เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

เด็กทารก

ประโยชน์และข้อควรรู้ของการดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว

การดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว อาจช่วยให้ผิวของเด็กชุ่มชื้นอย่างยาวนาน ช่วยป้องกันปัญหาผิวแห้ง ผดผื่น  อาการคัน ลดสิว และอาจช่วยบรรเทาอาการของผิวหนังอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวที่ปราศจากน้ำหอมและสารปรุงแต่งอื่น ๆ อีกทั้งยังควรใช้ในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันไม่เกิดอาการระคายเคืองของผิวของเด็ก ชนิดของน้ำมันมะพร้าวที่นิยมใช้ดูแลผิวเด็ก ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อน้ำมันมะพร้าวมาใช้สอยได้ง่ายขึ้นมาก น้ำมันมะพร้าวที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) ได้จากการนำเนื้อมะพร้าวสดที่แก่จัดมาคั้นให้ได้น้ำกะทิ จากนั้นนำไปสกัดเย็น คือ รอให้แยกชั้น แล้วกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมัน เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หรือนำไปสกัดร้อน คือ นำกะทิไปเคี่ยวต่อจนได้น้ำมันมะพร้าว ที่เรียกว่า น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน น้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี (Refined Coconut Oil) ได้จากการนำเนื้อมะพร้าวไปอบหรือตากแห้ง แล้วนำไปบีบอัด หรือใช้สารเคมีเป็นตัวทำละลายให้ได้น้ำมันมะพร้าวออกมา จากนั้นจึงนำน้ำมะพร้าวที่ได้ไปผ่านกรรมวิธีกำจัดกลิ่น สี และสิ่งเจือปน จนได้เป็นน้ำมันมะพร้าวใสๆ ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้รสชาติ ข้อควรรู้ก่อนดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว อย่างแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงก่อนที่จะเริ่มดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว ก็คือ ภาวะภูมิแพ้มะพร้าว หรือแพ้น้ำมันมะพร้าว หากลูกแพ้ ก็ไม่ควรให้ใช้น้ำมันมะพร้าว แต่หากไม่รู้ว่าลูกแพ้หรือไม่ ควรเริ่มจากทาน้ำมันมะพร้าวปริมาณเล็กน้อยลงบนผิวลูกจุดเล็กๆ แล้วรอดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น หากลูกมีอาการของภูมิแพ้น้ำมันมะพร้าว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน […]


เด็กทารก

กินนมขวด เทคนิคสำคัญสำหรับการฝึกให้ลูกกินนมขวด

กินนมขวด อาจเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยฝึกและเตรียมความพร้อมให้กับลูก เพื่อให้ลูกสามารถดื่มนมจากขวดได้ในช่วงขวบปีแรก โดยอาจให้ลูกได้ลองใช้มือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคบกับขวดนมด้วยตัวเองเสียก่อน นอกจากนี้ การช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม จัดท่าให้ถูกต้อง เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม ก็อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินนมจากขวดได้อีกด้วย [embed-health-tool-baby-poop-tool] วิธีฝึกให้ลูก กินนมขวด สำหรับวิธีการฝึกให้ลูกกินนมนวดนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้ความพยายามและใจเย็นในการฝึกฝนให้กับลูก โดยวิธีการฝึกให้ลูกกินนมขวด อาจทำได้ดังนี้ ทำความคุ้นเคยกับขวดนมก่อนกินนมขวด หากว่าคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกอาจไม่ยอมกินนมขวด อาจลองให้ลูกสำรวจขวดนม โดยใช้ทั้งมือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับขวดนมด้วยตัวเอง การทำแบบนี้อาจทำให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยและจะไม่มีอาการปฏิเสธ เมื่อต้องถือขวดนม ช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม เนื่องจากลูกอาจจะยังไม่รู้จักทิศทาง หรือวิธีการดูดนมในช่วงระยะแรก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยกระตุ้นเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะกินนมขวด โดยเริ่มจากการนำจุกขวดนมไปแตะที่ริมฝีปากของลูก ค่อย ๆ ใส่จุกขวดนมเข้าไปในปาก แล้ววางจุกขวดนมไว้ที่กลางลิ้น ลูกอาจมีปฏิกิริยาห่อลิ่นโดยสัญชาตญาณ ทำให้สามารถดูดนมได้เอง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกดูดนมได้ โดยการเอาปลายนิ้วไปแตะบริเวณแก้ม หรือหยดน้ำนมบริเวณริมฝีปาก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกกินนมขวด จัดท่าให้ถูกต้อง ท่าทางในการกินนมขวดที่ถูกต้อง คือ ควรจะเอียงขวดนมเล็กน้อย ให้ลูกกอดขวดนมไว้ที่ท้อง ส่วนหัว คอ และลำตัวควรจะอยู่ในแนวตรง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจหาหมอนหรือผ้าห่มมารองที่เท้า เพื่อทำให้ลูกอยู่นิ่งมากขึ้น การเอียงขวดอาจทำให้ลูกดูดน้ำนมออกจากขวดได้เลย โดยไม่ต้องดูดอากาศเข้าไป ซึ่งอาจทำให้ไม่มีอาการท้องอืด เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรจะเลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม โดยจุกขวดนมส่วนใหญ่อาจทำจากซิลิโคนหรือยาง และมีรูปแบบแตกต่างกันไป ดังนั้น อัตราการไหลผ่านของน้ำนมก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรูในจุกขวดนม คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้จุกขวดนมต่าง ๆ เพื่อหาจุกที่ลูกสามารถดูดนมได้ง่ายที่สุด นอกจากนี้ ยังควรตรวจดูว่าจุกนมแตกหรือไม่ […]


เด็กทารก

จุดอันตราย ภายในบ้าน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

จุดอันตราย ภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เตียงนอน ตู้ยา ปลั๊กไฟ บันได ประตู เป็นบริเวณที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เนื่องจาก เด็กส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงยังไม่มีความระมัดระวัง จึงอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีการป้องกันบริเวณเหล่านี้ให้เป็นอย่างดี รวมถึงควรให้เด็กอยู่ห่างจากจุดอันตรายเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัย จุดอันตราย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง มีอะไรบ้าง สำหรับจุดอันตรายภายในบ้านที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง อาจมีดังนี้ เฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณมุมหรือขอบโต๊ะและตู้ เป็นจุดอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวัง เนื่องจาก เด็กอาจจะเดินไปชนหรือหกล้มไปฟาดจนทำให้เกิดแผลที่อันตราย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจหาที่กันกระแทก เช่น โฟมยางกันกระแทก มาติดที่มุมและขอบของเฟอร์นิเจอร์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรยึดพวกเฟอร์นิเจอร์ให้ติดแน่นกับพื้นหรือผนัง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กปีนป่ายแล้วทำให้เฟอร์นิเจอร์ล้มทับเด็ก เตียงนอนและโซฟา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่บนเตียงหรือโซฟาเพียงลำพังโดยที่ไม่มีคนคอยดูแล เพราะเด็กอาจจะหล่นหรือตกออกจากเตียงนอนและโซฟา นอกจากนี้ เด็กที่ยังไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเองอาจเสียชีวิตจากการนอนคว่ำหน้าบนเตียง เพราะขาดอากาศหายใจ นอกจากนี้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรนอนเตียงร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น คุณพ่อคุณแม่นอนทับ ติดอยู่ระหว่างกลางระหว่างคุณพ่อคุณแม่ หัวติดอยู่ในราวกั้นเตียง ซึ่งกรณีเหล่านี้อาจทำให้เด็กเสียชีวิต บันไดและประตู คุณพ่อคุณแม่ควรติดที่กั้นในบริเวณบันไดและประตูห้องต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กตกบันไดหรือเข้าไปยังจุดที่ไม่ควรจะอยู่ เช่น ห้องครัว […]


เด็กทารก

นมขวด ทางเลือกในการให้นม กับวิธีให้เด็กกินนมขวดที่ถูกต้อง

นมขวด เป็นทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่อาจจะไม่สามารถมีเวลาดูแล้วเจ้าตัวเล็กได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาการให้นม เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยเจ้าตัวเล็กได้นั่นก็คือการให้เจ้าตัวเล็กได้รับนมแม่จากขวด แต่ทั้งนี้การที่จะให้เจ้าตัวเล็กได้กินนมขวดนั้นก็ยังมีเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เองก็ต้องรู้ และอาจจะต้องมีการเตรียมตัว การเตรียมตัวให้เด็กกิน นมขวด ความยุ่งยาก ในช่วงแรกถือว่าเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่นั้นจำเป็นจะต้องเจอ เพราะเนื่องจากว่าเจ้าตัวเล็กเองก็สามารถที่จะจับสังเกตหรือจับอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ได้ในขณะที่จะเปลี่ยนจากการให้นมจากเต้าเป็นให้นมจากขวดแทนเพราะฉะนั้นในส่วนนี้แนะนำว่าควรที่จะลดความเครียดเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมให้เจ้าตัวเล็กนั้นสามารถดื่มนมขวดได้ ระยะเวลา แนะนำเลยว่าการที่จะเริ่มฝึกให้เจ้าตัวเล็กนั้นดื่มนมจากขวดควรที่จะเริ่มจากการให้ในช่วงระยะเวลาที่เจ้าตัวเล็กหิวจัดก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่เจ้าตัวเล็กไม่ได้สนใจในส่วนของเต้าหรือขวดที่จะนำมาให้ อุ่นจุกนม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีความกังวลว่าเจ้าตัวเล็กนั้นจะไม่เลือกกินนมจากขวดเป็นเพราะว่าจะได้รับความอบอุ่นไม่เหมือนกับการกินนมจากเต้า ในความเป็นจริงสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จากการที่เอาจุกนมขวดไปแช่ไว้ในน้ำอุ่นแต่ไม่ต้องนานมากเพื่อเป็นการทำให้จุกนมขวดนั้นดูอุ่นเหมือนเป็นธรรมชาติ


เด็กทารก

คุณพ่อคุณแม่รู้ไว้ ลูกเริ่มคลาน ต้องระวังอะไรกันบ้าง

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกตื่นเต้นและลุ้นกันตัวโก่งเมื่อ ลูกเริ่มคลาน การคลานนั้นเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อย เมื่อลูกของคุณสามารถคลานได้ พวกเขาก็จะมีโอกาสได้ตอบสนองต่อความอยากรู้อยากเห็นของตัวเอง สำรวจพื้นที่ใหม่ๆ นอกเหนือจากเตียงนอน และได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในขณะเดียวกันลูกของคุณก็อาจจะเข้าถึงสิ่งที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ลูกเริ่มคลาน ควรเตรียมความพร้อมเมื่อไหร่ คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะรอจนกว่าลูกจะสามารถเริ่มคลานได้แล้ว ก่อนที่จะเริ่มเตรียมป้องกันอันตรายภายในตัวบ้าน การทำแบบนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นการช้าเกินไป และอาจทำให้คุณตื่นตระหนกมากขึ้นเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเด็กแนะนำให้เริ่มการเตรียมการป้องกันบ้านตั้งแต่ก่อนที่เด็กจะเกิด เพราะเมื่อลูกของคุณเกิดมาแล้ว คุณอาจจะต้องวุ่นวายอยู่กับการดูแลเด็กจนไม่มีเวลามาตระเตรียมบ้านให้เรียบร้อย และทำให้อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าควรจะเริ่มเตรียมความพร้อมเมื่อไหร่ ก็มาดูเช็คลิสต์สิ่งที่ต้องระวังกันเลย ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดที่ลูกน้อยวัยเริ่มคลานอาจจะต้องพบเจอ เนื่องจากส่วนใหญ่ลูกของคุณจะอยู่ติดพื้น ทำให้เข้าถึงปลั๊กไฟและสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทางที่ดีแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่พยายามย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถย้ายออกไปให้ได้มากที่สุด ควรจะครอบปิดปลั๊กไฟทั้งหมด โดยใช้ที่ครอบที่ยากต่อการดึงออก เพื่อไม่ให้ลูกของคุณแกะเอาที่ครอบออกไปได้ ส่วนสายไฟก็ควรจะพันไว้ด้วยเทปพันสายไฟ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะตรวจความเรียบร้อยของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเป็นอันตรายต่อลูกของคุณได้ แบ่งโซน คุณผู้ปกครองควรจะจัดสรรแบ่งพื้นที่ภายในบ้าน โดยแบ่งแยกพื้นที่ที่ปลอดภัย ออกจากพื้นที่ที่อันตราย เช่น เขตห้องน้ำหรือห้องครัว ที่ควรจะมีการปิดกั้นแบ่งแยกอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเผลอคลานเข้าไปและอาจจะเป็นอันตรายได้ ของมีคมและของที่เป็นพิษ ควรเก็บของมีคมต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ใบมีดโกน และของที่อาจจะเป็นอันตรายต่างๆ ทั้งเหรียญ แก้ว ลูกปัด เข็มหมุด และยาต่างๆ ให้อยู่ห่างไกลจากจุดที่เด็กจะเอื้อมถึง ส่วนของที่อาจจะเป็นพิษ ทั้งยาฆ่าแมลง ยา และน้ำยาทำความสะอาด ควรเก็บไว้ในตู้ที่ล็อกอย่างแน่นหนา ทำที่กั้น สำหรับบ้านที่มีต่างระดับ บันได และโซนห้องต่างๆ […]


การดูแลทารก

ขวดนม กับข้อมูลสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้

ขวดนม นับเป็นตัวช่วยสำหรับคุณแม่ในการให้นมทารก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดื่ม โดยสามารถนำน้ำนมที่แช่เก็บไว้ใส่ขวดแล้วให้คุณพ่อหรือคนในบ้านช่วยป้อนนมให้ลูกน้อยได้แทนการดูดจากเต้า เป็นการประหยัดเวลาให้คุณแม่ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่และทุกคนในครอบครัวควรตระหนักถึงข้อมูลสำคัญและข้อควรระวังเกี่ยวกับขวดนมเพื่อที่จะได้มีขวดนมที่ปลอดภัยไว้ใช้กับลูกน้อยนั่นเอง [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของการใช้ขวดนม แม้การดื่มนมแม่จากเต้าโดยตรงเป็นเรื่องที่ดี แต่การใช้ขวดนมมาเป็นตัวช่วยในการให้นมลูก็มีข้อดีเช่นกัน สามารถรับรู้ปริมาณอาหารที่ลูกได้รับอย่างแน่นอนในแต่ละครั้งหรือแต่ละวัน โดยกำหนดให้แน่ชัดได้ว่าต้องการให้นมในปริมาณเท่าไหร่ หรือให้นมกี่ขวดจึงจะเพียงพอให้ลูกอิ่ม หากลูกต้องดื่มแต่นมแม่จากเต้าอย่างเดียว ในแต่ละครั้งที่เด็กหิว ผู้เป็นแม่จะต้องสละเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อมาให้นมลูก แต่การสลับมาให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (โดยภายในอาจเป็นนมผงสำหรับเด็ก หรืออาจเป็นนมแม่ที่มีการปั๊มนมเก็บไว้สำหรับใส่ขวดนม) ก็จะเป็นการประหยัดเวลาให้ผู้เป็นแม่ได้มีเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ โดยให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ คอยดูแลเรื่องการให้นมจากขวดนมแทนได้ เด็กที่ดื่มนมจากขวดนมจะหิวน้อยกว่าเด็กที่ดื่มนมจากเต้านมแม่ เพราะการดื่มนมจากขวดนมจะใช้เวลาในการย่อยนานกว่าดื่มนมจากเต้านมแม่ ข้อเสียของการใช้ขวดนม การให้ลูกดื่มนมจากขวดมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อเสียที่คุณไม่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน คุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของตนเอง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุน น้อยกว่าคุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมจากขวดนม การให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (และในขวดนมเป็นนมผงสำหรับเด็ก) จะมีการย่อยที่ช้ากว่าการดื่มนมจากเต้านมของแม่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อขวดนมและนมผงนั้นแพงกว่าการให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของแม่ วิธีทำความสะอาดขวดนม สิ่งสำคัญที่สุดในการให้ลูกดื่มนมจากขวดนมนั่นคือการทำความสะอาดอย่างหมดจดเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของลูกน้อย หลังจากที่เด็กดื่มนมจากขวดนมเสร็จ ให้ล้างขวดนมและจุกนมทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับเด็ก แล้วล้างด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ใช้แปรงสำหรับทำความสะอาดขวดนม และควรแน่ใจว่าทำความสะอาดคราบนมที่ติดอยู่ในขวดนมออกจนหมด เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ล้างขวดนมอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากให้แห้ง ข้อห้ามสำหรับขวดนม หลายคนใช้ขวดนมโดยไม่ทันระวังเพราะคิดว่าการใช้ขวดนมนั้นสะดวกและประหยัดเวลา แต่รู้หรือไม่ว่ามีข้อห้ามอยู่หลายประการเกี่ยวกับการใช้ขวดนม ซึ่งต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องความสะอาด ไมโครเวฟของต้องห้าม คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะนำขวดนมไปอุ่นในไมโครเวฟ จริงๆ แล้วนับเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่สะดวกสบาย เพราะการนำขวดนมไปอุ่นในไมโครเวฟ จะทำให้ระดับความร้อนนั้นไม่พอดี ถ้าหากว่าเด็กได้รับนมที่ร้อนมากจนเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทางที่ดีลองเอานมขวดแช่ในน้ำอุ่นแล้วลองหยดน้ำลงบนมือเพื่อตรวจสอบในเบื้องต้นดูว่าอุณภูมิอยู่ในระดับที่พอดีหรือไม่ ไม่ควรให้ดื่มนมในขณะนอนหลับ ข้อควรระวังอีกข้อหนึ่งก็คือ ระวังไม่ให้เด็กดื่มนมจากขวดนมไปพร้อมๆ กับการนอนหลับ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ควรทำเพราะจะช่วยให้เด็กนั้นหลับสบายมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดการสำลักนมในขณะนอนหลับ และยังเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องของฟันผุอีกด้วย อย่าใส่ธัญพืชลงในน้ำนม คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่กลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารจากนมไม่เพียงพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เด็กจะได้รับใยอาหารจากนมอย่างเพียงพออยู่แล้ว […]


โภชนาการสำหรับทารก

สารอาหารกับเด็ก มีความสำคัญอย่างไร

สารอาหารกับเด็ก ถือเป็นเรื่องที่ต้องมาคู่กันเสมอ เนื่องจาก เด็กเป็นวัยที่ต้องการสารอาหาร เพื่อไปเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาการด้านสมอง โดยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กไม่ได้มีแค่วิตามินและแร่ธาตุเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่อาจช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมพัฒนาการใดด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นด้วย สารอาหาร คืออะไร สารอาหาร คือ อาหารที่ให้พลังงานและเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตของร่างกายและการสืบพันธุ์ โดยสารอาหารอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สารอาหารหลัก (Macronutrients) และสารอาหารรอง (Micronutrients) ที่ให้พลังงานช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย รวมถึงอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวของกับระบบการทำงานอื่น ๆ เช่น การสร้างพลังงาน การย่อยสารอาหาร หากขาดสารอาหารหรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็อาจส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกายโดยรวมได้ สารอาหารกับเด็ก มีอะไรบ้าง สารอาหารที่นอกเหนือกจากวิตามินและแร่ธาตุที่อาจมีความสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก อาจมีดังนี้ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือดีเอชเอ คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัว เป็นสารอาหารที่จำเป็สำหรับทารกไปจนถึงเด็กอายุ 2 ขวบ เนื่องจาก สารอาหารชนิดนี้อาจเข้าไปช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับร่างกาย รวมไปถึงช่วยในเรื่องของการพัฒนาสมอง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับปัญหาและวิธีรับมือที่ควรรู้

การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการให้อาหารลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งยังมีสารแอนติบอดีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนอาจพบปัญหาในการให้นมแม่ ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจและหาวิธีรับมืออย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจประสบปัญหาใดบ้าง การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การให้ทารกกินนมแม่แทนอาหารอื่น ๆ เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจพบปัญหาในการให้นมแม่ ดังนี้ น้ำนมรั่วไหล คุณแม่บางคนอาจมีปริมาณน้ำนมที่มากเกินความจำเป็นของเจ้าตัวเล็ก ทำให้บางครั้งน้ำนมไหลออกมาเปื้อนเลอะเสื้อที่สวมใส่ จริงๆ แล้วปัญหานี้ไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างไรแต่อาจจะทำให้แม่ๆ รู้สึกอายได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรแปะแผ่นดูดซับที่ยกทรง เพื่อดูดซับนมน้ำที่ไหลออกมาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เรอะที่เสื้อได้ ควรหลีกเลี่ยงแผ่นพลาสติกที่มีเส้นขอบพลาสติกซึ่งอาจทำให้หัวนมเจ็บ นมคัดตึง นมคัดตึงหรือนมคัดเต้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่คุณแม่บางคนอาจต้องเจอ เมื่อนมคัดตึงอาจมีความรู้สึกหนักในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการให้นม โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกที่อาจรู้สึกหนักและอึดอัดเป็นพิเศษ ซึ่งอาจเกิดจากการที่น้ำนมไม่ถูกนำออกจากเต้า เช่น ลูกกินนมน้อย ดังนั้น ควรให้นมลูกให้มากขึ้น หากลูกดูดนมน้อยก็ควรจะปั๊มนมเก็บไว้ หรือจะอาบน้ำอุ่น ประคบอุ่นบนหน้าอกเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมก็ช่วยลดอาการคัดตึงได้ หัวนมแตกและมีอาการเจ็บ การให้นมลูกที่ไม่ถูกวิธี การวางตำแหน่งของลูกที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ หัวนมแตก ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่บางคนต้องเจอเมื่อให้นมลูก ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการให้นม แต่หากรู้สึกเจ็บให้ค่อย ๆ ดึงลูกน้อยออกจากเต้านมแล้วปล่อยให้ลองดูดนมอีกครั้ง นอกจากนี้ ควรให้จัดวางตำแหน่งลูกน้อยขณะให้นมโดยให้ปากและจมูกหันหน้าเข้าหาหัวนมเพื่อให้เขาดูดนมได้ง่ายขึ้น คุณแม่มีน้ำนมน้อย เมื่อคุณแม่เริ่มให้นมลูกครั้งแรก อาจมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตออกมาจะเพียงพอต่อลูกน้อยหรือไม่ คุณแม่บางรายอาจมีน้ำนมน้อย คุณแม่บางคนอาจมีน้ำนมมาก คุณแม่บางรายอาจต้องใช้เวลาสักพักน้ำนมจึงออกมากขึ้น และที่สำคัญในแต่ละครั้งที่คุณแม่ให้ลูกน้อยดูดนมนั้น ควรให้นมลูกสลับกันแต่ละเต้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมได้ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรบ้าง

ดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก แม้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ปริมาณต่ำที่ส่งผ่านลูกน้อย แต่คุณแม่ควรต้องระมัดระวังหรือพยายามหลีกเลี่ยง เพราะการรับประทานอาหารมีมีประโยชน์ต่อร่างกายจะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน การดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของคุณแม่และหากเกิดอาการมึนเมาจนควบคุมสติไม่อยู่ย่อมส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยได้ อันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก โดยปกติแล้วระดับของแอลกอฮอล์จะอยู่ในร่างกายในปริมาณสูงสุดเพียง 30-60 นาทีหลังจากที่ ดื่มแอลกอฮอล์ เท่านั้น หากคุณแม่ต้องการดื่มและกังวลว่าปริมาณแอลกอฮอล์จะส่งไปยังลูกน้อยผ่านน้ำนม คุณแม่อาจรอ 2 ชั่วโมงหลังดื่มแอลกอฮอล์ก่อนที่จะให้นมลูก เพื่อให้ตับทำหน้าที่กรองแอลกอฮอล์ก่อน แต่หากดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก ปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 5-6 ในกระแสเลือดของแม่จะเข้าสู่กระแสเลือดของลูกผ่านทางน้ำนม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณค่อนข้างต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่โดยเฉพาะสุขภาพของตับ นอกจากนั้น การดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลทำให้ขาดสติ จนไม่สามารถดูแลลูกขณะให้นมได้ โดยเฉพาะหากคุณแม่นอนเตียงเดียวกับลูก อาจทำให้มึนเมาและนอนทับลูกจนเกิดอันตรายได้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณแม่ทีเพิ่งคลอดลูกควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จนกว่าลูกจะอายุครบ 3 เดือน การปั๊มนม ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ มีความเชื่อว่า การปั๊มนมออกหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่อยู่ในน้ำนมแม่ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความเชื่อที่ผิด การปั๊มนมไม่มีส่วนช่วยให้แอลกอฮอล์ในน้ำนมแม่ลดลงเร็วขึ้น การปั๊มนมช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมเท่านั้น หากคุณแม่ต้องการดื่ม หรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และจำเป็นต้องให้ลูกดื่มนม คุณแม่ควรปั๊มนมล่วงหน้าใส่ขวดไว้เสียก่อน หรือควรรอหลังดื่มแอลกอฮอล์ไปแล้ว 2 ชั่วโมงจึงให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ เพราะยังถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพราะปริมาณแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านทางน้ำนมค่อนข้างต่ำ ไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพทารก ต้องรอนานเท่าไรหลังจากดื่มแอลกอฮอล์จึงให้นมลูกได้ โดยปกติแล้ว หากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณต่ำหรือปานกลางอาจรอประมาณ 2 ชั่วโมง ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายจะลดลง และสามารถให้ลูกดื่มนมได้ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง มีอะไรบ้าง

คุณแม่หลังคลอดมีเรื่องมากมายที่ต้องกังวลเกี่ยวกับลูก โดยเฉพาะหากเป็นครั้งแรกที่มีลูก ก็อาจยิ่งเพิ่มความกังวลให้กับคุณแม่มือใหม่เข้าไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ การเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือการให้นมลูก โดยเฉพาะการให้นมลูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งคุณแม่อาจเจอปัญหาในการให้นมลูกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำนมน้อย ลูกไม่ยอมดูด หรือท่าทางในการให้นมไม่ถูกต้อง ดังนั้น วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง จึงอาจเป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องเรียนรู้ วิธีให้นมลูก ที่ถูกต้อง วิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง อาจมีดังนี้ การเตรียมนมแม่ก่อนคลอด หากคุณแม่เตรียมตัวให้ดี ก็จะช่วยให้คุณแม่มีความพร้อมมากขึ้นก่อนเจอลูก การเตรียมนมแม่ก่อนคลอดก็เป็นอีกเรื่องที่ช่วยเตรียมความพร้อมเพื่อเจอลูกน้อยได้ คุณแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถึงเทคนิคให้นมลูกต่าง ๆ เช่น ทำอย่างไรถึงจะมีน้ำนมในปริมาณที่มากพอสำหรับลูกน้อย ท่าให้นมที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ให้ความใกล้ชิดเขาหลังคลอด หลังจากที่คุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็กออกมาแล้ว ควรให้ความใกล้ชิดกับเขา ไม่ว่าจะเป็นการกอด อุ้ม ลูบผม หรือสัมผัสผิวหนังอย่างเบามือ และนุมนวล เพราะการสัมผัสเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยในการตอบสนองของฮอร์โมนอย่างมาก ซึ่งจะเชื่อมโยงกับความง่ายในการให้นมลูก และอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สำเร็จ อยู่ในท่าทางการให้นมที่ถูกต้อง เทคนิคให้นมลูก ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ ท่าให้นมที่ถูกต้อง หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้วที่ เต้านมอาจจะยังนุ่มอยู่ แต่เมื่อผ่านไป 2-3 วัน เต้านมก็จะคัดตึงขึ้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณว่าพร้อมที่จะให้นมลูกแล้ว ดังนั้น ลองหาโอกาสในการให้นมลูกโดยลองจัดท่าทางในการให้นมลูกอย่างถูกต้อง เพื่อที่ลูกจะได้อยู่ในท่าทางที่สบาย และจะช่วยให้ลูกดูดนมได้มากขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 วันแรก เป็นช่วงที่เหมาะแก่การให้นมลูก เพราะเป็นช่วงที่นมแม่จะมีสีเหลือง เรียกว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน