เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก ที่คุณแม่ควรรู้

การวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการวัดไข้สำหรับทารกสามารถทำได้หลายแบบ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกวิธีตามความเหมาะสมของอายุเด็ก การวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักขยับร่างกายตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ  ให้ใช้การวัดไข้ทางรักแร้และทวารหนัก ทั้งนี้ ค่าอุณหภูมิร่างกายปกติของทารกอยู่ที่ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส หากวัดอุณหภูมิร่างกายทารกได้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียล แสดงว่าทารกมีไข้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การวัดอุณหภูมิร่างกายทารก ทำได้อย่างไรบ้าง การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก อาจทำได้ด้วยวิธีนี้ต่อไปนี้ การวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก ด้วยแถบเทอร์โมมิเตอร์ หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรด ใช้ได้กับเด็กทุกวัย วิธีนี้ให้ความแม่นยำน้อยกว่าวิธีอื่น เนื่องจากเป็นการวัดอุณหภูมิของผิวหนัง ไม่ใช่การวัดอุณหภูมิของร่างกาย การวัดอุณหภูมิทางหู ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เหมาะสำหรับทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่เนื่องจากทารกแรกเกิดมีช่องหูหรือรูหูแคบ จึงอาจทำให้ได้ผลการวัดอุณหภูมิที่ไม่แม่นยำนัก (ควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบกัน) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล เป็นวิธีการวัดไข้ที่สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจคลาดเคลื่อนได้หากสอดที่วัดไข้เข้าไปในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่แนบผิวหนังบริเวณใต้วงแขน ค้างไว้ 2-4 นาทีเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แม่นยำที่สุด การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล วิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน การวัดไข้ทางทวารหนักอาจได้ค่าอุณหภูมิสูงกว่าการวัดไข้ทางรักแร้เนื่องจากเป็นการวัดด้วยการสอดเข้าไปในผิวหนังที่ลึกกว่า หากวัดได้มากกว่า 38 องศาเซลเซียล […]


เด็กทารก

ทารกสะอึก สาเหตุและวิธีรับมือที่ควรรู้

ทารกสะอึก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทารก โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยทั่วไป ทารกสะอึกมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และการสะอึกของทารกไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะอันตรายแต่อย่างใด สาเหตุที่ทารกสะอึกอาจเกิดจากกะบังลมที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่กระตุกหรือหดเกร็ง ทารกสามารถสะอึกได้ทุกเวลา แต่มักเกิดขึ้นหลังให้นม ระหว่างนอนหลับ ตอนทารกตกใจ หรือรู้สึกเครียด ทารกอาจสะอึกน้อยลงเมื่อโตขึ้น อย่างไรก็ตาม หากทารกสะอึกนานผิดปกติ หรือนานกว่า 48 ชั่วโมง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยสาเหตุเพิ่มเติมและรักษาให้ตรงจุด ทารกสะอึก เกิดจากอะไร ทารกสะอึก เป็นอาการที่อาจเกิดจากกระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปดันกะบังลมให้หดตัว ส่งผลให้ทารกหายใจเข้าฉับพลัน อากาศพุ่งเข้าไปกระทบกล่องเสียง ทำให้เส้นเสียงปิดกะทันหัน จนเกิดเป็นเสียงสะอึก โดยทั่วไป อาการสะอึกของทารกไม่ได้เป็นสัญญาณของความผิดปกติทางพัฒนาการแต่อย่างใด และถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้สำหรับทารกที่อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญเติบโตและพัฒนาไม่เต็มที่ อาการสะอึกเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติจึงไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อาการสะอึกโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น หากทารกสะอึกติดต่อกันนานเกินไป หรือนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรพาไปพบคุณหมอ วิธีดูแลเมื่อ ทารกสะอึก วิธีที่ช่วยให้ทารกสะอึกน้อยลง มีดังนี้ หากทารกสะอึกหลังให้นม อาจลองป้อนนมให้ช้าลง เนื่องจากทารกอาจสะอึกเพราะดูดนมเร็วเกินไปแล้วหายใจไม่ทัน ให้นมในขณะที่ทารกกำลังสงบและรู้สึกสบายใจ เพราะหากทารกดื่มนมในขณะที่ขยับตัวบ่อยหรืออยู่ไม่นิ่งอาจทำให้ทารกสำลัก และนมอาจไประคายเคืองหลอดอาหารของทารก ทำให้กระตุ้นการสะอึกได้ เลือกขนาดจุกนมให้เหมาะสมกับขนาดปากของทารก เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลช้าหรือเร็วเกินไปจนอาจทำให้ทารกสะอึกได้ ปกติแล้ว อาจต้องเปลี่ยนขนาดของจุกนมทุก ๆ 2-3 […]


การดูแลทารก

เลือกของเล่นเด็กแรกเกิดอย่างไร ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย

ของเล่นเด็กแรกเกิดและทารกในวัยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกของเล่นที่เสริมสร้างประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นก็คือ การมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การใช้ปาก และการสูดดม เพราะประสาทสัมผัสเหล่านี้อาจช่วยส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ นอกจากนี้ ของเล่นยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้กับเด็ก ซึ่งถือเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกของเล่นเด็กแรกเกิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเล่นเสริมสร้างพัฒนาการอย่างไร การเล่นสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิดทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ อารมณ์และสังคม โดยเด็กแรกเกิดจะเริ่มเรียนรู้จากคนใกล้ตัวและสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้น การเล่นจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ รู้จักการสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการหรือความรู้สึก การแสดงออกทางอารมณ์ รู้จักการเข้าสังคมผ่านการเล่น เข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว และเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น ของเล่นเด็กแรกเกิด ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 12 เดือน อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ล้อไปกับพัฒนาการตามวัย เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ในช่วงวัยนี้เด็กอาจยังไม่สามารถขยับตัวหรือเคลื่อนที่ไปไหนได้ จึงควรเลือกของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านการมองเห็นและการได้ยิน เช่น ตุ๊กตาแขวนหลากสี โมไบล์ เตียงเด็กหรือรถเข็นสีสันสดใส ตุ๊กตาหรือของเล่นที่มีเสียงแสง […]


เด็กทารก

ของเล่นเด็กอ่อน เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะ

เด็กอ่อน หมายถึง เด็กที่อยู่ในวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิธีการหนึ่งที่อาจช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้ก็คือ การให้เด็กเล่นของเล่น อย่างไรก็ตาม ของเล่นเด็กอ่อน ควรเลือกให้เหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย โดยต้องให้ทั้งความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน และช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การเลือกซื้อของเล่นให้เด็กอ่อนควรคำนึงคุณภาพและมาตรฐานของของเล่นเป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งานของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็กอ่อนในแต่ละช่วงวัย พัฒนาการของเด็กอ่อนแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้ พัฒนาการเด็กอ่อนวัย 1-3 เดือน เด็กแรกเกิดในวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการทางร่างกายและสมอง พัฒนาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ กำและแบมือ ขยับมือเข้าหาปากของตัวเองได้ หยิบสิ่งของเข้าปากได้ ไขว่คว้าหรือเอื้อมมือหาวัตถุที่ห้อยให้เห็นได้ เช่น โมบายหนีบรถเข็นหรือหนีบเปล พัฒนาการเด็กอ่อนวัย 4-6 เดือน เด็กในวัยนี้เรียนรู้เรื่องรอบตัวมากขึ้น สามารถหยิบจับ รู้จักเรียนรู้ที่จะใช้งานสิ่งของรอบตัวได้คล่องแคล่วมากขึ้น และเริ่มส่งเสียงเพื่อสื่อสารในสิ่งที่ต้องการ พัฒนาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ เริ่มนอนคว่ำและนอนหงายได้เอง ส่งเสียงสูงต่ำด้วยภาษาของทารก เริ่มหัวเราะ หยอกล้อ และเล่นกับคนรอบข้าง สามารถเล่นของเล่นเองได้ และมักเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของใกล้มือ ซึ่งอาจต้องระวังเด็กเอื้อมมือคว้าหรือดึงสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดึงผมของคนอื่น ช่วยพยุงให้นั่งได้ และควบคุมศีรษะและคอได้ดีขึ้น พัฒนาการเด็กอ่อนวัย […]


เด็กทารก

ทารกมองเห็นตอนไหน และพัฒนาการด้านการมองเห็นที่พ่อแม่ควรรู้

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ทารกมองเห็นตอนไหน คำตอบคือ พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนพัฒนาเต็มที่ในวัย 2 ขวบ ทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิด เพียงแต่อาจมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ทักษะด้านการมองเห็นจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโตในแต่ละเดือน คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของทารก หากพบว่ามีความผิดปกติบางประการ เช่น ตาเหล่ ตากระตุก โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตาพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว อาจต้องพาทารกไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที ทารกมองเห็นตอนไหน ทารกสามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ตั้งแต่เกิด และทักษะด้านการมองเห็นจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ อายุ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ในช่วงแรกทารกจะมองเห็นเลือนราง สามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้เพียง 20-40 เซนติเมตร หรือระยะห่างจากหน้าแม่ในขณะกินนม และเห็นเพียงสีดำ ขาวและเทาเท่านั้น ทารกจะจดจำใบหน้าของคุณแม่ได้เมื่อให้นม เริ่มมีอาการตาเหล่ เนื่องจากดวงตาแต่ละข้างยังแยกกันทำงาน และประสานงานกันได้ยังไม่ดีนัก อายุ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน ทารกสามารถจำหน้าคนที่อยู่ด้วยบ่อย ๆ ได้ […]


เด็กทารก

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน ควรเลือกอย่างไร

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก เด็กวัยนี้กำลังเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหว การมองเห็น การสื่อสาร สามารถหยิบจับของเล่นได้ถนัดมือ และเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเดิมซ้ำเป็นประจำ การเลือกของเล่นให้เด็กในวัยนี้ควรคำนึงถึงเรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการ ส่งเสริมจินตนาการ เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา และเป็นของเล่นที่ปลอดภัยต่อการใช้งานของเด็กมากที่สุด พัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการของเด็กในวัย 6 เดือน อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว สามารถขยับแขนขาได้มากขึ้น เตะได้อย่างคล่องแคล่ว พลิกตัวไปมาจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ ลุกขึ้นมานั่งได้เอง มือกับสายตาทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เริ่มใช้นิ้วหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ใกล้มือแล้วนำเอาเข้าปาก จึงควรเลือกของใช้ที่ชิ้นไม่เล็กเกินไป ลดความเสี่ยงที่เด็กจะหยิบเข้าปากหรือกลืนลงคอ และควรจับตาดูพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พัฒนาการด้านการมองเห็น เด็กในวัยนี้สามารถแยกแยะเฉดสีหลัก ๆ เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีแดง ได้บ้างแล้ว อาจชอบมองของที่มีรูปร่างซับซ้อน เช่น ของเล่นที่เป็นรูปทรง สีสันสดใส มีความสนใจต่อสิ่งที่รอบตัวที่มองเห็นได้ด้วยตา และมักมองตามการเคลื่อนไหวของวัตถุต่าง ๆ เช่น เด็กจะหันศีรษะตามลูกบอลที่กลิ้งไปตามพื้นห้อง พัฒนาการด้านการสื่อสาร เด็กในวัยนี้เริ่มหัดเปล่งเสียง เลียนเสียงตัวเองและผู้อื่น พูดจาอ้อแอ้ตามประสาเด็กเล็ก […]


เด็กทารก

ทารกอุจจาระเป็นเม็ด สัญญาณของอาการท้องผูก

ทารกอุจจาระเป็นเม็ด แข็ง หรือขี้แพะ เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าระบบขับถ่ายของทารกอาจมีปัญหา ปกติแล้ว อุจจาระทารกจะเหลวและมีสีที่แตกต่างตามสารอาหารที่ได้รับ แต่หากอุจจาระแห้งหรือเป็นเม็ด มักเป็นสัญญาณว่าทารกมีอาการท้องผูก ซึ่งอาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ การแพ้นมวัว การเปลี่ยนประเภทอาหารที่กิน คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีป้องกันทารกอุจจาระเป็นเม็ด และอาการที่อาจต้องพาทารกไปหาคุณหมอ เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันท่วงที สาเหตุที่ทารกอุจจาระเป็นเม็ด ทารกอุจจาระเป็นเม็ด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ เปลี่ยนอาหาร เมื่ออยู่ในช่วงที่เปลี่ยนจากการกินนมแม่อย่างเดียวมากินนมผงซึ่งย่อยยากกว่านมแม่ หรือในช่วงเปลี่ยนจากนมผงไปเป็นอาหารแข็งหรืออาหารเสริม ร่างกายทารกอาจยังปรับตัวไม่ทัน จนทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดได้ ร่างกายทารกขาดน้ำ หากทารกได้รับของเหลวไม่เพียงพอ อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป หรือมีไข้ ก็อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้ทารกอุจจาระเป็นเม็ดได้ ให้อาหารเสริมก่อนวัย หากให้ทารกกินอาหารเหลวหรืออาหารเสริมก่อนอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่กระเพาะอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลให้ทารกย่อยอาหารได้ไม่ดีนัก และถ่ายอุจจาระเป็นเม็ด แพ้นมวัวหรือกินนมวัวเยอะเกินไป ทารกบางคนอาจแพ้นมวัว หรือย่อยนมได้ไม่ดี เนื่องจากมีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ (Lactose Intolerance) จึงมีอาการท้องผูก อุจจาระเป็นเม็ด นอกจากนี้ การดื่มนมวัว หรือกินผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส เยอะเกินไป ก็อาจทำให้ทารกอุจจาระเป็นเม็ดได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถผลิตน้ำย่อยที่เพียงพอต่อการย่อยสารอาหารในนมวัวได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนกินอาหารแข็ง เพราะอาจย่อยได้ไม่ดี […]


เด็กทารก

ทารก กับพฤติกรรมทั่วไปของทารกที่ควรรู้

ทารก โดยเฉพาะในวัยแรกเกิดมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติและพฤติกรรมบางประการที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ เช่น ตาเขเป็นครั้งคราว หยุดหายใจเป็นช่วง ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นศึกษาพฤติกรรมทั่วไปของทารก เช่น การนอนหลับ การหายใจ การมองเห็น เพื่อให้ทราบว่าพฤติกรรมใดที่เป็นปกติ และพฤติกรรมใดที่อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของทารก หากพบว่าทารกอาจมีพฤติกรรม หรือพัฒนาการผิดปกติ จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที พฤติกรรมทั่วไปของทารก พฤติกรรมทั่วไปของทารก อาจมีดังนี้ การนอนหลับ ทารกมักนอนหลับประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะนอนหลับรอบละ 20 นาที ถึง 4 ชั่วโมง และเนื่องจากกระเพาะอาหารทารกยังมีขนาดเล็ก จึงมักต้องตื่นขึ้นมากินนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เมื่ออายุได้ 3 เดือน ทารกอาจหลับได้นานถึง 6-8 ชั่วโมงในตอนกลางคืน และทารกแต่ละคนอาจมีพฤติกรรมการนอนไม่เหมือนกัน เช่น ทารกบางคนตื่นมาในช่วงกลางดึกประมาณ 3-4 ครั้ง ในขณะที่ทารกบางคนสามารถหลับได้ตลอดคืน นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจประสบปัญหาทารกนอนหลับยากและพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการให้ทารกอาบน้ำอุ่น ให้ทารกดูดจุกนมหลอก ร้องเพลงกล่อมนอน เป็นต้น การมองเห็น ในช่วงหลังคลอด ทารกอาจมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน […]


การดูแลทารก

กรรไกรตัดเล็บทารก วิธีการใช้อย่างปลอดภัย

เล็บของทารกยาวเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรตัดเล็บให้ทารกเป็นประจำ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันไม่ให้เล็บทารกยาวจนข่วนหน้าหรือผิวของตัวเองและคนอื่น โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรตัดเล็บให้ทารกอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือเมื่อเห็นว่ายาวแล้วโดยใช้ กรรไกรตัดเล็บทารก โดยเฉพาะ และสามารถเริ่มตัดเล็บทารกได้ตั้งแต่ทารกมีอายุไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความยาวของเล็บทารก ทั้งนี้ ควรศึกษาวิธีเลือกกรรไกรตัดเล็บและวิธีตัดเล็บทารกอย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายหรือปัญหาสุขภาพในทารกจากการตัดเล็บไม่ถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] ขั้นตอนการตัดเล็บทารก ขั้นตอนการตัดเล็บทารกอย่างปลอดภัย อาจมีดังนี้ จับมือและนิ้วของทารกให้มั่น โดยอาจให้ทารกอยู่บนตัก จะได้ตัดเล็บทารกถนัดขึ้น กดเนื้อบริเวณใต้เล็บลงเพื่อให้มีพื้นที่ในการตัดและเลี่ยงไม่ให้กรรไกรโดนผิวทารก ตัดเล็บทารกให้เหลือเนื้อเล็บโผล่มาเล็กน้อย อย่าตัดจนสั้นกุด สำหรับนิ้วมือ ให้ตัดโค้งตามรูปเล็บ สำหรับนิ้วเท้า ให้ตัดเล็บเป็นเส้นตรง ตะไบเล็บทารกอย่างเบามือ เพื่อให้ขอบเล็บของทารกเรียบเนียน ไม่แหลมคมจนอาจข่วนตัวเองหรือคนอื่นได้ อาจพิจารณาเลือกตัดเล็บในช่วงเวลาที่ทารกหลับ จะง่ายในการตัดมากกว่า ควรตัดเล็บมือให้ทารกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนนิ้วเท้าที่เคลื่อนไหวน้อยกว่าเล็บมักยาวช้ากว่า จึงอาจตัดประมาณ 2 ครั้ง/เดือนแล้วแต่ ถ้ายาวเร็วก็พิจารณาตัดได้ทุกสัปดาห์และหมั่นคอยตรวจสอบว่าทารกมีเล็บขบด้วยหรือไม่ และหากเผลอตัดเล็บเข้าเนื้อทารกจนเลือดออก ควรผ้าก๊อซปลอดเชื้อกดบริเวณแผลเบา ๆ เพื่อห้ามเลือดแล้วใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาป้ายที่แผลบาง ๆ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ ไม่ควรใช้ผ้าพันแผลแปะหรือพันนิ้วทารก เพราะอาจจะหลุดเข้าปากเวลาทารกอมนิ้วได้ กรรไกรตัดเล็บทารก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย การตัดเล็บให้ทารกต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าการตัดเล็บของผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีการใช้กรรไกรตัดเล็บทารกให้ปลอดภัย อาจมีดังนี้ เลือกชนิดกรรไกรตัดเล็บที่เหมาะสม ใช้อุปกรณ์ตัดเล็บทารกที่มีปลายมนและเหมาะสมกับวัยของทารก เช่น กรรไกรตัดเล็บทรงโค้ง ตะไบตัดเล็บสำหรับทารก ไม่ใช้กรรไกรตัดเล็บผู้ใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่เกินขนาดนิ้วมือและนิ้วเท้าของทารก […]


โภชนาการสำหรับทารก

ตารางอาหารทารก 6 เดือน และคำแนะนำการป้อนอาหารทารก

ทารก 6 เดือน เป็นช่วงวัยที่ควรเริ่มฝึกรับประทานอาหารแข็ง เพื่อเพิ่มสารอาหารอื่น ๆ นอกจากนม เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัด ตารางอาหารทารก 6 เดือน อย่างเหมาะสม โดยศึกษาอาหารที่ทารกควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่สมวัย และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-bmr] อาหารที่เหมาะสำหรับทารก 6 เดือน  อาหารที่เหมาะสำหรับทารก 6 เดือน ได้แก่ 1. อาหารประเภทแป้ง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นพลังงานที่ดีสำหรับทารก โดยควรปั่นหรือบดอาหารให้ละเอียดและอาจผสมกับนมแม่ เพื่อให้ทารกรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทแป้งที่ทารก 6 เดือน อาจรับประทานได้ มีดังนี้ ข้าวโอ๊ต พาสต้า มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ขนมปัง 2. อาหารประเภทโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายของทารกสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ และอาจช่วยเพิ่มการลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย  โดยควรปรุงอาหารให้สุกและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำ อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตว่าทารกมีอาการแพ้หรือไม่ เพราะอาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไข่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน