มพบอาการได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอดบุตร อาการทั่วไปคือ มีผดผื่นสีแดงนูน คล้ายกับลมพิษ เกิดขึ้นบนผิวหนัง โดยเฉพาะรอบ ๆ บริเวณหน้าท้อง และรอบสะดือ ในบางครั้งอาจจะเกิดตุ่มใส ๆ ร่วมด้วย แม้ว่าสาเหตุในการเกิด โรคผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ อย่างโรคผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์นี้อาจจะยังไม่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องยืดขยายขึ้นในช่วงใกล้คลอด ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณหน้าท้องเกิดความเสียหาย และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนอง และเกิดเป็นผดผื่นขึ้นมานั่นเอง ภาวะนี้ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด และมักจะหายไปภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด การใช้ยาบางชนิด เช่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

สักตอนตั้งครรภ์ ปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์หรือไม่

สักตอนตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบทั้งต่อคุณแม่และทารกในครภ์ได้ เนื่องจาก การสักด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตราฐาน หรือไม่ได้ดูแลความสะอาด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เอชไอวี (HIV) นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อการบล็อกหลังขณะคลอด ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสักตอนตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ สักตอนตั้งครรภ์ ได้หรือไม่ เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณมักจะได้รับคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ เช่น หลีกเลี่ยงการกินซูชิ ระวังการลื่นเมื่อต้องเดินตรงที่มีน้ำขัง และควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง เป็นต้น แต่บางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนที่ชื่นชอบศิลปะบนเรือนร่างอาจจะมีคำถามขึ้นว่า แล้วจะสามารถ สักตอนตั้งครรภ์ ได้หรือไม่ แม้ว่าการวิจัยในเรื่องนี้จะยังไม่มีการวิจัยออกมา แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอจะไม่แนะนำให้ทำ สักตอนตั้งครรภ์ ส่งผลอย่างไรบ้าง โดยปกติแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องระมัดระวังกิจกรรมที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร อยู่เสมอ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น เรื่องสักก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยากสักตอนตั้งครรภ์ อาจต้องศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ การสักอาจนำไปสู่การติดชื้อ ความกังวลอย่างหนึ่งของคุณหมอที่มีต่อการสักตอนตั้งครรภ์ คือ การติดเชื้อ เนื่องจาก ร้านสักบางแห่งอาจจะไม่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัยมีน้อย โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาความสะอาดเข็มและอุปกรณ์อื่น ๆ เข็มสักที่สกปรกอาจแพร่กระจายการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเอชไอวี (HIV) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำ ภาวะต้องระวังในหญิงตั้งครรภ์กับวิธีรักษา

รกเกาะต่ำ ถือว่าเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ จำเป็นที่ต้องดูแลตนเองภายใต้คำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอาจเกิดอันตรายต่อทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ควรศึกษาสัญญาณเตือนและอาการของรกเกาะต่ำ และควรหมั่นสังเกตร่างกายตนเองว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ หากพบอาการที่เข้าข่ายภาวะรกเกาะต่ำ จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] รกเกาะต่ำ คืออะไร รกเกาะต่ำ (Placenta Previa) เกิดจากการที่รกซึ่งเป็นอวัยวะที่ฝังตัวกับผนังมดลูกของหญิงตั้งครรภ์และเชื่อมต่อกับสายสะดือมีหน้าที่ช่วยลำเลียงสารอาหาร และออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์มีการฝังตัวที่ตำแหน่งใกล้หรือคลุมบริเวณปากมดลูกของหญิงตั้งครรภ์ จนเกิดการปิดกั้นบริเวณปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมดทำให้ไม่สามารถคลอดได้ตามธรรมชาติ เสี่ยงเสียเลือดมากระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด เพิ่มความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอด หรือเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ภาวะรกเกาะต่ำนี้อาจยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรมของคุณแม่โดยไม่รู้ตัว หรือเกิดขึ้นเองตามภาวะทางสุขภาพของคุณแม่แต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดมาก่อน มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวข้องกับมดลูกก่อนการตั้งครรภ์ มีประวัติการขูดมดลูก ทารกในครรภ์อยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ ร่างกายผลิตรกขนาดใหญ่ผิดปกติ ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก มดลูกมีลักษณะผิดปกติ สัญญาณเตือนของภาวะรกเกาะต่ำ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเริ่มสังเกตตนเองได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกว่ามีความเสี่ยงรกเกาะต่ำหรือไม่ โดยสามารถสังเกตสัญญาณเตือนบางอย่าง ดังต่อไปนี้ มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บท้องนำมาก่อน ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองเป็นต้นไป มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงใกล้คลอด และระหว่างคลอดในปริมาณมาก รกเกาะต่ำ รักษาได้อย่างไร โดยปกติหากคุณแม่ตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ คุณหมอจะมีการอัลต้าซาวน์หรือประเมินตำแหน่งรกว่ามีภาวะรกเกาะต่ำหรือไม่อยู่แล้ว แต่หากคุณแม่รู้สึกว่าตนเองมีอาการที่อาจบ่งบอกถึงภาวะรกเกาะต่ำดังกล่าว ควรรีบเข้ารับการตรวจสอบจากคุณหมอในทันที โดยที่ไม่ต้องรอการนัดหมายในครั้งถัดไป คุณหมอมักวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสอบภายในบริเวณช่องท้อง ช่องคลอด และปากมดลูก จากนั้นหากพบว่าคุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ คุณหมออาจประเมินความรุนแรงของรกเกาะต่ำอีกครั้ง เพื่อค้นหาวิธีรักษาที่เหมาะสม และปลอดภัย โดยแบ่งออกตามระดับความรุนแรงของภาวะรกเกาะต่ำ ดังนี้ 1. […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน