เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม หรืออาการที่ลูกมีนมไหลออกมาทางปากหลังกินนม เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักมีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดื่มนมอย่างระมัดระวัง เพราะนมอาจไหลย้อนออกทางจมูกจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักมีอาการแหวะนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารในเด็กทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้บ่อย ๆ นอกจากนี้ เด็กยังมีขนาดกระเพาะอาหารและท้องที่เล็กมาก การให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ลูกแหวะนมและลูกอาเจียน แตกต่างกันอย่างไร การแหวะนมเป็นการไหลย้อนกลับของนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยนมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปากอย่างช้า ๆ ซึ่งการแหวะนมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา แต่สำหรับการอาเจียนในเด็กทารกเป็นอาการที่รุนแรง โดยอาหารกับน้ำย่อยจะไหลย้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในบางรายอาจเกิดลักษณะอาเจียนพุ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องถูกกระตุ้นโดยศูนย์ควบคุมการอาเจียน (Vomiting Center) ที่รับสัญญาณมาจากระบบประสาท ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ มีไข้ ไม่สบายตัว ท้องเสีย ท้องบวม ท้องอืด ไม่กินอาหาร และเหนื่อยล้า อาการเมื่อลูกแหวะนม เมื่อลูกแหวะนมอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ ลูกอาจแหวะนมออกมาทางปากและทางจมูก ลักษณะของน้ำนมที่ลูกแหวะออกมา อาจเป็นก้อนลิ่มคล้ายเต้าหู้ ลูกร้องไห้และงอแงหลังกินนมเสร็จ ลูกนอนบิดตัวไปมา เพราะอาจมีอาการไม่สบายท้อง การดูแลและการป้องกันลูกแหวะนม หากลูกแหวะนมบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแหวะนมของลูก ควรให้นมลูกในท่ายกหัวสูง เช่น ใช้หมอนรองคอลูก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ฟันขึ้นตอนกี่เดือน และวิธีดูแลสุขภาพฟันของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าเด็ก ฟันขึ้นตอนกี่เดือน ปกติแล้วเด็กจะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน โดยส่วนใหญ่ฟันหน้าซี่ล่างอาจจะงอกขึ้นมาก่อน ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพฟันของเด็กตั้งแต่ซี่แรกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยป้องกันปัญหาฟันผุของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก ฟันขึ้นตอนกี่เดือน เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะเริ่มมีการพัฒนาของน้ำลายในช่องปากมากขึ้น และจะเริ่มเรียนรู้ทักษะการใช้ปาก เช่น การเอามือเข้าปาก หยิบสิ่งของเข้าปาก การกัด ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจแสดงถึงพัฒนาการในการเรียนรู้วิธีใช้ปากของเด็ก และส่วนใหญ่จะเริ่มมีฟันซี่แรกเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6-12 เดือน โดยฟันซี่แรกที่งอกขึ้นมาอาจเป็นฟันหน้าซี่ล่าง และฟันน้ำนมจะงอกขึ้นครบทุกซี่ในช่วงอายุประมาณ 3 ขวบ อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจมีการงอกของฟันที่ช้าจึงทำให้ไม่มีฟันเกิดขึ้นเลยในช่วงขวบปีแรก พัฒนาการของฟันน้ำนมเด็กที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ อาจมีดังนี้ ฟันล่าง ฟันตัดหน้าซี่กลาง (Central Incisor) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6-10 เดือน ฟันหน้าตัดหน้าซี่ข้าง (Lateral Incisor) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10-16 เดือน ฟันเขี้ยว (Canine) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 17-23 เดือน ฟันกรามซี่แรก (First Molar) งอกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 13-19 เดือน ฟันกรามซี่ที่สอง (Second Molar) […]


เด็กทารก

Gut Obstruction คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

Gut Obstruction คือ โรคลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิด เป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ลำไส้เกิดการอุดตันจนอาหารไม่สามารถไหลผ่านไปได้ อาจทำให้เด็กมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องผูก ท้องอืด ไปจนถึงไม่ขับถ่าย และหากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เนื้อเยื่อผนังลำไส้ตายและติดเชื้อ หรืออาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Gut Obstruction คือ อะไร Gut Obstruction คือ โรคลำไส้อุดตันซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยสาเหตุของลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิดอาจเกิดจากลำไส้ตีบตัน (Intestinal Atresia) การอุดตันของขี้เทา (Meconium Ileus) โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung's Disease) ความผิดปกติของการบิดตัวของลำไส้ (Malrotation) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการอุดตันของสำไส้หรือกระเพาะอาหาร ส่งผลให้อาหารและของเหลวต่าง ๆ ไม่สามารถไหลผ่านไปได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง เช่น เนื้อเยื่อในผนังลำไส้ตาย การติดเชื้อ หรืออาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ อาการของ Gut Obstruction อาการของโรคลำไส้อุดตันในเด็กแรกเกิดที่อาจพบบ่อย มีดังนี้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ท้องบวม ท้องแข็ง ท้องอืด ท้องผูก มีเสียงดังในท้อง รู้สึกมีแก๊สในท้อง ไม่ขับถ่าย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของเด็กอยู่เสมอ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน หรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น […]


เด็กทารก

จุกหลอก ข้อดีและข้อเสียในการใช้งานที่ควรรู้

เด็กทารกมักดูดหรืออมสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวและใกล้มือ เนื่องจากการดูด หรือปฏิกิริยาการดูด (Sucking Reflex) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของทารกที่เกิดจากสัญชาตญาณในการหาอาหารตามธรรมชาติ อีกทั้งยังถือเป็นพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วย พฤติกรรมนี้ทำให้บางครั้งเด็กทารกคว้าสิ่งของใกล้ตัวที่อาจเป็นอันตรายเข้าปากและส่งผลเสียต่อร่างกายได้ การใช้ จุกหลอก จึงอาจเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ทารกสงบและผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและนานขึ้น และป้องกันการดูดนิ้วมือหรือสิ่งของอื่น ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ไม่ควรให้เด็กทารกใช้จุกหลอกเกินอายุ 6 เดือน และไม่ควรให้เด็กอายุเกิน 4 ปีใช้จุกหลอก เพราะอาจทำให้ติดจุกหลอกและทำให้ฟันน้ำนมงอกผิดรูปได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] จุกหลอก คืออะไร จุกหลอก หรือจุกนมปลอม (Pacifier หรือ Dummy) คือ อุปกรณ์สำหรับให้ทารกอมหรือดูดแทนการดูดนมแม่หรือดูดนิ้วมือ จุกหลอกทำจากวัสดุหลากชนิด เช่น ซิลิโคน ยาง พลาสติก เป็นประโยชน์สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการสัมผัสและมีนิสัยชอบดูด อมนิ้วมือ และนำสิ่งของเข้าปาก จุกหลอกอาจช่วยให้ทารกผ่อนคลาย ไม่ร้องไห้งอแงในขณะที่ไม่ได้กินนม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เด็กใช้จุกหลอกในระยะยาว เด็กควรใช้จุกหลอกไม่เกินอายุ 6 เดือน หรือมากสุดไม่เกิน 1 ปี เพราะหากใช้นานกว่านั้นอาจเกิดปัญหาเด็กติดจุกหลอก และไม่ให้เด็กที่อายุมากกว่า 4 ปีใช้จุกหลอก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง และวิธีเก็บรักษานมแม่ที่ควรรู้

คุณแม่ที่ต้องการปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกกินในภายหลัง อาจสงสัยว่า นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง โดยทั่วไป ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่อาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสถานที่เก็บน้ำนม หากวางถุงเก็บน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิห้องจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง หากเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 8 วัน และหากเก็บไว้ในช่องฟรีซอาจเก็บไว้ได้นาน 6-12 เดือน คุณแม่ควรศึกษาวิธีเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี เพื่อรักษาคุณภาพของของน้ำนมไว้ให้ได้นานที่สุด เพราะยิ่งน้ำนมแม่มีคุณภาพดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกเท่านั้น ประโยชน์ของการให้นมแม่ น้ำนมแม่เป็นอาหารหลักของทารกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้สารอาหารที่จำเป็นแก่ทารกอย่างครบถ้วน สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีแอนตีบอดีและเอนไซม์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกับทารกแรกเกิด มีฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) และโปรแลคติน (Prolactin) ที่ช่วยลดความเครียดและปลอบประโลมทารก คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนก่อนเริ่มให้อาหารชนิดอื่น เช่น น้ำเปล่า นมผง อาหารเสริม อาหารตามวัยอื่น ๆ เนื่องจากการกินนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกในวัยนี้แล้ว ประโยชน์ของการให้ทารกกินนมแม่ อาจมีดังนี้ ช่วยให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ทารกที่กินนมแม่เสี่ยงเกิดโรคหรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) โรคกรดไหลย้อน โรคลำไส้เน่า อาการท้องเสีย อาการท้องผูก น้อยกว่าทารกที่ไม่กินนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคไอกรน […]


เด็กทารก

เด็กตัวเหลือง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เด็กตัวเหลือง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปริมาณบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณมากเกินไป มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด เนื่องจากตับของเด็กแรกเกิดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ขับสารชนิดนี้ออกไปได้ไม่เร็วพอ จนทำให้ตาขาวและผิวหนังของเด็กมีสีเหลือง อาการนี้มักไม่อันตราย และการให้เด็กดื่มนมแม่อย่างเพียงพออาจช่วยให้อาการหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ระดับสารบิลิรูบินสูง หรืออาการของโรคอยู่ในขั้นรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยวิธีที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด เช่น การฉายแสง การถ่ายเลือด เด็กตัวเหลือง เกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) มักพบในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วัน สาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเด็กเป็นสีเหลืองเกิดจากร่างกายมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงสลายตัว เมื่อมีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดจำนวนมาก จะทำให้ผิวหนังกลายเป็นสีเหลือง ในบางครั้งอาจมองเห็นเยื่อบุตามีสีเหลืองขึ้นได้ โดยปกติแล้ว ตับจะทำหน้าที่กรองบิลิรูบินออกไปทางลำไส้และขับออกจากร่างกายปนไปกับอุจจาระ แต่ร่างกายเด็กแรกเกิดจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งตับของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกไปได้เร็วเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้มีบิลิรูบินในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากไม่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย อาการตัวเหลืองอาจดีขึ้นและสีผิวจะกลับเป็นปกติภายในไม่กี่วันถึงเป็นสัปดาห์ อาการของ เด็กตัวเหลือง อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดมักปรากฏในวันที่ 2-3 หลังคลอด โดยอาการจะเริ่มจากผิวหน้าและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง ก่อนจะลามไปที่ท้องและที่ขาเมื่อระดับบิลิรูบินสูงขึ้น ร่วมกับมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา เซื่องซึม ไม่มีแรง ดูดนมได้น้อยกว่าที่ควร บางครั้ง หากปริมาณบิลิรูบินพุ่งสูงผิดปกติและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายดังต่อไปนี้ อาการทางสมองเฉียบพลัน (Acute bilirubin encephalopathy) เกิดขึ้นเมื่อมีบิลิรูบินปริมาณมากในกระแสเลือด เมื่อสารที่เป็นพิษต่อเซลล์สมองชนิดนี้ผ่านเข้าไปในเนื้อสมอง จะทำให้เด็กเซื่องซึม ไม่ดูดนม […]


เด็กทารก

เด็กคว่ำกี่เดือน และการฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธี

เด็กคว่ำกี่เดือน อาจเป็นหนึ่งในคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบคำตอบ เพื่อใช้ตรวจสอบว่าพัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างเหมาะสมตามวัยหรือไม่ ปกติแล้ว เด็กทารกจะเริ่มรู้จักพลิกตัวและคว่ำเองได้ตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์ การฝึกให้เด็กนอนคว่ำอย่างถูกวิธีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้กับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะพัฒนาการล่าช้า ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กคว่ำกี่เดือน โดยเด็กทารกส่วนใหญ่มักจะเริ่มคว่ำตัวเองได้ตอนอายุประมาณ 4 เดือน แล้วจากนั้นถึงจะเรียนรู้การพลิกตัวจากท่าคว่ำไปนอนหงาย ในขณะนอนคว่ำ เด็กจะเริ่มเอื้อมมือและขยับนิ้วมือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และชันคอขึ้นเพื่อมองสิ่งรอบตัว เป็นพัฒนาการก้าวเริ่มต้นไปสู่การนั่ง คลาน และเดินได้ด้วยตัวเองทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจพลิกคว่ำได้เร็วช้าแตกต่างกัน บางรายคว่ำได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน ในขณะที่บางรายคว่ำได้ตอนอายุประมาณ 6 เดือน แต่หากเด็กอายุ 6 เดือนแล้วยังไม่เริ่มพลิกคว่ำ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ประโยชน์ของการฝึกให้เด็กนอนคว่ำ คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เด็กนอนคว่ำได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยอาจเริ่มให้เด็กฝึกนอนคว่ำบนอกหรือลำตัวของคุณพ่อคุณแม่ 1-2 นาที หรือ 2-3 นาทีต่อวัน และอาจเพิ่มเวลาเป็น 10-15 นาทีต่อครั้ง วันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเด็กโตขึ้น การฝึกนอนคว่ำอาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณคอ แขน และไหล่ ทำให้เด็กหัดลุกขึ้นนั่ง พลิกตัว […]


การดูแลทารก

วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด และการป้องกันลูกเป็นไข้

ทารกเป็นไข้ อาจเป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่พบเจอ เนื่องจากทารกแรกเกิดยังมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ จึงอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคได้ง่าย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึง วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด รวมถึงคอยสังเกตอาการผิดปกติ เพราะหากทารกมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาขึ้นไป และไม่ลดลงภายใน 24 ชั่วโมง ควรพาพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันอาการชักจากไข้สูงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ สาเหตุที่อาจทำให้ทารกแรกเกิดเป็นไข้ มีดังนี้ การฉีดวัคซีน ไข้ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองต่อวัคซีน อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน 12 ชั่วโมง และอาจมีไข้นาน 2-3 วัน สภาพอากาศ สภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาจส่งผลให้ทารกเป็นไข้ได้ เนื่องจากร่างกายของทารกมีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดีพอ นอกจากนี้ การสวมเสื้อผ้าหลายชั้นให้ทารก การเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เย็นจัด หรือการให้ทารกโดนแสงแดดมากเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเป็นไข้ได้เช่นกัน การติดเชื้อ ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้มีโอกาสเป็นไข้ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดธรรมดา โรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะขาดน้ำ ทารกแรกเกิดที่ได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและมีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น จนทำให้มีไข้ ตัวร้อน อาการที่ควรสังเกต อาการเป็นไข้ที่ควรสังเกต มีดังนี้ ทารกไม่ยอมกินนม ง่วงนอนบ่อย หรืออาจตื่นยากผิดปกติ ตัวร้อน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

นิทานสําหรับทารก เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด

นิทานสําหรับทารก อาจช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา เช่น ภาษา ความคิด ความจำ การสื่อสาร รวมถึงช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัส การมองเห็นและการได้ยินอีกด้วย ทั้งนี้ นิทานสำหรับทารกควรเป็นนิทานที่มีรูปภาพขนาดใหญ่ สีสันสดใส มีคำศัพท์ง่าย ๆ รวมถึงอาจมีเสียงหรือของเล่นประกอบ เพื่อช่วยเพิ่มความสนุกและอาจช่วยดึงดูความสนใจของทารก นิทานสําหรับทารก ควรเป็นอย่างไร ทารกเป็นวัยที่สมองและสติปัญญากำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกนิทานสำหรับทารกที่ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา ความคิด การใช้เหตุผลและความจำ เพื่อให้ทารกได้เรียนรู้และฝึกจดจำคำศัพท์ในการช่วยพัฒนาการพูดและการสื่อสารมากขึ้น ดังนี้ เลือกหนังสือที่มีภาพประกอบขนาดใหญ่ สีสันสดใส รายละเอียดน้อย เรียบง่าย และอาจมีเนื้อเรื่องเป็นคำง่าย ๆ สั้นและกระชับ เพราะอาจช่วยให้ทารกจดจำคำศัพท์และช่วยส่งเสริมการมองเห็น เลือกหนังสือนิทานสำหรับทารกที่มีเสียงประกอบสั้น ๆ หรือมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกัน เช่น เรียบ ขรุขระ นุ่ม เพื่อช่วยส่งเสริมการได้ยินและฝึกประสาทสัมผัส เลือกหนังสือนิทานสำหรับทารกที่มีของเล่นหรือมีตัวการ์ตูนชิ้นใหญ่ซ่อนอยู่ เพื่อช่วยให้ทารกฝึกทักษะการสัมผัส ฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้วและแขนในการหยิบจับสิ่งของ แต่ควรเป็นวัสดุที่ปลอดภัย ทนทาน นุ่มนิ่ม มีขนาดใหญ่พอประมาณ เพื่อป้องกันทารกเอาเข้าปาก แตกหักหรืออาจสร้างความบาดเจ็บให้แก่ทารก เลือกหนังสือนิทานที่มีรูปหน้าคน ใบหน้าสัตว์ หรือลักษณะสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันและพบเห็นได้ง่าย เพื่อช่วยให้ทารกฝึกการแยกแยะบุคคล สัตว์หรือสิ่งของ นิทานสําหรับทารก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้เหมาะกับขนาดตัว เนื่องจาก เด็กแรกเกิดเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรเตรียมเสื้อผ้าให้เยอะจนเกินไป แค่เตรียมให้พอดีกับการใช้งานเท่านั้น ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป รวมทั้งควรเลือกเนื้อผ้าที่ทำจากผ้าป่านหรือผ้าฝ้าย เพราะระบายความร้อนได้ดี อ่อนนุ่ม ไม่ระคายเคืองต่อผิว รวมถึงสวมใส่สบายและเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเลือกเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด การเลือกเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ดังนี้ เด็กแรกเกิดอาจขับถ่ายหรือคายนมจนเปื้อนเสื้อผ้า จึงควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่และถอดได้ง่าย เช่น เสื้อผ้าที่มีกระดุมด้านหน้าหรือด้านข้าง เสื้อคอกว้าง มีซิป มีเชือกสำหรับผูก หรือกางเกงเอวยางยืดแบบยืดหยุ่นพอดีไม่รัดแน่นเกินไป ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีกระดุมที่เป้าเพื่อให้ง่ายต่อการเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าอ่อนนุ่มและอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของเด็กแรกเกิด เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ควรเลือกเนื้อผ้าให้เหมาะกับทุกสภาพอากาศและมีในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น ชุดจั๊มสูทผ้ายืดขาสั้น แขนสั้นสำหรับสภาพอากาศร้อน ชุดจั๊มสูทผ้ายืดขายาว แขนยาวสำหรับสภาพอากาศหนาว ถุงเท้า ถุงมือและหมวกผ้าฝ้าย สำหรับให้ความอบอุ่นและปกป้องผิวของเด็กแรกเกิด ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีป้ายกำกับว่า มีอันตรายจากไฟไหม้ต่ำ (Low Fire Hazard Label) เนื่องจาก เนื้อผ้าที่นำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าเด็กแรกเกิด อาจช่วยป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดไฟลดลง ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่มีป้ายกำกับอยู่ที่หลังคอเสื้อ หรือควรตัดออกก่อนใส่ให้เด็กแรกเกิด เพราะป้ายกำกับอาจบาดผิวหรือทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ปักลวดลาย มีลูกไม้ หรือมีของประดับตกแต่งต่าง ๆ เพราะอาจบาดผิวหรือระคายเคืองผิวของเด็กแรกเกิดได้ ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีการถักทอหรือการเย็บที่ไม่แข็งแรง เพราะอาจทำให้วัสดุบางอย่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน