ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้อง ท้องผูก สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

คนท้อง ท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อย โดยคนท้องอาจขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ทำให้ขับถ่ายยากและอาจมีอาการเจ็บปวด รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด หรืออยากถ่ายอุจจาระอีก อย่างไรก็ตาม อาการท้องผูกในคนท้องมักหายไปเองเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นหรือหลังคลอดบุตร แต่หากท้องผูกรุนแรงขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อรับยารักษาตามอาการ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ลำไส้อุดตัน ริดสีดวงทวาร [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุที่ทำให้ คนท้อง ท้องผูก สาเหตุโดยทั่วไปของอาการท้องผูก คือ การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใยน้อย และดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง และเคลื่อนที่จากลำไส้ใหญ่ไปสู่ทวารหนักได้ลำบากขึ้น จนทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมา แต่อาการท้องผูกในคนท้องอาจมาจากสาเหตุอื่นดังต่อไปนี้ได้ด้วย ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ช้าลง จนอาจส่งผลให้คนท้องท้องผูกได้ ยาและอาหารเสริม ยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้คนท้องท้องผูกได้ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินรวมบางชนิด ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ยาลดกรด ยาแก้ปวดบางชนิด คนท้อง ท้องผูก อันตรายหรือไม่ ผู้หญิงที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์มักท้องผูกมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ แม้อาการท้องผูกส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากเป็นเรื้อรัง หรือไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ริดสีดวงทวาร ลำไส้อุดตัน  หรืออาการท้องผูกบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของเนื้องอกได้ อย่างไรก็ตาม หากท้องผูกเรื้อรังและรุนแรงร่วมกับมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออุจจาระมีเลือดปน ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาอาการคนท้องท้องผูก การรักษาอาการคนท้องท้องผูกในเบื้องต้น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ยายุติการตั้งครรภ์ ซื้อที่ไหน ซื้อใช้เองอันตรายไหม

ยายุติการตั้งครรภ์ คือ ยาที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารบางอย่างที่กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวเพื่อทำให้ชิ้นส่วนการตั้งครรภ์หลุดออกมา ใช้สำหรับการยุติการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ภาวะท้องลม ภาวะตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตในครรภ์ หรือในผู้ที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ หลายคนอาจสงสัยว่า ยายุติการตั้งครรภ์ ซื้อที่ไหน สามารถซื้อใช้เองได้หรือไม่ ยายุติการตั้งครรภ์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและได้รับขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และไมเฟพริสโตน (Mifepristone) ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการดูแลจากคุณหมอเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อมารับประทานเองได้ และการรับประทานยายุติตั้งครรภ์อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีเลือดออกทางช่องคลอด จึงควรใช้ภายใต้การดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด [embed-health-tool-ovulation] ยายุติการตั้งครรภ์ คืออะไร ยายุติการตั้งครรภ์ หรือยาทำแท้ง คือ ยาที่ทำให้มดลูกบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก โดยยายุติการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้ใช้ได้เมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ หรือ 12 สัปดาห์ หรือในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เพราะเป็นช่วงอายุครรภ์ที่มักจะขับชิ้นส่วนหรือเนื้อเยื่อการตั้งครรภ์ออกมาได้หมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอและลักษณะอาการของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย ในบางกรณีคุณหมออาจให้ใช้ยาดังกล่าวในอายุครรภ์ที่มากกว่าที่กล่าวไปได้ ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องได้ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1)(2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท่านอนคนท้อง ที่ดีต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์

ท่านอนคนท้อง ควรเป็นท่านอนที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยเลือกท่าที่ทำให้นอนหลับสบายมากที่สุด ซึ่งมักเป็นท่านอนตะแคง โดยเฉพาะการนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะทำให้การหมุนเวียนเลือดสะดวกและไม่กดทับท้องและหลัง และควรหลีกเลี่ยงท่านอนบางท่าที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดโดยเฉพาะท่านอนคว่ำ คุณแม่อาจทดลองนอนหาท่าที่สบายที่สุดและหาอุปกรณ์อื่นๆ เช่น หมอนข้าง ผ้าห่ม ที่จะช่วยให้หลับสบายมากขึ้นด้วย [embed-health-tool-due-date] ท่านอนคนท้อง ที่เหมาะสม นอนตะแคง ท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ คือ ท่านอนตะแคง เนื่องจากการนอนตะแคงมักช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และลดแรงกดทับบริเวณมดลูกแม้ว่าในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ยังคงนอนหลับในท่านอนหงายหรือนอนคว่ำได้ แต่หากเป็นได้ควรเริ่มนอนตะแคงตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะช่วยให้คุ้นเคยกับท่านอนตะแคงเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น นอนตะแคงซ้าย นับว่าเป็นท่านอนคนท้องที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ เนื่องจากจะช่วยลดการกดทับหลอดเลือดใหญ่ ทำให้เลือดสูบฉีดและนำสารอาหารไปสู่รกและทารกได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้มดลูกไม่กดทับตับที่อยู่ค่อนไปทางด้านขวาของร่างกาย  และควรงอขาและเข่าเวลานอน เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไป ท่านอนคนท้อง ที่ควรหลีกเลี่ยง นอนคว่ำ นอนคว่ำอาจทำได้ในช่วงแรกที่ท้องยังไม่ใหญ่มากนัก แต่เป็นท่านอนคนท้องที่ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 เนื่องจากท้องจะกดดันช่องคลอดที่ขยายใหญ่ขึ้น รวมถึงหน้าอกซึ่งมีความนุ่มมากขึ้นจนอาจสร้างความเจ็บปวดให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ นอนหงาย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจคุ้นเคยกับท่านอนหงายเพราะเป็นท่าที่นอนประจำก่อนตั้งครรภ์ และแม้ว่าท่านอนหงายถือว่าปลอดภัยต่อผู้หญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก แต่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสองและสาม ในกรณีที่ตื่นขึ้นมาแล้วอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องกังวลจนเกินไปเพราะการนอนหงายโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ เพียงเปลี่ยนท่านอน และนอนหลับต่อ เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากการนอนหงายในขณะตั้งครรภ์ทำให้ท้องไปอยู่ในตำแหน่งด้านบนลำไส้และหลอดเลือดใหญ่ ซึ่งไปเพิ่มแรงกดดันบริเวณช่องท้อง จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังนี้ ปวดหลัง ปัญหาการหายใจ ปัญหาการย่อยอาหาร ความดันโลหิตต่ำ ริดสีดวงทวาร เทคนิคที่ช่วยให้หลับสบายมากขึ้น นอกเหนือไปจากท่านอนคนท้องที่จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์หลับสบายและไม่มีปัญหาสุขภาพ การรู้จักใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมก็จะช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และยังปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย ใช้หมอนเป็นตัวช่วย ควรรองหมอนไว้ใต้ท้อง และสอดไว้ระหว่างเข่า โดยอาจซื้อหมอนเฉพาะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการนำหมอนมารองไว้ใต้ลำตัว ช่วยให้นอนหลับในท่าตะแคงได้ยาวนานขึ้น และช่วยป้องกันการพลิกตัวไปสู่ท่านอนหงายหรือการนอนคว่ำด้วย […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Molar pregnancy คืออะไร

Molar pregnancy คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า ครรภ์ไข่ปลาอุก โดยปกติ เมื่อไข่ผสมกับอสุจิและเกิดการปฏิสนธิ ร่างกายจะสร้างรกขึ้น แต่หากเซลล์ที่สร้างรกผิดปกติ จะก่อให้เกิดถุงน้ำภายในโพรงมดลูกและถุงน้ำจะเจริญเติบโตแทนตัวอ่อน อย่างไรก็ตาม การทราบสาเหตุ การรักษา และวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะสม อาจช่วยให้รับมือกับภาวะนี้ได้ดีขึ้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] Molar pregnancy คือ Molar pregnancy คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า ครรภ์ไข่ปลาอุก โดยปกติ เมื่อไข่ผสมกับอสุจิและเกิดการปฏิสนธิ ร่างกายจะสร้างรกขึ้น แต่หากเซลล์ที่สร้างรกผิดปกติ จะก่อให้เกิดถุงน้ำภายในโพรงมดลูกและถุงน้ำจะเจริญเติบโตแทนตัวอ่อน การตั้งครรภ์ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่มีตัวอ่อน เนื่องจากตัวอ่อนไม่เจริญเติบโตตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 3-5 สัปดาห์แล้ว แต่ส่วนที่ออกมาให้เห็นเป็นเม็ด ๆ คือส่วนของเนื้อรกที่เจริญผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกคล้ายถุงน้ำอยู่ภายในโพรงมดลูก ส่วนมากจะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้าย (Benign tumor) ไม่มีอันตรายร้ายแรง มีเพียงส่วนน้อยที่อาจกลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งเยื่อรก (Choriocarcinoma) ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 2 อาการของ Molar pregnancy ในระยะเริ่มแรก Molar pregnancy อาจมีอาการเหมือนการตั้งครรภ์ปกติ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ คลื่นไส้และอาเจียนรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีขนาดมดลูกโตกว่าปกติและมีระดับฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) สูงมาก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้องนอกมดลูก อาการ สาเหตุ การรักษา

ท้องนอกมดลูก เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ โดยตัวอ่อนฝังตัวในเนื้อเยื่อนอกมดลูกบริเวณท่อนำไข่ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น รังไข่ ช่องท้อง ปากมดลูกซึ่งเชื่อมต่อกับช่องคลอด ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีภาวะท้องนอกมดลูกมักจะแสดงอาการปวดท้องน้อย หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ในระหว่างสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-”due-date”] คำจำกัดความ ท้องนอกมดลูก คืออะไร ท้องนอกมดลูก หรือ การรตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ การที่ ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อนอกมดลูก รวมถึงเจริญเติบโตนอกมดลูก ส่วนใหญ่อาจพบได้ในท่อนำไข่ ซึ่งเรียกว่า การตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่ ในบางครั้งภาวะท้องนอกมดลูกอาจเกิดขึ้นที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น รังไข่ ช่องท้อง ปากมดลูกซึ่งเชื่อมต่อกับช่องคลอด ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ เนื่องจากท่อนำไข่มีขนาดที่ไม่ใหญ่พอและตำแหน่งไม่เหมาะสมที่จะรองรับตัวอ่อนที่จะมีการเจริญเติบโตได้  ภาวะท้องนอกมดลูกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ที่สังเกตได้ในระยะเริ่มต้น แต่ผู้หญิงบางรายอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในระหว่างสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วหากตรวจพบว่าท้องนอกมดลูก อาจต้องนำตัวอ่อนออกทันทีด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกมากจนถึงขั้นเสียชีวิต หลังการรักษา อาจมีโอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดภาวะท้องนอกมดลูกและประวัติสุขภาพด้วย   อาการอาการท้องนอกมดลูก อาการของภาวะท้องนอกมดลูก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ตกขาวคนท้อง เป็นเรื่องปกติหรือไม่

ตกขาวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนท้อง และตกขาวคนท้องอาจมีปริมาณมากกว่าปกติเนื่องจากฮอร์โมน ทำให้ปากมดลูกและผนังมดลูกเปลี่ยนแปลงไป แต่หากตกขาวมีสี มีกลิ่น หรือมีเลือด อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ตกขาวในคนท้องไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หากได้รับการรักษาและดูแลอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ตกขาวคนท้องปกติหรือไม่ คนท้องมักมีอาการตกขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากบริเวณปากมดลูกและผนังมดลูกนิ่มลง มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น จึงกระตุ้นให้ผลิตและหลั่งของเหลวออกมามากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อจากช่องคลอดไปยังมดลูก ตกขาวคนท้องจึงเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากลักษณะ สี หรือกลิ่นของตกขาวเปลี่ยนแปลงไป มีอาการคัน แสบร้อนที่ช่องคลอด อาจจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจอาการ และรับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง สีของตกขาวคนท้อง ตกขาวคนท้องเป็นเรื่องปกติ แต่ลักษณะสีของตกขาวอาจบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนี้ สีขาวใส เป็นสีตกขาวปกติ บอกถึงลักษณะสุขภาพดี สีขาวเป็นก้อน อาจหมายถึงช่องคลอดติดเชื้อรา เป็นเรื่องปกติในช่วงตั้งครรภ์ที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อรา อาจมีอาการคัน แสบร้อน และเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ สีเขียวหรือสีเหลือง อาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) และอาจมีอาการระคายเคืองหรือมีรอยแดงที่อวัยวะเพศด้วย ควรรีบพบคุณหมอเพราะอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สีเทา อาจเกิดจากภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะหากมีกลิ่นคาวรุนแรงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด การสวนล้างช่องคลอด หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย สีน้ำตาล เป็นตกขาวที่ผสมกับเลือดเก่า ไม่เป็นอันตรายในคนท้อง หรืออาจเป็นสัญญาณการตั้งครรภ์ สีชมพู มักเกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกหรือช่วงใกล้คลอด และอาจเป็นสัญญาณการแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก สีแดง ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร และวิธีบรรเทาอาการที่ควรรู้

อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร และจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสใดของการตั้งครรภ์ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย อาการนี้อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพ การเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่วนใหญ่อาการคัดเต้านมอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่ แล้วหายไปเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์เดือนที่ 3 จากนั้นอาจจะมีอาการคัดเต้าอีกครั้งในช่วงหลังคลอดบุตร [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คนท้องเริ่มคัดเต้าเมื่อไหร่ อาการคัดเต้านมเป็นสัญญาณเตือนแรกที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ มักเห็นการเปลี่ยนแปลงของเต้านมได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-6 ของไตรมาสแรก โดยที่อาการคัดเต้านี้จะหายไปหลังตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน และอาจคัดเต้าอีกครั้งช่วงหลังคลอด 2-5 วัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) โปรแลคติน (Prolactin) ในร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่เต้านม ทำให้สามารถผลิตน้ำนมได้ จนเต้านมขยายใหญ่ ซึ่งภายในเต้านมจะเก็บน้ำนมไว้ปริมาณมากเพื่อเตรียมให้ทารกหลังคลอดได้กินอย่างเพียงพอ อาการคัดเต้าคนท้องเป็นอย่างไร อาการคัดเต้าคนท้อง ที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ เต้านมขยายและคัดตึง ช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 ของการตั้งครรภ์ หน้าอกจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนตลอดช่วงการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งท้องแรก และเนื่องจากฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้หลอดเลือดบริเวณเต้านมขยายใหญ่ขึ้นจึงมีเลือดไหลเวียนมากขึ้น ทำให้เต้านมอาจมีอาการบวมและไวต่อสัมผัสจึงรู้สึกคัดตึงได้ หรืออาจจะมีอาการคันบริเวณเต้านมจากการที่เนื้อเต้านมขยายทำให้ผิวหนังยืดออกอย่างรวดเร็ว มีก้อนในหน้าอก คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีก้อนเนื้อในเต้านม ซึ่งเป็นถุงน้ำนมที่เต็มไปด้วยน้ำนม แต่บางคนมีลักษณะเป็นก้อนแข็งซึ่งอาจเสี่ยงเป็นเนื้องอกที่สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งเต้านมได้ในระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีความกังวลอาจเข้ารับคำปรึกษาหรือตรวจอย่างละเอียดจากคุณหมอได้ หัวนมเปลี่ยนสี หลังจากช่วง 2-3 […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เลือดออกขณะตั้งครรภ์ อาการ สาเหตุ การดูแลตัวเอง

เลือดออกขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นภาวะบ่งชี้ความผิดปกติในครรภ์ ที่อาจต้องได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษาทันที ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในบางราย เลือดขณะตั้งครรภ์อาจไม่เป็นอันตรา เช่น เลือดออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูกในท้อง หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์​ ควรเข้ารับการตรวจหาสาเหตุ เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-due-date] อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ที่อาจพบได้ทั่วไป มีดังนี้ มีเลือดออกมากผิดปกติ อ่อนเพลีย ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือปวดไหล่ กระหายน้ำมาก เวียนศีรษะ และอาการอาจแย่ลงเมื่อลุกขึ้นยืน มีไข้ หรือหนาวสั่น เป็นลม ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติ สาเหตุของเลือดออกขณะตั้งครรภ์ เลือดออกขณะตั้งครรภ์ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของการมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับปากมดลูก เช่น การติดเชื้อที่ปากมดลูก ปากมดลูกอักเสบ เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) อาจเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 10-14 วัน การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) อาจเกิดจากการที่ตัวอ่อนฝังตัวและเจริญเติบโตนอกมดลูก เช่น ในท่อนำไข่ อาการเลือดออกจากช่องคลอดจะพบได้ประมาณร้อยละ 50-80 ของผู้ป่วย เลือดที่ออกมักมีจำนวนน้อย ลักษณะเป็นแบบเลือดเก่า ๆ และออกกะปริบกะปรอย ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาหารแก้แพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการไม่พึงประสงค์เมื่อแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แต่การรับประทาน อาหารแก้แพ้ท้อง อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-”due-date”] อาการแพ้ท้อง คืออะไร  อาการแพ้ท้อง คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ รวมถึงอาจไม่ชอบอาหารและกลิ่นบางอย่างอย่างรุนแรง โดยแต่ละคนอาจอาการ และระดับความรุนแรงของอาการมากน้อยต่างกันไป อาการแพ้ท้องสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา แต่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียนมากในช่วงเช้า ที่เรียกว่า Morning sickness แม้ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกหงุดหงิด หรือรำคาญได้ แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ท้อง แต่คาดว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ และถ้าหากมีอาการแพ้ท้องหนัก อาจทำให้เกิดภาวะอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) ซึ่งอาการที่พบคือ อาเจียนมาก น้ำหนักลด มีภาวะขาดน้ำ และมีเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้มีผลเสียต่อทารกได้ โดยปัจจัยเสี่ยงของอาการแพ้ท้อง อาจมีผลมาจากการได้กลิ่น หรือรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ การเมารถ เป็นต้น อาการแพ้ท้องอยู่นานแค่ไหน  อาการแพ้ท้องมักเกิดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อาการคลื่นไส้ อาเจียนจะหายไปในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการแพ้ท้องตลอดการตั้งครรภ์ได้ อาหารแก้แพ้ท้อง  อาหารเหล่านี้ อาจช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ น้ำสมุนไพร เช่น น้ำขิง โดยงานศึกษาวิจัยพบว่า ขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องปวดหลัง สาเหตุ และวิธีบรรเทาอาการ

คนท้องปวดหลัง เป็นหนึ่งในปัญหาการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งการขยายตัวของมดลูก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการรับมือที่ถูกต้อง อาจช่วยลดปัญหาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุที่ทำให้ คนท้องปวดหลัง ปัจจัยที่ทำให้คนท้องปวดหลังนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ มดลูกขยายตัว อาการปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์อาจเกิดจากมดลูกขยายตัว จนสร้างแรงกดต่อหลอดเลือด และเส้นประสาทในกระดูกเชิงกรานและหลัง ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป การที่ขนาดท้องใหญ่ขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักขึ้นเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลกระทบต่อท่าทางและการเคลื่อนไหว จนอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ กล้ามเนื้อหน้าท้องที่แยกออกจากกัน เนื่องจากขนาดของทารกในครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น จนส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ขนานกันสองฝั่งแยกออกจากกัน และส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่ออาการปวดหลังได้ เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนรีแล็กซิน (Relaxin) ที่ช่วยให้เอ็นในอุ้งเชิงกรานและข้อต่อคลายตัวเพื่อเตรียมพร้อมคลอด ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้อาจทำให้เอ็นรองรับกระดูกสันหลังคลายตัว และทำให้คนท้องปวดหลังได้ ความเครียดในระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังและทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ วิธีบรรเทาอาการคนท้องปวดหลัง คนท้องปวดหลัง สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ปรับเปลี่ยนท่าทาง เพื่อช่วยลดแรงกดและทำให้กระดูกสันหลังผ่อนคลาย โดยอาจใช้หมอนหรือผ้าขนหนูสอดรองไว้ด้านหลังในขณะนั่ง หรือสอดหมอนข้างไว้ระหว่างเข่าในขณะนอนตะแคง เพื่อช่วยลดแรงตึงที่หลัง หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป หากต้องการยกของควรยกด้วยท่าที่เหมาะสม คือนั่งงอเข่าลง หยิบของ จากนั้นจึงใช้ขาดันตัวขึ้นแทนการก้มตัว ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ ประคบร้อนหรือเย็นที่หลัง หรือนวด เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ ใช้ที่คาดเอวพยุงหน้าท้อง เพื่อช่วยลดแรงถ่วงที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลัง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน