ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

เลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ถ้า ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักสังเกตอาการผิดปกติ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักเกิดจากการที่เอ็มบริโอหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คล้ายกับประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกเหมือนประจำเดือนในช่วงขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น หากพบอาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดโดยเร็ว ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน เกิดจากอะไร อาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ เอ็มบริโอฝังตัวในโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยคล้ายกับประจำเดือน  การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในบริเวณอื่นนอกเหนือจากโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ช่องท้อง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาเป็นทารกได้ตามปกติ มักส่งผลให้มีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy /Hydatidiform mole) […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องนอนไม่หลับ มีวิธีแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

คนท้องนอนไม่หลับ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดความไม่สบายตัว รวมทั้งมีความกังวลเกี่ยวกับทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ หากปล่อยไว้จนกลายเป็นภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจส่งผลเสียต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากทราบถึงสาเหตุรวมทั้งวิธีป้องกัน หรือวิธีแก้ไขก็จะช่วยให้อาการนอนไม่หลับของคุณแม่ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-due-date] คนท้องนอนไม่หลับ เกิดจากอะไร การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความไม่สบายเนื้อสบายตัวที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้คนท้องนอนไม่หลับ โดยการตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาส ส่งผลต่อการนอนหลับ ดังนี้ การนอนหลับในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มักตื่นกลางดึกเพราะอยากเข้าห้องน้ำ เกิดความเครียดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและภาวะจิตใจ จนทำให้นอนไม่หลับ นอนกลางวันมากไป จึงทำให้นอนไม่หลับในช่วงเวลากลางคืน การนอนหลับในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกน้อยลง การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และความกังวลใจเกี่ยวกับทารกส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับ การนอนหลับในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ คนท้องมักประสบปัญหาในการนอนหลับมากที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจาก ท้องโตขึ้นจนนอนลำบาก รู้สึกไม่สบายตัว ต้องพลิกไปมาจนกว่าจะหาที่สบายเจอ มีอาการกรดไหลย้อน ขาเป็นตะคริว และคัดจมูกจนนอนไม่หลับ ทารกในครรภ์เปลี่ยนท่า จนทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ และปวดปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ เคล็ดลับการนอนสำหรับคนท้องนอนไม่หลับ แม้ปัญหาการนอนหลับจะพบได้บ่อยสำหรับคนท้อง แต่มีเคล็ดลับที่ช่วยให้คนท้องนอนหลับดีขึ้น ดังนี้ รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปัง ขนมปังกรอบ หรือดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอน จะช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ง่ายขึ้น รับประทานของว่างที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น กรีกโยเกิร์ต อัลมอนด์ เพราะจะช่วยป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป และช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะ ร้อนวูบวาบ หรือฝันร้ายระหว่างนอนหลับ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลิ่มเลือดอุดตันขณะตั้งครรภ์ กลุ่มเสี่ยง และการป้องกัน

ลิ่มเลือดอุดตันขณะตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เนื่องจากลิ่มเลือดอาจไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงทารกในครรภ์ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในและพัฒนาการของทารก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและการป้องกันลิ่มเลือดอุดตันขณะตั้งครรภ์อาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ลิ่มเลือดอุดตันขณะตั้งครรภ์ คืออะไร โรคลิ่มเลือดอุดตัน (Deep vein thrombosis; DVT) หมายถึงสภาวะที่ลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง มักจะเกิดขึ้นกับบริเวณช่วงขาส่วนล่าง ต้นขา สะโพก หรือแขน ลิ่มเลือดที่อุดตันนี้จะทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง หรือตัดขาดการไหลเวียนของเลือดที่เข้าสู่ปอดและหัวใจ จนทำให้เกิดการขาดออกซิเจน และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โรคลิ่มเลือดอุดตันนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่เพิ่งจะคลอดบุตรได้ไม่นาน อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตัน เนื่องจากกลไกของร่างกาย ทำให้เลือดของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มีโอกาสในการจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายกว่าปกติ เพื่อช่วยห้ามเลือดและลดความเสี่ยงในการสูญเสียเลือดมากเกินไปขณะคลอด นอกจากนี้ ขนาดตัวของทารกในครรภ์ก็อาจจะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานลงมากดทับในบริเวณหลอดเลือด และทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้นเช่นกัน แม้ว่าโดยปกติแล้วโรคลิ่มเลือดอุดตันอาจจะไม่เป็นอันตรายมาก และสามารถรักษาได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด แต่ในบางครั้ง ลิ่มเลือดก็อาจจะนำไปสู่ภาวะที่อันตรายได้ เนื่องจากลิ่มเลือดนี้จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ลิ่มเลือดก็อาจจะไปอุดตันในบริเวณที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดปอด และทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนได้เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงปอดไม่เพียงพอ ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็นลิ่มเลือดอุดตันขณะตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดโรคลิ่มเลือดอัดตันขณะตั้งครรภ์ เคยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน อายุมากกว่า 35 ปี เป็นโรคอ้วน หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นภาวะหรือปัญหาด้านสุขภาพของทารกหรือคุณแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จนกระทั่งกำหนดคลอด โดยไม่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ บางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว จำเป็นเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่มักจะเกิดขึ้นหลัง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ นับเป็นภาวะที่อันตราย เพราะจะทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณแม่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต หัวใจ นอกจากนี้ อาจนำไปสู่การชัก และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของแม่และทารกได้ด้วย ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ การตั้งครรภ์ครั้งแรก อายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไต ตั้งครรภ์ลูกแฝด คุณแม่ควรฝากครรภ์และสังเกตอาการระหว่างตั้งครรภ์เป็นระยะ เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ หากมีอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์อาจจะแนะนำให้คลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ แต่หากมีอายุครรภ์น้อยเกินไป ก็อาจจะต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับแม่และทารก ความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงนั้นสามารถพบได้ในช่วงต่างๆของหารตั้งครรภ์ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในช่วงตั้งครรภ์แต่ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และไม่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะเรียกว่า Chronic Hypertension ความสำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงที่จะกลายเป็นครรภ์เป็นพิษหรือ Preeclampsia ซึ่งถ้าภาะนี้ไม่หายไปหลังคลอด12สัปดาห์ ก็จะเรียกว่า Chonic Hypertension เช่นเดียวกัน คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์อื่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

กลุ่มอาการ HELLP อาการ สาเหตุ การรักษา

กลุ่มอาการ HELLP (HELLP Syndrome) คือ สภาวะความผิดปกติของเลือด เกล็ดเลือด และตับที่เกิดขึ้นในช่วงขณะที่ตั้งครรภ์ หรือหลังจากคลอดบุตรไม่นาน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] คำจำกัดความ กลุ่มอาการ HELLP คืออะไร กลุ่มอาการ HELLP (HELLP syndrome) คือ กลุ่มอาการหนึ่งของภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง โดยจะมีอาการของสภาวะความผิดปกติของเลือด เกล็ดเลือด และตับที่เกิดขึ้นในช่วงขณะที่ตั้งครรภ์ หรือหลังจากคลอดบุตรไม่นาน โดยในกลุ่มอาการ HELLP มีสภาวะความผิดปกติหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis) หมายถึง ภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนแตกสลาย และทำให้ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) รั่วออกมาปะปนอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดลดลง หรือมีภาวะซีด เอนไชม์ตับเพิ่มขึ้น (Elevated Liver Enzymes) ระดับเอนไซม์ของตับเพิ่มสูงขึ้นในเลือด ซึ่งหมายถึงการเกิดภาวะตับอักเสบขึ้น เกล็ดเลือดต่ำ (Low Platelet Count) ภาวะนี้เป็นภาวะที่อันตราย และอาจส่งผลให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง กลุ่มอาการ HELLP พบบ่อยแค่ไหน ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบได้บ้างในหญิงตั้งครรภ์ที่ม่ีภาวะครรภ์เป็นพิษ และจัดเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงที่มีการส่งผลต่อระบบต่างๆของมารดาดังกล่าวข้างต้น อาการ อาการของกลุ่มอาการ HELLP อาการของกลุ่มอาการ HELLP นั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคน […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

เส้นสีดำบนท้อง ตอนตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

เส้นสีดำบนท้อง ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยรกอาจหลั่งฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ ให้ผลิตเม็ดสีมากขึ้น หรือทำให้ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น เส้นสีดำที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีความกว้างประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร และมักจะเริ่มขึ้นจากบริเวณใกล้กระดูกหัวหน่าวไล่ขึ้นไปจนถึงสะดือ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายก็อาจมีเส้นนี้ยาวไปจนถึงกระดูกสันอกได้เช่นกัน [embed-health-tool-due-date] เส้นสีดำบนท้อง คืออะไร เส้นสีดำบนท้องที่เกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ เรียกว่าเส้นลีเนีย ไนกร้า (Linea Nigra) โดยคุณแม่ตั้งครรภ์กว่า 80% จะเกิดเส้นสีดำบนท้องนี้ตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เส้นสีดำบนท้องส่วนใหญ่จะมีความกว้างประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร และมักจะเริ่มขึ้นจากบริเวณใกล้กระดูกหัวหน่าวไล่ขึ้นไปจนถึงสะดือ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายก็อาจมีเส้นนี้ยาวไปจนถึงกระดูกสันอกได้เช่นกัน เส้นสีดำบนท้องนี้อาจเกิดขึ้นแบบฉับพลัน และระดับความเข้มของสีอาจแตกต่างกันไปในคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละราย โดยส่วนใหญ่สีจะเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ไม่ว่าเส้นสีดำบนท้องที่เกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์นี้จะมีขนาดหรือสีอย่างไร ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด เส้นสีดำบนท้อง ตอนตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เส้นสีดำบนท้องตอนตั้งครรภ์นี้เกิดจากสาเหตุใด แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยรกอาจหลั่งฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ให้ผลิตเม็ดสีมากขึ้น หรือทำให้ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น ซึ่งการที่หัวนมของคุณแม่ตั้งครรภ์มีสีเข้มขึ้น ก็อาจจะเป็นเพราะสาเหตุนี้เช่นกัน หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อว่า ถ้ามีเส้นสีดำบนท้องตอนตั้งครรภ์ นั่นหมายความว่าทารกในครรภ์เป็นเพศชาย หากไม่มีเส้นนี้ ทารกในครรภ์จะเป็นเพศหญิง แต่ข้อมูลนี้เป็นเพียงความเชื่อ ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน ไม่ว่าทารกในครรภ์จะเป็นเพศใด คุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถมีเส้นสีดำบนท้องได้เช่นกัน ไม่อยากมีเส้นดำบนท้อง จะทำอย่างไรได้บ้าง เส้นสีดำบนท้องที่เกิดขึ้น อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายรู้สึกไม่มั่นใจ และพยายามหาวิธีที่อาจช่วยกำจัดเส้นนี้ออกไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการกินยา การทาโลชั่น การย้อมสีขน […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แม่ท้องอยากอาหาร หิวบ่อย เป็นเพราะอะไร

การตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย ซึ่งภาวะหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยแม่ท้องแต่ละคนอาจเกิดภาวะนี้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว แม่ท้องความอยากอาหาร หิวบ่อย มักเริ่มในช่วงปลายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการจะรุนแรงที่สุดในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ และความอยากจะลดลงเมื่อหมดไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-due-date] สิ่งที่ควรรู้เมื่อ แม่ท้องอยากอาหาร หิวบ่อยขึ้น ความอยากอาหารระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะนี้มักเริ่มตอนไหน ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นเมื่อท้องอาจเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยแม่ท้องแต่ละคนอาจเกิดภาวะนี้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ความอยากอาหารระหว่างตั้งครรภ์มักเริ่มในช่วงปลายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการจะรุนแรงที่สุดในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ และความอยากจะลดลงเมื่อหมดไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ สาเหตุที่ทำให้ แม่ท้องอยากอาหาร หรือหิวบ่อย ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคนท้องอยากอาหารเป็นเพราะสาเหตุใดกันแน่ แต่ก็เชื่อว่า ความอยากอาหารระหว่างตั้งครรภ์ อาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปก็อาจทำให้เกิดความอยากอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งอาหารดังกล่าว อาจเป็นอาหารที่แปลกพิสดาร หรือเป็นอาหารที่ไม่เคยชอบกินมาก่อน ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลง แม่ท้องบางคนอาจมีประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป เช่น รับกลิ่นได้ดีขึ้น แม้ต้นกำเนิดของกลิ่นจะอยู่ไกลออกไปและรู้สึกไวต่อกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งมากขึ้น บางทีแค่ได้กลิ่นของสิ่งดังกล่าวก็ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนได้แล้ว แม่ท้องส่วนใหญ่จะไม่ชอบกลิ่นฉุน ๆ หรือกลิ่นแรง ๆ จะชอบกลิ่นหอม ๆ มากกว่า และไม่ใช่แค่ประสาทรับกลิ่น เพราะประสาทสัมผัสในการรับรสของแม่ท้องก็มักเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ความต้องการด้านโภชนาการเปลี่ยนแปลง แม่ท้องต้องการสารอาหารบางชนิด เช่น แคลเซียม (Calcium) ธาตุเหล็ก (Iron) […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

น้ำคร่ำเยอะ (Polyhydramnios) อาการแบบไหน

น้ำคร่ำเยอะ หรือภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก ร่างกายบวม หากสงสัยว่าตนเองมีน้ำคร่ำเยอะหรือไม่ ควรหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย หากปล่อยทิ้งไว้อาจเสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด [embed-health-tool-”due-date”] คำจำกัดความ น้ำคร่ำเยอะ หรือภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios)  คืออะไร   ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากการที่ผู้หญิงมีน้ำคร่ำเยอะเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา หากปล่อยไว้ระยะเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแท้งและการคลอดก่อนกำหนดได้ พบได้บ่อยเพียงใด พบได้บ่อยในผู้หญิงป่วยโรคเบาหวาน อาการ อาการของภาวะน้ำคร่ำมาก อาการของภาวะน้ำคร่ำมากเป็นผลมาจากแรงดันที่เกิดขึ้นภายในมดลูกและอวัยวะใกล้เคียงกับมดลูก ส่งให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์มีอาการ ดังต่อไปนี้ หายใจไม่ค่อยออก แขน ขา ผนังหน้าท้อง มีอาการบวม รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล สาเหตุ สาเหตุของน้ำคร่ำเยอะ น้ำคร่ำเยอะเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้ ความผิดปกติทางกายภาพของทารก เช่น ข้อบกพร่องของเส้นประสาทไขสันหลัง ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ตั้งครรภ์ฝาแฝด โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ข้อบกพร่องทางพันธุกรรม การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางของทารกในครรภ์ การถ่ายเลือดในครรภ์ (กรณีมีลูกฝาแฝด) ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ น้ำคร่ำเยอะ คลอดก่อนกำหนด ภาวะเด็กกลับหัว สายสะดือย้อย โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะ น้ำคร่ำเยอะ ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ความเสี่ยงของการทำแท้งเอง มีอะไรบ้าง

การทำแท้งเอง นอกจากจะถือว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมส่วนใหญ่แล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ทั้งการทำแท้งไม่สมบูรณ์ การตกเลือด การติดเชื้อ แผลเป็น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการทำแท้งเองให้ละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการทำแท้งเอง ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการทำแท้งเอง อาจมีดังนี้ การทำแท้งที่ไม่สมบูรณ์ การทำแท้งเป็นการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง แต่การทำแท้งเองนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อของทารกในครรภ์บางส่วนยังคงอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเสียเลือด ติดเชื้อรุนแรง หรือเสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงอาจจะไม่สามารถทราบได้ว่าการทำแท้งนั้นไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นพิษต่อตับ การใช้ยาสมุนไพรหรือซื้อยาทำแท้งออนไลน์ เพื่อมาทำแท้งเองนั้นสามารถส่งผลกระทบที่ร้ายแรง เพราะอาจจะมีสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก การกินสิ่งที่พิษจำนวนมากเข้าไปจะส่งผลทำให้ตับต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อกรองสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ตับถูกทำลาย หรือตับวาย การติดเชื้อ การผ่าตัดทั้งหมดนั้นมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ ดังนั้น การผ่าตัดในโรงพยาบาลจึงต้องมีการรักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดเชื้อให้ได้มากที่สุด แต่การทำแท้งเองนั้นบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องมือบางอย่างสอดใส่เข้าไปผ่านปากมดลูก เพื่อเข้าไปยังมดลูก ซึ่งการทำเช่นนี้นี้ถือเป็นอันตรายอย่างมาก การติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูก นอกจากจะทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย มันยังทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย นอกจากนั้น การติดเชื้อในบริเวณนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ ส่งผลต่อชีวิตได้ด้วย อาการตกเลือด อาการตกเลือด หมายถึง การสูญเสียเลือดมาก ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรบทางการแพทย์มาทำแท้งให้โดยใช้การผ่าตัดอาจจะเสี่ยงต่อการถูกตัดเส้นเลือดใหญ่ จนทำให้เกิดเลือดออกภายใน โดยเลือดที่ออกภายในนั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาจนกว่าจะเกิดอาการรุนแรงจนสายเกินไป รวมไปถึงปริมาณเลือดที่ออกมาจากร่างกายอาจจะควบคุมการเสียเลือดได้ยาก หากไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แผลเป็น นอกจากการตกเลือดแล้ว การทำแท้งเองที่ใช้วิธีการผ่าตัดจากผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทางการแพทย์ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ ระหว่างตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร

โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ จัดเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้บนผิวหนัง ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ มักหายไปเองหลังคลอดบุตร  อย่างไรก็ตาม สามารถดูแลตนเองเพื่อลดโอกาสเกิดโรคดังกล่าวได้ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุ โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ ระหว่างตั้งครรภ์ โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema) ระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสอาจเกิดขึ้นกับหญิงท้องแทบทุกรายแต่ไม่เป็นอันตราย โดยจะมีอาการเช่นเดียวกับโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ในคนปกติ หากเป็นชนิดไม่รุนแรงมักมีอาการผิวแห้ง และคัน แต่หากเป็นชนิดรุนแรงอาจทำให้ผิวหนังหลุดลอก รวมถึงมีเลือดออกที่ผิวหนังได้ โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ ชนิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ชนิดนี้จะสืบทอดทางกรรมพันธุ์ มีความน่าจะเป็นว่าผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัว อาจเป็นโรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน จากการสัมผัส สามารถเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสสารเคมี ผงซักฟอก เชื้อรา และโลหะ เช่น จากการสัมผัสต่างหู โดยอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ภูมิต้านทานต่าง ๆ ในร่างกายไม่สมดุลและก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อสารเคมีต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ การดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ ระหว่างตั้งครรภ์ หากพบว่าตนเองมีผื่นแพ้ อาการคัน ตุ่มแดง ขึ้นบนผิวหนังตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุระหว่างตั้งครรภ์ สามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ ผู้ป่วยหลายคนมักเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับขนสัตว์ สะเก็ดผิวหนังจากสัตว์เลี้ยง หรือเกิดอาการแพ้จากการรับประทานอาหารบางชนิด หรือจากการสัมผัสกับเครื่องประดับ เมื่อทราบว่าตนเองถูกกระตุ้นจากสิ่งใด ควรหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวและเป็นธรรมชาติ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรุงแต่ง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

โรคหัดเยอรมัน ทำร้ายทารกในครรภ์ ป้องกันอย่างไรได้บ้าง

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่โรคนี้อาจส่งผลอันตรายอย่างรุนแรงหากเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า พิการ หรือบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์และป้องกัน โรคหัดเยอรมัน ทำร้ายทารกในครรภ์ ควรตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีน หากไม่เคยฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-due-date] โรคหัดเยอรมัน คืออะไร โรคหัดเยอรมัน (Rubella หรือ German measles) เกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสประเภทหนึ่ง โดยจะก่อให้เกิดอาการที่เห็นเด่นชัดคือ ผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายกับโรคหัด แต่สองโรคนี้แตกต่างกันคือ เกิดจากเชื้อไวรัสคนละชนิด และอาการของโรคหัดเยอรมันไม่รุนแรงเท่ากับโรคหัด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโดยปกติโรคหัดเยอรมันนั้นมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงสำหรับคนทั่วไป แต่หากเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมัน ทำร้ายทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดหรือเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โลหิตจาง ตับอักเสบ ทั้งนี้ โรคหัดเยอรมันจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากที่สุดในช่วงไตรมาสแรกหรือ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคหัดเยอรมันมักมีโอกาสมากกว่า 90% ที่จะส่งต่อเชื้อไวรัสนี้ไปยังทารกในครรภ์ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ หรือในกรณีรุนแรงอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ โดยทั่วโลกนั้นมีทารกที่เป็นโรคหัดเยอรมันตั้งแต่กำเนิด เป็นจำนวนมากกว่า 100,000 รายต่อปี โรคหัดเยอรมันทำร้ายทารกในครรภ์ ได้อย่างไร โรคหัดเยอรมันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพทารกในครรภ์ โดยอาจก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Growth retardation) โรคต้อกระจก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน