พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

วัยรุ่น

วัยรุ่นตอนปลาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

วัยรุ่นตอนปลาย จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีพัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงอาจต้องเลี้ยงดูและดูแลเด็กในวัยนี้ด้วยความเข้าใจและเปิดใจว่าลูกเริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้ว เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและสมวัย [embed-health-tool-bmi] วัยรุ่นตอนปลาย คืออะไร วัยรุ่นตอนปลาย คือ ช่วงอายุประมาณ 18-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปวัยรุ่นตอนปลายจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์และมีการเติบโตเต็มที่พร้อมก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อาจสามารถควบคุมตัวเองเมื่อถูกแรงกระตุ้นได้มากขึ้น และอาจคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง แม้ว่าคู่รักจะคุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมก็ตาม เพราะการคุมกำเนิดทุกชนิดไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นอกจากนี้ การสวมถุงยางอนามัยยังอาจช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย วัยรุ่นตอนปลาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วัยรุ่นตอนปลายอาจจะไม่มีพัฒนาการทางร่างกายเกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมักเกิดขึ้นมากในช่วงวัยเด็ก และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นบางคนอาจยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นเล็กน้อย เช่น มีขนบนใบหน้า ขนตามร่างกายเพิ่มมากขึ้น อาจมีสิวเพิ่มขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ วัยรุ่นตอนปลายยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ความรู้ความเข้าใจ วัยรุ่นตอนปลายจะมีความรู้ความเข้าใจที่ก้าวเข้าสู่บทบาทและความรับผิดชอบที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อาจเข้าใจแนวคิดเชิงนามธรรมอย่างถ่องแท้ ตระหนักถึงผลที่จะตามมาและข้อจำกัดเฉพาะบุคคลมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจสามารถระบุเป้าหมายอาชีพและเตรียมพร้อมที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ งานอดิเรก และความสนใจที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อารมณ์ เริ่มเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับคุณพ่อคุณแม่ และมองว่ากลุ่มเพื่อนมีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของตัวเองลดลง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรเก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

คุณแม่มือใหม่หลายคนที่กำลังเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาน้ำนมแม่อาจมีข้อสงสัยว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เพื่อที่จะสามารถปั๊มนมให้เพียงพอสำหรับลูก รวมถึงให้ลูกได้กินนมแม่ที่สดใหม่และมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งโดยปกติน้ำนมแม่อาจสามารถมีอายุได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง หากอยู่ในอุณหภูมิห้อง และอาจมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 8 วัน ถึง 12 เดือน หากอยู่ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง ดังนั้น คุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมการกินนมของลูก เพื่อที่จะปั๊มนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และจะได้เก็บน้ำนมได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง อาจเป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนมีความสงสัย โดยอายุของน้ำนมแม่อาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการเก็บรักษา ดังนี้ การเก็บในอุณหภูมิห้อง เป็นการเก็บน้ำนมแม่ที่ปั๊มเสร็จทันทีเอาไว้ในอุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ ยังเป็นการเก็บนมหลังจากนำน้ำนมออกมาจากตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง หรือการเก็บนมหลังจากละลายแล้วเอาไว้ในอุณหภูมิห้อง ซึ่งจะทำให้น้ำนมแม่มีอายุได้ประมาณ 24 ชั่วโมง การเก็บในตู้เย็น การเก็บน้ำนมแม่เอาไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส อาจเก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง 8 วัน แต่หากตู้เย็นมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอาจเก็บน้ำนมแม่ได้ประมาณ 3 วันเท่านั้น การเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น อาจเก็บน้ำนมแม่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น การเก็บในตู้แช่แข็งเฉพาะ เป็นการเก็บน้ำนมแม่เอาไว้ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส อาจทำให้เก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง 6-9 เดือน หรือหากเก็บในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -200 องศาเซลเซียส อาจทำให้เก็บน้ำนมแม่ได้นานถึง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร ท่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

นมแม่มีประโยชน์ต่อทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 1 ปี เนื่องจากนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ท่าให้นมลูก ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น ยังอาจช่วยลดอาการปวดคอ ปวดหลังและลดความเครียดได้อีกด้วย [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมลูก มีความสำคัญอย่างไร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สมดุล ส่งผลต่อการวางตำแหน่งซี่โครงและอุ้งเชิงกราน เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดคอ ปวดหลังช่วงกลาง และปวดศีรษะ ดังนั้น ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมจึงช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว และช่วยลดการใช้พลังงานที่มากเกินไปเนื่องจากการใช้ท่าและการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในขณะให้นมลูกได้ ท่าให้นมลูกที่เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร ท่าให้นมลูกที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้ อยู่ในท่าที่สบายด้วยการใช้หมอนพยุงหลัง แขน และตัวของลูกไว้ สำหรับเท้าของคุณแม่ควรวางราบกับพื้นหรืออยู่ในตำแหน่งที่พอดี และไม่ทำให้เกิดอาการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อเท้าและขา จัดตำแหน่งของทารกให้อยู่ตัวมากที่สุด โดยให้สะโพกงอพอดี ปากและจมูกของลูกควรหันเข้าหน้าอกของคุณแม่ และให้ร่างกายแนบชิดตัวคุณแม่มากที่สุด ควรใช้มือรองรับเต้านมไว้ไม่ให้กดคางหรือปิดจมูกของลูก ควรใช้ทั้งแขนและมือข้างที่ถนัดพยุงหลังของลูกไว้ โดยไม่ประคองเฉพาะส่วนคอ แต่ให้ประคองทั้งหลังของลูก หากมีความรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ลูกดูดนม ให้แยกลูกออกจากเต้าเบา ๆ และลองให้ลูกกลับมาดูดนมใหม่อีกครั้ง การวางตำแหน่งของลูกในท่าที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle Hold) เป็นท่าที่เหมาะกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด มักเป็นท่าที่ใช้ในทารกที่อายุประมาณ 2-3 สัปดาห์แรก โดยการอุ้มลูกไว้บนตัก จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ใช้หมอนพยุงตัวลูกและข้อศอกเพื่อให้ลูกมีความสูงเท่าระดับหัวนมของคุณแม่ และศีรษะของลูกควรมีแขนและมือของคุณแม่รองรับยาวไปถึงกลางหลัง ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Cross-Cradle Hold) […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรชงนมและเก็บรักษาอย่างไร

คุณแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้หรือต้องการสลับให้ลูกกินนมชงร่วมด้วย อาจมีข้อสงสัยว่า นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง เพื่อจะได้ยืดระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยปกติแล้ว นมชงอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง และอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมงเมื่อแช่ไว้ในตู้เย็น ดังนั้น คุณแม่จึงควรพิจารณาความต้องการของเด็กเพื่อที่จะชงนมในปริมาณที่พอเหมาะและเก็บนมได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง นมชงโดยทั่วไปอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากชงเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง โดยไม่ผ่านการอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสูตรของนมผงและยี่ห้อของนมผงแต่ละชนิดด้วย สำหรับนมชงที่ยังไม่ป้อนให้ลูกอาจอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อแช่ไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้แช่แข็งนมชงเพราะอาจลดคุณภาพของนมลงได้ และหากเด็กกินนมชงเหลืออาจเก็บนมไว้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หากเกินจากนั้นควรทิ้งและชงนมใหม่ วิธีชงนมผงที่เหมาะสม ควรทำอย่างไร วิธีการชงนมผงที่เหมาะสมให้แก่เด็กอาจทำได้ ดังนี้ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนเริ่มชงนมทุกครั้ง ทำความสะอาดขวดนมและภาชนะทุกชนิดที่ใช้ในการชงนม จากนั้นนำไปต้มหรือเข้าเครื่องฆ่าเชื้อ และควรสะบัดน้ำออกจากภาชนะที่ใช้ชงนมจนหมด หรือตากให้แห้งสนิท เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่ต้องวางภาชนะในการชงนม ต้มน้ำร้อนในกาต้มน้ำด้วยน้ำใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาก่อน เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เมื่อต้มน้ำจนเดือด ควรทิ้งน้ำไว้ประมาณ 30 นาที ให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจนเหลือประมาณ 70 องศาเซลเซียส เติมน้ำอุ่นที่ต้มไว้ ตามด้วยนมผงสูตรที่ต้องการ ควรใช้ช้อนตักนมผงที่ให้มาในกล่องเพื่อให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องตามสูตร ประกอบจุกนมกับฝารูปวงแหวน โดยการนำจุกนมสอดเข้าไประหว่างช่องว่างฝา จากนั้นดันให้แน่นสนิท นำฝาและจุกนมที่ประกอบแล้วปิดขวดนมที่เติมนมผงและน้ำเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเขย่าขวดนมจนนมผงละลายจนหมด […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cerebral palsy คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการของโรคทางสมองที่ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้ออย่างถาวร เช่น ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เดินเขย่งปลายเท้า โดยอาการที่พบในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามระดับความเสียหายในสมอง แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Cerebral palsy คือ อะไร ภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ กลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนสั่งการของเปลือกสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในช่วงที่เปลือกสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เปลือกสมองเสียหายและส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวและความสมดุลของร่างกายอย่างถาวร ความเสียหายของสมองอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือภายใน 1-2 ปีแรกหลังคลอด ทั้งนี้ อาการของภาวะสมองพิการจะไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อย ๆ แสดงให้เห็นในช่วงเป็นเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่แล้ว ขอบเขตความเสียหายภายในสมองของเด็กที่มีภาวะนี้จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการชัดเจนขึ้น มีอาการน้อยลง สาเหตุของ Cerebral palsy คืออะไร โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของภาวะสมองพิการ หรือ Cerebral palsy คือ ความผิดปกติของพัฒนาการสมอง หรือสมองได้รับความเสียหายขณะที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะทารกยังอยู่ในครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นหลังคลอด หรือในวัยทารกตอนต้นได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ อาจมีดังนี้ […]


เด็กทารก

อ่างอาบน้ำเด็ก ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มใช้ อ่างอาบน้ำเด็ก คือ ช่วงหลังจากสายสะดือของเด็กแห้งสนิท โดยทั่วไปจะอยู่ประมาณช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้ออ่างอาบน้ำเด็ก โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัยขณะอาบน้ำเป็นสำคัญ เช่น เลือกอ่างอาบน้ำที่แข็งแรงทนทาน รองรับสรีระและช่วยประคองตัวเด็กได้ดี และควรศึกษาวิธีอาบน้ำเด็กอย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและอาบน้ำในอ่างได้อย่างปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ควรเริ่มให้เด็กอาบน้ำใน อ่างอาบน้ำเด็ก ตอนไหน การอาบน้ำให้เด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ตั้งแต่สายสะดือของเด็กหลุดและแห้งสนิทแล้ว โดยทั่วไป คือ ในช่วง 1-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากเด็กมีท่าทางไม่สบายตัวเมื่อลงอ่างอาบน้ำเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจกลับไปใช้วิธีถูตัวด้วยฟองน้ำอีกสักระยะหนึ่งก่อน จึงค่อยลองให้เด็กอาบน้ำในอ่างอีกครั้ง เพื่อให้เด็กค่อย ๆ ปรับตัวให้ชินกับการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำเด็ก การเตรียมพร้อมสำหรับการอาบน้ำเด็กในอ่างอาบน้ำอาจทำได้ดังนี้ เตรียมของใช้สำหรับการอาบน้ำเด็ก เช่น สบู่เหลวเด็ก ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ผ้าอ้อมใหม่ เสื้อผ้าสะอาด เอาไว้ให้ครบถ้วนและวางไว้ใกล้มือ เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก เตรียมอุณหภูมิน้ำที่ใช้อาบให้พอเหมาะ ผสมน้ำให้อุ่นพอดีและไม่ร้อนจนเกินไปจนลวกผิวเด็ก สำหรับทารกแรกเกิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบาะรองอาบน้ำ หรืออุปกรณ์อาบน้ำอื่น ๆ เช่น ห่วงยางสำหรับให้เด็กนั่งในอ่างอาบน้ำ เนื่องจากเด็กยังเล็กเกินไปจึงยังไม่สามารถนั่งหรือประคองตัวได้ การอาบน้ำให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีผิวบอบบาง ควรอาบน้ำไม่เกิน 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 5-10 นาที […]


เด็กทารก

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด รักษาได้อย่างไร

Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่พบในทารกแรกเกิดในช่วง 0-30 วันแรกหลังคลอด ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลว พิการ หรือเสียชีวิต ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณหมอวางแผนการรักษาได้รวดเร็วและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหรือการเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสอดส่องอาการของทารกแรกเกิดอยู่เสมอ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะสุขภาพบางประการที่ทำให้ต้องใช้สายสวนในการรักษา หากพบว่าทารกแรกเกิดมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ตัวเย็น ง่วงซึม ไม่กินนม หายใจลำบาก ถ่ายเหลว ควรรีบพาไปคุณหมอโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] Neonatal sepsis คือ อะไร Neonatal sepsis คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกในแรกเกิดอายุตั้งแต่ 0-30 วัน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะต้น (Early Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในขณะอยู่ในครรภ์ แต่ก็อาจเกิดจากการติดเชื้อขณะคลอดได้เช่นกัน ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกระยะหลัง (Late Neonatal Sepsis) เป็นการติดเชื้อในช่วง 72 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อหลังคลอด มักพบในทารกแรกเกิดที่ต้องดูแลอาการนานกว่าปกติ และทารกที่จำเป็นต้องเจาะสายสวนค้างอยู่ในเส้นเลือดเป็นเวลานาน การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจกระทบต่อระบบอื่น […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ROP คือ อะไร อาการ การรักษา และการป้องกัน

ROP (Retinopathy Of Prematurity) หรือ โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหาย หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกมีอาการดวงตาเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุ รูม่านตามีสีขาว และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ROP คือ อะไร ROP คือ ความผิดปกติของจอประสาทตาที่พบในทารกเกิดก่อนกำหนด เนื่องจากความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณจอตาที่พัฒนายังไม่เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อแผลเป็นก่อตัวขึ้นภายในดวงตา ส่งผลให้จอตาเกิดความเสียหายและหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ทารกสูญเสียการมองเห็นได้ อาการ อาการของ ROP โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดอาจไม่มีสัญญาณเตือนของโรค แต่อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ ดวงตาของทารกเคลื่อนไหวผิดปกติ ตาไม่สามารถมองตามวัตถุได้ รูม่านตามีสีขาว ทารกมีปัญหาในการจดจำใบหน้า โดยโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะนี้อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา และไม่แสดงอาการที่รุนแรง แต่ควรอยู่ในความดูแลของคุณหมอเพื่อป้องกันอาการที่อาจแย่ลง ระยะที่ 3 ทารกบางคนอาจมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา แต่บางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาความผิดปกติของหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อจอตา (Retina) ที่อาจทำให้จอประสาทตาหลุด ระยะที่ 4 ทารกบางคนอาจมีจอประสาทตาหลุดออกมาบางส่วน ซึ่งต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น ระยะที่ 5 จอตาหลุดออกอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็อาจสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ สาเหตุ สาเหตุของ […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรกิน และควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

อาหารเด็ก9เดือน ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง รวมถึงให้พลังงานที่เพียงพอในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] อาหารเด็ก9เดือน ที่ควรได้รับ เด็ก 9 เดือน เป็นวัยที่มีพัฒนาการมากขึ้นและต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย รวมถึงควรให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง ดังนั้น อาหารเด็ก9เดือนจึงจำเป็นต้องมีนมแม่เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารแข็งที่ให้สารอาหารหลากหลาย ดังนี้ ผักและผลไม้ ควรเลือกผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสดึงดูดใจ โดยผักควรผ่านการปรุงสุกจนนิ่ม บดละเอียดหรือบดหยาบเพื่อง่ายต่อการกิน เช่น บร็อคโคลี่ แครอท ผักโขม ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี อะโวคาโด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง สำหรับผลไม้ควรเป็นผลไม้สุกและบดจนเนื้อเนียนกินง่าย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ กีวี่ ส้ม มะม่วงสุก ลูกแพร์ สตรอว์เบอร์รี แตงโม ลูกพีช มะละกอ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง ควรผ่านการปรุงสุกจนเนื้อนิ่ม หรืออาจนำไปบดหยาบเพื่อให้กินง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรกิน และที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

เด็ก 10 เดือน เป็นวัยที่ยังจำเป็นต้องกินนมแม่และสามารถเสริมการกินอาหารแข็ง เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยวอาหารและเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น การเลือก อาหารเด็ก10เดือน ให้เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก10เดือน ที่ควรได้รับ นอกจากการกินนมแม่ เด็ก 10 เดือนยังควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง โดยอาหารเด็ก 10 เดือน อาจมีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด ข้าว ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปัง อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ไข่ ปลา ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ผักและผลไม้ เช่น กล้วย กีวี่ ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วงสุก ลูกพลัม ลูกพีช มะละกอ สับปะรด สตรอว์เบอร์รี ผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมวัว นมแพะ โยเกิร์ต ชีส โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน