เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

การ ดูแลทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นเรื่องยาก เพราะทารกพูดไม่ได้จึงแสดงออกได้เพียงการร้องไห้หรือส่งเสียง การหมั่นสังเกตท่าทางและพฤติกรรมเพื่อตีความหมายในสิ่งที่ทารกต้องการได้อย่างถูกต้องอาจช่วยได้  นอกจากนั้น การดูแลทำความสะอาดร่างกายลูกน้อยอย่างถูกวิธี การอุ้ม การกอด การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกในครอบครัว ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงสุขภาพดีและปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่แข็งแรง และผิวของทารกยังค่อนข้างบอบบาง จึงอาจติดเชื้อหรือบาดเจ็บได้ง่าย พื้นฐานการดูแลเด็กทารกแรกเกิด ควรปฏิบัติ ดังนี้ ล้างมือให้สะอาด ก่อนจับตัวทารก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเพราะทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย รองรับศีรษะและคอทารก ขณะอุ้มทารกควรใช้มือรองรับศีรษะและประคองคอทารกเนื่องจากบริเวณคอและศีรษะยังไม่แข็งแรง อย่าเขย่าทารกแรกเกิด การสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองของทารกแรกเกิดได้ ระวังความปลอดภัย เมื่อใช้รถเข็นเด็กควรยึดทารกให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการเด้งของตัวทารก และไม่ควรเล่นกับทารกด้วยความรุนแรง ดูแลทารกแรกเกิด ต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ รวมทั้งสมาชิกครอบครัว หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่ควรต้องระวังเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ของทารก ได้แก่ การอุ้มและการกอด ในช่วงแรกทารกยังต้องการความอบอุ่นจากการอุ้มและกอด โดยเฉพาะจากมารดา เนื่องจากเป็นสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงเหมือนตอนอยู่ในครรภ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งและเชื่อมต่ออารมณ์ความรู้สึกกับทารก และส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ด้วย คุณพ่อและคุณแม่ควรอุ้มเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ทารกอยู่เสมอ ผ้าอ้อมและกระดาษชำระแบบเปียก ปัจจุบันนี้ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านควรเตรียมให้เพียงพอเพราะทารกมีการขับถ่ายบ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญคือการเช็ดทำความสะอาดผิวหนังของทารก ด้วยกระดาษชำระแบบเปียก หลังจากนั้น ควรซับเบา ๆ ด้วยผ้าอ้อมที่เป็นผ้าแห้ง และควรใช้ครีมทาผิวก่อนใส่ผ้าอ้อม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นผ้าอ้อมในทารกได้ การอาบน้ำ เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้พร้อมสำหรับทารกให้เรียบร้อยก่อนอาบน้ำ ทั้งผ้าขนหนูอาบน้ำ ผ้าขนหนูเช็ดตัว […]


การดูแลทารก

วิธีห่อตัวทารก ประโยชน์ และความเสี่ยงของการห่อตัวทารก

วิธีห่อตัวทารก ที่เหมาะสม คือ ไม่ควรห่อตัวทารกจนแน่นเกินไป แต่ควรห่อให้กระชับพอดี ทำให้ทารกไม่รู้สึกอึดอัด การห่อตัวทารกเป็นวิธีที่อาจช่วยให้ทารกนอนหลับได้สบายมากขึ้น ช่วยเพิ่มความอบอุ่น และทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย เหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม การห่อตัวทารกอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว และอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเคลื่อนไหวของทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการห่อตัวทารก ประโยชน์ของการห่อตัวทารกจะช่วยลดปฏิกิริยาการตื่นตกใจเมื่อนอนหลับ โดยอาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการกระตุกหรือตกใจตื่นขณะหลับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ การห่อตัวจึงมีประโยชน์ช่วยลดการสะดุ้งตกใจเพราะเหมือนเป็นการช่วยปลอบประโลมและทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย การห่อตัวยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ที่มีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้น้อย รู้สึกเหมือนกำลังถูกกอด ช่วยให้ทารกรู้สึกสงบนอนหลับสบายมากขึ้น และร้องไห้น้อยลง วิธีห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้ผ้าอ้อมทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เนื้อผ้านิ่มสบายไม่เป็นขุย ระบายอากาศได้ดี และซักทำความสะอาดเรียบร้อย โดยวิธีห่อตัวทารกอย่างปลอดภัยขณะทารกหลับ มี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ พับผ้าห่อตัวเป็นสามเหลี่ยมจากนั้นพับมุมด้านหนึ่งลงมาประมาณ 6 นิ้ว วางทารกลงบนผ้าอย่างนุ่มนวลและจัดท่าให้ศีรษะอยู่เหนือรอยพับและลำตัวเหยียดตรง จากนั้นนำผ้าทางด้านซ้ายห่อแขนซ้ายและหน้าอกของทารก แล้วนำมุมผ้าสอดไว้ใต้ลำตัวด้านขวาของทารกโดยไม่ปิดแขนขวา พับมุมด้านล่างขึ้นปิดเท้าของทารกแล้วสอดเก็บไว้ใต้คางของขอบผ้าด้านบน สุดท้ายจับแขนขวาทารกให้ชิดกับลำตัวนำผ้าด้านขวาพาดปิดแขนแล้วสอดปลายผ้าไว้ใต้ตัวด้านซ้าย ข้อควรระวัง ผ้าห่อตัวควรกระชับพอดีกับตัวทารก ไม่รัดแน่นจนเกินไป ผ้าห่มรอบสะโพกของทารกก็ควรหลวมพอดีเพื่อให้ทารกขยับขาได้อย่างอิสระใต้ผ่าห่อตัว ถ้าหากลูกน้อยต้องการเหยียดแขน ก็สามารถปล่อยแขนทารกออกมาหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ หรือถ้าหากลูกดิ้นมากเกินไป ก็อาจต้องปล่อยให้ลูกน้อยอยู่อย่างอิสระ เพราะไม่ใช่ทารกทุกคนที่จะชอบการห่อตัว ลองเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตามความชอบของทารก ความเสี่ยงของการห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่แม่หลายคนอาจไม่เคยรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับการห่อตัวทารก การห่อตัวอาจทำให้ทารกนอนหลับยาวนานขึ้น ตื่นยากขึ้น และลดการตื่นตัวในทารก ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในทารก หรือโรค SIDS ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกผ้าฝ้ายแผ่นบาง ๆ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วิธี ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์และมีร่างกายที่อ่อนแอ จึงควรมีการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีสมวัยต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมทารกจึง คลอดก่อนกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมทารกจึงคลอดก่อนกำหนด ในบางครั้งอาจเป็นเพราะสุขภาพของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ แม่บางคนอาจเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือไต การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำหรือทางเดินปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ดังนี้ เลือดออกจากรกเกาะต่ำ หรือรกแยกตัวออกจากครรภ์ ครรภ์ไม่ปกติ อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน ในครั้งเดียว มีน้ำหนักน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด หรือดื่มสุราขณะตั้งครรภ์ ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ข้อควรรู้สำหรับ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด อาจต้องเพิ่มการดูแลเป็นพิเศษ ในเบื้องต้นคุณหมอจะพิจารณาดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล เมื่อร่างกายทารกสมบูรณ์แล้วจึงสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งวิธีดูแลทารกนั้นมีดังนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ต้องการความอบอุ่นและการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ทารกบางรายอาจไม่หายใจหรือหายใจเหนื่อย จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วนโดยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน เครื่องอุ่นสำหรับทารก ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในขณะเฝ้าติดตามอาการ เครื่องส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง เนื่องจากทารกแรกเกิดจะมีความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองมากกว่าเด็กคลอดครบกำหนดจากหลายกลไก เมื่อร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด แข็งแรงขึ้นและได้รับคำยืนยันจากคุณหมอว่าสามารถกลับบ้านได้ จึงนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านได้ซึ่งต่างมีความสำคัญเช่นกัน สิ่งสำคัญในการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อุณภูมิสำหรับทารกต้องสบายและปลอดภัย ควรปรับอุณภูมิในบ้านให้พอเหมาะด้วยเครื่องปรับอากาศ […]


การดูแลทารก

ดูแลทารกผิวแห้ง ทำได้อย่างไร เพื่อให้ผิวลูกชุ่มชื้น

ผิวแห้ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่พบบ่อยในทารก การ ดูแลทารกผิวแห้ง จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสนใจ เนื่องจาก ผิวของทารกนั้นบอบบางและแพ้ง่าย เมื่อทารกผิวแห้งอาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่น รวมถึงผิวลอก ซึ่งอาจสร้างความรำคาญใจ หรืออาจทำให้ทารกไม่สบายตัวได้ บางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น การดูแลผิวทารกให้กลับมาชุ่มชื้นนั้น อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกผิวแห้ง เกิดจากอะไร ทารกผิวแห้งมักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม สภาพผิวที่บอบบางของทารกแรกเกิด หรือโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ สภาพอากาศ ผิวแห้งอาจเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาว เมื่ออุณภูมิและความชื้นลดลง ความร้อนหรือความเย็น การที่ลูกต้องเผชิญสภาพอากาศร้อน หรืออยู่ในห้องที่อากาศเย็นจากการเปิดเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวลดความชื้นและทำให้ผิวแห้งได้ การอาบน้ำ การอาบน้ำอุ่นเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ทารกผิวแห้งได้ หรือการว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีนก็อาจทำให้ผิวแห้งด้วยเช่นกัน สบู่ ผงซักฟอก หรือแชมพูบางชนิด อาจดึงเอาความชุ่มชื้นออกจากผิวได้ สภาพผิว ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน อาจมีแนวโน้มทำให้ผิวแห้ง เวอร์นิกซ์ (Vernix) เป็นสารสีขาวเคลือบปกปิดผิวของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ ในทารกบางคนอาจมีเวอร์นิกซ์ติดร่างกายออกมาด้วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายและสามารถล้างออกได้ ในช่วงแรกเมื่อทารกสูญเสียเวอร์นิกซ์อาจทำให้เกิดผิวลอกในช่วงสัปดาห์แรก ดูแลทารกผิวแห้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารที่ทารกไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

การเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับทารก เช่น อาหารที่ทารกไม่ควรกิน ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเมื่อต้องดูแลเด็กทารก เพราะอาหารส่งผลต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย กล้ามเนื้อ และสมอง การหลีกเลี่ยงอาหารที่ทารกไม่ควรกิน และให้ทารกกินอาหารที่เหมาะสม เช่น น้ำนมแม่ จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตสมวัย และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพบางประการได้ เช่น ภูมิแพ้อาหาร ท้องร่วง อาหารที่ทารกไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง นมวัว เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือนไม่ควรดื่มนมวัวประเภท UHT หรือนมวัวพาสเจอร์ไรส์เป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีสารอาหารโปรตีน โซเดียม และโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจทำให้ไตของเด็กทำงานหนักเกินไป อีกทั้งนมวัวยังมีสารอาหารน้อยกว่านมแม่อีกด้วย แต่หากคุณแม่ไม่มีน้ำนม หรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ แนะนำให้กินนมผงชนิดชงสำหรับทารก และควรปรึกษานักโภชนาการหรือกุมารแพทย์ก่อนเสมอ เครื่องดื่มรสหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ไม่เหมาะสำหรับเด็กทารก เนื่องจากมีน้ำตาลสูงและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะฟันผุได้ นอกจากนี้ การให้เด็กกินน้ำหวานมากยังอาจทำให้เด็กติดน้ำหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วนในเด็กได้อีกด้วย น้ำผึ้ง น้ำผึ้งอาจมีสปอร์ของแบคทีเรียและสารบางชนิด เช่น โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) ที่เป็นอันตรายต่อทารก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้ง เกลือ ไม่ควรใส่เกลือลงไปในอาหารของทารก เนื่องจากเกลืออาจทำให้ไตที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ของทารกเสียหายได้ เด็กควรได้รับเกลือจากแหล่งธรรมชาติอย่างนมแม่เท่านั้น อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ไม่ควรให้ทารกกิน เช่น เบคอน ไส้กรอก […]


โภชนาการสำหรับทารก

สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง

คุณแม่ควรทราบว่า สารอาหารสำหรับทารก มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยอย่างมาก เพราะทารกควรได้รับคุณค่าทางอาหารอย่างเพียงพอในทุก ๆ วัน เพื่อให้สุขภาพกาย สุขภาพจิต สมองและระบบประสาทของทารกสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง สารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกคือ นมแม่ เพราะมีโปรตีน ไขมัน วิตามิน สารภูมิคุ้มกัน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ทารกต้องการ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินเค ซึ่งสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้เป็นอย่างดี ทารกควรได้กินนมแม่ตลอดช่วง 12 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย ยิ่งทารกได้กินนมแม่นานเท่าใด ก็จะยิ่งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้มากเท่านั้น เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน การดื่มน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เด็กจึงอาจต้องกินอาหารชนิดอื่น ๆ เพิ่มด้วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งที่บดละเอียดเพื่อให้กลืนได้ง่าย เช่น ซีเรียลสำหรับทารกผสมกับนมแม่เพื่อเสริมธาตุเหล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้นมชนิดอื่น นอกจากนี้ เด็กที่อายุ 6-8 เดือนสามารถเสริมอาหารที่เป็นพืชหรือแหล่งสารอาหารสำหรับทารกชนิดอื่นได้ ดังนี้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้ให้วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ กากใย และน้ำ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยป้องกันโรคต่าง […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง

ทารกวัย 7 เดือน ถือเป็นช่วงวัยที่บอบบางและจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทานและควรเลี่ยง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลอาหารให้เด็ก 7 เดือน ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก 7 เดือนกินอะไรได้บ้าง เด็ก 7 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นมาก พวกเขาสามารถคลานได้อย่างคล่องแคล่ว หรือเริ่มตั้งไข่ได้บ้างแล้ว ทั้งยังสามารถพยุงตัวขึ้นนั่งเองได้ และนิ้วมือก็สามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้คล่องขึ้นด้วย นอกจากนี้เด็ก 7 เดือนเริ่มมีฟันขึ้นมาหลายซี่ ทำให้สามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น ไม่ใช่แค่นมแม่ นมผง อาหารบด ผักบด ผลไม้บด เหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่สามารถกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวสวย อาหารเด็ก 7 เดือน ที่ควรรับประทาน เด็ก 7 เดือนสามารถกินอาหารได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น รวมถึงเริ่มกินอาหารที่แข็งขึ้นมาเล็กน้อยได้แล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกน้อยกินอาหารดังต่อไปนี้ได้ ธัญพืช เด็ก 7 เดือนเริ่มเคี้ยวธัญพืชต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ธัญพืชที่เหมาะสำหรับเด็ก […]


โภชนาการสำหรับทารก

เด็กกินนมแพะ ดีต่อสุขภาพ หรือควรหลีกเลี่ยง

นมแพะ เป็นน้ำนมที่ได้จากการนำน้ำนมดิบของแพะ มาผ่านการพาสเจอไรส์ เพื่อให้สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย และได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งในบางครั้ง นมแพะมักเป็นตัวเลือกสำหรับทดแทนนมวัว แต่ในเด็กส่วนใหญ่ร่างกายยังไม่สามารถย่อยโปรตีนจากน้ำนมได้ดีเท่าไหร่นัก คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังพิจารณาจะให้เด็กกินนมแพะแทนนมแม่หรือนมผง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำ ประโยชน์ของนมแพะ นมแพะ ให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก นมแพะ มีธาตุเหล็กมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น เมื่อเทียบกับนมวัวที่มีปริมาณของธาตุเหล็กเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ เสริมกระดูกของเด็กที่เป็นโลหิตจาง แน่นอนว่าการให้เด็กกินนมแพะ จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงไม่ต่างไปจกนมวัว ยิ่งสำหรับเด็กที่เป็นโรคโลหิตจาง นมแพะอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะเด็กที่เป็นโรคโลหิตจางมักมีอาการดีขึ้นเมื่อดื่มนมแพะเป็นประจำ  ดีต่อลำไส้ สารอาหารในนมแพะมีส่วนช่วยในการต้านแบคทีเรีย มากไปกว่านั้น นมแพะยังเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียชั้นดีในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สุขภาพดี ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น นมแพะช่วยให้ย่อยง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับนมวัวแล้ว พบว่า นมแพะ มีความหนาแน่นของโปรตีนที่น้อยกว่า อีกทั้งไขมันในนมแพะยังเป็นไขมันสายสั้นที่สามารถแตกตัวได้ง่าย ทำให้นมแพะย่อยได้ง่ายกว่านมวัว ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย เด็กกินนมแพะ ได้หรือไม่ เด็กสามารถกินนมแพะได้ ในกรณีที่ไม่มีอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมวัว เนื่องจากเด็กที่แพ้โปรตีนในนมวัว มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมแพะด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม “นมแพะไม่เหมาะและไม่ควรให้ทารกแรกเกิด หรือทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีกิน” เนื่องจากสารอาหารใน นมแพะ ไม่เหมาะกับทารก เพราะมีปริมาณของสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส มากกว่าน้ำนมทั่วไปอย่างนมวัว นมแม่ หรือนมผง […]


โภชนาการสำหรับทารก

ปริมาณนมสำหรับทารก กินมากหรือน้อยแค่ไหนถึงจะพอดี

ทารก เป็นช่วงวัยที่ยังไม่สามารถกินอาหารได้มากเท่าไหร่นัก ดังนั้น อาหารหลักของทารกก็คือ น้ำนม ทั้งน้ำนมแม่ และนมผง แต่รู้ไหมว่า ปริมาณนมสำหรับทารก ในแต่ละวัน และในแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ปริมาณนมมากหรือน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก หากคุณสงสัยในเรื่องนี้อยู่ บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากแล้วค่ะ ปริมาณนมสำหรับทารก ควรเป็นอย่างไร ปริมาณน้ำนมสำหรับ ทารก นั้น สามารถจำแนกได้ตามช่วงวัย ดังนี้ เด็กแรกเกิด (สองหรือสามสัปดาห์แรก) ควรได้รับนมครั้งละ 60-90 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เด็กอายุ 2 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 120-150 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง เด็กอายุ 4 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 120-180 มิลลิลิตร สำหรับความถี่ในการให้นมของเด็กในวัยนี้ ให้พิจาณาจากรูปร่าง และน้ำหนัก เด็กอายุ 6 เดือน ควรได้รับนมครั้งละ 180-230 มิลลิลิตร และควรให้นมทุก ๆ […]


การดูแลทารก

เด็ก1เดือน ไม่นอนกลางวัน ปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

เด็ก1เดือน เป็นวัยที่มีกิจกรรมประจำวันอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ได้แก่ กิน นอน ขับถ่าย ร้องไห้ และอาจตื่นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ในบางรายอาจพบปัญหาทารก1เดือน ไม่ยอมนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือได้เพียงศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของทารก1เดือน [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1เดือน กับการนอน ทารกเป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่มีอายุระหว่าง 0-3 เดือน ควรจะนอนหลับให้ได้ประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และตอนกลางวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง ทำไม ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวัน  ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวันเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่เข้าใจสาเหตุว่าเพราะอะไร สาเหตุที่ทารก1เดือนไม่นอนกลางวันนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ทารกรู้สึกหิว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการที่นมย่อยไวเกินไป มีการเว้นระยะห่างในการให้เด็กกินนมนานเกินไป หรือเด็กกินนมน้อยเกินไป จนทำให้เด็กหิว และนอนไม่หลับ ทารกไม่สบาย การไม่นอนกลางวันของ ทารก 1 เดือน อาจเกิดจากการไม่สบาย เช่น เป็นหวัด มีไข้ แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ภูมิแพ้ อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ มักทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว จนหลับยาก ทารกไม่สบายตัว อาจเกิดจากที่นอนของทารกแข็งจนเกินไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน