พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

คาร์ซีทหมดอายุ กับเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

คาร์ซีท หรือ เบาะรถยนต์สำหรับเด็ก (Car seats) จะใช้ติดตั้งในรถยนต์เพื่อป้องกันลูกน้อยจากอุบัติเหตุเวลานั่งรถยนต์ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจไม่รู้ว่าคาร์ซีทมีอายุการใช้งานที่จำกัด และหากฝืนใช้งาน คาร์ซีทหมดอายุ อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคาร์ซีทให้ละเอียด เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นคาร์ซีทหมดอายุและทำการเปลี่ยนได้ทันก่อนที่จะเกิดอันตราย [embed-health-tool-vaccination-tool] คาร์ซีทหมดอายุ มีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุที่อาจทำให้คาร์ซีทหมดอายุ มีดังต่อไปนี้ ปรับปรุงเทคโนโลยี ผู้ผลิตคาร์ซีทจะพยายามปรับปรุงการออกแบบเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ คาร์ซีทรุ่นเก่าที่ส่งต่อมาจากเพื่อน หรือครอบครัวอาจดูเหมือนว่าอยู่ในสภาพที่ดี แต่ไม่น่ามีเทคโนโลยีช่วยชีวิตที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุด นอกจากนี้ คาร์ซีทมือสองอาจไม่ได้มีชิ้นส่วนดังเดิมทั้งหมด หากคิดว่าคาร์ซีทมีชิ้นส่วนที่หายไป โปรดตรวจสอบจากคู่มือของผู้ผลิต อย่าใช้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ขาดหายไปหรือเสียหาย การเปลี่ยนมาตรฐาน สิ่งสำคัญที่ต้องระวังการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของคาร์ซีท หากข้อบังคับเปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่ซื้ออาจไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดอีกต่อไป ดังนั้น วันหมดอายุจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคาร์ซีทที่ใช้ยังคงมีสภาพดีตรงตามมาตรฐานอยู่นั่นเอง วัสดุเสื่อมคุณภาพ วัสดุที่ใช้ผลิตคาร์ซีทสามารถเสื่อมสภาพตามกาลเวลาเช่นเดียวกับสิ่งของอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น หลังจากที่คาร์ซีทต้องอยู่ในรถที่มีอุณหภูมิสูงมากเป็นเวลาหลายปี พลาสติกในเบาะอาจจะเปราะได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาวัสดุเสื่อมคุณภาพอาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น วันหมดอายุจึงมีความสำคัญ การเรียกคืน หากคาร์ซีทยังไม่หมดอายุ แต่อยู่ระหว่างการเรียกคืน โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำในการซ่อมเบาะและทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วเราจะได้รับชุดอุปกรณ์ซ่อมแซมแถมฟรีมาจากผู้ผลิต แต่มีไม่บ่อยนักที่คาร์ซีทจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ ซึ่งมักจะแนะนำให้หยุดใช้งานและทำลายทิ้ง สามารถตรวจสอบได้ว่าคาร์ซีทที่ใช้อยู่ถูกเรียกคืนหรือไม่ เพียงแค่โทรติดต่อไปยังผู้ผลิต คาร์ซีทต้องมีการติดสติกเกอร์หมายเลขบริการลูกค้าของบริษัทเอาไว้ หากไม่พบสติกเกอร์ดังกล่าว ลองใช้กูเกิ้ลในการช่วยค้นหาหมายเลขที่สามารถติดต่อได้ ความเสียหาย หากคาร์ซีทมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ความเสียหายจากการชน อาจทำให้ไม่ปลอดภัย หากใช้คาร์ซีทมือสองโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคาร์ซีทไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัย หากคาร์ซีทที่ใช้อยู่เคยผ่านอุบัติเหตุมาแล้วควรเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่ควรใช้ซ้ำ จะรู้ได้อย่างไรว่า คาร์ซีทหมดอายุ แล้ว โดยทั่วไปแล้วคาร์ซีทจะหมดอายุระหว่าง 6-10 ปีหลังจากวันที่ผลิต […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ ควรทำอย่างไร และควรเริ่มฝึกตอนไหน

ฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งกิจวัตรประจำวันที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อเริ่มโตขึ้น นอกเหนือไปจากการกินข้าว การอาบน้ำ การแปรงฟันด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ช้าเร็วแตกต่างกัน ผู้ปกครองควรค่อย ๆ ฝึกลูกน้อยเมื่อสังเกตเห็นว่าลูกพร้อม ไม่ควรเร่งรัดหรือบังคับลูกมากจนเกินไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ควรเริ่ม ฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ เมื่อไร การฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ (Potty Training) ไม่มีอายุที่เหมาะสมในการเริ่มต้น แต่ควรเริ่มเมื่อเด็กแสดงสัญญาณว่าพร้อมแล้ว เพราะหากพยายามฝึกการเข้าห้องน้ำก่อนที่ลูกจะพร้อม อาจเป็นเรื่องที่ยากและก่อให้เกิดความลำบากใจทั้งต่อคุณพ่อคุณแม่และลูก เนื่องจากความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อลำไส้และกระเพาะปัสสาวะมักมาพร้อมกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ทั้งนี้ เด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน ยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ได้ ดังนั้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงมักฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่เมื่อลูกมีอายุช่วง 18-24 เดือน แต่ในบางรายอาจสามารถขับถ่ายแบบผู้ใหญ่เมื่ออายุ 36 เดือน ทั้งนี้ อายุเฉลี่ยของการ ฝึกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ ของวัยเตาะแตะมักอยู่ในช่วงวัยประมาณ 27 เดือน วิธีฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ การฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่นั้นมีด้วยกันหลายวิธี คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกทำตามคำแนะนำต่าง ๆ เหล่านี้ เช็คสัญญาณความพร้อม ก่อนฝึกลูกขับถ่ายแบบผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมด้วยการตรวจสอบสัญญาณต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าลูกน้อยพร้อมช่วยเหลือตัวเองแล้ว ได้แก่ ลูกเริ่มแสดงความสนใจที่จะเข้าห้องน้ำ ลูกเริ่มบอกหรือส่งสัญญาณให้รู้เมื่อถึงเวลาที่ผ้าอ้อมเปื้อน ลูกกลั้นฉี่ได้หรืออาจสังเกตว่าผ้าอ้อมแห้งเป็นเวลานาน ลูกเริ่มแต่งตัวเองได้ โดยสามารถดึงกางเกงของตัวเองขึ้นลงได้ พูดคุยพร้อมยกตัวอย่าง พยายามพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เกี่ยวกับข้อดีของการขับถ่ายในห้องน้ำด้วยตัวเอง โดยอาจจะยกตัวอย่างเด็กคนอื่นๆ ที่ลูกน้อยรู้จัก หรืออาจหานิทานเกี่ยวกับการขับถ่ายด้วยตัวเองเพื่อเป็นตัวอย่างพร้อมดูภาพประกอบ ให้รางวัลหรือให้ลูกน้อยเลือกรางวัลด้วยตัวเอง […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

วิธีการรับมือเมื่อ ลูกหกล้ม และวิธีการป้องกัน

ลูกหกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับเด็กวัยหัดเดินขึ้นไป ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกมีการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น กระทบกระเทือนที่ศีรษะ บาดแผลใหญ่ กระดูกหัก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อลูกหกล้ม และคอยสังเกตสัญญาณความผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจนเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตที่ทำให้ลูกน้อยหกล้ม แน่นอนว่ามีสาเหตุหลายประการที่อาจทำให้ลูกน้อยหกล้ม แต่การหกล้มนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับอายุและสถานการณ์ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหกล้ม ได้แก่ ผู้ดูแลหลับขณะป้อนนม หรือโยกตัวทารกแล้วทารกหลุดออกจากอ้อมแขน ผู้ดูแลอุ้มทารกเดินสะดุดหรือหกล้ม และปล่อยให้ทารกหลุดมือ ล้มเพราะเปลี่ยนโต๊ะ ตกจากเตียง ในเด็กโตสาเหตุของการหกล้มที่พบบ่อยที่สุด คือ การตกบันไดเมื่อพวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้และอยู่ในช่วงที่กำลังชอบสำรวจสภาพแวดล้อม ล้มลงบนพื้น หรือกระแทกกับพื้นผิวที่แข็งหรือแหลม ในขณะที่พวกเรากำลังเรียนรู้ที่จะเดิน กลิ้ง และคลาน พวกเขาอาจตกจากที่สูงได้ หากพวกเขาสามารถปีนได้ สัญญาณเตือนก่อนลูกหกล้ม จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ให้ข้อมูลว่า การหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 19 ปี โดยมีเด็กประมาณ 8,000 คนที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มทุกวันในห้องฉุกเฉิน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ ในกรณีส่วนใหญ่หาก ลูกน้อยหกล้ม แล้วร้องไห้ทันที ไม่มีเลือดออก และอาจไม่แสดงอาการบาดเจ็บที่ชัดเจน เมื่อจับพวกเขาให้ยืนขึ้น ก็อาจจะปลอบใจลูกน้อย ซึ่งในกรณีการหกล้มที่ไม่รุนแรงดังกล่าว […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากสาเหตุใด

จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด (Retinopathy of Prematurity : ROP)  เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตาในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจทำให้มีปัญหาทางสายตา หรือตาบอดได้ [embed-health-tool-due-date] คำจำกัดความ จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด คืออะไร จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอตา ในส่วนที่ไวต่อแสง (เรตินา) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหลอดเลือดจอประสาทตาที่ผิดปกติจะขยายเข้าไปในสารคล้ายวุ้น (น้ำวุ้นตา) ส่งผลให้จอประสาทตาเป็นแผล ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ พบได้บ่อยเพียงใด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดพบได้ในทารกก่อนคลอด อาการ อาการของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด สัญญาณหลายอย่างของโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดขึ้นภายในดวงตา จักษุแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลดวงตาจะตรวจดวงตาอย่างละเอียดในทารกที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายโรคดังกล่าว ซึ่งสัญญาณอาการที่บ่งบอกว่าทารกเข้าข่ายจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การเคลื่อนไหวความผิดปกติของดวงตา รูม่านตาสีขาว ควรไปพบหมอเมื่อใด หากทารกในครรภ์มีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ สาเหตุ สาเหตุของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดจอประสาทตาในดวงตาของทารกที่คลอดกำหนด จากการศึกษาที่นำโดยจักษุแพทย์โรงพยาบาลเด็กบอสตัน Lois Smith, MD, PhD  พบว่า จอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอดอาจเกิดจากการได้รับสารเคมีจากแม่ในครรภ์ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ รวมถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของอินซูลินและหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด มารดาที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ตามครบกำหนด 38-42 สัปดาห์ เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 1,500 กรัม โดยตามปกติทารกต้องมีน้ำตามเกณฑ์ 2,000 กรัม โรคโลหิตจาง การติดเชื้อ โรคหัวใจ เชื้อชาติ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด การตรวจคัดกรองทารกที่เป็นโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกก่อนคลอด จะไม่เริ่มขึ้นจนกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีอายุ 4-9 […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

โรคแบตเทน (Batten disease) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคแบตเทน คือ โรคทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับระบบประสาท โดยอาจเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กอายุ 5-10 ปี โรคนี้อาจส่งผลให้สมองเสื่อม ทักษะการสื่อสารไม่ดี และอาจทำให้มีอายุสั้น ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถรักษาตามอาการที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการและลดความรุนแรงได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูก หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรพาเข้าพบคุณหมอทันที โรคแบตเทน คืออะไร โรคแบตเทน คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธ์ุของยีน มักเกิดขึ้นในเด็กอายุ 5-10 ปี ที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้เด็กมีการสื่อสารไม่ดี ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกาย ไปจนถึงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ได้ โรคแบตเทน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ โรคแบตเทนแต่กำเนิด (Congenital NCL) ทำให้ทารกแรกเกิดมีอาการชักบ่อยครั้งและมีภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้ยากและมักส่งผลให้เสียชีวิตหลังลืมตาดูโลกได้ไม่นาน โรคแบตเทนในทารกแรกเกิด (Infantile NCL) อาการมักปรากฏขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีภาวะศีรษะเล็ก กล้ามเนื้อหดรัดตัวอย่างรุนแรง เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคแบตเทนประเภทนี้อาจส่งผลให้เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปี โรคแบตเทนในทารกแรกเกิดระยะท้าย (Late Infantile NCL) ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กอายุ 2-4 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกร้องโวยวาย สาเหตุ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

ปัญหา ลูกร้องโวยวาย ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจสำหรับพ่อแม่ ที่พบได้บ่อยครั้งในเด็กเล็ก อารมณ์ที่ฉุนเฉียวของเด็กๆ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการเลี้ยงดูลูก ของพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีรับมือเมื่อลูกร้องโวยวายอย่างถูกต้อง เพื่อให้ส่งผลเสียต่อลูกน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่อาจทำให้ ลูกร้องโวยวาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ถือเป็นหนึ่งในพัฒนาการตามปกติของเด็กๆ สำหรับเด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ทำให้พวกเขามีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โมโหได้ง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางครั้งไม่พอใจอะไรก็ร้องไห้โวยวาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดอารมณ์เหล่านี้เป็นผลมาจากปัญหาพื้นฐานบางประการเหล่านี้ โรคสมาธิสั้น (ADHD) จากการศึกษาพบว่าเด็กร้อยละ 75 ของเด็กที่มีอารมณ์ฉุนฉียวนั้นมักจะมีปัญหาสมาธิสั้น เด็กในกลุ่มสมาธิสั้นมักจะไม่มีสมาธิในการทำอะไรได้นานๆ เบื่อง่ายทำให้เมื่อต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบจะทำให้เด็กเหล่านี้มีอารมณ์ที่ฉุนเฉียวได้ง่าย ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลในเด็ก ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว เมื่อพวกเขาเกิดความเครียดและมีความวิตกกังวล อาจทำให้พวกเขาแสดงออกมามากกว่าที่เป็น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กที่เจอเหตุการณ์ที่ไม่ดี หรือต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่น่าอึดอัด มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็ก ๆ ที่มีปัญหาในการด้านเรียนรู้ เมื่อต้องทำในสิ่งที่เข้าไม่เข้าใจ แบบเดิมซ้ำ ๆ ซ้ำไปซ้ำมา อาจก่อให้เกิดความหงุดหงิดขึ้น จนเข้าโวยวายและระเบิดอารมณ์ที่มีออกมา ซึมเศร้าและอาการหงุดหงิด เด็กที่มีอารมณ์รุนแรงและฉุนเฉียวบ่อยๆ มักจะมีอาการซึมเศร้าและอาการหงุดหงิด ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้เป็นเด็กที่พร้อมจะประทุอารมณ์ออกมาได้ทุกเมื่อ ดังนั้นผู้ปกครองควรระมัดระวังคำพูด และควรเลือกใช้คำพูดเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้กระทบต่อพวกเขา ออทิสติก เด็กที่มีปัญหาออทิสติกมักจะคุ้นชินกับกิจวัตรเดิม ๆ ที่ทำในทุกวัน เพราะเขาจะรู้สึกว่าปลอดภัยทั้งทางร่างกายอารมณ์ ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เขามีอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นมาได้ ลดปัญหา ลูกร้องโวยวาย อย่างไรให้ได้ผล ให้ความสนใจกับลูก เมื่อเขาทำหรือมีพฤติกรรมที่ดีผู้ปกครองควรให้ความสนใจ อาจจะชมเชย หรือบอกเขาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี ให้เขาได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง การให้เขาได้มีตัวเลือก […]


เด็กทารก

ป้อนกล้วยทารก เสี่ยงตายได้ หากไม่ถึงวัยอันควร

ป้อนกล้วยทารก เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดขาดสารอาหาร และช่วยให้ทารกอิ่มได้นานขึ้น อาจเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินมานาน อย่างไรก็ตาม การป้อนกล้วยให้ทารกก่อน 6 เดือน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจาก ระบบย่อยอาหารอาจยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์และยังพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้อนกับให้กับทารก เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก ป้อนกล้วยทารก ก่อน 6 เดือน อันตรายอย่างไร การที่ร่างกายจะสามารถย่อยอาหารและดูดซึมเอาสารอาหารจากสิ่งที่รับประทานเอาไปใช้ได้นั้น จำเป็นต้องมีระบบย่อยอาหารที่สมบูรณ์ และมีการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ในทารกแรกเกิดระบบย่อยอาหารจะยังไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทั้งยังไม่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ จึงทำให้ยังไม่สามารถย่อยอาหารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำนมได้ ดังนั้น หากป้อนอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนมให้ทารกรับประทาน แม้ว่าอาหารนั้นจะบดมาอย่างละเอียดแล้วก็ตาม กระเพาะอาหารของทารกก็ยังไม่สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกได้ โดยปัญหาที่อาจพบได้บ่อยจากการป้อนกล้วยให้ทารกก่อนวัยอันควร อาจมีดังนี้ ลำไส้อุดตัน กล้วยที่รับประทานเข้าไป เมื่อไม่ได้รับการย่อยและดูดซึมอย่างเต็มที่ ก็อาจจะไปขัดขวางการทำงานของลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดการอุดตัน และไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกไปได้ ซึ่งอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลให้ลำไส้แตก และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ลำสัก ทารกนั้นยังเล็กมาก การเคี้ยวอาหาร และการกลืนอาหารอาจจะยังทำได้ไม่ดี จึงทำให้มีโอกาสในการสำลักอาหารได้ หากเศษอาหารไปอุดกั้นหลอดลมจะทำให้หายใจไม่ออก ขาดอากาศหายใจ และอาจเสียชีวิตได้ เมื่อไหร่ถึงควรเริ่มเสริมอาหารให้ทารก นักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่า นมแม่เพียงอย่างเดียวก็ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กทารกแรกเกิดแล้ว เมื่อทารกมีอายุ 4 เดือน ระบบทางเดินอาหารของทารกจะพัฒนามามากเพียงพอที่จะรับอาหารอื่น ๆ ได้ แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องรับเสริมอาหาร […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก มีอะไรบ้าง?

อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี หมายถึง อาหารสำหรับลูกน้อยวัยหัดเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งร่างกาย สมอง และพัฒนาการด้านต่าง ๆ อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กเป็นหนึ่งในอาหารที่สำคัญสำหรับลูกน้อยวัยหัดเดิน เพราะเหล็กจะช่วยเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก หากเด็กวัยหัดเดินได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จะทำให้พัฒนาการช้า มีปัญหาด้านการเรียนรู้และบกพร่องด้านพฤติกรรม นอกจากนั้น อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยล้า และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ธาตุเหล็กกับลูกน้อยวัยหัดเดิน ธาตุเหล็ก ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่ช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างเป็นปกติ โดยธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกน้อยวัยหัดเดิน ดังนี้ ให้ออกซิเจนแก่ร่างกายได้รับอย่างเพียงพอ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของกล้ามเนื้อ บำรุงรักษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางกายภาพ ช่วยในการพัฒนาเส้นประสาท เสริมสร้างการทำงานของเซลล์ให้แข็งแรง มีส่วนช่วยในการผลิตฮอร์โมนบางชนิด อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี มีอะไรบ้าง   อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ประกอบไปด้วยอาหารต่าง ๆ ดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกมีธาตุเหล็กในรูปแบบฮีม (Heme Iron) จำนวนมาก ซึ่งง่ายต่อการย่อยของร่างกาย โดยเฉพาะเนื้อวัว อวัยวะของสัตว์ (Organ Meats) และตับ จะมีธาตุเหล็กมาก นอกจากนี้ […]


วัยรุ่น

ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย พ่อแม่ควรแนะนำอย่างไรดี

ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย ถือเป็นเรื่องปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านเนื่องจากฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะจุดซ่อนเร้น รักแร้ ขนหน้าแข้ง หรือในเพศหญิงบางราย อาจมีหนวดจาง ๆ ขึ้นเหนือริมฝีปาก คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจรู้สึกว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย แทนการห้ามปราม ควรเปิดใจรับฟังและให้คำแนะนำที่เหมาะสม หรือร่วมกันหาวิธีกำจัดขนอย่างปลอดภัยอาจสร้างความสบายใจให้ลูกมากกว่า [embed-health-tool-ovulation] ลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย ควรเริ่มต้นอย่างไร หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาจเป็นเพราะขนที่ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นขนรักแร้ ขนหน้าแข็ง ขนบริเวณอวัยวะเพศ รวมทั้งอาจเป็นขนบนใบหน้า หรือขนบริเวณริมฝีปากที่ทำให้ดูเหมือนมีหนวด อาจทำให้ลูกรู้สึกประหม่า กังวล และไม่มั่นใจ หรือในทางตรงกันข้ามหากลูกสาวไม่ต้องการโกนขน เช่น ขนรักแร้ ขนหน้าแข็ง คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดใจรับฟังว่าลูกสาวต้องการทำอย่างไรกับขนบนร่างกายของตนเอง และให้คำแนะนำที่เหมาะสม รวมทั้งร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนบนร่างกาย รวมทั้งสิทธิ์บนร่างกายของตัวเอง สิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะตามจุดซ่อนเร้น ข้อพับ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เคล็ดลับกำจัดขนเมื่อลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย การโกนขนนั้นมีด้วยกันหลายวิธี หากลูกสาวอยากโกนขนบนร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำวิธีกำจัดขนที่ถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้ เตรียมผิว  พยายามทำผิวบริเวณที่จะโกนให้เปียกจนทั่ว หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ขณะโกน เรื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง และระคายเคืองได้ ควรแนะนำลูกของคุณให้ผลิตภัณฑ์เจล โฟม หรือโลชั่นสำหรับการโกนขนโดยเฉพาะทาลงไปบริเวณที่ต้องการจะโกนขน […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร

ลูกโดนเพื่อนนินทา เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยหรือมองข้ามเด็ดขาด เพราะแม้ว่าลูกน้อยอาจจะหลีกเลี่ยงการจับกลุ่ม หรือเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียน มากแค่ไหน แต่ก็ไม่อาจพ้นจากการถูกนินทาได้ ดังนั้น เมื่อลูกน้อยเข้ามาปรึกษาว่าโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่ควรรับฟังอย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ควรตำหนิหรือซ้ำเติมเพราะอาจยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดและควรทางออกร่วมกันกับลูก อย่าปล่อยให้ลูกรู้สึกโดดเดี่ยว นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีช่วยเหลืออย่างถูกต้องและเหมาะสมในการรับมือเมื่อลูกโดนเพื่อนนินทา วิธีรับมือ เมื่อ ลูกโดนเพื่อนนินทา การนินทานั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็ก ๆ เริ่มโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ไม่ว่าจะตั้งใจเรียน เป็นเด็กดี หรือมีนิสัยอย่างไรก็ตาม ยากที่จะหลีกเลี่ยงการโดนนินทา  เมื่อ ลูกโดนเพื่อนนินทา คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องทำให้ลูกรู้สึกว่ามีคนคอยช่วยเหลือและอยู่ข้าง ๆ เสมอ รวมทั้งควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงความจริงข้อที่ว่า ไม่มีใครสามารถหลีกพ้นการโดนนินทาไปได้ ทั้งนี้ วิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกน้อยรับมือเมื่อโดนเพื่อนนินทานั้น อาจปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ หลีกเลี่ยงการอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่ชอบนินทา เมื่อโดนเพื่อนนินทา เด็ก ๆ ย่อมรู้สึกเจ็บปวดและเสียใจ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามช่วยให้ลูกน้อยหันไปสนใจเรื่องอื่นแทน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมภายนอกหรือวางแผนการเดินทางของครอบครัว เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการถูกนินทา นอกจากนี้ วิธีการที่ดีคือ ให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงจากการใช้โซเชียลมีเดียสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโซเชียลมีเดียนั้นเป็นแหล่งกระจายข่าวลือของเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน แม้จะเป็นเรื่องยากเพราะเด็ก ๆ มักต้องการรู้ว่าคนอื่นกำลังพูดอะไรเกี่ยวกับตนเองบ้าง แต่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า บางครั้งอาจจะเป็นการดีกว่าที่จะไม่สนใจคำนินทาและควรใช้เวลาอยู่กับกิจกรรมที่ทำให้มีความสุขมากกว่า สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด เด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถรอให้การนินทาเงียบสงบไปเองได้ แม้แต่ข่าวลือเล็ก ๆ น้อย ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน