เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการของ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน (2-6 ปี) เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เด็กวัยนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านโภชนาการ การฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งทักษะการขับถ่าย ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

จักรยานเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการ และวิธีเลือกให้เหมาะกับวัย

การปั่นจักรยานสามารถปั่นได้ทุกวัย เพียงแต่ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยและสรีระร่างกาย สำหรับประโยชน์ของการปั่นจักรยานนอกจากช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะทางร่างกาย ซึ่งเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถ ปั่นจักรยานเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] จักรยานเด็ก เริ่มปั่นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ จักรยานเด็กในช่วงวัย 2-4 ปี :   ช่วงวัย 2-4 ปี หรือวัยก่อนอนุบาล เด็กเล็กสามารถฝึกกล้ามเนื้อได้ด้วยจักรยาน 3 ล้อ ให้เด็กค่อย ๆ ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการฝึกทรงตัว โดยจักรยาน 3 ล้อ จะมีล้อใหญ่ข้างหน้า 1 ล้อ ส่วน 2 ล้อหลังเป็นล้อขนาดเล็ก คอยพยุงตัวเด็กให้สามารถปั่นจักรยานได้ง่าย  จักรยานขาไถหรือจักรยานทรงตัว ช่วงวัย 2-5 ปี :  จักรยานขาไถ เป็นชื่อเรียกตามรูปทรงของจักรยาน เป็นจักรยานสำหรับเด็กที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยการใช้ขาไถ จักรยานเด็กแบบนี้จะช่วยฝึกเรื่องการทรงตัว จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรยานทรงตัว (Balance Bike) หน้าล้อของจักรยานจะกว้าง ช่วยลดแรงกระแทก  วิธีเลือกจักรยานเด็ก จักรยานเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปร่างของเด็ก จึงควรให้เด็กมาทดลองนั่ง ลองปั่นดูว่ารู้สึกพอดีกับรูปร่างหรือไม่ ความยาวของขาเด็กควรพอดีกับขาถีบ ให้เด็กลุกขึ้นยืนบนพื้นคร่อมจักรยานไว้ จะสังเกตเห็นว่าอานอยู่พอดีกับเป้ากางเกงของเด็กหรือไม่ เมื่อใช้เท้าถีบจักรยานแล้วต้องงอเข่าพอดี […]

หมวดหมู่ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน เพิ่มเติม

ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

สำรวจ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

การเติบโตและพัฒนาการ

การพับกระดาษโอริกามิ ช่วยเสริมทักษะและพัฒนาการของเด็กอย่างไร

กิจกรรมเป็นสื่อนำแห่งความสำเร็จ การเลือกกิจกรรมที่ดี มีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ให้ดีขึ้นได้ หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหากิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ได้ใช้เวลาร่วมกัน และยังมีประโยชน์ต่อลูก วันนี้ Hello คุณหมอ ขอแนะนำ การพับกระดาษโอริกามิ ให้เป็นกิจกรรมสำหรับทำร่วมกันในครอบครัว การพับกระดาษโอริกามิ คืออะไร โอริกามิ (Origami) คือ ศิลปะการพับกระดาษของชาวญี่ปุ่น ที่มีการคิดค้นและทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “โอริกามิ” มาจากคำในภาษาญี่ปุ่นสองคำคือคำว่า “โอริ” ที่แปลว่าการพับ และ “คามิ” ที่แปลว่า กระดาษ ซึ่งศิลปะการพับกระดาษโอริกามิแบบดั้งเดิมนั้น จะทำแค่เพียงพับกระดาษสี่เหลี่ยม โดยไม่มีการตัดกระดาษ การติดกาว การทำเครื่องหมาย หรือแม้แต่การติดเทปกาวเลยแม้แต่น้อย และนั่นถือเป็นเสน่ห์ที่ทำให้การพับกระดาษโอริกามิเป็นที่แตกต่างและได้รับความนิยมเสมอมา โอริกามิให้ประโยชน์ต่อเด็กอย่างไรบ้าง การเรียนรู้รูปร่างและรูปทรง การพับกระดาษแต่ละขั้นตอน จะต้องออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือทรงกลม เด็กจะได้เรียนรู้ถึงรูปร่างและลักษณะกันของแต่ละขั้นตอนผ่านการพับกระดาษ ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตได้ เป็นกิจกรรมคลายเครียดได้ทุกที่ทุกเวลา การพับกระดาษแบบโอริกามิ สามารถที่จะทำเมื่อไหร่ หรือที่ใดก็ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์มาก ไม่ต้องใช้สถานที่ขนาดใหญ่ หรือไม่จำเป็นต้องมีบุคคลอื่นมาร่วมทำเพื่อให้กิจกรรมสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีความต้องการที่จะหาอะไรทำขณะที่กำลังเครียดและวิตกกังวล เพียงหยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น แล้วเริ่มพับเป็นรูปร่างต่าง ๆ ก็ช่วยให้คุณคลายกังวลลงได้ การพาลูกทำกิจกรรมนี้ในวันหยุด นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมถึงลดความเครียดสะสมจากการเรียน ช่วยเพิ่มสมาธิ ในโรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนระดับประถมศึกษา จะมีการนำกิจกรรมการพับกระดาษโอริกามิ มาเป็นหนึ่งในสื่อการสอนให้กับนักเรียน […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกเล่นกีฬา พ่อแม่จะป้องกันอย่างไรให้ลูกห่างไกลจากอาการบาดเจ็บ

ลูกเล่นกีฬา เป็นการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนั้น การเล่นกีฬายังเป็นการช่วยส่งเสริมมิตรภาพระหว่างเด็ก ๆ และส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมอีกด้วย แต่เมื่อลูกเล่นกีฬาทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจหาวิธีป้องกันและการดูแลเมื่อลูกบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา [embed-health-tool-bmi] ลูกเล่นกีฬา ต้องเจอความเสี่ยงกับอะไรบ้าง การเล่นกีฬาแทบทุกประเภทมักเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บ ยิ่งกีฬาที่เล่นมีความเสี่ยงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากเท่านั้น โดยการบาดเจ็บจากกีฬาที่มักจะพบบ่อยที่สุดก็คือ อาการเคล็ดขัดยอก บาดเจ็บที่เส้นเอ็นข้อเท้า บาดเจ็บกล้ามเนื้อ และบาดเจ็บที่กระดูก ซึ่งอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบนเอ็นข้อต่อและกระดูกนั้น ถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังมีการเจริญเติบโต กระดูกมักค่อนข้างเปราะบาง ดังนั้น เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บหรือมีอาการบวมที่ข้อต่าง ๆ ควรได้รับการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการให้เคลื่อนไหวร่างกายบริเวณนั้นให้น้อยที่สุด จากนั้นนำเด็กส่งโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญตรวจรักษา วิธีป้องกันลูกบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเล่นกีฬา แต่กลัวว่าลูกจะบาดเจ็บ อาจหาวิธีป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้ อย่าแสดงความสามารถพิเศษในการเล่นกีฬาเร็วเกินไป เด็ก ๆ มักต้องการแสดงความสามารถพิเศษในการเล่นกีฬาออกมาเพื่อให้คนรอบข้างชื่นม อย่างเช่น ยิมนาสติก  ฟุตบอล แต่หากฝืนร่างกายมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้ และมักจะมาพร้อมกับความเครียดด้วย  ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ปกครองก็คือ ให้ลูกค่อย ๆ ฝึกเล่นกีฬาที่ชอบ และอาจให้ลูกหยุดเล่นกีฬาที่ถนัดอย่างน้อย 3 เดือนในแต่ละปี การหยุดพักเล่นกีฬาไม่เพียงแต่จะเป็นการป้องกันการบาดเจ็บแล้ว ยังเป็นการป้องกันการเหนื่อยหน่ายทางจิตใจของเด็ก ๆ อีกด้วย โดยอาจหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ชื่นชอบรองลงมาเพื่อทดแทนการเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม การเลือกอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่มีขนาดเหมาะสมและพอดีกับตัวเด็ก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกไปโรงเรียนวันแรก ควรเตรียมความพร้อมอย่างไรดี

ลูกไปโรงเรียนวันแรก ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการเติบโต เด็กบางคนอาจจะตื่นเต้นกับการไปโรงเรียนใหม่ เพื่อพบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม เด็กบางคนอาจจะหวาดกลัว ร้องไห้ และปฎิเสธการไปโรงเรียนตั้งแต่วันแรก ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพ่อแม่หลายคน แต่หากพ่อแม่รู้จักวิธีเตรียมพร้อมลูกก่อนไปโรงเรียน อาจช่วยให้รับมือกับลูกได้ดีขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมลูกถึงกลัวการ ไปโรงเรียนวันแรก มีเด็กหลายคนที่ประสบปัญหาในการไปโรงเรียน อาจรู้สึกว่าต้องจากพ่อแม่ไป นอกจากนั้น อาจมีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมใหม่ ผู้คนมากหน้าหลายตา สังคม และเพื่อนใหม่ ซึ่งแตกต่างจากตอนอยู่บ้านอย่างสิ้นเชิง ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของเด็ก ๆ ในบางรายอาจรู้สึกหวาดกลัว ตื่นตระหนก เครียด และส่งผลกระทบจนทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ กลัวความล้มเหลว เมื่อตอนอยู่บ้านทุกคนในครอบครัวจะคอยดูแล ชื่นชมลูกอยู่เสมอ แต่เมื่อไปโรงเรียนแล้วต้องพบกับคนมากหน้าหลายตา อาจทำให้เด็กมีอาการกลัวที่จะทำผิดพลาดต่อหน้าคนจำนวนมาก มีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน มีเด็กหลายคนที่แม้จะยังไม่ได้เข้าเรียน แต่ก็มีความรู้สึกกลัวว่าจะมีปัญหาที่โรงเรียน โดยเฉพาะการมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น หรือรุ่นพี่ต่างชั้น อาจเป็นการล้อเลียนหรือถูกบุูลลี่  รู้สึกว่าครูน่ากลัว ในเด็กบางรายมีอาการหวาดกลัวว่าจะถูกครูดุ เวลาทำผิด อาจเป็นประสบการณ์จากคนในครอบครัวที่อาจเคยขู่ว่าหากไม่ทำบางอย่างจะโดนครูตี ครูดุ หรือครูทำโทษ และอาจฝังใจ จึงทำให้ไม่อยากที่จะไปโรงเรียน กลัวไม่มีเพื่อน แทบจะเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเด็กทุกคน เโดยเฉพาะการไปโรงเรียนครั้งแรกนั้นถือเป็นการเปลี่ยนสังคมใหม่ของเด็ก ทำให้พวกเขารู้สึกสับสนและไม่รู้ว่าจะเข้าหาคนแปลกหน้าอย่างไร  กลัวการถูกแกล้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย หรือถูกล้อเลียนด้วยคำพูดต่าง ๆ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกไม่อยากที่จะไปโรงเรียน เตรียมพร้อมก่อน ลูกไปโรงเรียนวันแรก อย่างไรดี หากใกล้ถึงวันที่ลูกต้องไปโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นชั้นเด็กเล็ก อนุบาล […]


การเติบโตและพัฒนาการ

สอนให้ เด็กว่ายน้ำ ได้ประโยชน์มากกว่าที่คิด

การสอนให้ เด็กว่ายน้ำ มีประโยชน์หลายประการ นอกจากจะส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีกิจกรรมทำยามว่าง ได้ออกกำลังกาย นอนหลับได้ดีขึ้น และดีต่อสุขภาพจิตของเด็ก ยังช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขกับการเล่นน้ำ ที่สำคัญเป็นการฝึกทักษะการอยู่รอดทางน้ำอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ควรเริ่มสอนให้ เด็กว่ายน้ำ เมื่อไร การเรียนว่ายน้ำสามารถเริ่มได้เมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะหากเด็กว่ายน้ำเป็นจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการจมน้ำสำหรับเด็กอายุระหว่าง 1-4 ปีได้ บางครอบครัวอาจเริ่มให้เด็กลงเล่นน้ำในสระเพื่อทำความคุ้นเคยตั้งแต่เป็นทารก อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจส่วนใหญ่ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กและผู้ปกครองด้วย หากทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมแล้วก็สามารถให้เด็กเริ่มเรียนว่ายน้ำได้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วอายุที่พร้อมสำหรับการเรียนว่ายน้ำนั้นอยู่ที่ 4-5 ปีขึ้นไป   เด็กว่ายน้ำ มีประโยชน์อย่างไร 1. ประโยชน์ทางกาย การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio exercise) ที่ดีเยี่ยม ช่วยสร้างเสริมสุขภาพหัวใจและปอด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความสมดุลให้แก่ร่างกายได้ด้วย 2. ประโยชน์ทางด้านสุขภาพจิต การว่ายน้ำช่วยปรับสภาพจิตใจและอารมณ์ของเด็กให้ผ่อนคลายขึ้น มีความสุขกับการอยู่ในน้ำ ช่วยลดความเครียด อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่กำลังรักษาภาวะซึมเศร้าสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้นด้วย 3. ช่วยป้องกันโรคอ้วนในเด็ก การว่ายน้ำช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มากถึง 340 – 420 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมากกว่าการเดินเร็ว 30 นาทีที่เผาผลาญแคลอรี่ไปเพียง 100 กิโลแคลอรี่ และมากกว่าการวิ่ง 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่เผาผลาญเเคลอรี่ได้ 300 กิโลแคลอรี่ 4. ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น การว่ายน้ำช่วยให้เด็กนอนหลับได้ง่ายขึ้นในเวลากลางคืน เพราะการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมาก เด็กจึงรู้สึกเพลียและนอนหลับง่ายขึ้นนั่นเอง 5. ช่วยให้ลูกเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น หากเด็ก […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ของเล่น ประโยชน์ต่อพัฒนาการและเทคนิคการเลือกให้ลูกน้อย

ของเล่น เป็นเครื่องมือเสริมสร้างทักษะและการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่เด็กๆ ตั้งแต่เล็กจนโต ทั้งทักษะทางด้านร่างกาย ทักษะด้านสติปัญญา และทักษะทางด้านอารมณ์ ของเล่นมีความหลากหลาย ทั้งสีสัน แสงและเสียง และเทคนิคต่างๆ ที่ล้วนแต่ดึงดูดใจให้เด็กๆ อยากเล่น แต่ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้อของเล่น ควรศึกษาเกี่ยวกับประเภทของของเล่น เพื่อความเหมาะสมแก่ช่วงวัยและของเล่นที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมวัย ประโยชน์ของของเล่น กระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ของเล่นช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส (Senses) จากการได้กลิ่น การได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส และการรับรส รวมถึงการเคลื่อนไหวและความสมดุลด้วย พ่อแม่ควรช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัส โดยของเล่นที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสได้ดี เช่น แป้งโดว์ ดินน้ำมัน เป็นต้น ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ แม้ว่าเด็ก ๆ จะยังพูดไม่ได้ แต่การเล่นของเล่นมักช่วยให้เด็กๆ สามารถแสดงอารมณ์ของพวกเขาออกมาได้ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะรู้จักอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง จำนวนของเล่นน้อยลง อาจส่งผลดีกว่า การให้เด็ก ๆ เล่นของเล่นจำนวนน้อยลง อาจทำให้การเล่นมีคุณภาพมากขึ้น กล่าวคือของเล่นจำนวนน้อยอาจส่งผลให้เด็กมีสมาธิจดจ่อ และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มากกว่าการเล่นของเล่นหลายๆ อย่างที่อาจดึงความสนใจของเด็กๆ ไป เสริมสร้างพัฒนาการด้านภาษา ของเล่นเด็กโดยเฉพาะของเล่นแบบดั้งเดิม เช่น จิ๊กซอว์ บล็อคหยอดรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปทรงเรขาคณิต บล็อคของเล่น (Block) […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

นม กับประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็ก ๆ

นม อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหาร อาทิ โปรตีน แคลเซียม วิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายและกระดูกแข็งแรง ทั้งยังอาจช่วยป้องกันภาวะขาดแคลเซียมได้ด้วย ดังนั้น วัยเด็กจึงเป็นช่วงอายุที่ควรได้รับการบำรุงด้วยการดื่มนมมากที่สุด ปริมาณนมที่เด็กควรดื่มในแต่ละวัน ปริมาณนมที่ควรให้เด็กดื่มขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความสูง และภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสจนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้  (Lactose Intolerance) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เด็กควรดื่มนมในปริมาณดังนี้ เด็กอายุ 1-2 ขวบ เด็กอายุ 1 ขวบสามารถเริ่มดื่มนมวัวได้ โดยควรดื่มประมาณ 32 ออนซ์/วัน เด็กอายุ 2-3 ปี ควรดื่มนมอย่างน้อย 2 แก้ว/วัน เด็กอายุ 4-8 ปี ควรดื่มนม 2.5 แก้ว/วัน ประโยชน์ของนมต่อสุขภาพเด็ก ในน้ำนมอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โดย นม 1 แก้ว (244 กรัม) ประกอบไปด้วย พลังงาน 146 แคลอรี่ โปรตีน 8 กรัม […]


การเติบโตและพัฒนาการ

เทคนิค ลงโทษลูก แต่ละวัยอย่างเข้าใจ และไม่ทำร้ายจิตใจเด็ก

เมื่อลูกทำผิดพลาด พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจะ ลงโทษลูก อย่างไรที่ทำให้เขาเรียนรู้ แต่ไม่กระทบกระเทือนจิตใจจนกลายเป็นปัญหา ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงโทษเมื่อลูกทำผิด หรือวิธีรับมือต่าง ๆ ในแต่ละช่วงวัย เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างปมปัญหาในใจให้กับลูกน้อย [embed-health-tool-bmi] ลงโทษลูก ในแต่ละช่วงวัยอย่างไรดี เด็กในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการและการรับรู้ต่างกัน การจะสื่อสารให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พยายามจะบอก อาจต้องใช้วิธีที่ต่างกันออกไป ต่อไปนี้คือวิธีสื่อสารให้เด็กในแต่ละวัยเข้าใจว่าพวกเขาทำผิดอย่างง่าย ๆ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีของเด็กตั้งแต่ช่วง 3 ปีแรก ช่วงแรกเกิดจนถึง 8 เดือน เมื่อลูกยังเป็นทารก คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการตั้งข้อจำกัด สนับสนุนให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดี และไม่สนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล เนื่องจากเด็กเล็กยังมีขีดจำกัดทางการทำความเข้าใจด้านภาษา อีกทั้งสภาพแวดล้อมก็ยังไม่มีบทบาทมากนัก ดังนั้น วิธีหลักที่ควรใช้กับเด็กในช่วงวัยนี้มีอยู่ 2 วิธี ง่ายๆ ได้แก่ เบี่ยงเบนความสนใจ การเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อลูกทำผิด อาจใช้วิธีนี้เมื่อต้องการให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ดีกว่า การเพิกเฉย คือการไม่ให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกทำอยู่ ช่วงอายุ 8 ถึง 12 เดือน ในช่วงอายุ 8 เดือน เด็กจะเริ่มคลาน เด็กในวัยนี้ต้องการเรียนรู้โลกรอบตัว เช่น การคลานไปใต้โต๊ะ หรือเข้าไปใต้อ่างล้างจานโดยไม่รู้ว่ามีอันตรายหรือไม่ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก อาจวางของที่อาจทำให้เด็กบาดเจ็บให้พ้นมือเด็ก และวางของเล่นที่เขาชอบไว้ใกล้ตัวเด็กแทน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าวิธีการนี้เป็นวิธีที่ดี รวมถึงอาจใช้เทคนิคการใช้เสียงดังเมื่อเด็กจับของสิ่งใดที่อาจเป็นอันตราย ด้วยการร้องออกมาดัง ๆ เพื่อเป็นการเตือนเพื่อให้เด็กหันมาสนใจและรู้สึกกลัว […]


การเติบโตและพัฒนาการ

5 เทคนิคสอนลูกให้เข้าใจและรับมือกับ ความผิดหวัง

เมื่อลูกเติบโตขึ้น พวกเขาต้องประสบกับ ความผิดหวัง ต่างๆ ในชีวิต ผู้เป็นพ่อแม่อาจรู้สึกทุกข์เมื่อเห็นลูกประสบกับความผิดหวัง อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้ลูกรับมือกับความผิดหวังด้วยตนเองเป็นวิธีการที่ดี เพื่อให้เขาได้เรียนรู้วิธีการกลับมายืนหยัดอีกครั้ง หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ก็เพียงแค่คอยดูแล และคอยประคับประคอง เมื่อพวกเขาต้องการคำแนะนำ หรือต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหา วิธีสอนลูกให้เข้าใจและยอมรับ ความผิดหวัง ต้องทำอย่างไร 1. สอนลูกถึงวิธีเลือกที่จะมีความสุข ในบางครั้ง สิ่งต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ลูกต้องการเสมอไป  ในฐานะพ่อแม่ ควรสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับความผิดหวังที่เกิดขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกถึงทักษะใหม่ๆ เมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ วิธีนี้ทำให้ลูกรู้จักรับผิดชอบกับความรู้สึกของตนเองและช่วยให้เขาเลือกที่จะมีความสุข ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกไปงานวันเกิดของเพื่อนและเขาดูเศร้าเมื่อกลับมาถึงบ้าน คุณอาจถามลูกถึงงานเลี้ยงว่าลูกชอบส่วนใดมากที่สุด แทนการถามถึงสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกไม่ดี สิ่งนี้จะทำให้เขามองด้านดีของสิ่งต่างๆ แทน 2. แสดงความเห็นใจกับความผิดหวังของลูก เมื่อลูกรู้สึกเสียใจ สิ่งสำคัญคือคุณควรนั่งลงเพื่อพูดคุยกับลูก อาจเริ่มจากการแสดงความเห็นใจต่อลูก เพื่อให้ลูกทราบว่าคุณห่วงใยความรู้สึกของเขามาก คุณอาจยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความผิดหวังที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่ลูกกำลังประสบอยู่ เพื่อให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์ตามลำพัง และมองว่าความผิดหวังเป็นเรื่องปกติของชีวิต นอกจากนี้ ควรสอนลูกถึงวิธีการตอบสนองต่อความผิดพลาด และสิ่งที่ควรเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนั้นด้วย 3. สอนเทคนิคการควบคุมอารมณ์ด้วยตนเองแก่ลูก คุณอาจสอนลูกถึงวิธีการจัดการกับอารมณ์ด้วยตนเองดังต่อไปนี้ วิธีการเกี่ยวกับร่างกาย เช่น การหายใจเข้าลึก การวิ่ง การกระโดด สามารถช่วยให้เด็กปลดปล่อยพลังงานเมื่อเขารู้สึกผิดหวัง วิธีการเกี่ยวกับการรับฟังและคำพูด เช่น การฟังเพลง หรือพูดคุยกับใครสักคนจะช่วยให้เขาสงบลง และหวนกลับมาคิดอย่างถี่ถ้วน เมื่อพวกเขาต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการทางการมองเห็น เช่น การออกไปข้างนอก […]


การเติบโตและพัฒนาการ

วิธีสังเกต เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป หรือเปล่า

การที่เด็กๆ ใช้ ยาสีฟัน มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพฟันเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ การที่ เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของเด็กอย่างไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องการแปรงฟันของเด็ก ๆ อย่างไรดี [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็กใช้ยาสีฟันมากเกินไป จากผลการสำรวจพ่อแม่มากกว่า 5,000 คน ที่มีลูกวัย 3-15 ปี พบว่า 40% ของเด็กที่อายุ 3-6 ปี ใช้แปรงสีฟันที่มียาสีฟันเต็มแปรง หรือครึ่งแปรง แทนที่จะใช้ยาสีฟันตามคำแนะนำคือขนาดเท่าเมล็ดถั่ว และปัญหาของการใช้ยาสีฟันมากเกินไปคือ เด็กได้รับฟลูออไรด์ (Fluoride)ในยาสีฟันมากเกินจนอาจทำให้ผิวเคลือบฟันผิดปกติ หรือที่มักเรียกว่า ฟันลาย ฟันเหลือง หรือฟันตกกระ (Dental Fluorosis) เด็กทารกและวัยเตาะแตะ กับการใช้ยาสีฟัน การรักษาสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ตอนเริ่มต้น โดยก่อนที่เด็ก ๆ จะฟันขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกำจัดแบคทีเรียในช่องปากของลูก ด้วยการเช็ดปากด้วยผ้านุ่ม เมื่อเด็กฟันขึ้น สมาคม the American Academy of Pediatrics แนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นแปรงสีฟัน และใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เมื่อเด็กอายุครบ 2 ปี แต่ต้องใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กเล็ก และยาสีฟันไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเมล็ดข้าว 1 เมล็ด ถ้าเด็กทารกหรือวัยเตาะแตะกลืนยาสีฟันเข้าไป ถือว่าไม่ได้เป็นอันตราย ตราบใดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ใช้ยาสีฟันมากเกินไป […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกดูดนิ้ว ไม่ยอมเลิก พ่อแม่จัดการกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างไรบ้าง

ลูกดูดนิ้ว เป็นพฤติกรรมที่เด็กหลายคนชอบทำเป็นประจำ โดยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัว และคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ เพราะถือว่าเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็ก แต่ในความเป็นจริง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก เพราะหากปล่อยให้ ลูกดูดนิ้ว จนติดเป็นนิสัยและเลิกไม่ได้ ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว การดูด ถือเป็นสัญชาตญาณและปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติของเด็ก จึงไม่แปลกที่บ่อยครั้งเราจะเห็นภาพทารกขดตัวดูดนิ้วอยู่ในท้องแม่ หรือพยายามคว้าสิ่งต่างๆ เข้าปากตั้งแต่หลังคลอด อาการอยากดูดนี้จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเด็กทารกมีอายุได้ 6 เดือน แต่เด็กส่วนใหญ่จะยังคงติดดูดนิ้วอยู่เหมือนเดิม โดยเฉพาะตอนก่อนนอน หรือเคลิ้มหลับ เพราะการดูดนิ้วทำให้เด็กรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและปลอดภัย และเมื่อโตขึ้น การดูดนิ้วของเด็กยังกลายเป็นเครื่องแสดงอารมณ์ หรือระบายความรู้สึกเวลาหิว หงุดหงิด หวาดกลัว เหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งเมื่ออยากเรียกร้องความสนใจ ลูกดูดนิ้ว เมื่อไรที่พ่อแม่ควรห้ามปราม สำหรับเด็กทารก หรือเด็กก่อนวัยเรียน การดูดนิ้วถือเป็นเรื่องปกติ เด็กส่วนใหญ่จะเลิกดูดนิ้วไปเองเมื่ออายุได้ 6-7 เดือน หรือ 2-4 ปี แต่หากลูกดูดนิ้วบ่อย จนเริ่มมีปัญหาในการพูด ปัญหาสุขภาพฟัน ปัญหาผิวหนัง นิ้วที่ชอบดูดเริ่มมีผิวหนังแข็งด้าน หรือลูกอายุเกิน 5 ขวบแล้วแต่ยังติดดูดนิ้วอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาวิธีแก้ไขให้ลูกหยุดดูดนิ้วโดยเร็วที่สุด การดูดนิ้วนี้นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ยังอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังมีปัญหาหรือโรคทางอารมณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมการดูดนิ้วของเด็ก แม้การดูดนิ้วจะช่วยให้เด็กผ่อนคลาย แต่หากปล่อยให้ดูดนิ้วจนอายุ 5-6 ปีซึ่งเป็นวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก โดยเฉพาะในช่องปาก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน