พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพเด็ก

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ อะไร

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ ภาวะที่ทารกในช่วงแรกเกิดขาดออกซิเจนหลังคลอด ทำให้ไม่หายใจ หายใจแผ่ว สีผิวผิดปกติ หรือมีอาการชัก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มดลูกแตก สายสะดือย้อย ทารกเสียเลือดมาก ซึ่งหากรักษาได้ทันและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก็อาจทำให้ทารกฟื้นตัว และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามปกติได้ Birth asphyxia คือ อะไร ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด เกิดจากทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังคลอด เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีกรดสะสมในเซลล์และสร้างความเสียหายให้กับร่างกาย เป็นอันตรายต่อการทำงานของสมองและอวัยวะอื่น ๆ ความรุนแรงของภาวะนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทารกขาดออกซิเจน ระดับออกซิเจน และความเร็วในการรักษา หากได้รับการรักษาทันท่วงที ทารกอาจฟื้นตัวกลับเป็นปกติได้ แต่หากรักษาล่าช้า อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และอาจเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง เช่น อาการชัก ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy) ภาวะพัฒนาการล่าช้า การดูแลและติดตามสุขภาพของคุณแม่และทารกอย่างใกล้ชิดทั้งก่อนและหลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ สาเหตุของภาวะ Birth asphyxia สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด อาจมีดังนี้ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ปัญหาสายสะดือย้อยระหว่างคลอด ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดที่ใช้เวลานานหรือซับซ้อนเกินไป การติดเชื้อรุนแรงของคุณแม่หรือทารก […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

Hardepuin fetus (เด็กดักแด้) คืออะไร สาเหตุ ความเสี่ยง วิธีรักษาและวิธีดูแล

Hardepuin fetus หรือเด็กดักแด้ เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ยากมาก เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนังที่กลายพันธุ์ เนื่องจากการถ่ายทอดยีนผิดปกติทางพันธุกรรม ส่งผลให้ผิวเปราะบางอย่างรุนแรงและระคายเคืองได้ง่าย หากผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือเสียดสีอาจทำให้เกิดแผลพุพอง โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดและระดับความรุนแรงจะแตกต่างไปในแต่ละคน คุณหมออาจวางแผนการรักษาด้วยการดูแลตามอาการ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อน [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคเด็กดักแด้ คืออะไร โรคนี้เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเซลล์ผิวหนังของเด็กจะผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว จะมีสภาพผิวรัดตึง แห้งลอก เป็นตุ่มน้ำ แผลพุพอง และแยกออกเป็นแผ่นกระจายทั่วร่างกาย โดยอาจสังเกตอาการของโรคนี้ได้จากการอัลตราซาวด์ครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 สัปดาห์ หรือตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป สาเหตุของโรคเด็กดักแด้ โรคเด็กดักแด้ เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน ABCA12 ที่ทำให้กระบวนการสร้างชั้นผิวหนังผิดปกติ โดยเซลล์กลายพันธุ์จะไปยับยั้งการสร้างโปรตีน ทำให้ผิวหนังชั้นนอกมีพัฒนาการผิดปกติอย่างรุนแรงทั้งในช่วงที่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นได้ยากมาก โอกาสในการเกิดโรคเด็กดักแด้ หากทั้งพ่อและแม่มียีนก่อโรคเด็กดักแด้โอกาสที่ยีนจะถ่ายทอดไปยังเด็กและทำให้เด็กเกิดโรคนี้ อาจมีดังนี้ โอกาสที่เด็กจะมียีนก่อโรค และเป็นโรค คิดเป็น 25% โอกาสที่เด็กจะมียีนก่อโรคจากแค่ทางพ่อหรือแม่ และเป็นพาหะของโรค คิดเป็น 50% โอกาสที่เด็กจะไม่ได้รับยีนก่อโรคจากพ่อและแม่ คิดเป็น 25% อาการของโรค Hardepuin fetus หรือ เด็กดักแด้ อาการของเด็กดักแด้ อาจมีดังนี้ มีผิวหนังแห้ง แตก เป็นแผ่นหย่อม ๆ ทั่วร่างกายตั้งแต่กำเนิด ผิวหนังจะแห้งตึงจนเปลือกตาและริมฝีปากแตกหรือปลิ้น จมูกอาจพัฒนาได้ไม่เต็มที่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีเพิ่มความสูง ให้กับเด็ก ทำได้อย่างไรบ้าง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงของเด็กส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมและฮอร์โมนในร่างกาย เด็กมักหยุดสูงเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น หรือในช่วงอายุประมาณ 18-20 ปี จึงควรศึกษา วิธีเพิ่มความสูง ของเด็กเพื่อช่วยให้เด็กเติบโตและมีส่วนสูงที่เหมาะสมตามวัย ทั้งนี้ ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ความสูงของเด็กจะมีพัฒนาการก้าวกระโดดที่สุดและเป็นช่วงวัยที่สามารถเพิ่มความสูงด้วยวิธีต่าง ๆ ได้ เช่น ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกระดูก รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มนมเป็นประจำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเด็กมีส่วนสูงไม่สมวัย ควรพาเด็กไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ และหาวิธีแก้ไขได้อย่างตรงจุดที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อความสูง ปัจจัยที่มีผลต่อความสูง อาจมีดังนี้ พันธุกรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อความสูงของเด็ก ส่วนใหญ่แล้ว ความสูงของเด็กขึ้นอยู่กับยีนที่ได้รับจากพ่อแม่ หากพ่อแม่สูงทั้งคู่ โอกาสที่เด็กจะมีส่วนสูงใกล้เคียงกับพ่อแม่ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ความสูงของเด็กอาจแตกต่างจากพ่อแม่เป็นอย่างมากก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน และแม้ว่าจะยังไม่มีวิธีคาดคะเนส่วนสูงของเด็กในอนาคตด้วยตัวเองได้อย่างแม่นยำ สูตรคำนวณความสูงพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้ทราบส่วนสูงสุดท้ายคร่าว ๆ ของเด็ก เมื่อถึงวัยหยุดสูง หรือเมื่ออายุประมาณ 18-20 ปี และอาจช่วยให้สังเกตเห็นความผิดปกติด้านความสูงของเด็กได้ด้วย สำหรับเด็กผู้ชาย คือ (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) แล้วหารด้วย 2 จะได้ส่วนสูงสุดท้ายคร่าว […]


เด็กทารก

ครีมทาหน้าเด็ก จำเป็นไหมและควรเลือกใช้อย่างไร

ครีมทาหน้าเด็ก คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับทารกที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังทารกที่อาจแพ้และแห้งง่าย เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีผิวที่ละเอียดอ่อน บอบบางและยังกักเก็บความชื้นได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อครีมทาหน้าเด็กที่อ่อนโยนที่สุด มีส่วนผสมที่ปราศจากน้ำหอม สีสังเคราะห์ พืช สมุนไพร และสารกันบูด เพื่อปกป้องผิวหนังของทารกจากอาการระคายเคือง หรืออาการแพ้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ครีมทาหน้าเด็ก มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ครีมทาหน้าเด็กคือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับทารก มักมีส่วนผสมของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ เช่น กรดไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) เซราไมด์ (Ceramide) กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งมีสรรพคุณเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังของทารก ครีมทาหน้าเด็ก จำเป็นหรือไม่ ควรใช้เมื่อใด ครีมทาหน้าเด็กสามารถใช้ได้ทุกวันหลังอาบน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังทารก รวมทั้งเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาการผิวแห้ง โดยทั่วไป ผิวหนังของทารก มักมีความหนาเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของผิวหนังผู้ใหญ่ รวมถึงมีเซลล์ผิวซึ่งเรียงตัวกันไม่หนาแน่นนัก จึงกักเก็บความชื้นได้ไม่นาน หรือแห้งได้ง่าย โดยครีมทาหน้าเด็ก เป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวหนังทารก อย่างไรก็ตาม อาการผิวแห้งและลอกที่เกิดขึ้นในช่วงที่ทารกมีอายุประมาณ 1 หรือ 2 สัปดาห์จะหายเองได้โดยไม่ต้องทาครีม แต่หากผิวแห้งถึงขั้นปริแตก คุณพ่อคุณแม่อาจทาครีมหรือโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม […]


การดูแลทารก

การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก ที่คุณแม่ควรรู้

การวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการวัดไข้สำหรับทารกสามารถทำได้หลายแบบ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกวิธีตามความเหมาะสมของอายุเด็ก การวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักขยับร่างกายตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ  ให้ใช้การวัดไข้ทางรักแร้และทวารหนัก ทั้งนี้ ค่าอุณหภูมิร่างกายปกติของทารกอยู่ที่ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส หากวัดอุณหภูมิร่างกายทารกได้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียล แสดงว่าทารกมีไข้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การวัดอุณหภูมิร่างกายทารก ทำได้อย่างไรบ้าง การวัดอุณหภูมิร่างกาย ทารก อาจทำได้ด้วยวิธีนี้ต่อไปนี้ การวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก ด้วยแถบเทอร์โมมิเตอร์ หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรด ใช้ได้กับเด็กทุกวัย วิธีนี้ให้ความแม่นยำน้อยกว่าวิธีอื่น เนื่องจากเป็นการวัดอุณหภูมิของผิวหนัง ไม่ใช่การวัดอุณหภูมิของร่างกาย การวัดอุณหภูมิทางหู ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เหมาะสำหรับทารกอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่เนื่องจากทารกแรกเกิดมีช่องหูหรือรูหูแคบ จึงอาจทำให้ได้ผลการวัดอุณหภูมิที่ไม่แม่นยำนัก (ควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบกัน) การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล เป็นวิธีการวัดไข้ที่สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจคลาดเคลื่อนได้หากสอดที่วัดไข้เข้าไปในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่แนบผิวหนังบริเวณใต้วงแขน ค้างไว้ 2-4 นาทีเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แม่นยำที่สุด การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วหรือแบบดิจิตอล วิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน การวัดไข้ทางทวารหนักอาจได้ค่าอุณหภูมิสูงกว่าการวัดไข้ทางรักแร้เนื่องจากเป็นการวัดด้วยการสอดเข้าไปในผิวหนังที่ลึกกว่า หากวัดได้มากกว่า 38 องศาเซลเซียล […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

โรคออทิสติก สเปกตรัม หรือ Autism spectrum disorder คือ ภาวะที่เกี่ยวกับการพัฒนาของสมอง ที่มีผลต่อการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและมีปัญหาด้านการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดานการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจจะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดในด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและเข้าสังคมได้เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ [embed-health-tool-vaccination-tool] Autism spectrum disorder คือ อะไร ออทิสติก สเปกตรัม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมอง พบตั้งแต่ก่อนอายุ 3 ขวบ บางคนอาจมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 12 เดือน โรคนี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร รวมทั้งส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ทำกิจวัตรเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ชอบอยู่คนเดียว จดจ่อเพียงแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ (ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงต่างกันไป) อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติก สเปกตรัม ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วไปในการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ เช่น เลือกเสื้อผ้าเอง การสวมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง รับประทานอาหารเอง โดยคุณหมอและนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยวางแผนโปรแกรมการฝึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของคุณหมอ ปัจจัยเสี่ยงของ Autism […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล ร้อนในที่เหงือก คือภาวะที่มีแผลเปิดบริเวณเหงือก หรือบางครั้ง อาจแผลร้อนในที่บริเวณอื่นภายในช่องปากได้ เช่น กระพุ้งแก้ม เพดานอ่อน ริมฝีปาก แผลร้อนในมักมีลักษณะเป็นแผลขนาดเล็ก สีขาวและอาจบวมแดง ภาวะร้อนในที่เหงือกอาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อย พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การแพ้อาหารบางชนิด โรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบบ่อยในเด็ก โดยปกติแล้ว ภาวะร้อนในที่เหงือกสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา เช่น ยาลดกรด ยาป้ายแผลในปาก ร่วมกับการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น การดื่มน้ำเยอะ ๆ การงดรับประทานอาหารรสจัด พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขภาพช่องปาก แต่หากร้อนในที่เหงือกเรื้อรังและมีอาการนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของ ร้อนในที่เหงือก อาการที่เป็นสัญญาณว่าเด็กเป็นร้อนในที่เหงือก อาจมีดังนี้ มีแผลพุพองเล็ก ๆ บริเวณเหงือก ตรงกลางแผลเป็นสีขาว ขอบแผลเป็นสีแดง แผลมักมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แต่บางครั้งก็อาจเป็นแผลลึกและกว้างได้ มีปัญหาในการเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน รับประทานอาหารได้น้อยลง ในเด็กเล็กอาจมีน้ำลายยืด ไม่ยอมกลืนน้ำลาย หายใจทางปากบ่อยขึ้น […]


การเติบโตและพัฒนาการ

แป้งโดว์ มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และวิธีทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง

แป้งโดว์ เป็นของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เด็กสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยการปั้นแป้งโดว์เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการ ซึ่งอาจช่วยเสริมสร้างจินตนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ช่วยเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและสื่อสาร เมื่อเด็กเล่นแป้งโดว์พร้อมเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว ที่สำคัญการปั้นแป้งโดว์ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณมือและนิ้วของเด็กได้เป็นอย่างดีอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถหาซื้อแป้งโดว์สำเร็จรูป หรือทำแป้งโดว์จากส่วนผสมที่หาได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน แป้งโดว์ทำเองนั้นปลอดสารเคมี คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก แป้งโดว์ คืออะไร แป้งโดว์เป็นก้อนแป้งเนื้อนิ่ม ยืดหยุ่นได้ และมีสีสันสดใส สามารถใช้ปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้คล้ายดินน้ำมัน แต่ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จึงเป็นของเล่นที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างปลอดภัย เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มหยุดหยิบสิ่งของเข้าปาก วิธีการทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง วิธีการทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง อาจมีดังนี้ ส่วนผสมของแป้งโดว์ แป้งสาลีหรือแป้งข้าวโพด 2 ถ้วยตวง ครีมออฟทาร์ทาร์ (Cream of tartar) 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ถ้วยตวง สีผสมอาหาร น้ำ 2 ถ้วยตวง ถาดหรือเขียง กระทะเทฟล่อนหรือกระทะเคลือบ ขั้นตอนการทำ แป้งโดว์ ใส่แป้งสาลี เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ และน้ำมันพืชลงในภาชนะที่เตรียมไว้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เมื่อลูกเป็น อีสุกอีใส ควรดูแลอย่างไร

อีสุกอีใส เป็นโรคติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนังที่พบสามารถพบได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดผื่น บวมแดง มีตุ่มน้ำพองทั่วร่างกาย ทั้งใบหน้าและลำตัว และอาจมีอาการคันร่วมด้วย อาการคันมักรุนแรงและอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก หากลูกมีไข้ เบื่ออาหาร และมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ จำนวนมากขึ้นบนผิวหนัง อาจเป็นสัญญาณของโรคอีสุกอีใส ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน และควรแยกตัวลูกให้ห่างจากเด็กคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค อีสุกอีใส คืออะไร อีสุกอีใส (Chickenpox) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ตุ่มน้ำพองที่เกิดจากการติดเชื้ออีสุกอีใสจะเริ่มขึ้นบนผิวหนังหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 10-21 วัน โดยระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ไวที่สุดอยู่ในช่วง 1-2 วันก่อนตุ่มน้ำจะขึ้นบนร่างกาย และจะหมดระยะแพร่เชื้อหลังจากที่แผลแห้งและตกสะเก็ดแล้ว เด็กที่สุขภาพดีมักจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายจากอีสุกอีใสได้ภายใน 5-10 วัน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง ผื่นคันอาจลามไปทั่วร่างกาย หลังแผลแห้งและตกสะเก็ดอาจเกิดรอยโรคบริเวณลำคอ ดวงตา เนื้อเยื่อท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ไปจนถึงบริเวณช่องคลอด อีสุกอีใส อันตรายหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้ว อีสุกอีใสไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอีสุกอีใสจะไม่ได้หายไปเลย แต่จะซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท ผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสจึงเสี่ยงเกิดโรคงูสวัด (Shingles) ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกันได้ในอนาคต หากอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่ซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาทใต้ผิวหนังจะแบ่งตัว เพิ่มจำนวน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กนอนกัดฟัน สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

เด็กนอนกัดฟัน เป็นภาวะที่เด็กขบฟันกรามซี่บนเข้ากับซี่ล่างในขณะนอนหลับเป็นประจำ จนเกิดเสียงดัง และอาจทำให้ฟันสึกและมีอาการปวดฟันและกรามตามมาได้ เด็กอาจเริ่มนอนกัดฟันตั้งแต่ช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นหรือตอนอายุประมาณ 6 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินเสียงฟันกรามกระทบหรือขบกันเมื่อเด็กนอนหลับในเวลากลางคืน หรือสังเกตเห็นความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น หากพบว่าการนอนกัดฟันส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกังวลว่าฟันหรือสุขภาพช่องปากของเด็กจะมีปัญหา ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม เด็กนอนกัดฟันเกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟัน อาจมีดังนี้ ปัญหาสุขภาพฟัน การมีฟันขึ้นซ้อนเก ฟันห่าง ความสูงของฟันผิดปกติ รวมไปถึงการติดเครื่องมือจัดฟันภายในช่องปาก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้จะไปปรับระดับสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมในขณะนอนหลับได้ พันธุกรรม เด็กที่นอนกัดฟันอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัตินอนกัดฟัน ก็อาจทำให้เด็กมีอาการนี้ได้เช่นกัน ความเครียดในชีวิตประจำวัน เมื่อเครียดหรือวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมามาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะต่อมอะดีนอยด์โต ภาวะหายใจทางปากขณะหลับ อาจส่งผลให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายอื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน