ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ตั้งแต่ปัญหาขณะคลอด ไปจนถึงปัญหาที่ตามมาหลังจากคลอด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่อย่างมาก Hello คุณหมอ จึงอยากขอมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพคุณแม่ ด้วยการรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกพูดช้า ปัญหาพัฒนาการเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำได้ตอนอายุประมาณ 1 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก พูด ช้า พัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ แต่เด็กบางคนก็อาจแค่ยังไม่ต้องการพูดในตอนนี้ และจะยอมพูดเองเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกพูดช้า หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรียกแล้วไม่หัน ไม่แสดงท่าทางตกใจเมื่อมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ภาวะพูดช้า (Delayed Speech) คืออะไร ภาวะพูดช้า คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย มักพบในวัยก่อนวัยเรียน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยทั่วไป เด็กอาจมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 1 ปี : พัฒนาจากการพูดอ้อแอ้ไม่เป็นภาษามาเป็นคำพูดง่าย ๆ อายุ 2 ปี : พูดคำที่มีความหมายติดกัน 2 คำ อายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ระบุส่วนต่าง […]

สำรวจ ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกเลือกกิน กินยาก จะรับมือได้อย่างไรบ้าง

ลูกเลือกกิน หรือกินอาหารยาก เป็นหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนหนักใจ โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-5 ปี ทั้งนี้ หากยอมให้ลูกกินแต่อาหารที่ชอบไปเรื่อย ๆ โดยไม่แก้ไข อาจก่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือเกินเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกเลือกกิน อาจขอคำแนะนำที่เหมาะสมจากคุณหมอเพื่อช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกเลือกกิน เพราะสาเหตุใด ปัญหาเด็กกินยาก หรือเลือกกินมักเริ่มในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจว่าที่ลูกเลือกกินนั้นเป็นเพราะอะไร โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ อาหารรสชาติไม่ถูกปาก เด็กบางคนชอบกินอาหารหวาน ซึ่งเป็นเพราะสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เนื่องจากอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ร่างกายจึงต้องการอาหารที่ให้พลังงานหรือแคลอรีสูง นอกจากนั้น เด็กบางคนยังมียีนที่ทำให้ไวต่อรสขม จึงไม่แปลกที่เด็กจะเลือกกิน ชอบกินแต่ขนมหรือกินอาหารบางอย่างยากเป็นพิเศษ ลูกยังไม่หิว พออายุครบ 2 ปีการเจริญเติบโตของเด็กจะค่อย ๆ ช้าลง พวกเขาจึงกินได้น้อยลง หรือบางวันก็ไม่อยากอาหาร และบางครั้งอาจกินขนมและเครื่องดื่มมากจนทำให้รู้สึกอิ่มและไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก ลูกมีปัญหาสุขภาพ บางครั้งการที่ ลูกเลือกกินหรือกินยาก อาจมาจากปัญหาสุขภาพ หากลูกกระวนกระวาย หรืองอแงตลอดเมื่อถึงเวลากินอาหาร อาจเป็นเพราะเด็กเป็นภูมิแพ้อาหาร หรือมีความผิดปกติของระบบประมวลผลทางประสาทสัมผัส (Sensory Processing Disorder) เกิดจากสมองไม่สามารถประมวลข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ เด็กที่เป็นโรคนี้จึงมักไวต่อรส กลิ่น หรือเนื้อสัมผัสของอาหารบางชนิดเป็นพิเศษ ลูกเลือกกิน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ

สีผสมอาหาร ทำให้อาหารมีสีสันสดใส โดยเฉพาะในขนมหวาน หรือในลูกชิ้นทอดที่เด็กๆ หลายคนชอบกิน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ชี้ว่าสีผสมอาหารอาจสัมพันธ์กับอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก แล้วแบบนี้สีผสมอาหารจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ หรือเปล่า สีผสมอาหารคืออะไร สีผสมอาหารประกอบด้วยสารเคมี ที่ใช้เพื่อเพิ่มสีสันให้อาหาร โดยสีผสมอาหารมักจะพบในอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ซึ่งผู้ผลิตมักจะใส่สีผสมอาหาร ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ เพื่อเพิ่มหรือลดสีของอาหาร เพื่อรักษาสีของอาหารให้คงอยู่ เพื่อให้อาหารมีสีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า สารปรุงแต่งอาหาร เช่น สารกันบูด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล และสีผสมอาหาร เป็นเหตุให้เกิดโรคสมาธิสั้น และเรื่องผลกระทบจากการกินสารปรุงแต่งอาหาร ยังคงเป็นที่กรณีโต้แย้ง สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ เนื่องจากมีงานวิจัยชี้ว่า สีผสมอาหารบางชนิดและสารกันบูด อาจทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นมากขึ้น ในขณะที่องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ชี้ว่างานวิจัยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่ใส่สีผสมอาหาร กับอาการซน และไม่อยู่นิ่งของเด็ก (Hyperactivity) นอกจากนี้มีงานวิจัยที่พบว่า การกำจัดสีผสมอาหารออกจากอาหาร รวมถึงสารกันบูดที่เรียกว่า โซเดียมเบนโซเอต (Sodium Benzoate) ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดอาการซนและอยู่ไม่สุขของเด็กได้ มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า 73% ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีอาการลดลง เมื่อจำกัดการบริโภคสีผสมอาหารและสารกันบูด และยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า สีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอต ทำให้อาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็กเพิ่มขึ้น ทั้งในเด็กที่อายุ 3 ปีและกลุ่มเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับทั้งสีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอตผสมกัน จึงยากที่จะระบุว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็ก สรุปแล้วสีผสมอาหารเป็นอันตรายหรือไม่ ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า งานวิจัยได้แนะนำว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างสีผสมอาหารกับอาการซน และอยู่ไม่นิ่งของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคดื้อต่อต้าน ในเด็กและวัยรุ่น มีวิธีสังเกตและรับมืออย่างไร

โรคดื้อต่อต้าน เป็นภาวะผิดปกติทางพฤติกรรมที่มักพบในเด็กที่เริ่มโต หรือวัยรุ่น เด็กมักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว  เอาแต่ใจ พูดไม่ฟัง ชอบสร้างความขัดแย้ง หาเรื่องผู้อื่น จนสร้างปัญหาให้ตัวเองและผู้คนรอบข้าง โรคนี้เป็นโรคทางพฤติกรรมที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไว้ อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายถึงถึงชีวิต และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคดื้อต่อต้าน คืออะไร โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder หรือ ODD) คือ ความผิดปกติทางพฤติกรรมที่เริ่มต้นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น เด็กที่เป็นโรคนี้จะแสดงพฤติกรรมต่อต้าน เมินเฉย ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำร้องขอจากผู้อื่น เพราะคิดว่าคำสั่งหรือคำขอเหล่านั้นไร้เหตุผล จึงรู้สึกโมโห และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยเด็กที่เป็นโรคดื้อต่อต้านมักจะมีอาการของโรคสมาธิสั้น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าร่วมด้วย การที่เด็กดื้อรั้น หรือไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่บ้างบางครั้งนับเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเมื่อเด็กรู้สึกเหนื่อย อารมณ์เสีย หรือไม่ได้ดั่งใจ แต่เด็กที่เป็นโรคดื้อต่อต้าน จะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำ และพฤติกรรมจะรุนแรงขึ้น จนเป็นปัญหารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กและผู้คนรอบข้าง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคดื้อต่อต้านมีทั้งปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และสังคม เช่น กรรมพันธุ์ ความขัดแย้งภายในครอบครัว พ่อแม่หย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ครอบครัวมีผู้ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ การเลี้ยงลูกผิดวิธี การถูกรังแกหรือถูกละเลย ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือมีปัญหาทางการเงิน พฤติกรรมแบบใดเข้าข่ายเป็นโรคดื้อต่อต้าน หากเด็กมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน อาจเข้าข่ายเป็นโรคดื้อต่อต้าน สัญญาณทางความคิด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก เป็นอย่างไร

อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก สังเกตได้ยากกว่าอาการเจ็บป่วยทางจิตในผู้ใหญ่ ทำให้เด็กหลาย ๆ คนควรที่จะได้รับการรักษา แต่กลับไม่ได้รับการรักษาเพราะสัญญาณและการแสดงออกในเด็กนั้นยากเกินกว่าที่จะสังเกตได้ ดังนั้น การเข้าใจหรือรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในเด็กอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีเยียวยาอาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กได้เร็วขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็ก มีอะไรบ้าง อาการเจ็บป่วยทางจิตในเด็กมีหลายประเภท คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ซึ่งมีดังต่อไปนี้ กลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคในกลุ่มนี้จะมี โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือOCD) ภาวะความเครียดหลังได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ โรคหวาดกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) และโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalised Anxiety Disorder, GAD) เด็กที่เป็นโรคในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการใช้ชีวิต และมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ โรคสมาธิสั้น โดยปกติจะมีปัญหาในการให้ความสนใจ โดยจะมีอาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง และมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น เด็กที่เป็นโรคนี้บางรายอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่บางรายอาจมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมา กลุ่มอาการออทิสติก เป็นอาการรุนแรงที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิด มักจะพบได้ก่อนอายุ 3 ขวบ ซึ่งจะมีการแสดงอาการที่หลากหลาย อีกทั้งโรคออทิสติกยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย กลุ่มโรคพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ เป็นอาการที่อาจส่งผลให้มีการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติจนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หรือเป็นอาการในรูปแบบของการเบื่ออาหารไปจนถึงอดอาหาร และในบางรายเป็นหนักจนกระทั่งพัฒนาไปสู่โรค Anorexia nervosa หรือโรคคลั่งผอม สัญญาณเตือน อาการป่วยทางจิตในเด็ก การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ให้สังเกตความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรืออารมณ์ที่แปรปรวนอย่างรุนแรงของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกสมาธิสั้น สัญญาณเตือน และวิธีรับมือ

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่า ลูกสมาธิสั้น แค่ชั่วคราวตามประสาเด็กวัยซน ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้อาจละเลยการดูแลที่เหมาะสม จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้น การสังเกตอาการหรือสัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้นในเด็ก จึงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการเบื้องต้นได้ หากพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาคุณหมอทันที เพราะโรคนี้ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ก็อาจยิ่งช่วยให้ลูกมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกสมาธิสั้น เป็นอย่างไร โรคสมาธิสั้น หรือ  ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่พบได้ในเด็กวัย 2-17 ปี ซึ่งอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น ขาดสมาธิ ไม่มีความอดทน ขาดความสนใจ อยู่นิ่งไม่ได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคสมาธิสั้นได้ แต่อาการมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่เป็นเด็ก เด็ก ๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีปัญหา คือ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ไม่สามารถทำตามคำสั่ง และทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่เสร็จ อาการของ ลูกสมาธิสั้น เมื่อลูกสมาธิสั้นอาจทำให้มีอาการหลัก ๆ 3 ด้าน คือ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และไม่มีสมาธิ ดังนี้ อยู่ไม่นิ่ง ซน พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อย ๆ เล่นแรง เล่นได้ไม่เหนื่อย […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ดาวน์ซินโดรม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพิการทางด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากคนใกล้ชิดดูแลและใส่ใจตั้งแต่ในวัยเด็ก พวกเขาก็สามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีสุขภาพดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] คำจำกัดความ ดาวน์ซินโดรม คืออะไร ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพิการทางด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากดูแลดี ๆ เด็กที่เป็นโรคนี้ก็สามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีสุขภาพดี และมีความสุข สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนสังคมได้ ดาวน์ซินโดรมพบได้บ่อยแค่ไหน ดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติทางพันที่ธุกรรมพบมากที่สุดในบรรดาโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ สำหรับข้อมูลความเสี่ยง หรือปัจจัยของโรค โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของดาวน์ซินโดรม อาการของดาวน์ซินโดรม ที่พบ มีดังนี้ หน้าแบน ศีรษะเล็ก คอสั้น ปากเล็กและมีอาการลิ้นจุกปาก ขาดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เด็กล้มได้ง่าย ช่องห่างระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง ฝ่ามือกว้าง แต่นิ้วมือสั้น มีเส้นลายมือที่มีลักษณะเป็นเส้นตัดเพียงเส้นเดียว น้ำหนักตัวน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วไป บกพร่องทางด้านพัฒนาการด้านการเรียนรู้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไใดควรไปพบคุณหมอ หากพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะของดาวน์ซินโดรม มีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง เช่น ปวดท้อง, ท้องบวม อาเจียน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเช่น ริมฝีปากและนิ้วเปลี่ยนสี มีอาการหายใจติดขัดทันทีที่รับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมใด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน