พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กวัยเรียน

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ และพัฒนาการฟันเด็กที่ควรรู้

คนเรามีฟัน 2 ชุด ชุดแรก คือ ฟันน้ำนม ชุดที่ 2 คือ ฟันแท้หรือฟันถาวร คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ฟันแท้ของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6-7 ขวบ หลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดออกไป และจะใช้เวลาหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมจนครบจำนวน 28-32 ซี่ ส่วนใหญ่ฟันแท้จะขึ้นครบตอนอายุประมาณ 21 ปี คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนให้เด็กใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ฟันผุหรือแตกหักก่อนเวลา เพื่อให้ฟันแท้ที่งอกใหม่มีสภาพสมบูรณ์ ลดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน [embed-health-tool-bmi] ประเภทของฟัน มีอะไรบ้าง ฟันแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ ฟันหน้า (Incisors) เรียกอีกอย่างว่า ฟันตัด เป็นฟันที่อยู่ด้านหน้าขากรรไกร มีลักษณะคมและบาง ทำหน้าที่กัด ตัด และฉีกอาหารชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ฟันเขี้ยว (Canines) ฟันซี่แหลมที่อยู่ติดกับฟันหน้า มีรากหนาและยาวที่สุด จึงยึดกับกรามได้เหนียวแน่นที่สุด ทำหน้าที่กัดและตัดอาหาร ฟันกรามน้อย (Premolars) ฟันที่มีสันกว้าง แบน พื้นผิวเรียบ อยู่ถัดจากฟันเขี้ยว ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ฟันกราม (Molar) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีกู้น้ำนม ที่ควรรู้ สำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย

วิธีกู้น้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ผลิตน้ำนมได้น้อยหรือน้ำนมไม่ไหลออกมาตามปกติ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ให้นมบ่อยขึ้น ปั๊มน้ำนมบ่อย ๆ นวดและประคบร้อนเต้านม ปรับท่าให้นมเพื่อให้ทารกกินนมได้สะดวกขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มีน้ำนมน้อยก็อาจช่วยให้สามารถหาวิธีกู้น้ำนมที่เหมาะสมที่สุดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมน้อย เกิดจากอะไร คุณแม่ให้นมมีน้ำนมน้อย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ความล่าช้าในการให้นม หากคุณแม่เริ่มให้นมครั้งแรกช้า หรือแยกกันอยู่กับทารกในช่วงหลังคลอดแรก ๆ ทำให้ทารกไม่ได้กินนมแม่ตั้งแต่วันแรกที่คลอด อาจทำให้ปริมาณน้ำนมจากเต้าน้อยกว่าปกติได้ ภาวะสุขภาพของคุณแม่ เช่น ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวาน อาจทำให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมได้น้อย ทารกไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว หากทารกกินอาหารอื่น ๆ เช่น นมผงเด็กแรกเกิด ควบคู่กับการกินนมแม่ อาจทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง ส่งผลให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อยตามไปด้วย หากคุณแม่ต้องการเสริมนมผง ควรรอให้ทารกคุ้นชินกับการกินนมแม่เป็นอาหารหลักก่อน ทารกไม่ได้กินนมแม่เลย หากทารกไม่ได้กินนมแม่ อาจทำให้ต่อมน้ำนมไม่ถูกกระตุ้น จึงผลิตน้ำนมได้น้อยลง คุณแม่จึงควรให้ทารกกินนมตั้งแต่ 15-30 นาทีหลังคลอด หรือหากไม่สะดวก ก็อาจรีดน้ำนมออกมาพลาง ๆ ก่อนโดยการปั๊มนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ทารกดูดนมได้ไม่ดี […]


เด็กทารก

ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) มากเกินไป มักพบในทารกแรกเกิด 2-3 วันหลังคลอด โดยทั่วไปสารเคมีชนิดนี้จะถูกตับย่อยสลายและขับออกมาทางอุจจาระ แต่หากร่างกายขับบิลิรูบินออกไปไม่ทันจะทำให้ ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ สำหรับภาวะนี้ สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง ส่วนใหญ่แล้วทารกจะหายตัวเหลืองได้ภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับน้ำนมแม่เพียงพอและขับถ่ายปกติจนปริมาณบิลิรูบินลดลง แต่หากทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติบางประการ เช่น ภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด หมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน อาจต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในระยะยาว [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารเคมีสีเหลืองที่สะสมอยู่ในกระแสเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าสลายตัว โดยทั่วไปตับของทารกแรกเกิดจะกำจัดบิลิรูบินออกไปได้ตามปกติและไม่ทำให้มีภาวะตัวเหลือง แต่ทารกแรกเกิดบางรายที่ตับยังพัฒนาไม่เต็มที่หรือตับทำงานผิดปกติ อาจขับบิลิรูบินออกจากร่างกายไม่ทัน จึงมีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้ทารกมีผิวสีเหลืองหรือตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภาวะนี้มักพบในทารกอายุ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วัน สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์อาจไม่สามารถขับบิลิรูบินส่วนเกินได้หมด เนื่องจากตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และทารกกินน้ำนมได้น้อย จึงทำให้ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ร่างกายจึงขับบิลิรูบินออกทางอุจจาระได้น้อยตามไปด้วย การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป […]


สุขภาพเด็ก

ลูกปวดฟัน อาการ สาเหตุและการรักษา

ลูกปวดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาฟันผุ หนองในฟัน เคลือบฟันแตก โรคเหงือก อาหารติดซอกฟัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ลูกมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ และหากลูกปวดฟันควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกปวดฟันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จนทำให้เยื่อฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท เนื้อเยื่อ และหลอดเลือดที่บอบบางระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย จนก่อให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงตามมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดฟันที่พบได้บ่อยนั่นคือฟันผุ นอกจากนี้ อาการลูกปวดฟันยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ หนองในฟัน เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาฟันผุทำให้เกิดหนองภายในรากฟันซี่ที่ผุ ส่งผลให้มีอาการปวดรุนแรงและปวดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้หนองเพิ่มมากขึ้นภายในเหงือกและทำให้เหงือกบวมแดง เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดวัตถุแข็ง ๆ จนทำให้ฟันแตก โดยแนวการแตกหักของฟันอาจอยู่ต่ำกว่าขอบเหงือกที่อาจมองเห็นได้ยาก และอาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานของเหลวร้อนหรือเย็น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลให้มีอาการเหงือกระคายเคือง บวมแดง เจ็บปวด และอาจมีเลือดออก อาหารติดซอกฟัน การรับประทานอาหารอาจทำให้มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ฟันคุด เป็นการงอกขึ้นมาของฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งส่วนใหญ่ฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปีขึ้นไป แต่สำหรับเด็กที่ฟันคุดงอกเร็วอาจทำให้มีอาการปวดฟันเกิดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวฟันในการบดเคี้ยวซ้ำ ๆ เช่น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก 8 เดือน มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

เด็ก 8 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และมีพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่ง การคลาน การเดิน การยืน การพูด การชี้นิ้ว การสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น กิจกรรม อาหาร อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติด้านพฤติกรรมของเด็ก และควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก 8 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไร เด็ก 8 เดือน มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างต่อเนื่องโดยเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายอาจมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ เด็กผู้ชาย น้ำหนักเฉลี่ย 8 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 69 เซนติเมตร เด็กผู้หญิง น้ำหนักเฉลี่ย 7 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 68 เซนติเมตร ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของเด็กอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณกิจกรรมของเด็กที่ทำในแต่ละวัน อาหารที่เด็กได้รับ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตทางร่างกาย นอกจากนี้ เมื่อเด็กอายุ 6-9 เดือน […]


สุขภาพเด็ก

เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ควรสอนอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ เด็ก แปรง ฟัน ได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มชุบน้ำพอหมาดแปรงฟันให้เด็ก และเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นจนสามารถเรียนรู้ทักษะการแปรงฟันได้เอง สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เล็กน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ฟันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับหรือใช้เสียงขู่ให้เด็กแปรงฟัน เพราะอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านและไม่อยากแปรงฟันได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ด้วยการทำความสะอาดเหงือกเป็นประจำทุกวันโดยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกของเด็กหลังกินนมและก่อนนอน เมื่อเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้เด็กแปรงฟันได้ทันที ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มสำหรับเด็กชุบน้ำพอหมาด โดยควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อขจัดเศษอาหารภายในปาก และหากเด็กสามารถโตพอที่จะสามารถบ้วนยาสีฟันเองได้โดยไม่กลืน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้น จึงค่อย ๆ สอนให้เด็กแปรงฟันให้ทั่วฟันทุกซี่ รวมถึงทำความสะอาดเหงือกและลิ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที/ครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในอนาคต คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องช่วยเหลือเด็กในการแปรงฟันจนกว่าเด็กจะอายุ 7-8 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตัวเองแล้ว และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-6 เดือนหรือเมื่อขนแปรงเก่าแล้ว นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กใช้ไหมขัดฟันหลังจากแปรงฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน เพื่อช่วยขจัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถขจัดออกได้หมด วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ไม่ควรบังคับหรือใช้น้ำเสียงขู่ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่อยากแปรงฟันมากขึ้น ซึ่งการสอนให้เด็กแปรงฟันอาจทำได้ ดังนี้ ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น หากเด็กต้องการเปลี่ยนรสชาติยาสีฟันหรือต้องการใช้แปรงสีฟันสีใหม่ ควรให้เด็กได้ทดลองใช้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิตามินเด็ก มีความสำคัญอย่างไร และเด็กควรได้รับวิตามินอะไรบ้าง

วิตามินเด็ก เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนาการทางสมองและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเด็กควรได้รับวิตามินอย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละวัน แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารอาหาร อาจจำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินอย่างเพียงพอต่อความต้องการ [embed-health-tool-bmr] วิตามินเด็ก มีความสำคัญอย่างไร เด็กควรได้รับวิตามินที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นประจำทุกวัน จากการรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสม เนื่องจากวิตามินแต่ละชนิดมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็กที่แตกต่างกัน เช่น วิตามินบี ช่วยในการเผาผลาญสารอาหาร เพิ่มพลังงาน และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท วิตามินซี ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยรักษาความบาดเจ็บภายในร่างกาย วิตามินดี ช่วยส่งเสริมโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูกและฟัน วิตามินเอ ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา ป้องกันภาวะตาบอดตอนกลางคืน หากเด็กขาดวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาสุขภาพ เช่น พัฒนาการพูดล่าช้า สมาธิสั้น ขาดสารอาหาร ป่วยบ่อย ฟันผุ อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ผิวหนัง เส้นผมและเล็บมีสุขภาพที่ไม่ดี เด็กต้องการวิตามินเสริมหรือไม่ วิตามินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางสมองของเด็ก ซึ่งเด็กจะได้รับวิตามินอย่างเหมาะสมจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวันอยู่แล้ว เด็กบางคนจึงอาจไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานวิตามินเสริมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม วิตามินเสริมอาจมีความจำเป็นต่อเด็กบางคนที่มีภาวะสุขภาพที่อาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม ดังนี้ เด็กที่ไม่ยอมรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ชอบกินจุบจิบ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เด็กที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ เด็กที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังและส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารในร่างกาย เช่น ปัญหาทางเดินอาหาร โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเมือกหนาและเหนียวในระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบสืบพันธุ์ เด็กที่แพ้แลคโตส ซึ่งมีปัญหาในการย่อยนมและผลิตภัณฑ์จากนม เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักตัวเพิ่มยากแม้จะรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิตามินซีเด็ก ประโยชน์และปริมาณที่ควรได้รับ

วิตามินซีเด็ก มีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อ ช่วยในการสมานแผล และมีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทที่ใช้ส่งสัญญาณในระบบประสาท ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมทุกวัน เพื่อพัฒนาการและสุขภาพที่ดี [embed-health-tool-bmr] วิตามินซีเด็ก มีประโยชน์อย่างไร วิตามินซีอาจมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเด็ก ดังนี้ ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อโรคและต้านการอักเสบ จึงอาจช่วยปกป้องเด็กจากการติดเชื้อ โรคไข้หวัด และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กเจ็บป่วย อาจมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนในผิวหนัง เลือด กระดูกอ่อน และกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังอาจมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยรักษาบาดแผล ลดรอยช้ำจากการหกล้มและรอยถลอก อาจมีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญต่อการส่งสัญญาณในระบบประสาท อาจมีส่วนช่วยในการสร้างสารเคมี ที่สนับสนุนการขนส่งและการสลายกรดไขมันในการสร้างพลังงาน อาจมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยที่ร่างกายกำลังพัฒนา อาจช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ที่มีความสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดและเพิ่มปริมาณน้ำเลือด ในการลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กขาดวิตามินซี วิตามินซีพบได้ในอาหารหลายชนิด ทำให้เด็กเกิดภาวะขาดวิตามินซีได้ยาก แต่สำหรับเด็กบางคนที่มีภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารอาหาร เช่น แพ้อาหาร ปัญหาระบบย่อยอาหาร อาจส่งผลให้ร่างกายแสดงสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กกำลังขาดวิตามินซี ดังนี้ เลือดออกตามไรฟัน ป่วยง่าย อ่อนแรง ไม่สบายตัว อารมณ์แปรปรวน การสมานแผลไม่ดีเท่าที่ควร ปวดกระดูก ตัวเหลือง เส้นประสาททำงานผิดปกติ และอาจมีอาการชัก ปริมาณวิตามินซีเด็กที่ควรได้รับ ปริมาณวิตามินซีที่เด็กควรได้รับเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีดังนี้ อายุ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม สาเหตุ อาการ การรักษา

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านร่างกาย สมอง ระบบประสาท และสติปัญญา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้สมองของเด็กถูกทำลายถาวรและเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ เช่น เจริญเติบโตช้า ตาเหล่ หูหนวก เป็นใบ้ มีท่าเดินผิดปกติ สมองพิการ ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่แรกเกิดและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด อาจช่วยให้เด็กสามารถกลับมามีพัฒนาการตามปกติได้เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป [embed-health-tool-vaccination-tool] Cretinism คือ อะไร เครทินิซึม หรือ Cretinism คือ กลุ่มอาการผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในเด็กแรกเกิด ทำให้เด็กมีภาวะปัญญาอ่อน รูปร่างเตี้ยแคระแกร็น ไอคิวต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ เป็นต้น โดยทั่วไป ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญในการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เผาผลาญพลังงาน ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง หากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเด็กไม่มีต่อมไทรอยด์มาตั้งแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือคุณแม่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โครงสร้างของกระดูกและผิวหนัง รวมไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลางของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ Cretinism คือ อะไร สาเหตุที่พบบ่อยของ Cretinism คือ […]


เด็กทารก

เก้าอี้กินข้าวเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งาน

เก้าอี้กินข้าวเด็ก อาจช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการและการฝึกทักษะการกินอาหารด้วยตัวเองของเด็ก และอาจช่วยให้เด็กเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจมีประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงเด็กเล็กพร้อมกับทำงานไปด้วย และยังอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และเด็กสามารถกินอาหารไปพร้อมกันได้ ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว [embed-health-tool-vaccination-tool] เก้าอี้กินข้าวเด็ก มีประโยชน์อย่างไร เก้าอี้กินข้าวเด็ก อาจมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กและต่อคุณพ่อคุณแม่ ดังนี้ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการการกินอาหารอย่างอิสระ สำหรับเด็กเล็กที่สามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง การได้นั่งบนเก้าอี้กินข้าวเด็กช่วยให้เด็กสามารถเคลื่อนไหว ใช้มือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมทักษะการกินอาหารของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น การให้เด็กฝึกทักษะการกินอาหารด้วยตัวเองเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมการช่วยเหลือตัวเองเร็วขึ้นเท่านั้น ช่วยให้ป้อนอาหารง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจป้อนอาหารให้เด็กง่ายขึ้น เนื่องจากเก้าอี้กินข้าวเด็กจะทำให้เด็กเคลื่อนตัวได้ในบริเวณที่จำกัดขณะกินข้าว รวมถึงยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเคลื่อนตัวไปในบริเวณที่อันตราย ช่วยให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องง่าย เด็กเล็กที่เริ่มฝึกกินอาหารด้วยตัวเองอาจมีความเลอะเทอะมากในช่วงแรก ซึ่งการใช้เก้าอี้กินข้าวเด็กจะช่วยให้อาหารไม่เลอะไปยังบริเวณอื่น ๆ จึงช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาร่วมกันกับเด็ก เก้าอี้กินข้าวเด็กอาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถกินอาหารไปพร้อมกับเด็กได้ นอกจากนี้ ยังอาจสามารถให้เด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเก้าอี้ได้ เช่น อ่านหนังสือ ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังทำงาน วิธีการเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็ก การเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กและวิถีชีวิตประจำวัน ดังนี้ อุปกรณ์ป้องกัน ความปลอดภัย และความทนทาน เก้าอี้กินข้าวเด็กควรมีสายรัดเพื่อป้องกันเด็กดิ้น ควรตรวจสอบว่าสายรัดสามารถรัดให้แน่นพอดีกับตัวเด็กได้หรือไม่ นอกจากนี้ เก้าอี้กินข้าวเด็กไม่ควรมีมุมและวัสดุที่แหลมคมที่เป็นอันตรายกับเด็กได้ รวมถึงควรเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ในระยะยาว และควรมีความมั่นคงไม่พลิกคว่ำได้ง่าย ขนาด ควรเลือกเก้าอี้กินข้าวเด็กที่มีขนาดพอดีกับตัวเด็ก และมีความสูงที่สามารถสอดตัวเด็กให้อยู่ในโต๊ะได้พอดี เพื่อป้องกันเด็กดิ้นตกเก้าอี้ ความสะดวกในการใช้งาน อาจเลือกเก้าอี้เด็กที่สามารถพับเก็บได้และมีล้อ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการพกพาและเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน