พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพวัยรุ่น

6 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองและคนรอบข้างควรให้ความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเอง การคบเพื่อน โดยอาจเฝ้าสังเกตอยู่ห่าง ๆ และคอยให้คำปรึกษาเมื่อวัยรุ่นต้องการ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว [embed-health-tool-bmr] พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการความอิสระ อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในบางเรื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่น และอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น อาจมีดังต่อไปนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด เด็กวัยรุ่นบางคนอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น อาจเกิดปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย อาจเกิดปัญหาด้านพัฒนาการทางสมอง อาจมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือท้องโดยไม่พร้อม อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และมีพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและการก่ออาชญากรรม อาจเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ การเจาะร่างกาย วัยรุ่นที่ชื่นชอบการเจาะร่างกายอาจเป็นอีกหนึ่ง พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ที่อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อโรคทางเลือด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี หรือเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่นและอาจส่งผลต่อครอบครัวหรือคนรอบข้างได้เช่นกัน ความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงในวัยรุ่นเป็น พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น ที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ สุขภาพร่างกาย รวมถึงอาจส่งผลเสียต่อโรงเรียนและสังคมด้วย ตัวอย่างพฤติกรรมรุนแรงในโรงเรียน ดังนี้ การกลั่นแกล้งทั้งต่อหน้าและในโลกอินเทอร์เน็ต การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธ ความรุนแรงทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่นอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรืออาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน ไม่ป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแต่ละช่วงวัยมักต้องการสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตแตกต่างกัน เช่น เด็กในช่วงวัยทารกยังคงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากนมแม่ แต่หากเข้าสู่ช่วงวัยเริ่มหัดเดิน เด็กอาจต้องการสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและให้พลังงานแก่ร่างกาย โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน มีอะไรบ้าง เด็กวัยหัดเดินและเด็กวัยก่อนเรียนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 2-6 ปี ควรได้รับโภชนาการอย่างครบถ้วน เนื่องจากเด็ก ๆ วัยนี้ต้องการพลังงานเพื่อดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงช่วยบำรุงสมอง ระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ เพื่อพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ โภชนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรหามาให้แก่ลูกรักของคุณ มีดังนี้ โปรตีน ควรเน้นโปรตีนที่มีประโยชน์ เช่น ถั่วเหลือง ปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ ธัญพืช ถึงแม้ธัญพืชจะมีหลากหลายชนิด แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเลือกธัญพืชเต็มเมล็ดหรือธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต แคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี สามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกของเด็กให้แข็งแรง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กวัยหัดเดินดื่มนมอย่างน้อย 2 มื้อเป็นประจำทุกวัน ผักและผลไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับโซเดียมจากขนมมากเกินไป การฝึกให้เด็กรับประทานผักและผลไม้จึงอาจเป็นทางออกที่ดี โดยอาจนำผักผลไม้มาปรุงเป็นเครื่องดื่ม เพื่อให้เด็กรับประทานง่ายขึ้น ปริมาณอาหารที่ เด็กวัยหัดเดิน ควรได้รับต่อวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนในเด็ก และภาวะเรื้อรังด้านสุขภาพอื่น ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณอาหารอาหารของเด็กให้พอดี โดยปริมาณอาหารสำหรับวัยเด็กหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนที่เหมาะสม มีดังนี้ สำหรับเด็กผู้หญิง […]


การดูแลทารก

การดูแลทารกในหน้าหนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกป่วย

รูปร่างขนาดเล็กและผิวหนังที่บางของทารก อาจส่งผลให้ทารกรู้สึกต่อสภาพอากาศภายนอกได้ค่อนข้างไว้ หากยิ่งเป็นในฤดูหนาวแล้วนั้น เป็นไปได้ว่าจะสามารถส่งเสริมทำให้ลูกเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การดูแลทารกในหน้าหนาว จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายที่มาพร้อมกับหน้าหนาว เช่น ไข้วัด โรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคร้ายในหน้าหนาวที่อาจเกิดขึ้นกับทารก โรคที่พบได้บ่อยช่วงวัยของทารกในฤดูหนาว ส่วนใหญ่คือโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงวัยของทารก ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็ควรป้องกันตนเองร่วมด้วย เนื่องจากอาจได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้เช่นเดียวกัน หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกห่างจากไกลจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ควรหลีกเลี่ยงการให้เด็กในวัยเรียนคนอื่น ๆเข้ามาเล่น กอด หอม หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมืออยู่เสมอ รวมถึงอาจต้องมีการนำพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีอายุได้ 6 เดือน และหมั่นเข้ารับการฉีดเป็นประจำทุกปี คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนชนิดอื่น ๆ ตามที่คุณหมอกำหนดไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงเหตุการณ์ที่ลูกไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพมากแค่ไหน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นหนทางที่ดีในการช่วยลดความรุนแรงของโรคต่าง ๆ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดี การดูแลทารกในหน้าหนาว ควรทำอย่างไร การดูแลลูกน้อยในสภาพอากาศที่หนาวเย็นเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อคอยสร้างความอบอุ่นให้ลูกมีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดี ร่าเริงได้อยู่เสมอ โดยวิธีการดูแลทารกในหน้าหนาวอาจทำได้ ดังนี้ สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอุ่นแก่ทารก ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าค่อนข้างอุ่น หรืออาจสวมใส่เสื้อผ้าประมาณ 2 ชั้น ชั้นแรกอาจใส่เป็นเสื้อแขนยาว ส่วนอีกชั้นเป็นเสื้อเชิ้ตคลุมตัว หากเป็นไปได้ควรหาหมวกมาคลุมศีรษะไว้ด้วย ป้องกันการรับอุณหภูมิที่เย็นจัดจนทำให้ลูกน้อยเป็นหวัด ส่วนร่างกายของทารกส่วนล่างควรเป็นกางเกงขายาว […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทั้งยังสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ ดังนั้น การรู้ถึงความสำคัญของแคลเซียม อาจช่วยให้พ่อแม่ส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียนให้ดียิ่งขึ้น แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากไม่มีการสะสมเพิ่มเติมแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกเพื่อใปใช้ในส่วนอื่น ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกจะอ่อนแอลงและเปราะบาง ซึ่งอาจส่งผลต่อโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้ นอกจากนี้ แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ ปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ       ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ มีดังนี้ เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ เด็กและวัยรุ่นอายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 4 […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกกินไฟเบอร์ ได้มากแค่ไหน และแหล่งไฟเบอร์สำหรับเด็ก

ไฟเบอร์เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็กบางคนอาจมีปัญหาไม่ชอบกินผักจนทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าจะทำอย่างไรให้ ลูกกินไฟเบอร์ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ไม่ได้มีแต่ผักใบเขียวเพียงอย่างเดียว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกกินผักเสมอไป แต่อาจให้ลูกกินพืชตระกูลถั่วและผลไม้ที่อุดมด้วยไฟเบอร์ทดแทนได้ ลูกกินไฟเบอร์ สำคัญอย่างไร การให้ลูกกินไฟเบอร์ที่เป็นเส้นใยจากพืชอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิด และช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้ดีขึ้น ส่งเสริมการการทำงานของลำไส้และป้องกันอาการท้องผูก ทั้งยังอาจทำให้ลูกรู้สึกอิ่มนานขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก ลูกกินไฟเบอร์ ได้มากแค่ไหน ปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ เด็กอายุ 1-3 ปี ต้องการไฟเบอร์ 19 กรัม/วัน เด็กอายุ 4-8 ปี ต้องการไฟเบอร์ 25 กรัม/วัน เด็กชายอายุ 9-13 ปี ต้องการไฟเบอร์ 31 กรัม/วัน เด็กผู้หญิงอายุ 9-13 ปี ต้องการไฟเบอร์ 26 กรัม/วัน เด็กชายอายุ 14-19 ปี ต้องการไฟเบอร์ 38 กรัม/วัน เด็กผู้หญิงอายุ 14-19 ปี ต้องการไฟเบอร์ 26 กรัม/วัน แหล่งอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ ไฟเบอร์พบได้ในพืชทุกชนิด แต่ปริมาณของไฟเบอร์อาจแตกต่างกันไป โดยแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์สูง […]


โภชนาการสำหรับทารก

เด็กทารกกินผัก อะไรได้บ้าง และเริ่มกินได้ตอนไหน

ผัก มีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย อยากเริ่มหัดให้ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าลืมว่าระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกอาจยังตอบสนองและทำงานได้ไม่ดีนัก จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผักที่ทารกสามารถกินได้และไม่ควรกินให้ดี ก่อนฝึกให้เด็กทารกกินผัก เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารกกินผัก ได้หรือไม่ เด็กทารกกินผักได้เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป และควรเริ่มให้กินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน อันดับแรก ต้องล้างผักให้สะอาด ปรุงให้สุกในความนิ่มระดับสูง บดสับให้ละเอียด คลุกให้เข้ากับอาหารจานหลักที่เตรียมไว้  สิ่งสำคัญคือควรเลือกผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก เนื่องจากอาจมีผักบางชนิดที่เด็กทารกกินแล้วเกิดอาการแพ้ได้ เด็กทารกกินผักชนิดใดได้บ้าง ผักที่มีเนื้อสัมผัสเหมาะกับเด็กทารกและสามารถบดผสมกับอาหาร หรือปรุงสุกให้นิ่มแล้วให้เด็กทารกกินเล่นได้ มีดังนี้ ผักตำลึง บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า แครอท ข้าวโพด กะหล่ำปลี ผักโขม ถั่วเขียว ผักกาด นอกจากฝึกให้เด็กทารกกินผักแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เด็กทารกกินผลไม้หรืออาหารประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม มะม่วง ไข่ เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา ถั่ว เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต เพื่อให้เด็กทารกได้รับพลังงานเต็มที่และมีร่างกายที่แข็งแรง วิธีฝึกให้เด็กทารกกินผักตั้งแต่ยังเล็ก โดยปกติ เด็กทารกกินผัก ได้ตั้งแต่อายุ […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผงสำหรับทารก นมทางเลือกสำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

คุณแม่กำลังมีปัญหาเรื่องน้ำนมไม่ไหลหรือไม่ หรือน้ำนมไม่พอสำหรับทารก นมผงสำหรับทารกอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะสามารถช่วยคุณได้ เพราะวัยทารกเป็นช่วงวัยที่กินอาหารได้เพียงทางเดียวคือนมแม่ แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังมีปัญหา นมผงสำหรับทารก อาจช่วยแก้ปัญหานั้นได้ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกนมผง ปัจจุบันมีนมผงหลายสูตรให้เลือกมากมาย โดยนมผงแต่ละสูตรถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบคุณประโยชน์ระหว่างนมผงกับนมแม่ แน่นอนว่านมแม่ย่อมมีประโยชน์และสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกมากกว่า ทั้งในเรื่องสร้างภูมิกันเพื่อปกป้องทารกจากการติดเชื้อและอื่น ๆ แต่สำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ นมผงสำหรับทารก ก็สามารถช่วยเพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่ร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งนมผงแต่ละประเภทนั้นก็มีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูกันว่าจะมีนมผงประเภทอะไรกันบ้าง [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภท นมผงสำหรับทารก นมผงสำหรับทารกมีด้วยกันหลายประเภท ดังนี้ นมผง สูตรนมแพะ นมผงสูตรนี้ใกล้เคียงกับนมวัวเหมาะสำหรับทารกทั่วไป นมผงสูตรนมแพะสามารถช่วยดับความหิวให้กับทารกได้ แต่นมสูตรนี้จะมีเคซีน (Casein) ที่อาจย่อยยากสำหรับทารกมากกว่าเวย์ (Whey) ซึ่งอาจทำให้ทารกนอนหลับยากขึ้น หรือตื่นบ่อยขึ้นได้เช่นกัน นมสูตรนี้ไม่เหมาะสำหรับทารกที่แพ้นมวัวเพราะโครงสร้างของโปรตีนในนมแพะใกล้เคียงกับนมวัวมาก นมผง สูตรป้องกันกรดไหลย้อน เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด เป็นนมผงที่ป้องกันกรดไหลย้อนหลังจากการกินนม แนะนำให้ใช้น้ำอุณหภูมิ 70C ในการต้มเพื่อป้องกันไม่ให้นมเป็นก้อน และข้อควรระวังคือนมผงสูตรนี้มีสูตรการชงที่ใช้น้ำอุณภูมิต่ำซึ่งอาจไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย นมผงสูตรย่อยง่าย เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด นมผงสูตรย่อยง่ายประกอบไปด้วยโปรตีนจากนมวัวที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้ย่อยง่ายและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร เช่น อาการจุกเสียดและท้องผูก แต่สูตรนี้ไม่เหมาะสำหรับทารกที่แพ้นมวัว นมผงสูตรไม่มีแลคโตส เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด นมผงสูตรนี้เหมาะสำหรับทารกไม่สามารถย่อยน้ำตาลแพ้แลคโตสได้จากการขาดเอนไซม์ที่สำคัญคือแลคเตส ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมแลคโตสไปใช้งานได้ โดยอาจแสดงอาการ ท้องร่วง ปวดท้อง ท้องอืด คำแนะนำก่อนใช้นมผงสูตรนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ นมผงสูตรไฮโปอัลเลอร์เจนิก (Hypoallergenic) นมผง สูตรนี้เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด แนะนำให้ใช้ในทารกที่ความเสี่ยงเกิดโรคภูมิแพ้ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการแพ้นมวัวได้ ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้ทารกกินนมสูตรที่มีโปรตีนไฮโดรไลซ์ (Hydrolysed) บางส่วนเพื่อง่ายต่อการย่อยของทารก นมผงสูตรก่อนนอน เหมาะสำหรับทารก […]


โภชนาการสำหรับทารก

แคลเซียมสำหรับทารก มีประโยชน์อย่างไร คุณแม่ควรรู้

แคลเซียม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกระดูกและฟัน โดยเฉพาะสำหรับวัยทารก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องมั่นว่าใจลูกรักได้รับ แคลเซียมสำหรับทารก อย่างเพียงพอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมสำหรับทารกมาฝาก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลลูกน้อยค่ะ [embed-health-tool-vaccination-tool] แคลเซียมสำหรับทารก มีประโยชน์อย่างไร แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบในร่างกายด้วย เช่น ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ดี รวมไปถึงการบำรุงรักษาสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ห่างไกลโรค การได้รับแคลเซียมที่เหมาะสมและเพียงพอตั้งแต่ช่วงวัยทารกจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงสมบูรณ์ในวัยผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันปัญหากระดูกพรุนหรือการสูญเสียกระดูกในอนาคต ในวัยทารกและวัยหนุ่มสาวควรได้รับแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกอ่อนจนทำให้ขาโค้งงอ ช่วยป้องกันปัญหาแคระแกรน รวมไปถึงอาการเจ็บกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่อาจเกิดขึ้น ปริมาณแคลเซียมที่ทารกควรได้รับ ปริมาณของแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัย โดยปกติแล้ว ในช่วงวัยทารก จะได้รับแคลเซียมจากนมแม่ หรือ นมผง แต่สำหรับทารกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ก็อาจเริ่มเสริมแคลเซียมจากอาหารอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วยได้เช่นกัน ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ต้องการแคลเซียมประมาณ 200 มิลลิกรัม/วัน ทารกอายุ 6-11 เดือน ต้องการแคลเซียมประมาณ 260 มิลลิกรัม/วัน มีนมเพียง 2 ประเภทเท่านั้นที่ทารกสามารถกินได้คือ นมแม่และนมผง ไม่ควรให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่ม นมวัวหรือนมแพะ เพราะร่างกายของทารกอาจจะยังไม่สามารถย่อยโปรตีนที่อยู่ในนมเหล่านี้ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน เสริมสร้างพัฒนาการให้เฉียบแหลม

อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน เป็นอาหารที่จะช่วยบำรุงสมองของลูกน้อยให้มีพัฒนาการที่ดีก่อนเข้าโรงเรียน อาหารเหล่านี้ยังเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ คุณอาจไม่เคยรู้มากก่อนว่ามีประโยชน์ต่อ พัฒนาสมองของเด็กก่อนวัยเรียน อาหารเหล่านี้มีอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้ อ่านต่อได้ในบทความนี้ เด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่มีความกระตือรือร้น ร่าเริงแจ่มใส อาหารที่เด็กก่อนวัยเรียนรับประทานจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยในการพัฒนาของร่างกานและสมองให้ดี การวางแผนการกินของเด็กก่อนวัยเรียนต้องประกอบไปด้วยอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก อาหารทะเล ไข่ พืชตระกูลถั่ว นม ผักและผลไม้ เพราะโภชนาการอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างในทุก ๆ ด้านของเด็ก และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ อาหารพัฒนาสมองเด็ก ก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนกัน อาหารพัฒนาสมองเด็กก่อนวัยเรียน มีอะไรบ้าง อาหารบางชนิด อาจมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของสมอง ช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้นทั้งในเรื่องของความจำ และเสริมสร้างสมาธิ และอาหารต่อไปนี้มีส่วนช่วยในการ พัฒนาสมองของเด็กก่อนวัยเรียน แซลมอน ปลาแซลมอนเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 DHA และ EPA ซึ่งมีความจำเป็นต่อการการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง ดังนั้นลองเปลี่ยนเมนูง่าย ๆ ที่บ้านมาใส่เนื้อปลาแซลมอนเป็นส่วนประกอบของอาหารจานโปรดของลูกน้อยดูสิ ไข่ ไข่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนชั้นเยี่ยม อีกทั้งในไข่แดงยังอุดมไปด้วยโคลีน ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความจำได้อีกด้วย ลองทำเมนูอาหารเช้าให้ลูกของคุณก่อนไปโรงเรียนด้วยเมนูไข่แสนอร่อยเพื่อเสริมสร้างความจำที่ดีให้กับลูกน้อย เนยถั่ว ถั่วลิสงและเนยถั่วเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเยื่อหุ้มประสาท วิตามินบีที่อยู่ในเนยถั่วยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสี  มีเส้นใยที่ช่วยควบคุมการปล่อยกลูโคสเข้าสู่ร่างกายและสมอง จึงเป็นหนึ่งใน อาหารพัฒนาสมองเด็ก ที่มีประโยชร์มาก เพราะสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้นธัญพืชไม่ขัดสียังมีวิตามินบีซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาทให้แข็งแรง ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยไฟเบอร์และพลังงาน ช่วยให้สมองของเด็กได้รับสารอาหารตลอดทั้งวัน และยังเต็มไปด้วยวิตามินอี วิตามินบี […]


การดูแลทารก

การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรศึกษาวิธีการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการห่อตัวทารกแรกเกิด การเลือกผ้าอ้อม การอาบน้ำให้กับทารก แต่สิ่งสำคัญในการดูแลทารกแรกเกิด ก็คือ ความระมัดระวัง เนื่องจากร่างกายของทารกแรกเกินยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร [embed-health-tool-vaccination-tool] การดูแลทารกแรกเกิด ขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง การดูแลทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เนื่องจาก ทารกแรกเกิดมีร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงพอ เช่น กระดูก ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำให้คุณพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเรียนรู้การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานเอาไว้  ดังนี้ วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด การห่อตัวของทารก เป็นการทำให้เด็กทารกรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น สบายใจ และปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรจะรัดแน่นจนเกิดไป เพราะอาจทำให้ทารกอึดอัด หรืออาจมีไข้ได้ โดยวิธีการห่อตัวทารกที่ดีนั้นมีวิธี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ กางผ้าสะอาด รูปสี่เหลี่ยมที่ต้องการห่อตัวทารกออก พับมุมบนลงมาเล็กน้อย พร้อมกับวางทารกลงบนผ้าในท่านอนหงายให้ศีรษะอยู่เหนือมุมพับขึ้นไปเล็กน้อย จับผ้ามุมซ้ายห่อเริ่มตัวทารกอย่างนุ่มนวล พาดจากซ้ายมาขวา และสอดเข้าไปด้านหลังทารกให้อยู่ใต้แขนขวา จับมุมผ้าด้านล่างช่วงขาทารกห่อขึ้นมา แต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป ให้ดึงขึ้นพอมีที่ว่างให้ทารกยืดขา งอขาได้สะดวก จับผ้ามุมขวาห่อเข้ามาเหมือนขั้นตอนที่ 2 พาดจากขวามาซ้าย และสอดเข้าไปด้านหลังทารกใต้แขนซ้าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทารกจะเหลือแต่เพียงศีรษะ เพื่อให้พวกเขาได้หายใจสะดวก ข้อควรระวัง : ไม่ควรห่อทารกด้วยวิธีนี้ในช่วงอายุ 2 เดือนขึ้นไป เพราะอาจมีการพลิกตัวขณะห่อตัว สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้กะทันหัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน