พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคติดเชื้อในเด็ก

ส่าไข้ สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกัน

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตามร่างกายเริ่มมีรอยผื่นแดงแปลก ๆ พร้อมมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยเป็นเวลานาน ก็สามารถเป็นไปได้ว่าสัญญาณดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มที่ส่งผลให้คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ส่าไข้ (Roseola) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความส่าไข้ (Roseola) คืออะไร ส่าไข้ (Roseola) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า หัดกุหลาบ หรือผื่นกุหลาบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย และมักปรากฎออกมาให้พบเห็นในรูปแบบของผดผื่นที่มีลักษณะสีแดง หรือสีน้ำตาล ทั้วทั้งบริเวณหน้าท้อง ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ส่าไข้ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ส่าไข้อาจพบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไปทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปีด้วยกัน อีกทั้งส่าไข้ยังคงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดขึ้นกับในวัยผู้ใหญ่ แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นความเจ็บป่วยจากอาการต่าง ๆ นั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับอาการที่เกิดขึ้นกับวัยของเด็กเล็ก อาการอาการของส่าไข้ เบื้องต้นอาการของส่าไข้ที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ การที่คุณ หรือคนใกล้ตัวมีไข้ขึ้นสูงราว ๆ ประมาณ 38.8-40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป พร้อมกับมีผดผื่นสีชมพู สีแดง ปรากฏให้เห็นทั่วทั้งร่างกาย ในขณะเดียวกันผู้ป่วยบางรายก็อาจแสดงอาการ ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมขึ้นมาร่วมก็เป็นได้เช่นเดียวกัน อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย เปลือกตาบวม ท้องเสีย รู้สึกเบื่ออาหาร หรือทานอาหารได้น้อยลง เจ็บคอ ปวดช่องหู ถึงแม้ว่า ส่าไข้ หรือ หัดกุหลาบ มักหายได้ไปได้เอง 3-7 วัน รวมถึงอาการไข้ที่จะลดลงภายในประมาณ […]


การดูแลทารก

เด็กเอาของเข้าปาก ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และวิธีรับมือที่ควรรู้

เด็กเอาของเข้าปาก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยเจอ เนื่องจากกังวลใจว่าลูกอาจหยิบสิ่งของที่มีเชื้อโรคหรือของที่เป็นพิษเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุที่เเด็กเอาของเข้าปาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ เด็กเอาของเข้าปาก เมื่อเด็กอายุได้ 3-5 เดือน ก็จะเริ่มหยิบจับของได้ เมื่อคว้าอะไรได้ก็มักจะเอาเข้าปากเสมอ ซึ่ง เด็กหยิบของเข้าปากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว เด็กในวัย 3-5 เดือน เป็นช่วงที่เริ่มหยิบจับสิ่งของรอบ ๆ ตัวขึ้นมาสำรวจ แต่ว่าในช่วงวัยนี้มือของเด็กยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ และยังไม่สามารถควบคุมการใช้มือของตนเองได้ แต่ใขณะเดียวกันบริเวณปากเป็นบริเวณที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่และยังเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยเส้นประสาทมากมาย ที่พร้อมจะสัมพันธ์และรับรู้กับสิ่งของรอบ ๆ ตัว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เด็กเอาของเข้าปากเพื่อเรียนรู้สิ่งรอบตัว มองหาของกิน เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มรับรู้รสชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับ และยังชอบของที่มีรสชาติหวาน ทำให้เมื่อเห็นอะไรรอบตัว เป็นต้องหยิบขึ้นมาชิมว่าของนั้นมีรสชาติหวานหรือเปล่า การหยิบของเข้าปากก็เพื่อสำรวจว่ามันมีรสชาติหวานไหม เมื่อรู้ว่าไม่ใช่หรือไม่อร่อยเด็กก็จะปาทิ้งไปอย่างรวดเร็ว เพราะวัยนี้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว คันเหงือก เมื่อฟันเริ่มขึ้น เด็ก ๆ จะมีอาการคันเหงือก ต้องการหาอะไรมากัด มาแทะเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น นี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เด็ก ๆ มักหยิบของเข้าปาก มาเพื่อกัด แทะ บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเหล่านั้น สร้างความสบายใจ เมื่อเด็กได้ดูดหรือได้กัดสิ่งของต่าง ๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น ทำให้เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกง่วง หิว […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

รถหัดเดิน ช่วยฝึกให้ลูกหัดเดินได้จริงหรือ

รถหัดเดิน เป็นอุปกรณ์ที่คุณพ่อคุณแม่เลือกใช้เพื่อต้องการฝึกให้ลูกน้อยสามารถเดินได้เร็วขึ้น ช่วยทุ่นแรงในการฝึกฝน ทั้งยังช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกขณะที่ใช้รถหัดเดินอีกด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การให้เด็กใช้รถหัดเดินอาจเป็นการขัดขวางพัฒนาการด้านการเดินของเด็ก เพราะกระบวนการเริ่มหัดเดินของเด็ก ควรจะเริ่มจากการคลานไปมา แล้วค่อย ๆ ดันตัวเองขึ้น การที่เด็กเริ่มรู้จักการพยุงตัวเองขึ้นยืนนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกทรงตัว [embed-health-tool-vaccination-tool] รถหัดเดิน คืออะไร รถสำหรับหัดเดิน หรือรถหัดเดิน (Baby Walkers) คือ อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กได้ ฝึกเดิน มีลักษณะเป็นโครงร่างวงกลมหรือสี่เหลี่ยมหรือแล้วแต่การออกแบบ มีช่องว่างสำหรับให้ขาของเด็กสามารถเหยียบแตะถึงพื้น และมีส่วนที่เป็นเบาะตรงหว่างขาไว้สำหรับรองรับตัวเด็ก และมีเบาะหลังสำหรับให้เด็กให้พิงหลัง โดยรถหัดเดินแต่ละรุ่นจะมีการเสริมคุณสมบัติพิเศษอย่างเสียงเพลง เกม ของเล่น หรืออุปกรณ์เสริมทักษะอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มักใช้อุปกรณ์นี้เพื่อหวังประโยชน์ในการช่วยฝึกการเดินของเด็กในวัยที่เริ่มเดิน รถหัดเดิน ช่วยฝึกให้ลูกน้อยหัดเดินได้จริงหรือ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเชื่อว่า การให้ลูกได้ใช้รถหัดเดินอาจช่วยให้เด็กได้ฝึกเดิน หรือช่วยให้เด็กเดินได้เร็วขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การให้เด็กใช้รถหัดเดินอาจเป็นการขัดขวางพัฒนาการด้านการเดินของเด็ก เพราะกระบวนการเริ่มหัดเดินของเด็ก ควรจะเริ่มจากการคลานไปมา แล้วค่อย ๆ ดันตัวเองขึ้น การที่เด็กเริ่มรู้จักการพยุงตัวเองขึ้นยืนนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกทรงตัว ซึ่งการทรงตัวถือเป็นจุดสำคัญในการฝึกเดิน แต่ถ้าเด็กใช้รถหัดเดิน เด็กอาจไม่ได้รับการฝึกให้รู้จักทรงตัวเลย เพราะโครงสร้างของรถหัดเดินจะคอยพยุงไม่ให้ล้ม ทำให้เวลาที่อยู่ในรถหัดเดิน เด็กจะไม่ได้เรียนรู้กระบวนการเดินอย่างที่ควรจะเป็น  อันตรายจากการใช้ รถหัดเดิน นอกจากการใช้รถหัดเดินจะไม่ได้ช่วยให้เด็กฝึกเดินได้เร็วขึ้นแล้ว ยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก ดังนี้ หากบ้านมีบันได เด็กอาจไถรถหัดเดินไปใกล้กับบันได ซึ่งเสี่ยงต่อการตกบันได เนื่องจากรถหัดเดินสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ อาจเสี่ยงที่จะไปกระแทกเข้ากับของแข็งหรือของมีคม เด็กอาจเคลื่อนรถหัดเดินไปชนเข้ากับโต๊ะที่มีของร้อนอยู่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

อาหารวีแกน เด็กกินแล้วปลอดภัยหรือไม่ ควรระวังอะไรบ้าง

การกินอาหารแบบวีแกน (Vegan Diets) คือรูปแบบการกินอาหารที่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์โดยสิ้นเชิง รวมไปถึง นม ไข่ น้ำผึ้ง เจลาติน ซึ่งหลายครอบครัวที่กินอาหารแบบวีแกนก็อยากให้ เด็กกิน อาหารวีแกน ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การให้เด็กกินวีแกนอาจทำให้เด็กขาดสารอาหาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและวิธีการเสริมโภชนาการลูกให้เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เด็กกิน อาหารวีแกน ปลอดภัยไหม วัยเด็ก เป็นวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย มีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่มีข้อจำกัดอย่างเข้มงวด อาจทำให้เด็กขาดสารอาหารและวิตามินบางอย่าง จนทำให้เกิดปัญหา ขาดสารอาหาร และส่งผลต่อสุขภาพที่ร้ายแรงได้ การที่เด็ก ๆ มีการรับประทานอาหารแบบวีแกนมาตั้งแต่เด็ก โดยที่พวกเขาไม่ได้รับอาหารเสริม วิตามินเสริม ที่ร่างกายขาดอาจทำให้พวกเขามีปัญหาสุขภาพได้ ที่สำคัญผู้ปกครองควรคำนึงถึงปริมาณสารอาหารที่ลูกได้รับด้วยว่า เพียงพอต่อการทำกิจกรรมทั้งการเรียนรู้ การเล่น และการคิดหรือไม่ ดังนั้นผู้ปกครองควรมีการวางแผนการรับประทานอาหารให้รอบคอบ และมั่นใจว่าเด็ก ๆ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ เท่านี้ก็จะช่วยไม่ให้เขาขาดสารอาหาร และมีพัฒนาการสมวัยได้ ข้อควรระวังเมื่อเด็กกิน อาหารวีแกน เด็ก ๆ เป็นวัยที่ต้องการอาหารที่มีความหลากหลาย เพื่อที่ร่างกายจะได้รับพลังงานที่เพียงพอ ที่สำคัญร่างกายจะได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีการเจริญเติบโต พัฒนาอย่างสมวัย สำหรับเด็กที่รับประทานอาหารแบบวีแกน ที่เน้นผักและผลไม้นั้น ทำให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ในปริมาณที่มาก ช่วยให้เขานั้นรู้สึกอิ่มเร็ว บางครั้งพวกเขาก็รู้สึกอิ่มก่อนที่จะได้รับพลังงานแคลอรี่และสารอาหารที่เพียงพอ วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการอาหารที่ให้พลังงานแคลอรี่ที่มากว่าผู้ใหญ่ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ฝึกให้ลูกเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้าง

การ ฝึกให้ลูกเข้านอน ถือเป็นการฝึกให้ลูกนอนหลับอย่างเป็นเวลา ซึ่งการฝึกให้ลูกนอนเข้านอนนั้นอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดอาการเหนื่อย เพราะกว่าจะพาพวกเขาเข้านอนได้ต้องใช้เวลาพอสมควร แม้ว่าลูกจะเป็นเด็กที่นอนหลับสบายตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่เมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยหัดเดิน การนอนหลับอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะนึกถึง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเมื่อต้อง ฝึกให้ลูกน้อยเข้านอน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฝึกให้ลูกเข้านอน สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง การฝึกให้ลูกเข้านอน นั้นไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวและสมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูในด้านอื่น ๆ ซึ่งไม่มีวิธีใดที่ใช้ได้ผลกับเด็กทุกคน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามทดลองฝึกลูกน้อยเข้านอนด้วยวิธีต่าง ๆ จนกว่าจะพบวิธีที่เหมาะสมกับลูกน้อยและครอบครัว สำหรับวิธี ฝึกให้ลูกน้อยเข้านอน สามารถทำได้ดังนี้ วิธีที่ 1 : ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หากมีลูกน้อยวัยหัดเดินที่เคยชินกับการถูกจับหรือโยกตัวเพื่อเข้านอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะที่สุดสำหรับเด็กทารก การเปลี่ยนแปลงจากการที่ลูกน้อยมักจะหลับในอ้อมแขน ไปเป็นการนอนหลับบนที่นอน อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สำหรับวิธีค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมนี้จะช่วยให้ลูกน้อยที่ติดกับการกอดค่อย ๆ มีการปรับตัว โดยสิ่งที่ต้องทำก็คือ การวางลูกน้อยเอาไว้ในเปลหรือเตียงในขณะที่พวกเขาตื่น แต่เริ่มมีความรู้สึกง่วง จากนั้นให้คุณเดินออกจากห้องแล้วปิดประตูทันที เมื่อลูกน้อยเริ่มร้องไห้งอแงต้องใจแข็งและอย่าเดินกลับเข้าไปในห้องทันที ให้รอประมาณ 5 นาทีหรือกลับเข้าไปในห้องเมื่อลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุดเท่านั้น หากจำเป็นจะต้องกลับเข้าไปในห้องอีกครั้ง ให้ปลอบลูกน้อยด้วยการลูบหลังเบา ๆ จนกว่าพวกเขาจะสงบแล้ว แล้วจึงออกจากห้องไป หากลูกน้อยร้องไห้อีกครั้งให้ทำซ้ำแบบนี้อีกครั้ง และทำวิธีนี้ต่อไปจนกว่าเขาจะหลับไป โดยไม่อุ้มขึ้นมาปลอบให้หลับ ในกรณีหากลูกน้อยนอนอยู่บนเตียงแล้ว และจะเข้าไปในห้องเพื่อพาพวกเขาออกจากเตียง […]


การเติบโตและพัฒนาการ

เลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย

การเลือกใช้บริการสถานรับเลี้ยงเด็กถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนที่ไม่มีญาติ หรือเพื่อนบ้านคอยดูแลลูกของตน รวมถึงอาจจะไม่มีเวลาในการดูแลลูกด้วยตัวเองในบางช่วงเวลา การ เลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก สักแห่ง เพื่อให้รับผิดชอบในการดูแลลูกก็ควรจะต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน [embed-health-tool-vaccination-tool] การดูแลเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อย การดูแลลูกน้อยถือเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เพราะการดูแลลูกน้อยในแบบที่เหมาะสมจะทำให้ลูกน้อยได้รับการดูแลอย่างดี โดยครอบครัวส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการดูแลลูกน้อยแบบผสมผสาน เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งหมดของลูกน้อย การเตรียมการดูแลเด็กที่ดีที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยและครอบครัว ซึ่งประเภทของการเตรียมการที่ครอบครัวส่วนใหญ่มักจะใช้ในการดูแลลูกน้อย ได้แก่ การดูแลโดยผู้ปกครองเท่านั้น การดูแลโดยญาติ การดูแลที่ไม่ใช่ญาติ โดยให้พี่เลี้ยง เพื่อน หรือเพื่อนบ้านเป็นผู้ดูแล อาจจะมาดูแลลูกน้อยที่บ้าน หรือดูแลที่สถานรับเลี้ยงเด็กก็ได้เช่นกัน การดูแลโดยสถานรับเลี้ยงเด็ก การดูแลเด็กเฉพาะทาง สำหรับเด็กที่มีความต้องการด้านสุขภาพเป็นพิเศษ วิธี เลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีญาติ เพื่อน รวมถึงเวลาในการดูแลลูกน้อยในบางช่วงเวลา การเลือกใช้บริการสถานรับเลี้ยงเด็กจึงถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากจะตัดสินใจเลือกสถานรับเลี้ยงเด็กสักแห่ง เพื่อให้รับผิดชอบในการดูแลลูก ก็ควรจะต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อย โดยวิธีการเลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก สามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ สังเกตดูปฏิสัมพันธ์ที่เจ้าหน้าที่มีต่อเด็ก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการเลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก ก็คือ ลองดูว่าเจ้าหน้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างไร ตามหลักการแล้วผู้ดูแลควรอยู่บนพื้นเพื่อเล่นกับเด็ก ๆ หรืออุ้มเด็กไว้บนตัก เนื่องจากในช่วงปีแรก ๆ ทารกต้องการความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความรัก และการโต้ตอบกับผู้ใหญ่ เพื่อที่จะเติบโต นั่นเป็นเหตุผลที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลคนแรกของลูกจะต้องเป็นคนที่อบอุ่นและมีการโต้ตอบกับเด็ก แม้จะเป็นการดูแลแบบกลุ่มทารกและเด็กโตก็ควรจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ การดูแลแบบมีประสิทธิภาพยังส่งผลสำคัญต่อสุขภาพของลูกน้อยอีกด้วย ทำสัญญาในการดูแลเด็ก ทารกต้องการการดูแลที่สม่ำเสมอ การดูแลอย่างสม่ำเสมอนั้นจะช่วยสร้างความผูกพันกับผู้ดูแลของพวกเขา โดย Debra […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคขาดการยับยั้งการสมาคม สาเหตุ อาการและการรักษา

โรคขาดการยับยั้งการสมาคม (Disinhibited Social Engagement Disorder หรือ DSED) มักเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นโรคที่เกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคมของเด็ก โดยเด็กจะรู้สึกไว้วางใจและสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้ง่ายกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากเด็กถูกละเลยและไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว ทำให้เด็กไม่สนิทสนมหรือผูกพันกับคนในครอบครัวเท่าที่ควร แต่กลับต้องการทำความรู้จักและรู้สึกสบายใจเมื่อพบเจอกับคนแปลกหน้า ทำให้เด็กเสี่ยงที่จะหลงเชื่อคำชักชวนจนส่งผลให้เป็นอันตรายต่อตัวเด็กได้ โรคขาดการยับยั้งการสมาคม คืออะไร โรคขาดการยับยั้งการสมาคม จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติทางความผูกพัน (Attachment Disorder) ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่และความรักจากพ่อแม่เท่าที่ควร ส่งผลให้เด็กไม่รู้สึกสนิทสนมหรือผูกพันกับพ่อแม่ตัวเอง แต่กลับสบายใจเวลาอยู่กับคนอื่น หรือคนแปลกหน้ามากกว่า โรคนี้มักเกิดกับเด็กที่อายุต่ำว่า 18 ปี และผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมจึงจะสามารถหายจากโรคได้ สัญญาณของโรคขาดการยับยั้งการสมาคม คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในหมู่แพทย์และนักวิจัยหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย ระบุว่า หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้มากกว่า 2 ข้อขึ้นไป อาจเข้าข่ายเป็นโรคขาดการยับยั้งการสมาคม เด็กอาจตื่นเต้นมากเกินไป ไม่รู้สึกกลัว ไม่รู้สึกเขินอาย หรือขาดการยับยั้งชั่งใจเวลาพบเจอหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน เด็กอาจแสดงพฤติกรรมที่ดูเป็นมิตรหรือสนิทสนมกับคนแปลกหน้ามากเกินไป พูดเก่งกว่าปกติ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัยหรือขนมธรรมเนียมประเพณี […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีดูแลเบื้องต้นทำอย่างไร

ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด คือ อาการที่ทารกสำรอกเศษเลือดออกมาจากปาก หรือมีน้ำลายไหลโดยมีเลือดติดออกมาด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนนั้นแตกต่างกันออกไป มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังคลอด หรือการที่คุณแม่ให้นมแล้วหัวนมแตกจนมีเลือดปนออกมาเมื่อลูกอาเจียน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการอาเจียนเป็นเลือด เพื่อจะได้สังเกตและดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือด เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ลูกอาเจียนเป็นเลือด คืออาการที่ทารกสำรอกออกมาเป็นเลือด หรือมีเลือดปนมาด้วย ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น อาจเกิดจากการที่ทารกกลืนเลือดของคุณแม่ระหว่างการคลอดเข้าไป โดยภาวะนี้สังเกตได้จากของเหลวที่มีสีแดง หรือสีชมพู ซึ่งจะเกิดกับทารกในช่วง 2-3 วันแรกหลังจากทารกคลอด หรือทารกกลืนเลือดของคุณแม่ที่มีอาการหัวนมแตกเข้าไป ทำให้เมื่อสำรอกอาจมีเลือดจากหัวนมแตกปนออกมาด้วย แต่ในทั้ง 2 กรณีนี้ ลักษณะของอาเจียนเป็นเลือดจะเป็นเพียงเศษเลือดเล็กน้อยเท่านั้น ปกติแล้วหากทารกอาเจียนเป็นเลือดในกรณีดังกล่าว มักไม่น่ากังวล แต่หากลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือดร่วมกับมีไข้ ท้องบวม มีผื่นขึ้น มีอาการเซื่องซึม หรือร้องไห้งอแงไม่หยุดขณะที่อาเจียนเป็นเลือด ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอในทันที เพราะอาจมีปัญหาภาวะสุขภาพอย่างอื่นเป็นสาเหตุร่วมด้วย สาเหตุที่ทำให้ ลูกอาเจียนเป็นเลือด อาจมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนเป็นเลือดและมักมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยอาเจียนมีเลือดปนนั้น มีดังนี้ หัวนมแตกทำให้ ลูกอาเจียนเป็นเลือด อาการหัวนมแตกเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตร โดยเฉพาะคุณแม่ที่เริ่มให้นมบุตรจะมีอาการระคายเคืองที่หัวนมจากแรงดึง แรงกด หรือเนื่องจากผิวหนังสัมผัสกับน้ำลาย อาการอาจแย่มากจนผิวหนังแตก และมีเลือดออก ทำให้มีเลือดปะปนไปกับน้ำนมที่ลูกกิน และทำให้ลูกอาเจียนเป็นเลือด หากไม่เห็นรอยแตกใด ๆ แต่ลูกอาเจียนเป็นเลือด ให้ลองตรวจนำน้ำนมมาตรวจดูว่ามีเลือดปนหรือไม่ ในกรณีที่คุณแม่สังเกตเห็นเลือดในน้ำนมแม่ ให้นำน้ำตาล หรือน้ำเปล่าป้อนให้แก่ลูกน้อยของคุณหลังกินนมเสร็จ เพื่อเจือจางเลือดในท้องของเด็ก และโปรดหยุดให้นมลูกทางหัวนมที่แตกเป็นเวลา 2-3 […]


โภชนาการสำหรับทารก

ทารกกินน้ำผึ้ง เป็นอันตรายอย่างไร

น้ำผึ้ง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาอาการไอ แก้เจ็บคอ บำรุงร่างกาย หรือเพิ่มพลังงาน อีกทั้งยังมีรสหวาน ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจไม่รู้ว่า ทารกกินน้ำผึ้ง อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากในน้ำผึ้งจะมีสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายของเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการป้อนน้ำผึ้งให้ทารก เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของทารก [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกกินน้ำผึ้ง อันตรายอย่างไร สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics ; AAP) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ อาหารต้องห้าม ที่ไม่ควรให้ทารกรับประทาน และหนึ่งในนั้นก็ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยได้กล่าวเตือนว่า “ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 12 เดือน ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม” เนื่องจากการที่ให้ทารก รับประทานน้ำผึ้ง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่อันตราย ที่เรียกว่า โรคโบทูลิซึม (Botulism) โรคโบทูลิซึมนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการเป็นพิษของสปอร์เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่สามารถพบได้ในน้ำผึ้ง เมื่อสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะปล่อยสารที่เป็นพิษต่อร่างกายออกมา แม้ว่าตามปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะสามารถรับมือกับสปอร์นี้ได้ แต่สำหรับทารกที่มาอายุน้อยกว่า 1 ปี […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคพฤติกรรมอันธพาล สัญญาณของโรค สาเหตุ วิธีรักษาและรับมือ

โรคพฤติกรรมอันธพาล เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ โรคพฤติกรรมอันธพาล คืออะไร โรคพฤติกรรมอันธพาล (Conduct Disorder) บางครั้งเรียกว่า โรคคอนดักต์ โรคพฤติกรรมเกเร โรคเด็กเกเร โรคความประพฤติผิดปกติ เป็นต้น โรคนี้เป็นกลุ่มโรคทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบในเด็กและวัยรุ่น ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ชอบละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักจะแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ ซึ่งเด็กคนอื่น หรือผู้ใหญ่เห็นแล้วก็อาจจะบอกว่า การแสดงออกของเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นเป็นสิ่งผิด หรือสิ่งไม่ดี โดยที่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วนี่คือโรคจิตเภทชนิดหนึ่ง สัญญาณของโรคพฤติกรรมอันธพาล พฤติกรรมของโรคพฤติกรรมอันธพาลนั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับอายุของเด็กและระดับความรุนแรงของโรค แต่โดยปกติแล้ว พฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 พฤติกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior) เช่น ล้อเลียน หรือรังแกผู้อื่น จงใจทำให้ผู้อื่น หรือสัตว์ต่าง ๆ ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับอันตราย ชอบต่อสู้ ชกต่อยกับผู้อื่น ใช้อาวุธ บังคับใจ ข่มขืน หรือล่วงเกินทางเพศผู้อื่นโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม ขโมยของจากคนที่ตัวเองทำร้าย พฤติกรรมเชิงทำลาย (Destructive Behavior) เช่น เจตนาก่อเพลิงไหม้ เพื่อให้สถานที่นั้น หรือสิ่งของนั้นเสียหาย เจตนาทำลายทรัพย์สิน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน