เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

วิธีอาบน้ำทารก เป็นขั้นตอนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความใส่ใจและให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกเหนือจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่ควรอาบน้ำให้ถูกต้องแล้ว ควรคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับเด็กทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีอาบน้ำทารก โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์สายสะดือจึงจะหลุดออก ซึ่งในระหว่างนั้นไม่ควรอาบน้ำให้ทารก แต่ควรใช้ฟองน้ำนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดแทน ส่วนเด็กผู้ชายที่ทำการขลิบไม่ควรอาบน้ำจนกว่าแผลที่บริเวณอวัยวะเพศจะหายดีแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจอาบน้ำทารกได้ ดังนี้ ถอดเสื้อผ้าและผ้าอ้อมออกจากตัวทารก แล้ววางทารกไว้บนผ้าเช็ดตัวแห้งสะอาด หากอากาศหนาว ให้ถอดเสื้อผ้าออกทีละชิ้น เพื่อป้องกันทารกหนาวเกินไปจนอาจทำให้เป็นไข้ได้ ใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น บิดให้หมาด แล้วเช็ดหน้าให้ทารกโดยไม่ต้องใช้สบู่ ผสมน้ำอุ่นกับสบู่ นำผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดหน้าเมื่อสักครู่ชุบน้ำสบู่ที่ผสมไว้ บิดให้หมาด แล้วเช็ดตัวให้ทารก โดยเช็ดทำความสะอาดส่วนที่อยู่ใต้ผ้าอ้อมเป็นที่สุดท้าย ล้างตัวด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าขนหนูแห้งสนิทซับตัวให้แห้ง ควักน้ำอุ่นใส่ศีรษะทารกช้า ๆ ให้น้ำเปียกทั่วศีรษะ บีบยาสระผมปริมาณเล็กน้อยลงบนศีรษะ จากนั้นถูวนเป็นวงกลมให้ทั่ว เสร็จแล้วค่อย ๆ ล้างยาสระผมออกให้เกลี้ยง โดยต้องระวังอย่าให้ยาสระผมเข้าตา สำหรับวิธีอาบน้ำทารก นอกจากต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนและควรทำด้วยความระมัดระวังแล้ว ยังควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวและเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทารกโดยเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง การดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ ของทารก นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องเรียนรู้วิธีอาบน้ำทารกที่ถูกต้องแล้ว ก็ควรดูแลร่างกายส่วนอื่น […]


เด็กทารก

เลิกจุกนมหลอก ให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

เด็กส่วนใหญ่ชอบดูดจุกนมหลอก เพราะดูดแล้วรู้สึกสบายใจ แต่หากเด็กกำลังอยู่ในวัยหัดพูดจุกนมหลอกอาจรบกวนพัฒนาการของเด็กได้ แต่เมื่อพยายามดึงจุกนมหลอกออกก็อาจทำให้ลูกร้อไห้ งอแง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจและเกิดความเครียด อย่างไรก็ตาม เลิกจุกนมหลอก อาจต้องทำตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการค่อย ๆ ลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลง หรืออาจต้องหาวิธีอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา วิธี เลิกจุกนมหลอก สำหรับวิธีการเลิกจุกนมหลอกที่คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ด้วยตัวเองมีดังนี้ อาจให้เลิกจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย หากอยากให้ลูกเลิกดูดจุกหลอกได้อย่างถาวร อย่าปล่อยเอาไว้นานจนลูกติดจุกนมหลอก การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย มักจะทำได้ง่ายกว่าตอนลูกโตแล้ว ยิ่งลูกโตเท่าไหร่ก็ยิ่งเลิกจุกนมหลอกได้ยากเท่านั้น อาจใช้วิธีหักดิบ เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอก ก็ควรนำจุกนมหลอกออกไปให้พ้นจากสายตาเขาทันที แต่วิธีหักดิบแบบนี้อาจจะไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากลูกอาจมีอาการงอแง ร้องไห้ที่จะดูดจุกนมหลอกตลอดเวลา ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน จนคุณพ่อคุณแม่อาจใจอ่อนยอมให้ลูกดูดจุกนมหลอกเหมือนเดิม หากตัดสินใจแล้วก็ควรทำให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ครั้งต่อไปยากขึ้นกว่าเดิม อาจค่อย ๆ ลดจำนวน การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจเป็นวิธีที่นุ่มนวลกว่าการหักดิบ แต่อาจต้องใช้เวลากว่าลูกจะเลิกดูดจุกนมได้ การลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลงเรื่อย ๆ อาจทำให้ลูกน้อยไม่สามารถใช้จุกนมหลอกได้ตลอดเวลา และในที่สุดก็จะเลิกสนใจไปเอง โดยวิธีการก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องจำกัดการใช้จุกนมหลอกให้เหลือแค่ชิ้นเดียว ทุกครั้งที่ลูกร้องหาจุกนมหลอก ก็ค่อย ๆ ตัดปลายจุกนมหลอกออกทีละนิด หลังจากทำแบบนี้ไปสัก 2-3 วัน ลูกอาจจะเริ่มรู้สึกว่าดูดจุกนมหลอกแล้วไม่รู้สึกดีเหมือนเดิม แล้วในที่สุดก็จะตัดขาดจากจุกนมหลอกได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อาจโน้มน้าวด้วยของเล่น หากคุณพ่อคุณแม่มีความสามารถในการแต่งนิทานหรือเล่าเรื่อง อาจจะแต่งนิทานเกี่ยวกับจุกนมหลอกมาเล่าให้ลูกฟัง เพื่อช่วยโน้มน้าวให้เขาเลิกดูดจุกนมหลอกได้ นอกจากนั้นอาจหาของขวัญที่มีประโยชน์ เช่น ของเล่นเสริมทักษะ มาให้ลูกแทน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ฝึกลูก หย่านมแม่ อย่างไรให้ถูกวิธีและได้ผล

หย่านมแม่ หมายถึง การที่เด็กเปลี่ยนจากดูดนมแม่จากเต้าไปดูดนมขวดหรือรับประทานอาหารอย่างอื่นทดแทน คุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ลูกหย่านมหลังจากลูกอายุครบ 1 ขวบ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารหยาบได้มากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่ไปให้นานที่สุด ตราบเท่าที่คุณแม่และลูกน้อยสบายใจ เมื่อลูกน้อยพร้อมและจะช่วยให้การหย่านมแม่เป็นเรื่องง่ายขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกพร้อมหย่านมแม่แล้ว เด็กบางคนอาจไม่ยอมเลิกดูดนมแม่ง่าย ๆ ในขณะที่เด็กบางคนอาจส่งสัญญาณบอกคุณแม่ว่าพร้อมจะหย่านมแล้ว ซึ่งสัญญาณเหล่านั้นได้แก่ ทำท่าทางเหมือนไม่สนใจ หรือไม่อยากดูดนมแม่ ใช้เวลาในการดูดนมแม่น้อยลง ในช่วงที่กำลังดูดนมแม่ ลูกมักมีอาการวอกแวกง่ายขึ้น ไม่จดจ่อกับการดูดนมแม่ ไม่ได้ดูดนมจริงจัง แต่แสดงท่าทางเหมือนกำลังเล่นอยู่มากกว่า เช่น ดึงหรือกัดหัวนมแม่ ซึ่งควรให้ลูกเลิกดูดนมแม่ อมหัวนมไม่ได้ตั้งใจดูดนมให้มีน้ำนมไหลออกมา วิธีฝึกลูก หย่านมแม่ แบบปลอดภัยและเหมาะสม การหย่านมแม่นั้นมีอยู่หลายวิธี ควรเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้ เปลี่ยนให้สมาชิกคนอื่นป้อนนม คุณแม่ควรปล่อยให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัว เช่น คุณพ่อ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็กป้อนนมจากขวดเมื่อลูกน้อยหิว โดยคุณแม่อาจต้องหลบไปอยู่อีกห้องหนึ่งเพื่อไม่ให้ลูกเห็น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นเวลาที่ไม่เห็นคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ หรือถ้าคุณแม่ป้อนนมขวดเอง ควรเปลี่ยนบรรยากาศจากเคยป้อนนมในห้องนอน อาจเปลี่ยนไปป้อนนมในห้องนั่งเล่นแทน หรือลองเปลี่ยนท่าป้อนนมใหม่ ถ้าใช้วิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล อาจให้ลูกดูดนมแม่เหมือนเดิม ไว้รอหลังจากนั้นสองสามสัปดาห์แล้วค่อยทดลองอีกครั้ง สลับมื้อระหว่างป้อนนมขวดกับดูดนมแม่ วิธีการหย่านมแบบนี้จะค่อยเป็นค่อยไป โดยเปลี่ยนจากให้ลูกดูดนมแม่มาเป็นให้นมขวดในบางมื้อ ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวดเอาไว้ นมผงชงใส่ขวด หรือจะเป็นอาหารหยาบก็ได้ ทั้งนี้ […]


เด็กทารก

การนวดทารก กับประโยชน์ต่อสุขภาพทารกที่ควรรู้

การนวดทารก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี การนวดทารกนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ ช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย และหลับได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรศึกษาวิธีนวดทารกที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ การนวดทารก เพิ่มความสัมพันธ์ การนวดเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยทำให้คุณและลูกรักใกล้ชิดกันมากขึ้น การนวดทารก เป็นการสื่อสารผ่านการสัมผัส ที่ช่วยให้ลูกไว้ใจเรามากขึ้น ทั้งยังทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกได้ว่ามีคนดูแลเขาอยู่ เขาจึงรู้สึกดีและปลอดภัย นอกจากเรื่องความสัมพันธ์แล้ว การนวดทารกยังช่วยให้ทารกนอนหลับง่ายขึ้นอีกด้วย ประโยชน์ของ การนวดทารก ที่มีต่อลูกน้อย ช่วยให้นอนหลับสนิท การนวดจะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเขาได้รับการนวด ก็จะรู้สึกผ่อนคลาย และสามารถหลับได้ลึกและหลับได้สนิทมากยิ่งขึ้น แก้อาการท้องอืด การนวดไม่เพียงแต่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังช่วยในการระบายลมหรือแก๊สที่อัดแน่นอยู่ในท้องของลูกน้อยได้อีกด้วย ลูกน้อยจึงรู้สึกสบายท้องขึ้น ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยอาจเกิดความเครียด จนในบางครั้งก็แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมาได้ วิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ดีวิธีหนึ่งก็คือการนวด ฉะนั้นถ้าลูกน้อยมีอาการงอแง ก็หาเวลานวดให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น อารมณ์ของเขาก็จะดีตามไปด้วย กระตุ้นระบบประสาท การนวดช่วยกระตุ้นระบบประสาทได้ แถมยังทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความสมดุล และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ควรนวดให้ลูกน้อยบริเวณใดดี นวดขา การนวดบริเวณขาเริ่มจากการ ค่อย ๆ ใช้มือนวดรอบต้นขาของลูกน้อยอย่างนุ่มนวลและเบามือ หลังจากนั้นค่อย ๆ ไล่ลงมาจนถึงข้อเท้า ทำแบบเดิม 2-3 ครั้ง จากนั้นทำซ้ำที่ขาอีกข้าง นวดพุง วางมือหัวแม่มือทั้งสองของคุณแม่ไว้ระดับสะดือ ค่อย ๆ วนนิ้วหัวแม่มือตามเข็มนาฬากาเป็นวงกลม ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ นวดแขน ประกอบมือทั้งสองของคุณแม่ที่ต้นแขนของลูกน้อย […]


โภชนาการสำหรับทารก

ประโยชน์ขององุ่น แหล่งสารอาหารที่ดีสำหรับลูกน้อย

องุ่น เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่นิยมของคนทุกเพศทุกวัย ประโยชน์ขององุ่นมีมากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด ย่อยง่าย เป็นยาระบายอ่อน ๆ และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทและความจำ นอกจากนี้ เด็กยังสามารถรับประทานได้ง่าย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สามารถหยิบกินได้ทันที ช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกการเคลื่อนไหวและฝึกกล้ามเนื้อมืออีกด้วย คุณค่าทางโภชนาการขององุ่น องุ่น 100 กรัม มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 81.3 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี่ และมีวิตามินและแร่ธาตุ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 17.15 กรัม น้ำตาล 16.25 กรัม แคลเซียม 14 กรัม โปรตีน 0.63 กรัมไขมัน 0.35 กรัม ไฟเบอร์ 0.9 กรัม โพแทสเซียม 191 มิลลิกรัม วิตามินบี 60 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.29 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ เกิดจากสาเหตุใด แก้ไขยังไงได้บ้าง

ลูกกัดหัวนมแม่ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งให้ลูกกินนมแม่ครั้งแรก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ให้นมในท่าที่ไม่ถูกต้อง ลูกห่วงเล่น น้ำนมไหลน้อย ฟันลูกเพิ่งงอก หากลูกกัดหัวนมคุณแม่ไม่ควรร้องเสียงดังหรือมีปฏิกิริยาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้ลูกตกใจและไม่ยอมกินนมได้ แต่ควรรับมืออย่างเหมาะสม เช่น ฝึกอุ้มให้นมลูกอย่างถูกต้อง เบี่ยงเบนความสนใจลูก ให้ลูกกัดตุ๊กตายาง เพื่อฝึกให้ลูกเกิดกัดหัวนมของคุณแม่ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ ปัญหาลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ การให้ลูกกินนมด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งนี่ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กวัยแบเบาะ หรือเด็กอ่อน เด็กทารกที่เริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยเตาะแตะ มักถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย แค่ได้ยินเสียงอะไรแว่ว ๆ หรือเห็นอะไรแว็บ ๆ  พวกเขาก็พร้อมจะหุบขากรรไกรและหันไปมองทันที โดยลืมไปเลยว่าตัวเองกำลังดูดนมแม่อยู่ เลยเผลองับหัวนมของคุณแม่เข้า เด็กทารกบางคนชอบ กัดหัวนมแม่ ตอนกินนมเสร็จแล้ว ลูกอาจหลับผล็อยไปขณะกำลังกินนมแม่ ทำให้เขากัดหัวนมของคุณแม่โดยไม่ตั้งใจ ฉะนั้น หากสังเกตได้ว่าขากรรไกรของลูกเริ่มเคลื่อนไหวช้า หรือลูกดูดนมเบาลง ควรเอาลูกออกจากเต้า ก่อนที่ลูกจะหลับแล้วเผลอกัดหัวนม ลูกอาจมีอาการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด หูติดเชื้อ ทำให้กลืนลำบาก และดูดนมแม่ไม่สะดวก เลยอาจกัดหัวนมได้โดยไม่ตั้งใจ ฟันน้ำนมของลูกอาจจะเพิ่งขึ้น […]


เด็กทารก

จุกนมปลอม กับข้อดีข้อเสียที่ควรรู้เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย

จุกนมปลอม นับเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ช่วยหลอกล่อให้เด็กหายงอแง หรือนอนหลับง่ายขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วนำมาเริ่มต้นใช้สำหรับทารกหลังคลอดแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับสร้างความผ่อนคลาย เหมาะสำหรับทารกที่นอนหลับยากหรือร้องไห้อยากดูดนมแต่เพิ่งรับประทานนมไป จุกนมปลอมเหมาะสำหรับลูกรักหรือไม่ มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาถึงผลดีและผลเสียของการใช้จุกนมปลอม เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดูดจุกนมปลอมหรือเปล่า หากลูกหงุดหงิดงอแง จะกอดจะปลอบอย่างไรก็ยังไม่หยุดร้อง หรือลูกมีปัญหาหลับยาก เปิดเพลงกล่อมแล้วก็ยังไม่ยอมหลับ จุกนมปลอมนับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้เด็กผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น หรือหากลูกรักกินนมจนอิ่มแล้ว แต่ยังรู้สึกอยากดูดนมอยู่ ก็สามารถให้ลูกดูดจุกนมหลอกแทนได้ ทั้งยังใช้เป็นเครื่องเบี่ยงเบนความสนใจ เวลาลูกต้องไปพบคุณหมอ หรือช่วยบรรเทาอาการหูอื้อ หากต้องโดยสารเครื่องบินได้ด้วย ควรให้ลูกเริ่มดูดจุกนมปลอมตอนไหน ช่วงเวลาในการเริ่มให้ลูกเริ่มดูดจุกนมปลอมนั้นแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรรอให้ตัวเองและลูกน้อยเคยชินกับการดูดนมจากเต้าแม่เสียก่อน นั่นคืออย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกสับสน หรือปฏิเสธการดูดนมจากเต้า แล้วหันไปดูดแต่จุกนมปลอม ยิ่งหากคลอดก่อนกำหนด อาจต้องรอนานกว่า 4 สัปดาห์จึงค่อยเริ่มให้ลูกดูดจุกนมปลอม เพราะกล้ามเนื้อของเด็กคลอดก่อนกำหนดจะไม่แข็งแรงเท่าเด็กที่คลอดตามกำหนด จึงทำให้เขาดูดอะไรได้ลำบาก จึงอาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะคุ้นกับการดูดนมแม่ หรือดูดจุกนมปลอม จุกนมปลอมไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน หากลูกมีปัญหาน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะหากเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด ไม่ควรให้ลูกดูดจุกนมปลอม ยิ่งถ้าคุณแม่มีปัญหาไม่สามารถปั๊มนมมาเก็บไว้ใส่ขวดนมให้ลูกกินได้ ต้องให้ลูกดูดนมจากเต้าเท่านั้น เพราะอาจทำให้ลูกกินจากเต้าได้ยากขึ้น จนลูกขาดสารอาหาร และมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ นอกจากนี้ ถ้าลูกมีปัญหาหูอักเสบบ่อยควรหลีกเลี่ยงการดูดจุกนมปลอม ปล่อยลูกหลับคาจุกนมปลอมเลยได้ไหม แม้ลูกจะหลับไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อาจให้ลูกดูดจุกนมหลอกต่อไปได้ เพราะนอกจากจุกนมหลอกจะช่วยให้ลูกหลับได้ง่ายและหลับได้นานขึ้นแล้ว จุกนมปลอมอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการนอน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ และข้อเท็จจริงที่ควรรู้

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ มีหลายเรื่องที่ยังเกิดความเข้าใจผิด เช่น ขนาดหน้าอกส่งผลต่อปริมาณน้ำนม แม่เป็นซึมเศร้าและรับประทานยาต้านเศร้าจะส่งผลต่อทารก น้ำนมแม่นั้นมีประโยชน์ต่อทารกอย่างมหาศาล คุณแม่ไม่ควรเก็บความเชื่อที่ผิด ๆ มาทำให้เกิดความกังวล ในขณะเดียวกันผู้ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ก็อาจรู้สึกผิดจนรู้สึกไม่มีความสุขในการเลี้ยงลูก ทั้งนี้ เงื่อนไขของแต่ละคนในการเลี้ยงดูลูกนั้นแตกต่างกันไป ควรทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการให้นมแม่ ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ ที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง ความเชื่อที่ 1 : เด็กควรหย่านมแม่ก่อนอายุครบ 1 ขวบ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการหย่านมของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) แนะนำว่าควรให้ทารกแรกเกิดกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และเมื่อเริ่มให้ลูกกินอาหารหยาบแล้ว ก็ควรให้เด็กกินนมต่ออีกอย่างน้อย 12 เดือน และหากลูกยังอยากกินนมแม่อยู่ ก็สามารถให้กินได้ ความเชื่อที่ 2 : ให้ลูกดูดนมแล้วหน้าอกจะหย่อนยาน การตั้งครรภ์สามารถทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เส้นเอ็นบริเวณหน้าอกหย่อนและยืดตัว ยิ่งบวกกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ก็ยิ่งทำให้หน้าอกใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าเดิม หน้าอกเลยอาจดูหย่อนยานไปบ้าง และในช่วงหลังคลอดระยะแรก เต้านมก็อาจบวม หรือที่เรียกว่าอาการเต้านมคัด ซึ่งเป็นผลจากร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงช่วงให้นมนี้ ก็ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป เพราะเมื่อลูกหย่านมแม่ หน้าอกจะนิ่มขึ้นและกลับสู่ขนาดปกติก่อนตั้งครรภ์ แต่หากหน้าอกจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง นั่นก็อาจเป็นผลจากน้ำหนักตัว อายุ แรงโน้มถ่วง ความเชื่อที่ […]


เด็กทารก

น้ำมันมัสตาร์ด อีกหนึ่งตัวช่วยลับดูแลผิวและสุขภาพลูกน้อย

น้ำมันมัสตาร์ด เป็นหนึ่งในน้ำมันที่ใช้สำหรับการดูแลผิว แต่อาจเป็นน้ำมันที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นชินนัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงมีความเชื่อว่า หากดูแลผิวด้วยน้ำมัน ก็จะยิ่งทำให้ผิวมันเหนอะหนะ ไม่สบายเนื้อตัว แต่ความจริงแล้ว สำหรับผิวเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก การดูแลผิวด้วยน้ำมันถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาผิวทารก เช่น ผิวแห้งแตก ได้แล้ว ยังมีประโยชน์สุขภาพอื่นๆ อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความรู้จักกับน้ำมันมัสตาร์ด เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการดูแลผิวและสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำมันมัสตาร์ด คืออะไร น้ำมันมัสตาร์ดได้จากการนำเมล็ดมัสตาร์ด หรือที่เรียกว่าเมล็ดผักกาดไปสกัด เพื่อแยกส่วนน้ำมันออกมา เมล็ดมัสตาร์ดมีทั้งสีดำ สีขาว และสีเทา เมื่อสกัดแล้วจะได้เป็นน้ำมันที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว รสชาติเผ็ดร้อน กลิ่นค่อนข้างฉุน เมล็ดมัสตาร์ดนอกจากจะนำมาสกัดเป็นน้ำมันมัสตาร์ดได้แล้ว ยังนิยมนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จนได้เป็นน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดอีกด้วย ซึ่งทั้งน้ำมันมัสตาร์ดและน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดสามารถนำมาใช้ดูแลผิวได้ น้ำมันมัสตาร์ด ดูแลผิวและสุขภาพเด็กได้ยังไงบ้าง คุณพ่อคุณแม่ในหลายประเทศนิยมนำน้ำมันมัสตาร์ด และน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดมาใช้เป็นน้ำมันนวดและดูแลผิวให้กับทารกน้อย เนื่องจากมีประโยชน์สุขภาพ ดังนี้ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น การทาผิวเด็กด้วยน้ำมันมัสตาร์ด จะช่วยรักษาความร้อนและอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น จึงเหมาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศหนาว ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อคุณพ่อคุณแม่นวดตัวทารกด้วยน้ำมันมัสตาร์ด รูขุมขนของทารกจะเปิดและมีเหงื่อออก ถือเป็นการขับสารพิษออกจากร่างกายทางหนึ่ง เหมาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศร้อน ๆ มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น การนวดตัวทารกน้อยด้วยน้ำมันมัสตาร์ดอุ่นเป็นประจำทุกวัน วันละสองครั้ง จะช่วยให้กระดูกที่ยังนิ่มและบอบบางของทารกแข็งแรงขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นด้วย เมื่อกระดูกและข้อต่อได้ขยับเขยื้อน ทารกน้อยก็จะแข็งแรงและเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกขึ้น ช่วยต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันมัสตาร์ดและน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยอาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อย เช่น อีโคไล ซาลโมเนลลา สแตฟฟิลโลคอคคัส […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สารพิษในนมแม่ มาจากไหน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพลูกน้อย

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด มีคุณค่าสารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง  และการให้ลูกน้อยได้ดูดนมแม่จากเต้ายังเป็นการสร้างสายใยรักและสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก แต่รู้หรือไม่ว่า อาจมีการปนเปื้อนของสารพิษในนมแม่ได้ สารพิษในนมแม่ มาจากไหน สารเคมีที่เป็นพิษนั้นปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในอาหาร ในเครื่องดื่ม ในเครื่องสำอาง ในพลาสติกบางประเภท ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน ยาฆ่าแมลง หรือแม้กระทั่งในอากาศ ในร่างกายของคนเรานั้นน่าจะมีสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นในปริมาณน้อยตกค้างอยู่มากถึง 200 ชนิด แต่โดยปกติ สารพิษเหล่านั้นจะอยู่ในระดับต่ำมาก จึงมักไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว สารพิษที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายมากที่สุดก็คือ ไดออกซิน (dioxin) และโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (Polychlorinated biphenyls) หรือพีซีบี (PCBs) ซึ่งเป็นสารพิษที่ไม่ย่อยสลาย และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายปี ทุกคนมีโอกาสดูดซึมสารพิษเหล่านี้เข้าไปได้ทีละน้อย ๆ จนก่อตัวสะสมอยู่ในร่างกาย ส่วนสารพิษในนมแม่นั้น เกิดขึ้นได้จากการที่สารพิษส่วนใหญ่มีคุณสมบัติละลายได้ในไขมัน (fat soluble) และละลายจนสะสมอยู่ในไขมันร่างกายเป็นเวลาหลายปี เมื่อเกิดการตั้งครรภ์และคลอดลูก ร่างกายจะผลิตน้ำนมโดยอาศัยไขมันที่สะสมเอาไว้ จึงทำให้สารพิษที่สะสมอยู่ในไขมัน สามารถส่งต่อไปสู่ไขมันในน้ำนมแม่ได้ และไม่ใช่แค่น้ำนม เพราะสารพิษยังสามารถสะสมอยู่ในเนื่อเยื่อ หรือของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำอสุจิ เลือด สายสะดือของทารกหลังคลอด สารพิษในนมแม่ เป็นอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ โดยปกติแล้ว สารพิษในนมแม่มักมีปริมาณต่ำมาก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน