เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

โภชนาการสำหรับทารก

พัฒนาการทารก 5 เดือน อะไรรับประทานได้ อะไรควรเลี่ยง

พัฒนาการทารก 5 เดือน เป็นช่วงวัยที่บอบบางแม้จะเป็นระยะเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของขวบปีแล้วก็ตาม ในช่วงนี้ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาการกิน ทั้งยังต้องระมัดระวังและใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมสำหรับการเจริญเติบโต และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยอาหารที่เหมาะสำหรับพัฒนาการทารก 5 เดือนั้น ได้แก่ นมแม่ ผักบด ผลไม้บด เนื้อสัตว์บด เป็นต้น นอกจากนั้น ก็มีอาหารบางอย่างที่ไม่เหมาะสำหรับทารก 5 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารที่เหมาะสำหรับพัฒนาการทารก 5 เดือน ในช่วง พัฒนาการทารก 5 เดือน ทารกบางคนอาจเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นบ้างแล้ว แต่สำหรับบางคนอาจมีฟันขึ้นเมื่ออายุได้ 1 ปี หรืออย่างเร็วที่สุดก็คือ มีฟันซี่แรกขึ้นตั้งแต่ 3 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม การมีฟันขึ้นของทารกที่อายุยังไม่ถึงขวบปี หรืออายุเพียง 5 เดือนนี้ ไม่ได้หมายความว่าทารกพร้อมสำหรับการรับประทานอาหารที่ต้องมีการบดเคี้ยวแล้ว เพราะทารกในวัย 5 เดือน ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนอยู่ โดยอาหารต่อไปนี้ เป็นอาหารที่ช่วยให้เด็กรับประทานได้ง่าย และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต นมแม่ ถือเป็นน้ำนมที่ดีที่สุดสำหรับช่วงพัฒนาการทารก 5 […]


การดูแลทารก

ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี

ปัญหาการดูดนมจากขวด  เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้กับคุณแม่ เพราะลูกไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นจากการดูดนมจากขวด ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด ก็ควรหาสาเหตุและวิธีรับมือที่เหมาะสมโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด เกิดจากอะไร การที่ลูกไม่ยอมดูดนมจากขวดอาจเกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยมีวิธีการสังเกตอาจทำได้ ดังนี้ ลูกอิ่ม หรือไม่มีความรู้สึกหิวมากพอที่ต้องกินนม อาจมีอาการไม่สบายท้อง เช่น จุกเสียด ท้องอืด จึงไม่สามารถกินนมเพิ่มได้ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ลูกเพิ่งหย่านม และรู้สึกคุ้นชินกับการกินนมจากเต้า เนื้อสัมผัสและรสชาติของนมเปลี่ยนไปจากเดิม  ลูกไม่ชอบเนื้อสัมผัสของจุกนม สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการ ดูดนมจากขวด หากลูกแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการกินนมจากขวด  ปิดปากแน่นสนิท ไม่ยอมเปิดปากกินขวดนม มีอาการไอ หรือนมกระเซ็นออกขณะกินนม กินนมน้อยกว่าปกติ  น้ำนมไหลออกมาจากปาก แหวะนมบ่อย ร้องไห้ทุกครั้งที่กำลังให้นม หรือมองเห็นขวดนม อมหัวนมไว้ในปาก แต่ไม่ยอมดูดนมต่อ  หันหลังให้ขวดนม  เคล็ด (ไม่) ลับ ฝึกให้ลูกน้อยกินนมจากขวด การให้ลูกดูดนมจากขวด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณแม่สะดวกและประหยัดเวลามากขึ้น ซึ่งการปรับพฤติกรรมจากกินนมจากเต้ามาดูดนมจากขวด อาจทำได้ด้วยการฝึกฝน โดยวิธีที่จะช่วยฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดอาจทำได้ ดังนี้ ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมจากการให้นมลูกจากเต้าเปลี่ยนมาให้ดูดนมจากขวดแทน รอจนกว่าลูกจะรู้สึกหิวจึงให้ดูดนมจากขวด และให้ลูกกินนมในช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ  ลองปรับเปลี่ยนขนาดและรูปของขวดนม […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เป็นเรื่องน่ากังวลหรือไม่

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว และถี่กว่าผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบางครั้งทารกต้องการเพิ่มออกซิเจนเข้าปอด เนื่องจากร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้น จึงมักหายใจเร็ว สลับกับการหายใจในจังหวะที่ปกติ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะการหายใจของทารก และศึกษาข้อมูลว่าการหายใจของทารกในลักษณะใดที่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจที่เป็นอันตราย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เกิดจากอะไรได้บ้าง ทารกแรกเกิดหายใจเร็วถือเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อออกแรงมากกว่าปกติ เช่น คลาน ร้องไห้  โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดหายใจเร็วไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เช่น ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient tachypnea of the newborn หรือ TTNB) ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด มักเกิดในทารกที่มีอายุไม่เกิน 9-10 เดือน โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะขับของเสียออกจากปอดหลังคลอด แต่สำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบากชั่วขณะจะขับของเสียของจากปอดได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หายใจเร็ว เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น อารมณ์เสีย ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เมื่อรู้สึกอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าจะเกิดจากโมโห โกรธ หรือฉุนเฉียว โดยทารกแรกเกิดที่หายใจเร็วเนื่องจากอารมณ์เสียจะหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่มีอันตราย ตราบใดที่การหายใจนั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติตามสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้น อุณหภูมิร้อนเกินไป เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็วขึ้นได้ ทั้งนี้ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไปถือเป็นเรื่องอันตรายและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรตรวจสภาพอุณหภูมิของห้องหรือสภาพที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารกเป็นประจำ ไม่ควรให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไป ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หากทารกแรกเกิดหายใจเร็วอย่างต่อเนื่อง […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไห้ กลางดึก พ่อแม่ควรจัดการปัญหานี้อย่างไรดี

ลูกร้องไห้ กลางดึก อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเจอ ซึ่งช่วงเวลากลางคืนควรเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนจากกิจกรรมที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือว่าการเลี้ยงลูก แต่หากเจอปัญหาลูกร้องไห้กลางดึกอาจจะยิ่งทำให้เหนื่อยกว่าเดิมจากการอดหลับอดนอน ไม่เพียงเท่านั้น การที่ ลูกร้องกลางดึก บ่อย ๆ ยังอาจทำให้ลูกอดนอน จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไห้ กลางดึก เกิดจากสาเหตุอะไร การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า นอกจากนี้ การนอนหลับยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สำหรับทารกการนอนหลับถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ และการเรียนรู้ หากลูกนอนหลับไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาได้ โดยลูกร้องกลางดึกอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาการป่วย เด็กทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เมื่อลูกเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือหูเกิดการอักเสบ ก็จะร้องไห้ออกมา จึงอาจส่งผลให้ ลูกร้องกลางดึก ได้ ฟันกำลังจะขึ้น ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น ทารกอาจรู้สึกคันเหงือก บางครั้งอาจมีอาการเหงือกบวมแดง จนทำให้ลูกร้องกลางดึก และไม่ยอมนอนในตอนกลางคืนได้ รู้สึกไม่สบายตัว เมื่อทารกรู้สึกไม่สบายตัว เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป รู้สึกคัน ก็อาจทำให้ ลูกร้องไห้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนให้มีความเหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะกับอากาศ เพื่อช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และนอนหลับได้สนิท ไม่ร้องไห้กลางดึก วิตกกังวล เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มแยกห้องนอนกับลูก ลูกอาจเกิดความกังวลที่จะต้องแยกห้องนอน ส่งผลให้ลูกร้องไห้กลางดึกเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกกังวลได้ กลัวความมืด เด็กหลายคนอาจถูกปลูกฝังมาอย่างผิด ๆ จนทำให้กลัวความมืดและไม่สามารถนอนในห้องที่มืดได้ในตอนกลางคืน เมื่อเกิดความกลัว […]


การดูแลทารก

เด็กเอาของเข้าปาก ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และวิธีรับมือที่ควรรู้

เด็กเอาของเข้าปาก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยเจอ เนื่องจากกังวลใจว่าลูกอาจหยิบสิ่งของที่มีเชื้อโรคหรือของที่เป็นพิษเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุที่เเด็กเอาของเข้าปาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ เด็กเอาของเข้าปาก เมื่อเด็กอายุได้ 3-5 เดือน ก็จะเริ่มหยิบจับของได้ เมื่อคว้าอะไรได้ก็มักจะเอาเข้าปากเสมอ ซึ่ง เด็กหยิบของเข้าปากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว เด็กในวัย 3-5 เดือน เป็นช่วงที่เริ่มหยิบจับสิ่งของรอบ ๆ ตัวขึ้นมาสำรวจ แต่ว่าในช่วงวัยนี้มือของเด็กยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ และยังไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตนเองได้ แต่ใขณะเดียวกันบริเวณปากเป็นบริเวณที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่และยังเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยเส้นประสาทมากมาย ที่พร้อมจะสัมพันธ์และรับรู้กับสิ่งของรอบ ๆ ตัว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เด็กเอาของเข้าปากเพื่อเรียนรู้สิ่งรอบตัว มองหาของกิน เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มรับรู้รสชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับ และยังชอบของที่มีรสชาติหวาน ทำให้เมื่อเห็นอะไรรอบตัว เป็นต้องหยิบขึ้นมาชิมว่าของนั้นมีรสชาติหวานหรือเปล่า การหยิบของเข้าปากก็เพื่อสำรวจว่ามันมีรสชาติหวานไหม เมื่อรู้ว่าไม่ใช่หรือไม่อร่อยเด็กก็จะปาทิ้งไปอย่างรวดเร็ว เพราะวัยนี้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว คันเหงือก เมื่อฟันเริ่มขึ้น เด็ก ๆ จะมีอาการคันเหงือก ต้องการหาอะไรมากัด มาแทะเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เด็ก ๆ มักหยิบของเข้าปาก มาเพื่อกัด แทะ บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเหล่านั้น สร้างความสบายใจ เมื่อเด็กได้ดูดหรือได้กัดสิ่งของต่าง ๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น ทำให้เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกง่วง หิว […]


โภชนาการสำหรับทารก

ทารกกินน้ำผึ้ง เป็นอันตรายอย่างไร

น้ำผึ้ง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาอาการไอ แก้เจ็บคอ บำรุงร่างกาย หรือเพิ่มพลังงาน อีกทั้งยังมีรสหวาน ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจไม่รู้ว่า ทารกกินน้ำผึ้ง อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากในน้ำผึ้งจะมีสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายของเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการป้อนน้ำผึ้งให้ทารก เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของทารก [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกกินน้ำผึ้ง อันตรายอย่างไร สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics ; AAP) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ อาหารต้องห้าม ที่ไม่ควรให้ทารกรับประทาน และหนึ่งในนั้นก็ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยได้กล่าวเตือนว่า “ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 12 เดือน ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม” เนื่องจากการที่ให้ทารก รับประทานน้ำผึ้ง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่อันตราย ที่เรียกว่า โรคโบทูลิซึม (Botulism) โรคโบทูลิซึมนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการเป็นพิษของสปอร์เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่สามารถพบได้ในน้ำผึ้ง เมื่อสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะปล่อยสารที่เป็นพิษต่อร่างกายออกมา แม้ว่าตามปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะสามารถรับมือกับสปอร์นี้ได้ แต่สำหรับทารกที่มาอายุน้อยกว่า 1 ปี […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากสาเหตุใด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด (Retinopathy of Prematurity : ROP)  เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตาในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจทำให้มีปัญหาทางสายตา หรือตาบอดได้ [embed-health-tool-due-date] คำจำกัดความ จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด คืออะไร จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตา ในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหลอดเลือดจอประสาทตาที่ผิดปกติจะขยายเข้าไปในสารคล้ายวุ้น (น้ำวุ้นตา) ส่งผลให้จอประสาทตาเป็นแผล ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ พบได้บ่อยเพียงใด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดพบได้ในทารกก่อนคลอด อาการ อาการของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด สัญญาณหลายอย่างของโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดขึ้นภายในดวงตา จักษุแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลดวงตาจะตรวจดวงตาอย่างละเอียดในทารกที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายโรคดังกล่าว ซึ่งสัญญาณอาการที่บ่งบอกว่าทารกเข้าข่ายจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การเคลื่อนไหวความผิดปกติของดวงตา รูม่านตาสีขาว ควรไปพบหมอเมื่อใด หากทารกในครรภ์มีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ สาเหตุ สาเหตุของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดจอประสาทตาในดวงตาของทารกที่คลอดกำหนด จากการศึกษาที่นำโดยจักษุแพทย์โรงพยาบาลเด็กบอสตัน Lois Smith, MD, PhD  พบว่า จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดอาจเกิดจากการได้รับสารเคมีจากแม่ในครรภ์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ รวมถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของอินซูลินและหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด มารดาที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ตามครบกำหนด 38-42 สัปดาห์ เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 1,500 กรัม โดยตามปกติทารกต้องมีน้ำตามเกณฑ์ 2,000 กรัม โรคโลหิตจาง การติดเชื้อ โรคหัวใจ เชื้อชาติ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การตรวจคัดกรองทารกที่เป็นโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จะไม่เริ่มขึ้นจนกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีอายุ 4-9 […]


เด็กทารก

ป้อนกล้วยทารก เสี่ยงตายได้ หากไม่ถึงวัยอันควร

ป้อนกล้วยทารก เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดขาดสารอาหาร และช่วยให้ทารกอิ่มได้นานขึ้น อาจเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินมานาน อย่างไรก็ตาม การป้อนกล้วยให้ทารกก่อน 6 เดือน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจาก ระบบย่อยอาหารอาจยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์และยังพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้อนกับให้กับทารก เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก ป้อนกล้วยทารก ก่อน 6 เดือน อันตรายอย่างไร การที่ร่างกายจะสามารถย่อยอาหารและดูดซึมเอาสารอาหารจากสิ่งที่รับประทานเอาไปใช้ได้นั้น จำเป็นต้องมีระบบย่อยอาหารที่สมบูรณ์ และมีการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ในทารกแรกเกิดระบบย่อยอาหารจะยังไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทั้งยังไม่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ จึงทำให้ยังไม่สามารถย่อยอาหารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำนมได้ ดังนั้น หากป้อนอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนมให้ทารกรับประทาน แม้ว่าอาหารนั้นจะบดมาอย่างละเอียดแล้วก็ตาม กระเพาะอาหารของทารกก็ยังไม่สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกได้ โดยปัญหาที่อาจพบได้บ่อยจากการป้อนกล้วยให้ทารกก่อนวัยอันควร อาจมีดังนี้ ลำไส้อุดตัน กล้วยที่รับประทานเข้าไป เมื่อไม่ได้รับการย่อยและดูดซึมอย่างเต็มที่ ก็อาจจะไปขัดขวางการทำงานของลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดการอุดตัน และไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกไปได้ ซึ่งอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้ลำไส้แตก และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลำสัก ทารกนั้นยังเล็กมาก การเคี้ยวอาหาร และการกลืนอาหารอาจจะยังทำได้ไม่ดี จึงทำให้มีโอกาสในการสำลักอาหารได้ หากเศษอาหารไปอุดกั้นหลอดลมจะทำให้หายใจไม่ออก ขาดอากาศหายใจ และอาจเสียชีวิตได้ เมื่อไหร่ถึงควรเริ่มเสริมอาหารให้ทารก นักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่า นมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กทารกแรกเกิดแล้ว เมื่อทารกมีอายุ 4 เดือน ระบบทางเดินอาหารของทารกจะพัฒนามามากเพียงพอที่จะรับอาหารอื่น ๆ ได้ แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องรับเสริมอาหาร […]


เด็กทารก

ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่ ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่ คือการนำน้ำนมแม่เติมลงไปในอ่างอาบน้ำแล้วให้ลูกน้อยลงไปแช่ตัว เนื่องจากน้ำนมของแม่นั้นนอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารและแอนติบอดีที่ช่วยบำรุงร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารกแล้วนั้น แต่น้ำนมแม่ยังเหมาะที่จะนำมาอาบให้ลูกน้อยด้วยเพื่อความชุ่มชื้นและบรรเทาผดผื่น ทั้งนี้ คุณแม่ควรมีน้ำนมเหลือมากพอที่จะนำมาอาบให้ลูกน้อย การอาบน้ำนมแม่ คืออะไร การอาบน้ำนมแม่ คือการ เติมน้ำนมแม่ลงไปในอ่างอาบน้ำของลูกน้อย ซึ่งการให้ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่นั้น จะช่วยรักษาปัญหาผิวของทารกได้ เนื่องจากน้ำนมแม่เต็มไปด้วยคุณสมบัติที่ช่วยบำรุง ปกป้อง และรักษาผิวของทารกได้นั่นเอง ประโยชน์ของการให้ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่ ประโยชน์ของการให้ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่มีหลายประการ ดังนี้ ทำให้ผิวชุ่มชื้น ในน้ำนมแม่นั้นมีกรดไขมัน เช่น กรดโอเลอิก (Oleic acid) กรดปาลมิติก (Palmitic acid) และ กรดลิโนเลนิก (Linolenic acid) ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิว และกักเก็บความชุ่มชื้น เพื่อป้องกันความแห้งกร้านได้ ทารกที่มีผิวแห้งกร้านและคัน สามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยการอาบน้ำนมแม่ ปกป้องผิวหนังและร่างกายจากเชื้อโรค น้ำนมแม่มีแอนติบอดี้หลายชนิด และมีคุณสมบัติในการต่อต้านการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี แอนติบอดี้เหล่านี้ยังช่วยป้องกันการรุกรานของเชื้อโรคจากบาดแผลและรอบฟกช้ำเล็ก ๆ บนร่างกายของทารกได้ กรดไขมันที่อยู่ในน้ำนมแม่ อย่าง กรดโอเลอิก ยังมีส่วนช่วยในการกำจัดแบคทีเรียบนผิวหนังได้ด้วย ลดและซ่อมแซมความเสียหายของผิวหนัง กรดลิโนเลนิก (Linolenic acid) ที่มีอยู่ในน้ำนมแม่นั้นมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีประโยชน์ต่อลูกน้อยและคุณแม่อย่างไร

การ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ถือเป็นเรื่องที่เหล่าคุณแม่ควรจะทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก ทั้งยังเป็นอาหารที่เหมาะสมกับการย่อยของเด็กอีกด้วย นอกจากสารอาหารแล้ว ในน้ำนมแม่ยังมีประโยชน์อะไรต่อทารกอีกบ้าง ต้องติดตามกันใน Hello คุณหมอ ประโยชน์ของการ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งของทารกและคุณแม่ด้วย ซึ่งเราจะมาดูประโยชน์ที่มีต่อทารกกันก่อน สำหรับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีดังนี้ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารก หน่วยงานด้านสุขภาพส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ในน้ำนมของแม่นั้นมีทุกสิ่งที่ทารกต้องการในข่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทั้งยังมีสัดส่วนที่เหมาะสม องค์ประกอบในน้ำนมแม่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของทารกได้ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของชีวิต ในช่วงวันแรกหลังคลอด หน้าอกจะผลิตของเหลวสีเหลืองข้นออกมา ซึ่งเรียกว่า “น้ำนมเหลือง” ซึ่งมีโปรตีนที่สูง น้ำตาลต่ำ และเต็มไปด้วยสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อทารก โคลอสตรัม (Colostrum) เป็นนมชนิดแรกที่เหมาะกับทารกแรกเกิด เพราะมันสามารถช่วยพัฒนาระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิด หลังจากนั้น 2-3 วันแรก หน้าอกจะเริ่มผลิตน้ำนมในปริมาณที่มากขึ้น สิ่งเดียวที่อาจขาดในน้ำนมแม่ก็คือ วิตามินดี นั่นเอง เพื่อชดเชยการขาดวิตามินดี ได้มีการแนะนำให้หยดวิตามินดีตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ มีแอนติบอดีที่สำคัญ น้ำนมแม่เต็มไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยให้ลูกน้อยต่อสู้กับไวรัสและแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นนมแรก โคลอสตรัมให้อิมมูโนโกลบูลินเอ (Immunoglobulin A หรือ IgA) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน