พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ไซนัสอักเสบในเด็ก อาการและการรักษา

ไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกที่ทำหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกในบริเวณโพรงจมูก ทำให้มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ และปวดศีรษะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ดวงตา สมอง ไขสันหลัง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการเบื้องต้นของไซนัสอักเสบ และพาลูกเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] ไซนัสอักเสบ คืออะไร ไซนัสอักเสบ คือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) แบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (Haemophilus influenza) หรือเชื้อแบคทีเรียมอแรเซลลา (Moraxella Catarrhalis) หรืออาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกมากเกินไป และอุดตันภายในไซนัส นำไปสู่การติดเชื้อ และมีอาการต่าง ๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ เป็นไข้ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจลุกลามไปยังบริเวณดวงตา สมอง และไขสันหลัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระดูก นอกจากนี้ เด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้ละอองฟาง ไข้หวัด โรคผิดปกติของภูมิคุ้มกัน โรคหอบหืด รูปร่างจมูกผิดปกติ การบาดเจ็บที่จมูก […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

RDS (กลุ่มอาการหายใจลำบาก) คืออะไร

RDS (Respiratory Distress Syndrome) คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น หายใจตื้น หายใจเร็ว แลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] RDS คือ อะไร RDS คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ทารกมีอาการหายใจผิดปกติ และเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะปอดรั่ว ถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมองหรือช่องปอด พัฒนาการล่าช้า ความบกพร่องทางสติปัญญา และสูญเสียการมองเห็น บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิด RDS RDS เกิดจากการที่ปอดของทารกพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีสารลดแรงตึงผิวในปอดไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของถุงลมเวลาหายใจ โดยปกติสารลดแรงตึงผิวนี้จะเริ่มสร้างเมื่อทารกในครรภ์อายุได้ 24-28 สัปดาห์ แต่หากทารกคลอดก่อนกำหนด ก็อาจทำให้สารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ ทำให้ถุงลมพองตัวได้ยากขึ้น และส่งผลให้ทารกต้องหายใจแรงขึ้นเพื่อพยายามขยายถุงลมในปอด ทำให้ทารกหายใจเหนื่อย ทั้งยังส่งผลให้ทารกมีออกซิเจนในเลือดน้อย และมีการสะสมของคาร์บอนไซด์ในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) และส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาการของ RDS อาการของ RDS มีดังนี้ มีปัญหาการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว […]


วัคซีน

Vaccine ที่ควรได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่

วัคซีน (Vaccine) เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอที่จะต้านเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันความรุนแรงของโรค ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น ความสำคัญของการฉีด Vaccine วัคซีนมีความสำคัญต่อร่างกายของเด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคก่อนที่จะป่วย โดยการฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ขึ้น โดยวัคซีนแต่ละตัวอาจทำหน้าที่ในการป้องกันโรคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การฉีดวัคซีนที่จำเป็นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิดและฉีดวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดอยู่เสมอ จึงส่งผลดีต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการติดเชื้อ ป้องกันอาการป่วยรุนแรงและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถแบ่งวัคซีนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ วัคซีนก่อโรคทั้งตัว คือ การนำเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลงเพื่อไม่ให้เกิดโรคมาทำเป็นวัคซีน โดยให้เชื้อโรคทั้งหมดกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อป้องกันโรคแต่ละชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน วัคซีนตับอักเสบ เอ และบี วัคซีนที่ทำจากส่วนหนึ่งของเชื้อ คือ การนำเพียงส่วนประกอบบางส่วนหรือแอนติเจนของเชื้อโรคที่สามารถกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดมาทำเป็นวัคซีน แต่วัคซีนประเภทนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะสั้นกว่า เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ วัคซีนคอนจูเกต วัคซีนกรดนิวคลีอิก คือ การนำสารพันธุกรรมของเชื้อโรคมาทำเป็นวัคซีนเพื่อกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะยาวได้ เช่น วัคซีน mRNA […]


วัคซีน

ฉีดวัคซีน และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ฉีดวัคซีน เป็นการฉีดแอนติเจน (Antigen) หรือสารก่อภูมิต้านทาน เข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดโอกาสอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ทั้งนี้ ก่อนได้รับการฉีดวัคซีนชนิดใดก็ตาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้วัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีดวัคซีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร การฉีดวัคซีน เป็นวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากโรค ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนร่างกายจะเผชิญกับเชื้อนั้นจริง ๆ เมื่อถูกฉีดวัคซีนเข้าร่างกาย แอนติเจนในวัคซีน จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างโปรตีนแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา เพื่อจดจำและต่อสู้กับเชื้อชนิดนั้น ๆ และเมื่อพบเชื้อชนิดเดิมในภายหลัง ร่างกายจะรีบกำจัดเชื้อนั้น ก่อนที่เชื้อจะทำให้เกิดโรค โอกาสเจ็บป่วยจากเชื้อชนิดนั้นจึงลดลง ร่างกายไม่เป็นพาหะของโรค และเป็นการตัดวงจรระบาดของเชื้อไปด้วยในขณะเดียวกัน ทั้งนี้ นอกจากสารก่อภูมิต้านทานแล้ว วัคซีน 1 เข็มยังประกอบด้วย สารเสริมภูมิคุ้มกัน (Adjuvants) หรือสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เหรือสารซึ่งช่วยให้สารต่าง ๆ ในวัคซีนยังคงรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่จับตัวเป็นก้อน สารกันเสีย (Preservatives) คือสารป้องกันวัคซีนหมดอายุ เสื่อมคุณภาพ หรือปนเปื้อน โดยสารกันเสียซึ่งนิยมใช้กันคือ พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) สารทำให้คงตัว (Stabilizers) เช่น น้ำตาล […]


วัคซีน

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

ฉีดยาวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการฉีดสารก่อภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้สำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจกังวลต่อฤทธิ์ของตัวยาวัคซีนที่ผ่านการทดลองมาไม่นาน ผลข้างเคียงที่อาจตามมา รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล เหตุผลของผู้ที่ไม่รับการ ฉีดยาวัคซีน การฉีดวัคซีน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่มีการรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกไม่ฉีดยาวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลต่อไปนี้ กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังฉีดวัคซีน มักเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งทำให้บางคนอาจกังวลและกลัวจนไม่กล้าไปฉีดวัคซีนในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยประกอบด้วย แขนบวม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ไข้ขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 วันผลข้างเคียงต่าง ๆ จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของยาวัคซีน โดยหลักการแล้ว ยาวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากติดเชื้อ วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงอาการป่วยขั้นรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แต่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดเมื่อทราบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคของวัคซีนซึ่งได้รับมา จึงเข้าใจว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน นอกจากนี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน และการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 […]


วัคซีน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

วัคซีนเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โปลิโอ อีกทั้งยังอาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิดได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็ก และบันทึกการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งเอาไว้ เพื่อป้องกันการลืมและช่วยแจ้งเตือนกำหนดการฉีดวัคซีนในครั้งถัดไป ทำให้ไม่พลาดกำหนดการฉีดวัคซีนที่สำคัญของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนเด็ก ทำไมถึงควรฉีดตามตารางการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนเด็กตามตารางการฉีดวัคซีน ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่คนรอบข้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ จะได้ไม่ฉุกละหุก หรือพลาดการรับวัคซีนไป โดยอาจใช้การจดบันทึกประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ระบุ วัน เวลา และสถานที่รับวัคซีน หรือใช้เครื่องมือช่วยเตือนความจำอย่าง ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ในเว็บไซต์ Hello คุณหมอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ และทำให้ติดตามการนัดหมายถัดไปของคุณหมอได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังใช้ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ วิธีการใช้เครื่องมือตารางเวลาการฉีดวัคซีน วิธีการใช้เครื่องมือจัดตารางการฉีดวัคซีนของ Hello คุณหมอ มีดังนี้ เข้าไปที่เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพบนเว็บไซต์ Hello คุณหมอ จากนั้นกดเลือก ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ป้อนข้อมูลของลูก เช่น เพศ วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น และกดดูตาราง เพื่อตรวจสอบรายการวัคซีนที่เด็กควรได้รับตามช่วงอายุ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามตารางการฉีดวัคซีนเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างบัญชีสำหรับ […]


วัยรุ่น

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก

ประจำเดือน คือเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดในทุก ๆ เดือน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี การเป็นประจำเดือนถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนครั้งแรกและวิธีการใช้ผ้าอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมเมื่อเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาเนื่องจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยปกติในแต่ละเดือน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมา และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีอสุจิมาผสมกับไข่ ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะลดลง และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน โดยประจำเดือนมักจะมาทุก ๆ 21-45 วัน และอาจเป็นประจำเดือนนานประมาณ 3-8 วัน ทั้งนี้ รอบเดือนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป สัญญาณเตือนเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก โดยปกติลูกมักจะเป็นประจำเดือนครั้งแรกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยแรกรุ่น ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงอายุ 12 ปี แต่บางคนอาจมาช้าหรือเร็วกว่านั้นตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสัญญาณเตือนการเป็นประจำเดือนครั้งแรกของลูก มีดังนี้ ท้องเสีย ท้องอืด และอาจปวดท้องเกร็งช่วงท้องด้านล่าง อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอกและเต้านมเมื่อสัมผัส รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อยขึ้น วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก อาจทำได้ดังนี้ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือน หากเป็นไปได้ควรพูดก่อนที่ประจำเดือนจะมา เพื่อให้ลูกทำความเข้าใจและรับมือได้ด้วยตัวเอง ช่วยลดอาการตื่นตกใจเมื่อประจำเดือนมา สอนลูกเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้าอนามัย วิธีการใช้ผ้าอนามัย […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

น้ำยาซักผ้าเด็ก และเคล็ดลับการใช้ให้ปลอดภัย

น้ำยาซักผ้าเด็ก เป็นผลิตภัณฑ์ที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง เนื่องจากเด็กยังมีร่างกายและผิวหนังที่บอบบาง อาจระคายเคืองต่อสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด และหลีกเลี่ยงส่วนประกอบที่อาจระคายเคืองต่อผิวและระบบทางเดินหายใจของเด็ก เช่น น้ำหอมเข้มข้น สารเพิ่มความนุ่ม แอลกอฮอล์ ทั้งนี้ ควรศึกษาการใช้น้ำยาซักผ้าเด็กอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยในการสวมใส่เสื้อผ้า และลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น คัดจมูก ภูมิแพ้ ผดผื่น ระคายเคือง ไม่สบายตัวของเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีเลือกซื้อ น้ำยาซักผ้าเด็ก อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เลือกน้ำยาซักผ้าเด็กที่มีฉลากระบุว่าเป็นสูตรอ่อนโยนต่อผิว หรือเหมาะสำหรับผิวบอบบาง ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองต่อผิวที่แพ้ง่ายหรือบอบบาง เช่น สูตรออร์แกนิคที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีส่วนผสมของควอท (Quats) ที่เป็นสารเพิ่มความนุ่ม เพราะอาจทำให้ผิวและระบบทางเดินหายใจของเด็กระคายเคืองและอักเสบได้ สามารถใช้น้ำยาซักผ้าแบบปกติได้ การเลือกใช้น้ำยาซักผ้าเด็กไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเสมอไป หากเด็กไม่ได้มีปัญหาผิวแพ้ง่ายหรือเป็นโรคภูมิแพ้ ก็สามารถใช้แบบเดียวกับคนที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนชนิดหรือซื้อมาใช้เพิ่ม แต่หากใช้แบบทั่วไปแล้วผิวเด็กมีอาการแพ้ หรือมีผื่นคันขึ้นตามตัว อาจพิจารณาเลือกซื้อน้ำยาซักผ้าเด็กโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของสารทำความสะอาดที่เข้มข้นน้อยกว่า หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ซักผ้าแบบผง ควรเลือกใช้น้ำยาซักผ้าเด็กที่เป็นแบบน้ำยามากกว่าแบบผง เนื่องจากแบบผงละลายน้ำได้ยากกว่า จึงอาจทำให้ผงซักผ้าละลายไม่หมดและจับตัวเป็นก้อน มีฟองเยอะ และล้างออกยากกว่า ทำให้มีสารเคมีตกค้างหลังซักเสร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวเด็กระคายเคืองได้ ไม่มีส่วนประกอบที่อาจเป็นอันตราย เลือกใช้น้ำยาซักผ้าเด็กที่ไม่มีส่วนผสมของสารพาราเบน สารกลุ่มพาทาเลต (Phthalate) แอลกอฮอล์ น้ำหอม และสีย้อม ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองผิวเด็กซึ่งบอบบางและไวต่อสารเคมี เคล็ดลับการซักผ้าเด็กให้ปลอดภัยกับเด็ก การซักผ้าให้ปลอดภัยกับเด็ก มีดังนี้ เมื่อซื้อเสื้อผ้าเด็กมาใหม่ ควรซักก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะเสื้อผ้าใหม่เหล่านี้อาจมีสารเคมีจากกระบวนการผลิตเสื้อผ้าติดมาด้วย สารเคมีต่าง ๆ […]


วัคซีน

วัคซีน เด็ก ที่ควรได้รับ และเคล็ดลับไม่ให้ลูกงอแงตอนรับวัคซีน

เมื่อต้องไปฉีด วัคซีน เด็ก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอ บาดทะยัก หัด คางทูม  สุกใส ไข้หวัดใหญ่ เด็ก ๆ อาจยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนมากพอ และสนใจเพียงความรู้สึกเจ็บที่เคยได้รับจากการฉีดวัคซีนเท่านั้น ทำให้มีอาการงอแงเมื่อรู้ว่าต้องไปฉีดวัคซีนในครั้งต่อไป คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีที่ช่วยให้ลูกสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ราบรื่น รวมถึงวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน เพื่อให้การฉีดวัคซีนของลูกในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีน เด็ก ที่ควรฉีดในแต่ละช่วงวัย วัคซีนพื้นฐานที่ควรฉีดให้กับเด็ก มีดังนี้ วัคซีนป้องกันบีซีจี หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคปอดและวัณโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็กเล็ก เด็กจะได้รับวัคซีนชนิดนี้เพียงครั้งเดียวภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และไม่ต้องฉีดซ้ำอีกตลอดชีวิต วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (HB1 และ HB2) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และอาจฉีดซ้ำเข็มที่ 2 เมื่อเด็กมีอายุ 1 เดือน ในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี กรณีคุณแม่ไม่เป็นพาหะตับอักเสบบี จะฉีดวัคซีนที่อายุ 2 เดือน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1) เป็นวัคซีนรวมโรคชนิดทั้งเซลล์ (DTWP) […]


เด็กทารก

ทารกสะอึก สาเหตุและวิธีรับมือที่ควรรู้

ทารกสะอึก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทารก โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยทั่วไป ทารกสะอึกมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และการสะอึกของทารกไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะอันตรายแต่อย่างใด สาเหตุที่ทารกสะอึกอาจเกิดจากกะบังลมที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่กระตุกหรือหดเกร็ง ทารกสามารถสะอึกได้ทุกเวลา แต่มักเกิดขึ้นหลังให้นม ระหว่างนอนหลับ ตอนทารกตกใจ หรือรู้สึกเครียด ทารกอาจสะอึกน้อยลงเมื่อโตขึ้น อย่างไรก็ตาม หากทารกสะอึกนานผิดปกติ หรือนานกว่า 48 ชั่วโมง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยสาเหตุเพิ่มเติมและรักษาให้ตรงจุด ทารกสะอึก เกิดจากอะไร ทารกสะอึก เป็นอาการที่อาจเกิดจากกระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปดันกะบังลมให้หดตัว ส่งผลให้ทารกหายใจเข้าฉับพลัน อากาศพุ่งเข้าไปกระทบกล่องเสียง ทำให้เส้นเสียงปิดกะทันหัน จนเกิดเป็นเสียงสะอึก โดยทั่วไป อาการสะอึกของทารกไม่ได้เป็นสัญญาณของความผิดปกติทางพัฒนาการแต่อย่างใด และถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้สำหรับทารกที่อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญเติบโตและพัฒนาไม่เต็มที่ อาการสะอึกเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติจึงไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อาการสะอึกโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น หากทารกสะอึกติดต่อกันนานเกินไป หรือนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรพาไปพบคุณหมอ วิธีดูแลเมื่อ ทารกสะอึก วิธีที่ช่วยให้ทารกสะอึกน้อยลง มีดังนี้ หากทารกสะอึกหลังให้นม อาจลองป้อนนมให้ช้าลง เนื่องจากทารกอาจสะอึกเพราะดูดนมเร็วเกินไปแล้วหายใจไม่ทัน ให้นมในขณะที่ทารกกำลังสงบและรู้สึกสบายใจ เพราะหากทารกดื่มนมในขณะที่ขยับตัวบ่อยหรืออยู่ไม่นิ่งอาจทำให้ทารกสำลัก และนมอาจไประคายเคืองหลอดอาหารของทารก ทำให้กระตุ้นการสะอึกได้ เลือกขนาดจุกนมให้เหมาะสมกับขนาดปากของทารก เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลช้าหรือเร็วเกินไปจนอาจทำให้ทารกสะอึกได้ ปกติแล้ว อาจต้องเปลี่ยนขนาดของจุกนมทุก ๆ 2-3 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน