ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ตั้งแต่ปัญหาขณะคลอด ไปจนถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากคลอด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่อย่างมาก Hello คุณหมอ จึงอยากขอมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพคุณแม่ ด้วยการรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกพูดช้า ปัญหาพัฒนาการเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำได้ตอนอายุประมาณ 1 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก พูด ช้า พัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ แต่เด็กบางคนก็อาจแค่ยังไม่ต้องการพูดในตอนนี้ และจะยอมพูดเองเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกพูดช้า หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรียกแล้วไม่หัน ไม่แสดงท่าทางตกใจเมื่อมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ภาวะพูดช้า (Delayed Speech) คืออะไร ภาวะพูดช้า คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย มักพบในวัยก่อนวัยเรียน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยทั่วไป เด็กอาจมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 1 ปี : พัฒนาจากการพูดอ้อแอ้ไม่เป็นภาษามาเป็นคำพูดง่าย ๆ อายุ 2 ปี : พูดคำที่มีความหมายติดกัน 2 คำ อายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ระบุส่วนต่าง […]

สำรวจ ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Dyslexia คืออะไร

Dyslexia หรือ ความบกพร่องในการอ่านหนังสือการสะกดคำและการเขียน จัดเป็นปัญหาการเรียนในเด็กชนิดหนึ่ง คือ ภาวะที่ผิดปกติที่เกิดในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของการประมวลภาษา เกิดปัญหาในการอ่าน เขียน พูด หรือสะกดคำ เด็กที่เป็นโรค Dyslexia อาจมีสายตาปกติ มีสติปัญญาดี ฉลาด ขยัน และอาจประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ หากได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์ การฝึกฝน และเข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะทาง Dyslexia คือ  Dyslexia เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า ความบกพร่องในการอ่าน อาจส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษา สะกดคำ ผสมคำ เขียน และพูด รวมถึงการอ่าน อาจใช้เวลาในการอ่านนานกว่าเด็กทั่วไป หรือมีการใช้คำที่สับสน ผลกระทบของ Dyslexia อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การได้รับคำแนะนำและการพัฒนาทักษะที่ถูกต้อง อาจช่วยให้เด็กที่เป็นโรค Dyslexia มีสายตาปกติ และมีสติปัญญาพอ ๆ กับเด็กคนอื่น  ผู้ที่เป็นโรค Dyslexia อาจได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็อาจไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรค Dyslexia จนอายุมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Dyslexia และยังคงต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป  สำหรับประเภทของ Dyslexia อาจแบ่งได้ดังนี้ Rapid Naming […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคพฤติกรรมอันธพาล สัญญาณของโรค สาเหตุ วิธีรักษาและรับมือ

โรคพฤติกรรมอันธพาล เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ โรคพฤติกรรมอันธพาล คืออะไร โรคพฤติกรรมอันธพาล (Conduct Disorder) บางครั้งเรียกว่า โรคคอนดักต์ โรคพฤติกรรมเกเร โรคเด็กเกเร โรคความประพฤติผิดปกติ เป็นต้น โรคนี้เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ ซึ่งเด็กคนอื่น หรือผู้ใหญ่เห็นแล้วก็อาจจะบอกว่า การแสดงออกของเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นเป็นสิ่งผิด หรือสิ่งไม่ดี โดยที่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนี่คือโรคจิตเภทชนิดหนึ่ง สัญญาณของโรคพฤติกรรมอันธพาล พฤติกรรมของโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับอายุของเด็กและระดับความรุนแรงของโรค แต่โดยปกติแล้ว พฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 พฤติกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior) เช่น ล้อเลียน หรือรังแกผู้อื่น จงใจทำให้ผู้อื่น หรือสัตว์ต่าง ๆ ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับอันตราย ชอบต่อสู้ ชกต่อยกับผู้อื่น ใช้อาวุธ บังคับใจ ข่มขืน หรือล่วงเกินทางเพศผู้อื่นโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม ขโมยของจากคนที่ตัวเองทำร้าย พฤติกรรมเชิงทำลาย (Destructive Behavior) เช่น เจตนาก่อเพลิงไหม้ เพื่อให้สถานที่นั้น หรือสิ่งของนั้นเสียหาย เจตนาทำลายทรัพย์สิน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น และวิธีดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โรคออทิซึม (Autism) หรือออทิสติก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ด้านภาษา ด้านสังคม ด้านพฤติกรรม คือแสดงพฤติกรรมซ้ำ ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสังเกตสัญญาณและอาการเบื้องต้นเองได้ แต่สัญญาณและอาการของโรคออทิสติกนั้นมักจะหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล และอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัยด้วย แม้สัญญาณออทิสติกในเด็ก อาจนำไปใช้สังเกตวัยรุ่นบางคนไม่ได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบร่วมข้อมูลเกี่ยวกับ สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น ที่พบได้บ่อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรรู้ไว้ เพราะโรคออทิสติกนั้น แม้จะรักษาไม่หาย แต่หากสังเกตอาการได้เร็ว ก็จะช่วยให้จัดการกับอาการของโรคได้ดีขึ้น สัญญาณออทิสติกในวัยรุ่น ที่ควรรู้ สำหรับวัยรุ่นที่เป็นโรคออทิสติกในระดับเบา อาจมีอาการดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเข้าสังคม เช่น คุยกับผู้อื่นไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจท่าทาง หรือภาษากายที่ใช้กันทั่วไป บางคนอาจชอบหาเพื่อนทางออนไลน์มากกว่า ไม่สบตาผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกาย เช่น การกอด การจับมือ ไม่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น หรือแม้กระทั่งความรู้สึกของตัวเองด้วย ชอบอยู่คนเดียว และอยากปลีกตัวจากโลกภายนอก ไม่อยากไปโรงเรียน มีปัญหาทางอารมณ์หรือสุขภาพจิต เช่น ความนับถือตัวเองต่ำ วิตกกังวลง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาในการนอน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) สาเหตุและวิธีรักษา

ในช่วงเวลาเด็กของใครหลายคน จนกระทั่งตอนนี้ หากจะถามว่าเกลียดวิชาอะไรมากที่สุด คำตอบยอดนิยมคงไม่พ้น วิชาคณิตศาสตร์เป็นแน่ เมื่อย้อนกลับไปในวัยที่กำลังเรียน เราอาจรู้สึกว่าวิชานี้ยาก ครูดุ จึงทำให้ไม่ชอบเรียนวิชาคำนวณ และทำผลการเรียนในวิชานี้ได้ไม่ดีนัก แต่… มีเด็กอีกหลายคนเรียนคณิตศาสตร์ได้ไม่ดี เนื่องจากอาการทางสุขภาพที่เรียกว่า ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ หรือ ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการในการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เกือบทั้งหมด คนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์อาจยังพอทำความเข้าใจหลักการของตัวเลขได้บ้าง แต่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องดังกล่าว อาจประสบกับความสับสนหรือยุ่งยากได้มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีภาวะนี้ ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) คืออะไร ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia) คือ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ในทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในหลายระดับที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไม่สามารถจำแนกหรือแยกแยะโจทย์ปัญหาได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นโจทย์ปัญหาง่าย ๆ ไม่สามารถแยกรูปทรงทางคณิตศาสตร์ได้ ใช้เวลานานในการแยกแยะว่ารูปทรงใดมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ากัน ซึ่งภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณนี้ ทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่การคิดเลขง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นช่วงเวลาอันอย่างลำบากและเลวร้ายเกินกว่าที่จะผ่านไปได้  สาเหตุของภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ ผู้เชี่ยวและนักวิจัยทั้งหลายยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่า อาการบกพร่องทางคณิตศาสตร์ นั้นเกิดจากอะไร แต่ข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดอาจมาจาก ระบบพันธุกรรม ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือความผิดปกติทางใดทางหนึ่งในระบบพันธุกรรม กระบวนการพัฒนาของสมอง จากผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างและการทำงานในสมองของผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์กับผู้ที่ไม่มีภาวะดังกล่าวนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ อาการของ ภาวะบกพร่องทางการคิดคำนวณ เป็นอย่างไร เด็กที่มี ภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ จะมีพัฒนาการทางด้านการคำนวณที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ขณะที่เด็กคนอื่นสามารถจะนับเลขในใจได้แล้ว แต่เด็กที่มีภาวะบกพร่องชนิดนี้อาจยังใช้การนับนิ้วอยู่ หรืออาจไม่สามารถแยกได้ว่าตัวเลขจำนวนใดมากกว่าจำนวนใด รวมถึงไม่เข้าใจในกระบวนการทางคณิตศาสตร์รูปแบบอื่น ๆ เช่น มีความสับสนในการประเมินสิ่งต่าง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะบกพร่องทางการเขียน คืออะไร ทำไมจึงทำให้เด็กเรียนรู้ช้าได้

ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟีย (Dysgraphia) คือภาวะที่เด็กมีปัญหาในการเขียนสะกดคำผิดเป็นประจำและอาจพัฒนาได้ช้าหรือไม่สามารถปรับปรุงหรือพัฒนาได้ด้วยตนเองแม้ว่าจะเติบโตขึ้นมาตามวัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับตัวอักษรผิด การพิมพ์ หรือการสะกดคำผิด เด็กแต่ละคนอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้แตกต่างกันไป หากเด็กเขียนคำผิดบ้าง หรือใช้เวลาคิดคำหรือคิดประโยคใดนานก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะเด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างจำเป็นที่จะต้องสังเกตหากเด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถพัฒนาได้เมื่อเวลาผ่านไป  ควรหาวิธีช่วยพัฒนาทักษะการเขียนให้เด็ก ๆ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเข้าสังคมได้ตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำความรู้จัก ภาวะบกพร่องทางการเขียน ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟียเป็นโรคทางระบบประสาทในกลุ่มโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือโรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning disorder) ที่สามารถส่งผลกระทบได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้มีปัญหาในการเขียน เช่น เรียงลำดับตัวอักษรผิด เขียนตัวหนังสือติดกันเป็นพรืด หรือเว้นวรรคไม่ถูก สะกดคำไม่ได้ ถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ หรือบางครั้งอาจใช้คำผิดความหมาย ทำให้ผู้อื่นอ่านไม่เข้าใจ ภาวะนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟียในเด็กนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ แต่เด็กที่เกิดภาวะนี้มักจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะพร่องการอ่านหรือโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) โรคสมาธิสั้น สำหรับผู้ใหญ่บางคนที่ต้องพบเจอกับประสบการณ์สะเทือนขวัญ หรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ รวมถึงอาการบาดเจ็บทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ก็สามารถส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางการเขียน แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะนี้ แต่ก็พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มักมีคนในครอบครัวประสบปัญหานี้มาก่อน เป็นไปได้ว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของทารกในช่วงตั้งครรภ์ เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด ภาวะบกพร่องทางการเขียน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการสมาธิสั้นในเด็ก ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

อาการสมาธิสั้นในเด็ก เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนเด็กมีอายุ 12 ปี เด็กบางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 3 ขวบและอาจเป็นต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ได้จากอาการกระสับกระส่ายอยู่ไม่นิ่ง หรือไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมือเมื่อเด็กมีอาการสมาธิสั้น ก่อนนำไปสู่ภาวะที่รุนแรงขึ้นจนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตเมื่อเตบโตขึ้นในอนาคต [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการสมาธิสั้นในเด็ก อาการของเด็กสมาธิสั้นมีความรุนแรงหลายระดับ และพบได้มากในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สำหรับเด็กผู้ชาย มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นเป็นหลัก ส่วนเด็กผู้หญิงอาจมีอาการขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาการของเด็กสมาธิสั้นแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ สมาธิสั้นแบบขาดสมาธิ (Predominantly Inattentive) เด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้อาจไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งรอบตัว เช่น ไม่ใส่ใจรายละเอียดจนเกิดความผิดพลาด มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำ มีอาการเมินเฉย ไม่ตอบโต้เมื่อมีคนพูดด้วยมีอาการลืมบ่อย ฟุ้งซ่าน สมาธิสั้นแบบอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive/Impulsive) เด็กที่สมาธิสั้นในกลุ่มนี้จะมีอาการอยู่ไม่สุข พูดมากเกินไป ชอบขัดจังหวะผู้ถาม ไม่ชอบการรอ ไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ หรืออาจทำอย่างเงียบ ๆ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้จะต้องวิ่ง ปีน หรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา สมาธิสั้นแบบผสม เด็กที่มีลักษณะโรคสมาธิสั้นแบบผสมจะมีอาการของทั้ง 2 ลักษณะผสมกันไปตามสถานการณ์หรืออารมณ์ของเด็กที่ไม่อาจคาดเดาได้ ปัจจัยเสี่ยงเด็กสมาธิสั้น อาการเด็กสมาธิสั้นอาจจะมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจมาจากปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ กรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัว เป็นโรคสมาธิสั้นหรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณเตือนออทิสติก ที่พ่อแม่ควรสังเกต

ออทิสติก คือความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษาได้อย่างเหมาะสมตามวัย และจะแสดงพฤติกรรมอย่างเดิมซ้ำ ๆ สัญญาณเตือนออทิสติก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ชัด คือ เด็กไม่ตอบสนองต่อเสียง ไม่ชอบให้ใครสัมผัสตัว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อทราบถึงวิธีเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ออทิสติก คืออะไร ออทิสติก หรือกลุ่มอาการออทิสติก คือ ภาวะความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน จนส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเข้าสังคม ด้านการสื่อสาร ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ ทำพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ชอบพูดเลียนแบบ สะบัดมือไปมา เด็กที่เป็นโรคออทิสติกแต่ละคนอาจแสดงอาการต่างกัน บางคนอาจมีอาการเล็กน้อย ไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก ในขณะที่บางคนอาจต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มรูปแบบ ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติเองได้ หากพ่อแม่สงสัยและกังวลว่าลูกจะเป็นออทิสติกหรือไม่ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบและสังเกตพัฒนาการของลูก เช่น ทารกอายุ 6 เดือนไม่มีการยิ้มหรือแสดงความรู้สึกมีความสุข อายุ 12 เดือนแล้วไม่ร้องอ้อแอ้ อายุ 14 เดือนไม่แสดงท่าทาง ชี้ไปที่สิ่งของ หรืออายุ 16 เดือน ยังไม่สามารถพูดคำใด ๆ ได้ สัญญาณเตือนออทิสติก การสังเกตอาการ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณและการดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia

Dyslexia (ดิสเล็กเซีย) เป็นความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้และการอ่านรูปแบบหนึ่ง ส่งผลให้เด็กมีปัญหาเรื่องการจดจำคำศัพท์ การอ่าน การสะกด และการเขียนคำศัพท์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่เป็น Dyslexia อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถเรียนรู้ตัวหนังสือแต่ละตัว ดังนั้น ผู้ปกครองและคุณครูจึงควรทำความเข้าใจและให้การดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia อย่างเหมาะสม ทำความเข้าใจกับ Dyslexia Dyslexia หมายถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการเรียนรู้และการอ่าน โรคนี้มักจะส่งผลให้เด็กไม่สามารถจดจำและจัดการกับภาษาได้ เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียทักจะมีปัญหากับการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และไม่สามารถแบ่งย่อยคำ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านออกเสียง จึงทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน การเขียน และการสะกดคำ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจจะสามารถจดจำคำศัพท์ได้ แต่จะมีปัญหาในการเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ และอาจจะนึกคำที่เคยเรียนรู้แล้วได้ช้า โรคดิสเล็กเซียนั้นไม่ใช่ความบกพร่องในการเรียนรู้ (learning disability) เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญาของเด็ก ในช่วงระยะแรกของการเรียน เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียอาจสามารถเรียนตามทันเพื่อนๆ ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อยิ่งโตขึ้นและต้องเจอกับบทเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นเด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซีย โรคดิสเล็กเซียเป็นปัญหาที่จะอยู่ไปตลอดชีวิต แต่การช่วยเหลืออย่างถูกวิธี อาจสามารถช่วยชดเชย และทำให้เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียสามารถเรียนรู้ความรู้ทางวิชาการ และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น Dyslexia สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียอาจจะสังเกตได้ยากในช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน แต่ก็อาจมีสัญญาณของโรคบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ในช่วงวัยต่างๆ ของลูก ดังต่อไปนี้ ก่อนวัยเรียน สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในเด็กก่อนวัยเรียน ได้แก่ เริ่มพูดได้ช้า เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ช้า ไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้อง หรือสับสนว่าคำๆ นั้นออกเสียงอย่างไร มีปัญหากับการจดจำชื่อ ตัวเลข หรือสีต่างๆ มีปัญหากับการจับจังหวะเสียงดนตรีง่ายๆ วัยเรียน สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในวัยเรียนอาจสังเกตได้ง่ายมากขึ้น […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กสมาธิสั้น กับการวางแผนการเรียนสำหรับเด็ก

เด็กสมาธิสั้น เป็นอาการสมองและระบบประสาท ที่อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและพฤติกรรมผิดปกติ และหากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเรียนได้ อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเรียนและการใช้ชีวิตที่เหมาะสมให้กับเด็กสมาธิสั้น อาจช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง กล่าวคือ สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้สมาธิ การจดจ่อ เป็นต้น ทำงานผิดปกติ จนอาจส่งผลเด็กสมาธิสั้นมีอาการอยู่นิ่งไม่ได้ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นนาน ๆ ไม่ได้ เหม่อลอย วอกแวกง่าย มีอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น และเด็กสมาธิสั้นมักพบโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคกล้ามเนื้อกระตุก โรคการเรียนรู้บกพร่อง การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น การปรึกษาคุณหมอหรือนักบำบัด และในบางกรณีอาจต้องรับประทานยาควบคู่ไปด้วย เช่น เมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) โดยระยะเวลาและวิธีในการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แผนการเรียนสำหรับ เด็กสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกสมาธิสั้นอาจกังวลว่า ทำอย่างไรลูกจึงจะมีผลการเรียนที่ดี เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน และไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นาน ๆ ทั้งยังอาจมีพฤติกรรม เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับหรือแผนการเรียนต่อไปนี้ อาจช่วยให้เด็กสมาธิสั้นสามารถเรียนหนังสือ หรือเรียนรู้เรื่องต่าง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ปลุกใจวัยใส ทำอย่างไรเมื่อ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

เมื่อถึงช่วงเวลาของการต้องไปโรงเรียน ดูเหมือนว่าผู้ปกครองหลายท่านคงจะหนักใจกับเด็กๆ ไม่น้อย เพราะเด็กบางคนมีอาการวิตกกังวล เด็กไม่อยากไปโรงเรียน รวมถึงมีภาวะเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น Hello คุณหมอ ขอนำบทความที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก พร้อมทั้งวิธีสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้พวกเขาอยากไปโรงเรียนมาฝากกัน เหตุผลที่ เด็กไม่อยากไปโรงเรียน การไม่อยากไปโรงเรียนของเด็ก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การปฏิเสธโรงเรียน” โดยสาเหตุที่ทำให้มีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากเด็กอาจรู้สึกอารมณ์เสีย เมื่อนึกถึงการต้องไปโรงเรียน หรืออาจจะคิดถึงวันหยุดจนทำให้เกิดความทุกข์ นอกจากนั้นปัญหาในการไปโรงเรียน หรือปัญหาในการออกจากบ้าน ก็ทำให้เด็กเกิดการปฏิเสธโรงเรียน จนถึงขั้นไม่ยอมไปโรงเรียนเลยก็เป็นได้ ซึ่งเด็กเหล่านี้มักใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองตลอดทั้งวัน แต่การปฏิเสธโรงเรียนนั้น ไม่ใช่การวินิจฉัยทางจิตเวชอย่างเป็นทางการ มันเป็นเพียงปัญหาทางอารมณ์ หรือพฤติกรรมเท่านั้น สัญญาณเตือนให้รู้ว่าเด็กกังวลกับการไปโรงเรียน การไปโรงเรียนสำหรับเด็กบางคน เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างมาก อาการเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดภาวะเครียด จนแสดงพฤติกรรมออกมาให้ผู้ปกครองได้เห็น ซึ่งสัญญาณเตือนต่างๆ สามารถสังเกตได้ดังนี้ การพยายามค้นหาความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง หรือมีคำถามซ้ำๆ แม้จะได้รับคำตอบแล้วก็ตาม การเรียกร้องทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง แม้จะไม่ได้ป่วยจริง ปกติแล้วเด็กส่วนใหญ่มักจะเข้านอนเร็ว แต่เมื่อเกิดความกังวลจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องการนอน โดยอาจจะใช้เวลาในการเข้านอนนานขึ้น หรืออาจตื่นในช่วงกลางดึก ซึ่งการนอนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เด็กจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ต้องเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น การเยี่ยมชมโรงเรียน การพบปะกับอาจารย์ผู้สอน หรือเลี่ยงการเข้าชั้นเรียน เป็นต้น วิธีทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในโรงเรียน ผู้ปกครองหลายท่าน คงเกิดความวิตกกังวล เมื่อเริ่มสังเกตเห็นเด็กมีการปฏิเสธโรงเรียน ตามพฤติกรรมตามที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นวิธีที่ผู้ปกครองจะสามารถ ช่วยให้เด็กอยากไปโรงเรียนก็คือ การทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในโรงเรียน ซึ่งวิธีสร้างแรงบันดาลใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน